วันอังคารที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

Kuala Lumpur Declaration on the East Asia Summit

               EAS ย่อมาจาก East Asia Summit หมายถึง การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก เกิดขึ้นากการประชุมสุดยอดอาเซียน + 3 เมื่อปี พ.ศ. 2547 ซึ่งผุ้นำอาเซียน +3 เห็นตรงกันว่าการจัดตั้งเอเชียตะวันออก EASเป็นเป้าหมายระยะยาวของกรอบอาเซียน + 3 และเห็นควรให้มีการจัดประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2548 ที่ประเทศมาเลเซีย โดยมี 16 ประเทศเข้าร่วมได้แก่ 10 ประเทศอาเซียน และ จีน ญี่ป่นุ เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
             มีการลงนามปฏิญากรุงกัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการประชุมสุดยอดเอเชีย -ตะวันออก Kuala Lumpur Declaration on the East Asia Summit ซึ่งกำหนดให้ EAS เป็นเวทีสำหรับการหารือประเด็นทางยุทธศาสรตร์การเมืองและเศรษฐกิจที่เปิดกว้างและครอบคลุม
             การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก เป็ฯการประชุมระดับผุ้นำประเทศ ซึ่งเกิดขึ้นจากแนวคิดของอตีตนายกรัฐมนตรี มหาเธร์ บิน โมฮัมหมัดของประเทศมาเลเซีย ที่ได้เสนอแนวคิดจัดตั้งความร่วมมือทางเขตเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก East Asia Economic Caucus : EAEC ในปี 1991 ซึ่งจะเป็ฯการรวมกลุ่มเฉพาะประเทศเอเชียตะวันออกโดยไม่มีสหรัฐอเมริการรวมอยู่ด้วย เพื่อถ่วงดุลอำนาจหรัฐอเมริการนั่นเอง แต่แนวคิดนี้ไม่ได้รับการตอบสนองจากหลายประเทศ โดยเฉาพะญี่ปุ่น
             ต่อมาในปี 2002 ได้มีกลุ่มศึกษาเอเชียตะวันออกซึ่งจัดตั้งดดยกลุ่มประเทศอาเซียน +3 ทำรายงานให้มีการจัดประชุมสุดยอดขึ้นเป็นประจำของสมาชิกเอเชียตะวันออก โดยมีอาเซียนเป็นแกนำ และในการจัดประชุมนั้นจะต้องเชื่อมโยงกับการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนด้วย
             EAS ถือกำเนิดขึ้นในป 2004 จากการประชุมสุดยอดอาเซ๊ยน +34 และในปี 2005 มีสมาชิกมาร่วมอีก 3 ประเทศ รวมทั้งสิ้น 16 ประเทศ หรืออาเซียน + 6 โดยมีการลงนามและประชุมครั้งแรกที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ต่อมา ในการประชุมครั้งที่ 2 ปี 2007 ที่ประชุมได้เห็นชอบให้กำหนดสาขาความร่วมมือหลัก 5 สาขา ได้แก่ พลังงาน การศึกษา การเงิน และการจัดการภัยพิบัติไข้หวัดนก(ต่อมาได้ปรับเป็นประเด็นสาธารณะสุขระดับโลกและโรคระบาดในปี 2011) อีทั้งเห็นชอบข้อเสนอของญี่ปุ่นให้จัดตั้ง Economic Research Institute for ASEAN and East Asia : ERIA และจัดทำ Comprehensive Economic Partnership in East Asia : CEPEA การประชุม EAS ครั้งที่ 5 ในปี 2010 ณ กรุง ฮานอย ประเทศเวียดนาม ที่ประชุมได้มีมติรับประเทศสหรัฐอเมริกา และรัสเซีียเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ โดยประเทศทั้งสองเข้าประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกอย่างเป็นทางการในการประชุมครั้งที่ 6 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในปี 2011 ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 18 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซึีแลนด์ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย
              บทบาทสำคัญของ EAS คือ การประสานนดยบายระหว่างประเทศสมาชิกทั้งทางด้านเศราฐกิจ การเมืองและสังคม โดย เฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันให้เกิดการจัดตั้งความตกลงเขตการต้าเสีเอเชียตะวันออก East Asia Free Trade Area : EAFTA และการจัดตั้งประชาคมเศราฐกิจเอเชียตะวันออก East Asia Economic Community : EAEC ต่อไป
              การประชุม EAS ครั้งที่ 9 จัดขึ้น ณ กรุงเนปิดอว์ ประเทศเมียนมา ปี 2014 โดยประธานในที่ประชุม คือ ฯพณฯ U Thein Sein ประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา มีผลการประชุมที่สำคัญบางประเด็น ดังนี้
              - ที่ประชุมได้รับรองเอกสารจำนวน 4 ฉบับ คือ ปฏิญญาการประชุมสุดยอเอเชียตะวันออก ว่าด้วยการปราบปรามการลักลอบค้าสัตว์ป่า, แถลงการณ์การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ว่าด้วยแนวทางในการตอบสนองอย่างเร่ิงด่วนต่อัยพิบัติ, แถลงการณืร่วมว่าด้วยการรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบล่าของภุมิภาค และ แถลงการณ์การประชุมสุดยอเอเชียตะวันออกว่าด้วยความรุนแรงและความโหดร้ายที่เพิ่มขึ้นจากการกระทำขององค์องคก์การก่อการร้าย/หัวรุนแรง ่ในอิรักและซิเลีย
              - ในการประชุม EAS คงความเป็นเวทีหารือเชิงยุทธศาสตร์ระดับผุ้นำทีเปิดกว้าง โปร่งใส และครอบคลุม โดยมีอาเซียนเป็นแกนกลางในการขับเคลือน รวมทั้งส่งเสริมค่านิยมร่วมและแนวปฏิบัติ ที่เป็นสกล ตลอดจนหลักนิติะรรมและกำหมายระหวา่ประเทศ
             - มีการกระชับความร่วมมือใน 6 สาขาที่ EAS ให้ความสำคัญในลำดับต้น ได้แก่ การเงิน พลังงาน การจัดการภัยพิบัติ การศึกษา สาธารณสุข และความเชื่่อมโยง
             - สนับสนุนให้มีการจัดประชุมรัฐมนตรีคลัง EAS เป็นประจำทุกปี
             - การให้ความสำคัญกับความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติ
             - สนับสนุนข้อเสนอร่วมของออสเตรเลียและเวียดนาม ที่ตั้งเป้าหมายร่วมกันที่จะขจัดมาลาเรียให้หมดไปจากภุมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในปี 2030
             - มีการแสดงความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาและสนับสนุนความร่วมมือในเรื่องนี้ โดยหลายประเทศได้ให้ความช่วยเหลือทั้งในด้ารงบประมาณและอุปรากรณ์ทางการแพทย์
         
 - ประเด็นความมั่นคงทางทะเล โดยเฉพาะในบริบทสถานการณ์ในทะเลจีนใต้ ซึ่งมีประชุม ฯ ย้ำถึงการแก้ไขปัญหาด้วยการเจรจาอย่างสันติ โดยให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ การใช้ความยับยั้งชั่งใจไม่ดำเนินการใด ๆ ที่ทำใหสถานการณ์ทวีความตึงเครียดมากขึ้น และการเจรจาจัดทำแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้
            - ประเด็นปัญหาคาบสมุทรเกาหลี สนับสนนุให้มีการปฏิบัติตามข้อมติที่เกี่ยวข้องของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ รวมทั้งสนับสนุนความพยายามต่างๆ ที่จะทำให้กลับคืนสู่การเจรจา 6 ฝ่าย ที่ประกอบด้วย เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ รัสเซีย จีน ญี่ป่นุ สหรัฐอเมริกา
            - ประเด็นปัญหาความรุนแรงจากกลุ่มก่อการร้ายในอิรักและซีเรีย Isalamic State of Iraq and the Levant : ISIL มีการเรียกร้องให้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงของ UNSC และการส่งเสริมความร่วมมือเพือก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการ โดยสนับสนนุการแลกเปลี่ยนข้อมุลกันให้มากยิ่งขึ้น และการส่งเสริมความมั่นคงชายแดน..(www.aseanthai.ne... บทความพิเศษ "การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก : ประเด็นที่สำคัญบางประเด็นจากการประชุมครั้งที่ 9)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...