"อกหักจากอาเซียน" โดย ปศ.ดร. กิตติ ประเสริฐสุข ผู้ประสานงานโครงการ "จับตามอาเซียน"
ประชาคมอาเซียมี่ว่ากันวา จเปิดขึ้นในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ก่อให้เกิดความตื่อนเต้นในสังคมไทยในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ดดยเฉพาะความคาดหวังจากความเสรีในการนำเข้าส่งออกสินค้า การลงทุนและการเคลื่อนย้ายแรงงาน ดังนัน หลายภาคส่วนจึงประโคมข่าว จัดกิจกรรมทที่คิดว่าเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน อาทิ จัดสัมมนาที่ใช้ช่อเกี่ยวกับอาเซียนบ่อยครั้ง (แม้เนื้อหาอาจไม่เกี่ยวนัก) มีการประดับธงชาติอาเวียนตามสถานศึกษาและหน่วยราชาการต่างๆ มีการปรับหลักสูตรไส่เนื้อหาอาเซียนในการศึกษาแทบทุกระดับ มีการฝึกพูดคำทักทายในภาษาชาติอาเซียน ท่องจำดอกไม้ประจำชาติ เรียกว่า "กระแสอาเซียน" มาแรงมาก
การที่สังคมไทน "ออกตัวแรง" กับประชาคมอาเซียนนนี้ น่าจะสร้างความผิดหวัง(อกหัก) ในหมู่คนไทยบที่มีความคาดหวังต่ออาเซียนมากเพราะเอาเข้าจริง เมื่อเปิดอาเซยนจะม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากอย่างที่คาดหวัง ทั้งนี้เป็นเพราะสังคมไทยมีสมมุติฐานความเข้าใจต่อประชาคมอาเซียนคลาดเคลื่่นจากความเป็นจริงไปหลายประการ
- ประการแรก ชาวไทยจำนวนมากเข้าใจว่า เมื่อเปิดประชาคมอาเซียนจะมีการเปิดชายแดนให้มีการเดินทางไปมาหาสู่กันโดยเสรี ประหนึ่งเหมือนสหภพยุโรป ที่เดินทางข้ามประเทศกันได้ โดยไม่ต้องผ่านด่านตรวจพาสปอร์ตและวีซ่าหรือหากไม่ถึงขนาดนั้น ก็เชื่อว่าจะมีความเสรีมากในการเดินทางข้ามประเทศในอาเซียน ดังนั้นจึงมักพูดกันเสมอว่า เมื่อเปิดประชาคมอาเซ๊ยนแล้ว แรงงานจากชาติเพื่อนบ้าน อย่างพม่า ลาว กัมพูชา จะทะลักเข้ามาทำงานเป็นจำนวนมาก
แต่ในความเป็นจริง หาได้เป็นเชนนันไม่ แรงงานเพื่อนบ้านอาเซียนได้เข้ามาทำงานในไทยราว 30 ปีมาแล้ว ตั้เงแต่ประเทศเหล่านี้ยังไม่ได้เป็นสมาชิกอาเว๊ยน้วยซ้ ทั้งนี้ก็เพราะการขาดแคลนแรงงานที่คนไทยไม่ประสงค์ทำ เช่น ประมง ก่อสร้าง แม่บ้าน และบางอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานหนาแน่น ในขณะที่แรงงานเพื่อบ้านก็ประสงค์มาทำงานที่รายได้าูงหว่าที่ประเทศของเขา อันเป็ฯไปตามหลักอุปสงค์-อุปทานของกลไกตลาด แม้ว่า แรงงานส่วนใหญ่จะเข้ามาอย่างผิดกฎหมายก็ตาม กล่วให้ถึงที่สุด ไม่ว่าจะมีประชาคมอเวียนหรือไม่ แรงงานเพื่อนบ้านก็มาทำงานในไทยอยุ่ดี
ทั้งนี้ อาเซียนไม่เคยตกลงกันว่าจะให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานทักษะต่ำโดยเสรีแต่อย่างใด อักทั้งในปัจจุบัน ไทยมีแรงงานต่างชาติหล่านี้ที่จดทะเบียนราว 2.5 ล้านคน รวมกับที่ไม่ได้จดทะเบียน น่่จะรวมแล้วเกิน 3 ล้านคน ซึ่งเป็ฯจำนวนที่มากอยู่แล้ว จึงยังไม่มีแนวโน้มว่าจะมีแรงงานเข้ามาเพิ่มเติมมากนัก เนื่องจากเศราฐกิจไทยยังมีอัตราการเจริญเติบโตไม่สูงด้วย
ประการที่สอง ชาวไทยจำนวนมากเข้าใจว่า ประชาคมอาเซียนจะมีความเสรีมากในลักษณะใกล้เคียงกับ EU แต่ในความเป็นจริง อาเซียนยังมีข้อจำกัดมากมายเร่ิมจากด้านสินค้ายังมีสินคั้าอ่อนไหวหลายรายการที่ภาษียังไม่เป็นศูนย์ และมีมาตรการกีดกันอื่นๆ เช่นมาตรฐานสินค้าและสุขอนามัย ที่สำคัญ AFTA หรือเขตกรต้าเสรีอาเซียนได้เสร็จอาเซียนได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว ตั้งแต่ต้นปี 2553 ในหมู่ 6 ชาติสมาชิกอาเซียนเดิม คือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และบรูไน กซึ่งก็ยังไม่ปรากฎว่ามสินค้าจากชาติอาเซียนทะลักเข้าไทยมากนัก กลับเป็นสินค้าจีนเสียอีกที่เข้ามามากก
ด้านแรงงาน อาเซียนได้ตกลงกันเพียงให้มี "การอำนวยความสะดวำ" ในการเคลื่อนย้ายแรงงานทักษะสูง 8 อาชีพ คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิสซกร สถาปนิก ช่าวสำรวจ นักบัญชี และอาชีพที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ซึ่งยังไม่ใช่การเปิดเสร เพราะยังต้องไปสอบไบอนุญาตประกอบวิชาชีพที่ประเทศที่ประสงค์จะไปทำงานทั้งขอเขียนและสัมภาษณ์ในภาษาของเข ทำให้เป็นไปได้ยากที่จะมีการเคลื่อนย้าย นอกจากนั้น ยัะงจะมีอุปสรรคโดยธรรมชาติในเรื่องของภาษาในการสื่อสาร เช่น ระหว่างแพทย์กับคนไข้ ซึ่งก็จะทำให้นักวิชาชีพจากชาติอาเวยนอื่นเข้ามาทำงานในไทยได้ยากเช่นกัน
การเคลื่อยยย้านแรงงานทักษะสูงที่จะเป้ฯไปได้ จะเป้ฯการเคลื่อยย้ายที่ไปพร้อมกับการลงทุนของธรกิจไทยมากกว่า เช่น ในกิจการก่อสร้าง โรงแรม ดรงพยาบาลหรือคลินิคในประเทศอาเซียน ที่มักจะนำนักวิชาชีพไทยไปทำงานด้วย
ด้านการลงทุน อาเซียนตกลงกันให้ะูรกิจจาชาติอาเซียนสามารถลงทุนในชาติอาเซียนอื่นได้ แม้แต่ในภาคลริการ ดดยสามารถือหุ้นได้สุง 70% ซึ่งยังไม่ถึง 100% อีกทั้งบางชาติสมาชิกยังไม่ได้แก้กฎหมายภายในที่จะอนุญาตดังกล่าว เท่าที่ผ่านมา จึงมักมีการใช้นอมินีคนชาติที่จะไปลงุทนเป็นผุ้ถือหุ้นแทน ซึ่งเป็นเจ้าของทุนแต่เพียงในนาม
ทั้งนี้ ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เกิดจากความสับนระหว่างอาเซียน "ตามข้อตกลงของรัฐ" กับอาเซียน "ตามกลไกตลาด" โดยมักจะเข้าใจกันว่า เมื่อเปิดประชาคมอารเซียนตามข้อตกลงของชาติอาเซียนใปลายปี 2558 แล้ว ความเสรีและธุรกรรมทางเศราฐกิจจะเพ่ิมขึ้นอย่างอัตโนมัติ ซึ่งที่จริง เป็นเพียงเดดไลน์ที่กำหนดให้รัฐสมาชิกปรับแก้กฎข้อบังคับต่างๆ ให้เสร็จสิ้น และให้มีมาตรการอำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งเป็นไปได้ว่า บางชาติอาจไม่สามารถดำไเนินการบางอย่างได้ทัน หรือไมสมบูรณ์ เช่น การแก้กฎหมายภายในเพื่อนุญาติการลงทุน การอำนวยความสะดวกแบบ ซิงเกิล วินโดว์ และก้ไม่ได้กมายความว่า แม้ดำเนินการได้แล้ว จะเกิดความเสรีหรือการเคลื่อนย้ายขึ้นมากจริง ทั้งนี้ เพราะจะขึนอยู่กับกลไกตลาดเป็นสำคัญ โดยข้อตกลงอาเซียนอาจช่วยอำนวยความสะดวกได้บ้างเท่านั้น...
"บทความชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกใน กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 23 ธันวาคม 2558"
- aseanwatch/../อกหักจากอาเซียน/...
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น