วันอังคารที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

East Asia Community : EAC

               สาเหตุผลักดันของการรวมกลุ่มเอเชียตะวันออก คือ "วิกฤติต้มยำกุ้ง" ปี 2540 ที่ปรเทศไทยถูกโจมตีค่าเงินบาท โดยกลุ่มทุนจากตะวันตก (การปล้นทางเศรษฐกิจ) อเมริกาในฐานะพันธมิตรนอกนาโต้ กลับยืนมองไทยล้มไปเฉยๆ เมื่อไทยล้ม อินโดนีเซียก็ล้มตาม ตามด้วยเกาหลีใต้ ฟิลิปินส์ มาเลเซีย จึงตกหลักที่ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศในฐานะผู้ให้กู้รายใหญ่ในเอเซีย เพราะลูกหนี้ไม่มีจ่าย ส่วนจีนในตอนนั้นไม่ยอมลดค่าเงินของตัวเอง เพื่อช่วยพยุงอาเซียนและเอเชีย จีนจงเป็นที่เกรงใจ ต่อประเทศใน อาเซียนในเวลาต่อมา
              ไทย อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ ต้องเข้าดครงการอกงทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF โดย IMF ให้เงินมาก้อนหนึ่งและในทั้ง 3 ประเทศ ลดการใช้จ่ายทงการเงินภาครัฐ และต้องปล่อยให้ธนาคารที่อ่อนแอล้ม นั้นหมายคึวามว่าา มไ่มีการลงทุนจากภาครัฐ และธุรกิจธนาคารพังทลาย เครื่องจักรสำคัญทางเศรษฐกิจ ตัวสำคัญหายไป ผลที่ตามคือ กลุ่มตะวันตกเข้ามาซื้อกิจการของไทย และเอเชีย เกือบทั้งหมด...
              มาเลเซีย นำโดย ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด รุ้ทันสถานะการณ์และมีความสามารถ ไม่ยอมเขาโครงการ IMF และรัฐบาลมาเลเซียน ได้เร่งการลงทุนภาครัฐ และตรังค่าเงินเพื่อลดความผันผวน ผลก็คือ มาเลเซีย ฟื้นตัวเร็วที่สุด อักทั้งไม่ต้องเป็นหนี้ ..
              ณ ตอนนั้นคนไทยมีความรุ้สึกแย่กับอเมริกาเป็นอย่างมาก และเหมือนตบหัวแล้วลูบหฃบัง อเมริกาขายเครื่องบิน F-16 ADF แบบถูกๆให้ไทย มาหนึ่งฝูง แต่ไทยไม่ซื้อเครื่องบินจาอเมริกาอีก ไทยไปซื้อของสวีเดน เป็นเครื่องรุ่น JAS-39 เมื่ออเมริการรู้ข่าว จึงส่งจดหมายทางการมาว่า "อเมริกาไม่เข้าใจ ทำไมประเทศไทยที่ซื้อเครื่องบิน และระบบอาวุธของอเมริกามาตลอก ทำไมจึงได้ตัดสินใจซื้อเครื่องบินของสวีเดน"..
             ความจริงปรากฎอีกครั้งเมื่อง ปี พ.ศ. 2552(2009) "วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์"อเมริการกลับยทำทุกอย่างที่ตรงกันข้ามกับที่ IMF เคยสั่งให้ไทย ทำเมื่อปี 2540 นั่นคือเร่งใช้จ่ายภาครัฐ ลดดอกเบ้ย ตรึงค่าเงิน ประครองธนาคารใหญ่ ไม่ให้ล้ม และรักษาระบบการเงินการธนาคารเอาไว้ สุดท้าย เอเชีย เมื่อได้เห็นปบบนั้น ก็รู้สึกไม่ดีกับ IMF มากขึ้น และในปี 2552 เอเชียนจึงจัดการตั้ง "กองทุนการเงินเอเชีย" หรือ AMF ขึ้นมา แล้วส่งเงินเข้า IMF ให้น้อยลง ผลที่ตามมาคือ IMF ขาดเงิน เพราะเงินทุนส่วนใหญ่เป็นของเอเชีย..(toppicstock.pantip.com/...งานเขียนเกี่ยวกับ "ประชาคมเอเชียตะวันออก")
               กล่าวได้ว่า ในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา เอเชียตะวันออกเป็นหัวจักรสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกวิกฤตเศรฐกิจในเอเชียเมื่อ พ.ศ. 2540-2541(1997-1998) ส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อเศณาฐกิจของปลายประเทศในภุมิภาคเอเชียตะวันออก ทำให้เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในภุมิภาคชะลอตัวลงชั่วคราว แต่วิกฤติดังกล่าวกลับช่วยกระตุ้นให้ประเทศในภุมิภาคตระหนักถึงความเชื่อมโยงและการพี่งพากันทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การจัดตังกรอบความร่วมมืออาเซียน +3 ญี่ปุน จีน และเกาหลีใต้ กลไกสำคัญในการขับเคลื่อนความร่วมมือในเอเชียตะวันออกโดยมีเป้าหมายระยะยาวคือการจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก
 การประชุมอาเซียน +3 จากวิกฤตเศราฐกิจในเอเชียในปี 2540 ส่งผลให้กลุ่มประเทศในเอเชียนตะวันออกเห็นพ้องกันมากขึ้นถึงความจำเป็นในการรวมตัวทางเศณษฐกิจระหว่างกันจะทำให้เกิดการพบหารือกันอย่างไม่เป็นทางการของผุ้นำของประเทศในอาเวียน ผุ้นำญีปุ่น จีนและเกาหลีใต้ ในปี 2540 และนำไปสู่การจัดตั้งกรอบความร่วมมืออาเซียน+3 ซึ่งมีพัฒนาการมาโดยลำดับ โดยที่สำคัญได้แก่ 1) การออกเเถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออกฉบับที่ 1 ในปี 2542 ซึ่งทไใ้กรอบอาเวียน+3 ก่อตัวเป้นรูปร่างอย่างชัดเจน 2) การจัดตั้งกลุ่วิสัยทัศน์เอเชียตะวันออก East Asia Vision Group : EAVGในปี 2542 ได้ช่วยวางวิสัยทัศนืของการจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก 3) การจัดตั้งกลุ่มศึกษาเอเชียตะวันออก East Asia Study : EASG ได้นำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะมาตรการความร่วมมือที่ช่วยส่งเสริมความร่วมมือในกรอบอาเซียน +3 และรักษาพลวัตรความร่วมมือที่ดำเนิมาด้วยดีในช่วงทศวรรษแรกให้ดำเนินไปได้อย่างมั่นคงโดยเฉพาะภายหลังที่มีการจัดตั้งเวทีความร่วมมือใหม่ ได้แก่ การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก East Asia Summit : EAS ซึ่งเดิมที่จะเป้ฯวิวัฒนาการของการประชุมสุดยอดอาเซียน +3
               การประชุมสุยอดเอชียตะวันออก East Asia Summit : EAS การจัดตั้ง EAS ในปี 2548 เป็นพัฒนากรที่สำคัญในความร่วมมือเอเชียตะวันออกเนื่องจากเป้นการเปิดมิติใหม่ของความสัมพันธ์และความร่วมมือในภูมิภาคและมีการเปิดโอกาสให้ประเทศนอกภูมิภาคเข้ามามีส่วนร่วมด้วย โดยประเทศอาเซียน +3 ที่ผลักดันให้ประเทศนอกภุมิภาคได้เข้าร่วมใน EAS แม้จะมีเหตุผลแตกต่างกันไ ปแต่ก็มีเป้าหมายตรงกัน คือ ไม่ต้องการให้ EAS จำกัดอยุ่เฉพาะแค่ประเทศอาเวียน +3 เนื่องจกายังมีความหวากระแวงกันเองทั้งที่จุประสงค์พั้งเิมของ EAS จะเป็นวิวัฒนาการของการประชุมสุดยอดอาเวียน +3 ซึ่งจะจัดขึ้นเมื่อประเทศอาเซียน +3 มีความไว้เนื้องเชื่อใจกันมากพอ
               ปัจจุบัน EAS ประกอบไปด้วยสมาชิก 16 ประเทศ ซึ่งได้แก่ ประเทศอาเซียน +3 และประเทศที่เข้ามาใหม่ 3 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งมักเรียกันว่าอาเซียน +6 โดยในมุมมองของอาเซียน EAS จะเป็นเวทีใหม่อีกเวทีหนึ่งที่อเว๊ยนปรารถนาจะมีบทบาทนำ แต่ในมุมมองของประเทศภายนอกอาเซียนโดยเฉพาะประเทศที่เข้ามาใหา่ทั้ง 3 ประเทศ EAS เป้ฯเวทีที่ประเทศทัง 16 ประเทศมีความเท่าเทียมกัน
EAS จะเข้ามาแทนที่กรอบอาเซียน+3 หรือพัฒนาคุ่ขนานกันไปจะทำให้ความร่วมมือในเอเชียจตะวันออกเข้มข้นขึ้นหรืออ่อนแอลงเป้นส่ิงที่ต้องศึกษากันต่อไป อย่างไรก็ดี EAS อาจเป็นผลดีต่อความร่วมมือในเอเชียตะวันออกในระยะยาว เพราะจะช่วยให้ความร่วมมือในเอเชียตะันออกมพลวัตมากขึ้น การที่เป็นเวทีความร่วมมือที่เปิดกว้างไม่จำกัดเฉพาะประเทศในเอเชียตะวันออกทำให้ EAS สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโครงกสร้างทางเศรษฐกิจและการเมืองของโลกได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังอาจใช้เป้ฯเครื่องมือสำคัญควบคุมจีน หากในอนาคตจีนมีท่าที่เปลี่ยนไปในทางที่พยายามจะแสดงอิทะิพลมากขึ้นทั้งนี้ ในปัจจุบัน EAS มีการประชุมมาแล้ว 5 ครั้ง ในการประชุม EAS ครั้งที่ 5 นเดือนตุลาคม 2553 ที่กรุงฮานอย ได้มีการออกเอกสาร Ha Noi Declaration on Commemoration of 5th Anniversary of the EAS เพื่อแสดงเจตนารมณ์และพันธะทางการเมืองในการสงเสริมความร่วมมือและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับ EAS ต่อไป รวมทั้งขยายสมาชิก EAS โดยสหรัฐอเมริกาและรัสเซียนเข้าร่วมประชุมด้วยใรกาประชุมครั้งที่ 6 ในปี 2554 อย่างไรก็ดี กรอบอาเวียน +3 เป็นกรอบที่มีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาไปได้มากกว่า EAS เนื่องจากมีความร่วมมือที่มีความก้าวหน้าไปแล้วในหลายๆ ประเด็น..(บทความ "บทบาทของญี่ปุ่นในประชาคมอาเซียนตะวันออกและนัยต่อประเทศไทย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...