Cultural identity

          อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม : มิตินิทัศน์เพื่อพิจารณาอัตลักษณ์ของชาติ
          วัฒนธรรมเกิดขึ้นจากความเป็นมนุษย์ ที่จะต้องอยู่รวมกันเพือสามารถดำรงอยู่ไดและกาอรอยู่ร่วมกันก็ต้องมีการสร้างอะไรบางอย่าง และส่ิงที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อให้ดำรงอยู่ร่วมกันให้ได้นั้นคือส่ิงที่เรียกว่า วัฒนธรรมซึ่งจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของแต่ละสังคมซึ่งลักษณะเด่นของแต่ละวัฒธรรมที่เป็นลักาณะเฉพาะของสังคมที่ทำให้แต่ละสังคมแตกตางกันนั้นเรยกว่า อัตลักษณ์ ฉะนั้นอัตลักษณ์ถือได้ว่าเป็นผลรวมของการดำเนินการหรือการกำรกระทำของสังคมนั้นๆ
            ลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมในด้านตางๆ ในแต่ละสังคมที่หลากหลายของโลกนี้นั้น เราสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างพื้นฐานระหว่าง "ลักษณะตะวันตก" และ "ลักษณะตะวันออก" ด้วยใช้เกณฑ์ขงอ แอนเดอร์สัน เจน เซอร์แวซส์ ที่ได้สรุปไว้ในหนังสือ คอมูนิเคชั้น เยียร์บุค ในบทความเรื่อง " Cultural Identity and Modes of Communication" ซึ่งสามารชี้ให้เห็นลักษณะของแต่ละวัฒนธรรมโดยทัวไปไว้คือ
            - แนวคิดเกี่ยวกับโลก ในวัฒนธรรมตะวันออกนั้นมีความเชือในเรื่องของความเป็นหนึ่งเดียวกับ โลกและจักรวาล ในขณธที่โลกตะวันอตกนั้นเชื่อในอำนาจ แห่งการควบคุม ความรู้ ในแบบของโลกตะวันออก นั้นมีจุดหมายไปในวิถีทางที่ดีกว่าและทำให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นที่จะพบกับการสอดประสานกันอย่างกลมหลือนระหว่างธรรมชาติและมนุษย์ในขณะที่ความรู้แบบตะวันตกจะมีจุดมุ่งหมายในเรื่องของความสงบสุขที่ควบคุมได้ และเพื่อให้ระบบระเบียบเป้ฯคุณค่าที่ดีที่สุด
            - แนวคิดเกี่ยวกับตัวบุคคล ในวิะีการสื่อสารแบบตะวันตกนั้นจะเน้นให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ส่วนบุคคลเป็นสำคัญโดยใมีจุดยืนอยู่ที่ความเป็นตัวของตัวเอง นขชณะที่การสื่อสารแบบบริบทวัฒนธรมตะวันออกนั้นจะคำนึงถึงบทบาทกลุ่มหรือการทำตัวเองให้เป็นไปตามแนวทางของกลุ่มมากกว่า เป้นการให้กลุ่มเรียกหรือกำหนดสถานภาพของตนในสังคม
จอรฺจ เฮอร์เบิรฺต มีด
            - ความสัมพันธ์ทางสังคม แนวความคิดความสัมพันธืแบบมีลำดับชั้น ยังคงดำรงอยู่และถูกเน้นย้ำอย่งชัดแจ้งในโลกตะวันออก แต่ละบุคคลจะไม่เท่าเทียมกันจะต้องมีการจัดแบ่งระดับมีคนที่อยุ่สูงกว่าหรือต่ำกว่าในทุกวงการไม่ว่าจะเป็นในสภาบันทงสังคมใดก็ตามทั้งครอบครัว บริษัทหรือที่โรงเรียน เป็นต้นขณะที่โลกตะวันตก นั้นจะเน้นการสื่อสารแบบทางนอนและความสัมพันธ์แบบเท่าเที่ยมกัน
            - วิธีการสื่อสารการสือสารแบบตะวันตก นั้นจะมีรูปแบบที่ตรงไปตรงมาและชัดเจน มีการใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนความคิดยึดมั่นในการแสดงให้ผุ้รับสารได้รับทราบข้อเท็จจริงทั้งหลายด้วยการใช้เหตุและผลมายืนยันเพื่อโน้มน้าวให้เชื่อมั่น ใความสำคัญต่อสารที่สงออกไป หรือสนใจการเข้ารหัส จะเรียกได้ว่าการสื่อสารประสบความสำเร้๗ก็เมื่อผุ้รับสารเข้าใจในสารที่ส่งออกไปในขณะที่การสื่อสารแบบตะวันออก มัลักษณะที่อ้อมค้อมและแฝงด้วยความหมาย ขึ้นอยุ่กับสถานการณ์ เพื่อรักษาความสัมพันธืและความรู้สึกและให้ความสำคัญกับผุ้รับสารมากว่า
            ขณะที่ชาวตะวันตกเร่ิมการสนทนาด้วยเป้าหมายที่ัชัดเจนพวกเขาต้องการพูดหรือได้รับบางส่ิงบางอย่างไม่ว่าจะเป็นวัตถุ หรือไม่ใช่วัตถุก็ตาม แต่สำหรับชาวตะวันออกน้นถือว่าการสนทนานั้นคือการแลกเปลี่ยนทางอารมณ์ ซึ่งความพึงพอใจในการสื่อสารนับเป้นส่ิงสำคัญโดยในาการสื่อสารระหว่งบุคคล นั้นชาวตะวันออกจะพยายามประเมินความรู้สึกและสถานะทางจิตในเวลานั้นและเน้นการพยายามสื่อสารแบบองค์รวม ชาวตะวันออกจะเห้นว่าข้อเท็จจริง จะถูกเปิดเผยเมื่อเขาหรือเธอ พร้อมสำหรับมันหรือในอีกทางหนึ่งก็คือเมื่อความรุ้ที่ได้รับนั้นเพียงพอ และความเขาใจได้ถูกสะสมีวบรวมขึ้น ชาวตะวันตกคาดทำนายทัศนคติของพวกเขาด้วยคำนึงถึงธรมชาิและเทคโนโลยี ในการที่พวกเขาต้องการจะสั่งการและควบคุมในสิ่งเหล่านี้แต่ชาวตะวันออก จะพยายามเพื่อให้ทั้งคู่ประสบความสำเร็จในการเกิดความสัมพันธ์ที่สอดประสานกลมกลืนกัน กล่าวโยสรุปแล้วเราแบ่งแยกวิธีการสื่อสารแบบตะวันตกและตะวันออกด้วย 3 เรื่องนี้คือ การหยั่งรู้/รู้โดย สัญชาตญาณ แนวคิดเหตุผลนิยม และแนวคิดแบบประจักษ์นิยม
          การใช้ภาษาเพื่อากรสื่อสารของชาวเอเชียในหลายๆ กลุ่มชนนั้นมัมีลักษณะพิเศษตรงที่มันเป็นภาษาที่มีระดับในการใช้คำพูด โดยอ้างอิงตามอายุ สถานะทางสังคม และรูปแบบของการปฏิสัมพันะ์ทางสังคม คนๆ หนึ่งจะต้องใช้ชื่อเรียกและรุปแบบของการใช้คำนำหน้าในการเรียกหรือกล่าวถึงด้วยคำที่แตกต่างกันเมื่อจะสนื่อสารกับคนที่อ่อนกว่าหรือแก่กว่ช่วงชั้นสูงกว่าหรือต่ำกว่า จัดเป้นการใช้ภษาาแบบแบ่งระดับสูงต่ำ ที่ซึ่งในโลกตะวันตก นั้นรูปแบบภาษาอังกล่าวนี้มันค่อยๆ หายไปอย่างช้าๆ
          ลิตเทิต จอห์น ได้กล่าวถึงแนวคิดของ จอร์จ เฮอร์เบริท มี๊ด นักทฤษฎีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ ว่านการสื่อสารที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งนั้น ผู้สื่อสารควรต้องคำนึงถึงเรื่อง "ตัวตน" หรือ โดยนัยเดียวกัน "อัตลักษณ์" ด้วยเนหื่องจากมนุษย์มีการโต้ตอบกับตนเองเช่นเดียวกับมีการโต้ตอบกับผุ้อื่น ตัวตนหรือ อัตลักาณ มีหลายระดับตั้งแต่ ระดับบุคคล ระดับสังคม ระดับตัตนของมนุษย์ นอกจานี้ มี๊ด ยังเสนอแนวคิดว่า การที่มนุษย์จะมี เซลฟ์ คอนเนคชั่น ได้ก็ เนื่องมาจาการพูดคุยกับบุคคลอื่นในวสังคม กล่าวคื อเมื่อมีการสื่อสารระหว่างบุคคลเกิดขึ้นนั้น จะดูว่าพฤติกรรมสื่อสารของคู่สื่อสารที่มาจากต่างวัฒนธรรมมแนวโน้มการถอดรหัสสารอย่างไรมีองค์ประอบอะไรบ้างเป็นตัวกำหนด ตั้งแต่องค์ประกอบใหญ่คื อวัฒนธรรม สังคม ไปจนถึงองค์ประกอบที่เล็กลงมาคือลักาณะเฉาพะของแต่ละบุคคล ฉะนั้น การก่อรูปทรงอัตลักษณ์ของสภาพสังคมจำเป็นต้องอาศัยบทบาทแห่งบริบทของตนเอง และการสร้างรูปแห่งตัวตนของมนุษย์ให้ดีมากขึ้น

             วิทยานิพนธ์ "อัตลักษณ์ของชาติตามนโยบายการศึกษา", โดย ธงชัย สมบูรณ์, ม.รามคำแหง คณะศึกษาศาสตร์, บทที่ 2 หน้า ตอนที่ 3 หน้า 48-51, 2553.
           
           
         

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)