ASEAN Inditification

       
  อัตลักษณ์อาเซียน ชาตินิยมเหนือภูมิภาค นักวิชาการไทยมอง การสร้างอัตลักาณือาเซียน มีอยุ่ แต่ไม่ถูกผลักดันประชาสัมพันธ์เท่าที่ควร
           ในช่วงเวลาที่ทุกภาคส่วนในไทยำลังเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดประชาคมอาเวียนในปี 2558 โดยเฉพาะในด้านเสรษบกิจการเมือง เรื่องของวัฒนธรรมกลับไม่ค่อยมีใครพูดถึง โดยเแพาะการสร้างอัตลักษณ์อาเซียน ซึ่งนักวิชาการไทยมองว่ามีอยุ่ แต่กลับไม่ถูกผลักดันประชาสัมพันธ์เท่ารที่ควร
           คงต้องยอรับว่าในช่วง 2-3 ปีมานี้ ภาพธงอาเวียนปลิวไสว หรือการจัดกิจกรรมสัมนา ไปจนถึคงรายการและข่ายตามสื่อมวลชนทุกแขนงเกี่ยวกับอาเซียน เป้นหลักฐานบ่งบอกได้เป็นอย่างดีว่าสังคมไทยกำลังตื่นตัวกับการเข้าสู่การเปิดเสรีประชาคมอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบในปลายปี 2558 ที่จะถึงนี้อย่างมาก
           แต่ส่วยใหญ่แล้ว การพูดคุยภกเถียง และเตรียมความพร้อมสำหรับทั้เงเอกชนและราชการไทย มุ่งเน้นที่ความร่วมมือ้ดานเศรษบกจและการเมืองมากกว่าในด้านสังคมวัฒนธรร ทั้งๆ ที่เรื่องของอัตลักษณ์และวัฒนธรรมร่วมอาเซียนเป็นปัจจัยหลักที่จะส่งเสริมให้การรวมประชาคมอาเซียนเป็นไปอย่างราบรื่น ตามคำขวัญอันสวยหรูที่ว่า วัน วิชัน, วัน ไอเดนติตี้, วัน คอมมูนนิที้ หรือ หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม
           ด้วยเหตุนี้ การจัดงานสัมนาของกรมประชาสัมพันะ์ ภายใต้หัวข้อ "อัตลักษณ์อาเซียนมีหรือไม่"ซึ่งมีสื่อมวบชนแลบะนักวิชาการมาร่วมงานเป้นจำนวนมาก จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือด้านสังคมวัฒนธรรมในอาเซียน โดยเฉพาะการหาอัตลักษณ์ร่วมกันที่มากกว่าคำพูดที่ว่า "อัตลักษณ์ของอาเซียนก็คือความหลากหลาย" ซึ่งกลายเป็นการย้อนแย้งว่าอัตลักษณ์ของอาเซียนก็คือการไม่มีอัตลักษณ์นั่นเอง
           ผุ้ช่วยศาสตรจารย์กิตติ ประเสริฐสุข ผุ้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าว่าอัตลักษ์ร่วมของอาเวียนมีอยู่หลายประการ แต่เป็นทั้งในแง่บวกและแง่ลบโดยในแง่บวก ก็คือการมีประวัติศาสรต์ร่วมกันในการเคยตกเป้นอาณานิคมของชาติตะวันตกและต้องต่อสู้เรียกร้องเอกราช ไปจนถึงวัฒนะรรมการรักครอบครัว อุปนิสัยร่าเริง การเป็นเจ้าภาพที่ดีไปจนถึงวัฒนธรรมที่เป้ฯรูปธรรมอย่างอาหารหรือสถาปัตยกรรมที่มีรากเหง้าใกล้เคียงกัน
           ขณะที่อัตลักษณ์ร่วมของชาติอาเซียนในแง่ลบ ก็คือการทุจริตคอรัปชั่น เล่นพรรคเล่นพวกไปจนถึงการปกครองแบบเผด็จการอำนาจนิยม ที่แอบแผงอยุ่แม้แต่ในประเทศที่ดูเป็นประชาธิปไตยอย่างไทยและสิงค์โปร์ และที่สำคัญที่สุดก็คือวัฒนธรรมชาตินิยมล้นเกิน ที่สร้างความบาดหมางดดยไม่จำเป็นระหว่างชาติสมาชิกอาเซียนหลายครั้ง โดยล่าสุด ก็คือกรณีพิพาทพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งถือเป็นความล้มเหลวของวัฒนธรรมอาเซียน
         
 ซึ่งในเรื่องนี้ ศาสตรจารย์พิเศษชาญวิทย์ เกาษตรศิริ อดีตอธิการบิดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ให้ความเห้นว่า วัีฒนธรรมชาตินิยม ซึ่งังคงอยู่เหนือวัฒนธรรมภุมิภาคนิยมตามที่อาเซียนควรจะมี เกิดจากส่ิงทีเรียกว่า "ประวัติศาสตร์บาดแผล" หรือการที่แต่ละชาิตสร้างประวัติศาสตร์แบบกล่าวหาชาติเพื่อบ้านโดยเฉพาะในแบบเรียนประวัติศาสตร์ตั้งแต่ประภมจนถึงมัธยมปลายซึ่งทำให้เกิดทัศนคติผิดๆ ระหว่างประชาชน กลายมาเป้นปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาติสมาชิกอาเซียน
            ศาสตราจารย์ชาญวิทย์ยังกล่าวอีกว่า การสร้างอัตลักาณืและความร่วมมือทางสังคมวัฒนธรรมที่สำคัญในอาเซียน จึงควรเริ่มจากให้รัฐมนตรรีศึกษาธิการชาติอาเซียน ร่วมกันสะสางหลักสูตรการเรียนประวัติศาสตร์ที่เน้นสันติภาพ และสร้างความเข้าใจระหว่างชาติเพื่อนบ้านมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
            ศาสตราจารย์ชาญวิทย์ยังกล่าวทิ้งท้ายอีด้วยว่า หากคนไทยและชาวอาเซียนทั้งหมดต้องการพัฒนาเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างราบรื่น จะต้องอาศัยความใกล้ชิดทางสังคมวัฒนธรรมในระดับประชาชนอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นการเรียรุ้ภาษาชาติเพื่อบ้านหรือการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศอาเซียน มากกว่าการติดธงชาติหรือแต่งกายชุดประจำชาติที่ไม่ได้ใช้แต่งกันจริงๆ ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ทีศนคติภูมิภาคนิยม อยู่เหนือความเป็นชาาตินิยมทีฝังรากลึกมานานในอาเซียนให้ได้...https://www.voicetv.co.th/read/60616
            วิถีอาเซียน ตัวขวางการหลอมรวมประชาสังคม
             การเสวนาเรื่อง "มองไปข้างหน้า : ประชาคมสังคมและวัฒนธรรอาเซียน" โดย ศ.ดร.อาภรณ์ สุวรรณ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระบุว่า ความร่วมมือในกรอบอาเซียน เป็นผลผลิตจากการตกลงของรัฐบาล ซึ่งแต่ละประเทศมีอิสระในการกำหนดนโยบายร่วมกัน ดดยมีข้อตกลงต่างๆ และ "วิถีแห่งอาเซียน" เป็นตัวกำกับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า บทบาทของภาคประชาสังคมในการบูรณาการอาเวียนถูกละเลย นำไปสู่คำถามสำคัญที่ว่ อัตลักษณ์ที่มีร่วมกัน และความเป็อาเซียนคืออะไร.... ในความพยายามสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียว ในรัฐชาติซึ่งเกิดใหม่แต่ละประเทสยังมีประชาชนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งพยายามรักษาอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของตัวเองที่มีอยุ่มาตั้งแต่ก่อนเกิดความเป็นรัฐชาติ เมื่อเรื่องรัฐชาติเป็นเรื่องใหม่ ผสมกับความรู้สึกแบบชาตินิยม ทำให้การสร้างจิตสำนึกความเป็นอาเวียน และการสร้างอัตลักษณ์ร่วมกัน เป็นเรื่องที่ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะต่างยังต้องการคงความเป็นอิทธิพลทางวัฒนธรรมในแบบรัฐ มีความเป็นเจ้าของวัฒนธรรมตามแบบชาตินิยม แบ่งแยกกีดกันวัฒนธรรมจากเพื่อบ้านแม้หลายวัฒนธรรมจะมีรากฐานกันมาแต่เดิม
            ปัญหาเรื่องอัตลักษณ์ ความสับสนทงปรวัติศาสตร์ และเส้นแบ่งเขตแดนที่ละเลยเชื้อชาติ และอัตลักษณ์ยังทำให้เกิดปัญหาเรื่องความมั่นคง ทั้งในระดับรัฐ และระดับระหว่างประเทศ เช่น ปัญหาบริเวณพรมแดนไทย-มาเลเซีย หรือบริเวณพรมแดนมาเลดซีย-ฟิลิปปินส์
            ศ.ดร. ธเนศนำเสนอประเด็นว่ สิ่งหนึ่งที่ชาติสมาชิกอาเวียนมีร่วมกันเกือบทุกประเทศ ยกเว้นไทยคืออิทธิพลจากชาติตะวันตก ผ่านการเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคม ซึ่งไม่ได้มาด้วยความสมัครใจของชาติสมาชิก การบังคับ-กดขี่จากชาติตะวันตก กลับทำให้เกิดระบบระเบียบ ภาษา และแนวคิด ตามแบบตะวันตกแท้ๆ ที่ทำให้ชาติอาเซียนหลายชาติมีความเชื่อมฝดยงกับประเทศแม่ จากทางยุธโรป มากกว่ารากเหง้าแต่เดิม เช่นใน ฟิลิปปินส์ ี่มองว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของสเปน และความเป็นยุโรป จนถึงก่อนการเกิดการตระหนักรู้ถึงความเป็นเอเชียเมื่อทศวรรษที่ 1880-1900 ฟิลิปปินส์จึงเร่ิมมองสภานะตัวเองว่าเป็นส่วนหนึ่งของโลกมลายู แลเริ่มหันหน้ายอมรับอัตลักาณ์ความเป็นอาเซียนมากขึ้น
            การปลุกระดดมกระแสชาตินิยมไปจนถึงการพัฒนาทางด้านเศรบกิจและสังคมอย่างก้าวกระโดด ตามตัวแบบอย่างญี่ปุ่นในหลายประเทศ ยัวทำให้เกิดชนชั้นใหม่ในอาเซียนอย่าง"ชนชั้นกลาง" ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ปรับตัวและเติบโตขึ้นพร้อมกับสังคมเมือง ทำให้ไม่ยึดติดกับอัตลักษณ์และวัฒนธรรมดังเดิม และพร้อมที่จะมีบทบาทในกรประสานความร่วมมือ เพื่อสร้างสิ่งที่ดีกว่าขึ้นใหม่ในอนาคต
            จริงอยู่ ที่การก่อตั้งอาเซียนในยุคเริ่มแรก เป็นเหตุผลทางการเมืองเนื่องจากต้องการต้านภัยคอมมิวนิสต์ โดยชาติสมาชิกทั้ง 5 ชาติ ต่างได้รับอิทธิพลจากโลกเสรีฝ่ายตะวันตก กระทั้งเมื่อผ่านไประยะหนึ่ง เห็นว่าการแบ่งแยกกีดกันเพื่อบ้านไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันในภุมิภาคเท่าความร่วมมือ จึงเกิดความพยายามประสานความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ร่วข้อตกลงระวห่างกันและตั้งเป้าที่จะเป็น "ประชาคมอาเซียน" ในปี 2558 นี้
             
จะเห็นได้ว่า การตัดสินใจของอาเซียนแต่ละครั้งนั้น เป็นไปเพือผลประโยชน์ของ "รัฐ" ในองค์รวมเป็นสำคัญ ทำให้ความพยายามที่จะสร้างอัตลักษณ์ร่วมกันของชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นความพยายามด้านโครงสร้าง ที่ดำเนินการโดยส่วนกลางหรือรัฐบาลของประเทศสมาชิกมาตลอด นอกจากนี้ "วิถีแห่งอาเซียน" เองก็ยังเป็นตัวขัดขวางพัฒนาการ เพราะทำให้การตัดินใจเชื่องช้าต้องรอทุกชาติลงมติเป็นเอกฉันท์ ขณะเดียวกันก็ห้ามแทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน ทำให้ข้อตกลงทั้งหลายทีทำไว้ไม่สามารถออกมาเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะเรื่องสิทธิมนุษยชน เช่นการต้ามนุษย์ การปิดกั้นเสรี ภาพในการสื่อสาร และการต้้งคำถามต่อรัฐบาล ซึ่งถูกปิดกั้นไม่ให้มีการแทรกแซงแก้ปัญหาระว่างกัน ตามวิถีแห่งอาเซียน
               ศ.ตร. ธเนศระบุอกีว่า "อาเซียนจะเป็นประชาคมไม่ได้ หากยังมีการใช้อำนาจเกินหน้าที่โดยเจ้าหน้าที่รัฐ หร้อมเสนอว่า หากมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมร่วมกัน การเข้าพื้นที่ไปศึกษา ส่งเสริมบทบาทของสภาบันอาเซียน  ในการแทรกแซงกิจการภายในแบบเชิงบวก ก็อาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขั้นได้นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีกาชำระประวัติศาสตร์ ร่วมกันในหมู่ชาติสมาชิก เพื่อทำความเข้าใจรากเหง้าที่มีร่วมกัน สร้างความเป็นหนึ่งเดียว ความเข้าสใจซึ่งกันและกันและการไม่แบ่งแยกในปมู่ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และวัฒนธรรมอาเซียน" จากความร่วมมือในระดับบนของภาครัฐ ผสานกับขัยเคลื่อนความร่วมมือในระดับบุคคลของภาคประชาสังคมทั้งในและระหว่างชาติสมาชิก จะช่วยส่งเสริมกันให้กลายเป็นการบูรณาการที่ได้ประโยชน์ในระยะยาว...https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNU9UZzJOemM1TXc9PQ==

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)