วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

Kinghts of Temple of Solomon (Templar knights )

  
Templar knights 2

  อัศวินเทมพลาร์ เป็นคณะทหารคริสเตียนที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด เป็นองค์กรอยู่เกือบสองศตวรรษในสมัยกลาง
          คณะได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก เป็นองค์กการที่ได้รับบริจากทรัพย์สินอย่างมากมายตลอดคริสตจักรและเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งในแง่สมาชิกและอำนาจเทมพลาร์เป็นหนึ่งในหน่วยรบที่มีฝึมือที่สุดในสงครามครูเสด
          อัศวินเทมพลาร์ก่อตั้ง จากชนชั้นสูงปรังเศส พร้อมกับอัศวินผู้ติดตามอีก 8 คน ก่อตั้งกลุ่มที่มีจุดมุ่งหมายในการปกป้องผู้แสวงบุญในดินแดนศักดิ์สิทธิ  กษัตริย์ แห่งเยรูซาเล็ม ได้อนุญาตให้ทั้ง 9 ไปอาศัยอยู่ที่บริเวณทิศใต้ของ Temple Mount ซึ่งทั้งชาวคริสต์และสลามถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ โดยชาวคริสต์เชื่อว่าโปสถ์แห่งนั้นตั้งอยู่บนซากปรักหักพักของ วิหารแห่งโซโลมอน และมุสลิม นั้น กาหลิบแห่งอิสลาม เคยสร้าง วิหาร โดมทองแห่งเยรูซาเล็มซึ่งภายในบรรจุก้อนหินที่ศาสดามูฮัมหมัดได้รับจากสวรรค์ ณ ที่ตรงนั้น และโดยการอาศัยอยู่ ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิเช่นนี้ทำให้ในภายหลังมีเรื่องเล่าขานกันว่า พวกเขาได้พบ “จอกเหล้าองุ่นที่พระเยซูคริสต์ใช้ในการรับประทานอาษรมื้อสุดท้าย) The Holy Grail
         ในช่วงเริ่มแรก พวกอัศวินไช้ชีวิตอย่างสมถะ ประทังชีวิตด้วยของบริจาก จึงได้รับการขนานนามว่า อัศวินผู้ยากไร้ และจากการที่อาศัยอยู่ในสถานที่ศักดิสิทธิ จึงได้รับการขนานนามว่า “อัศวินแห่งโบสถ์โชโลมอน”
         เก้าปีต่อมา เชื่อเสียของอัศวินผู้สมถะ มีผุ้บริจาคทรัพย์สินเงินทาองมากมาย ทั้งที่ดอน และเงินทองมากมาย ชนชั้นสูงชาวยุโรปหลายคนนังส่งลูกหลายของตัวเองให้เข้าร่วมกลุ่มด้วย จึงเติบโตอย่างรวดเร็ว และพวกเขาได้รับเกียรติจากสันตปาปา อินโนเซนต์ที่ 2 ประกาศให้พวกอัศวินเทมพลาร์อยู่เหนือกฎหมายของทุกประเทศ ไม่ต้องเสียภาษี และสามารถเดินทางผ่านดินแดนใดก็ได้โดยมิให้ผู้ใดขัดขวาง
   templarcoverpicture templar_and_hospitaller_knights pakin3
       กลุ่มอัศวินเทมพลาร์นั้น สมาชิกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน
- อัศวิน ถูกฝึกฝนในแบบของทหารม้าหนัก แต่งกายด้วยสีขาวและสัญลักษณ์กางเขนสีแดง
- Sergeants มาจากชนชั้นที่อยู่ต่ำกว่าอัศวิน ทำหน้าที่ในฐานะทหรม้าเบา พวกนี้จะสวมชุดสีนำตาบ
- The serving brothers ทำหน้าที่ทางจิตวิญญาณและทางศาสนาให้กลุ่มพวกอัศวินเทมพลาร์เข้าร่วมสมรภูมิสำคัญ ๆ ในดินแดนแถบนี้ในฐานะกองทหารชั้นยอด และยังเคยเข้าร่วมกับ กองทัพ หลุยส์ แห่งฝรั่งเศษ และ ริชาร์ดใจสิ่งแห่งอังกฤษในการบในดินแดนปาเลสไตน์

        อัศวินเทมพลาร์เริ่มใช้ระบบซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของระบบธนาคาร เนื่องจากกลุ่มเทมพลาร์มีทรัพย์สินจำนวนมหาศาล และเริ่มให้ผู้แสวงบุญชาวสเปนยืมเงินสำหรับใช้เดินทางไปดินแดนศึกดิ์สิทธิ โดย เมือมีผู้แสวงบุญในยุโรปประสงค์จะเดินทางไปดินแดนศักดิ์สิทธิ พวกเขาจะนำทรัพย์สินทั้งหมดของตนไปฝากไว้กับฐานของอัศวินเทมพลาร์ในประเทศของตน ซึ่งทางอัศวินเทมพลาร์จะออกใบเสร็จซึ่งจดบันทึกรายการทรัพย์สินที่ฝากไว้ให้ผู้แสวงบุญติดตัวไป และเมือผู้แสวงบุญกำลังเดินทางไปดินแดนศักดิ์สิทธิ หากต้องการใช้เงินเมือไร ก็นำใบเสร็จนี้ไปยื่นต่ออัศวินเทมพลาร์ที่เจอระหว่างทาง และนำทรัพย์สินของตนออกมาใช้ เพื่อป้องกันการถูกปล้นกลางทาง
       นอกจามีระบบฝาก1254191073เงินแล้ว ด้วยความร่ำรวยจึงมรหลายต่อหลายคนในยุโรปเข้ามรยืมเงิน การคิดดอกเบี้ยเป็นข้อห้ามของศาสนจักร พวกอัศวินเทมพลาร์จึงใช้วิธีคิด “ค่าเช่า” แทน
     อัศวินแทมพลาร์กลายเป็ฯกลุ่มที่ร่ำรวยและมีอำนาจอย่างมาก ครอบครองที่ดินทั้งในยุโปรและตะวันออกกลาง สร้างปราสาทและโบสถ์มากมาย ค้าขายสินค้าทั้งส่งออกและนำเข้า มีกองทัพเรือของตัวเอง และครอบครองเกาะไซปรัสทั้งหมด
            เมือกรุงเยรูซาเลมพ่ยต่อสุลต่าย ซาลาดิน การสนับสนุนจากยุโรปก็ตกต่ำลง กษัตริย์ ฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ได้ยืมเลินจำนวนมาจากอัศวินเทมพลาร์เพื่อใช้ในการทำสงครามกับอังกฤษ แต่ไม่มีเงินพอจะใช้คืน… จึงสั่งสอบสวนผุ้นำ ในฐานะเป็นพวกนอกรีต 6a00d83451bd4469e200e553f320288833-800wi
            ในวันศุกร์ที่ 13 ค.ศ. 1307 ฟิลิปจับกุมตัวสมาชิกอัศวินเทมพลาร์ทั้งหมดในฝรั่งเศส กล่าวหาว่าพวกอัศวินเทมพลาร์บูชาปีศาจบาโฟเมต (ซาตาน)  เป็นพวกนอกรีต และสั่งประหารซึ่งทำให้ฟิลิปรอดพ้นจากการเป็หนี้พวกอัศวินเทมพลาร์ และยังยึดทรัพย์สินทั้งหมดของพวกอัศวินเทมพลาร์ด้วย และยังมีตำนานความเชื่อ ทั้งในวันที่เหล่าอัศวินถูกจับ ก็เชื่อว่าเป็น ศุกร์ที่ 13 วันแห่งความโชคร้าย และยังเชื่อด้วยว่าเหล่านอัศวินที่อาศัยอยู่ในสถานที่ศักดิ์สิทธิอาจจะพบอะไรบ้างอย่างเช่น ได้ครอบครัววัตถุศักดิ์สิทธิ เช่น จอกศักดิ์สิทธิ หรือการได้พบ Cropper Scroll  “ม้วนบันทึกทองแดง” ซึ่งอาจจะเป็นเหตุให้พวก Knight Templar ถูกข้อกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีต( คือส่วนหนึ่งของคัมภีร์ Dead Sea Scrolls และ Lilth of Dead Sea ซึ่งมีการค้นพบในถ้ำคูมรัม เป็นคัมภีร์โบราณที่เกี่ยวกับศาสตร์ลึกลับที่เขียนไว้เป็นรหัสลับ ต้องมีการติดต่อกับวิญญาณต่าง ๆ จึงจะเข้าใจ และคัมภีร์นี้เองเป็นที่มาของลัทธินอสติค และในขณะนั้นทางวาติกัน ได้สั่งหามไม่ให้มีการเผยแพร่คัมภีร์นี้ออกสู่สาธารณะ ถึงแม้อัศวินเทมพลาร์จะล่มสลาย แต่ยังคงเหลือสมาชิกอีก 100 กว่าคนหลงเหลือในยุโรป กองเรือของพวกอัศวินเทมพลาร์ได้หลบซ่อนตัวเองและตั้งชื่อใหม่ ว่า “ The Knights of Christ”
ดู t p k
ดูอัลบั้มทั้งหมด


“ ความจริงจะปลดปล่อยเจ้า” ภาษิตเทมพลาร์

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

xiangyang



   เซียงหยาง อยู่ในตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลหูเป่ย เป็นจุดยุทธศสตร์ที่สำคัญของW020120421715748992910ราชวงศ์ซ่ง ที่ตั้งเมืองเซี่ยงหยาง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ฮั่น Han เป็นเมืองหน้าด่านทางน้ำ เพราะแม่น้ำฮี่นเป็นเส้นทางเข้าสู่แม่น้ำแยงซี หากตีได้เมืองเซียงหยาง มองดกลสามารถรุกคือบเข้ายึดเมืองสำคัญๆ ได้อย่างง่ายดายดดยไม่ต้องใช้กองทัพม้า เพียงส่งกองเรื่อไปตามแยงซี ก็จะยึดเมืองต่างๆ ได้โดยสะดวก ฉะนั้นชะตากรรมของเซียงหยาง ก็คือซะตากรรมของซ่ง ซึ่งมองโกลทราบในเรื่องนี้เป็นอย่างดี
 
     กุบไลข่านเมืองขึ้นครองจักรวรรดิมองโกลแล้ว จึ้งเตรียมไพร่พลที่จะบุก ราชวงศ์ซ่ง จากภูมิประเทศแผ่นดินซ่ง ที่มีแม่น้ำแยงซีเป็นปราการทางธรรมชาติ และภูเขาที่สลับซับซ้อน มองโกลจึงจัดเตรียมกำลังจากทหารม้า มาเป็นทหารราบ และกองเรือ
6a00d8354be54369e20115705aec67970c-800wi    ราชวงศ์ซ่งนั้นไม่เน้นนโยบายทางการทหาร ไม่ให้มีทหารตามหัวเมือง หากส่วนกลางหรือจักรพรรดิเข้มแข็งกองทัพก็จะเข้มแข็งตาม ครั้งตั้งแต่รบกับราชวงศ์เหลียว ราชวงศ์จิน ราชวงศ์ซ่งเลือกจะยอมเจรจาสงบศึกมาโดยตลอด แม้จะเป็นรัฐบรรณาการก็ยังยอม ฉะนั้นจุดชี้เป็นชี้ตายของศึกครั้งนี้ก็อยู่ที่เมืองเซียงหยาง ฝ่านเฉิง
     มองโกลเคลื่อนพลลงจากทางเหนืออย่างรวดเร็วและโจมตีเมืองต่าง ๆ อย่างหนัก บรรดาแม่ทัพนายกองล้วยสวามิภักดิ์ มองโกลจัดการแผ่นดินสองฝั่งแม่น้ำแยงซีแล้ว กองทัพมองโกลจึงเคลื่อนพลทั้งทางบกและทางน้ำ
tour
        และเข้าสู่สมรภูมิ เซี่ยงหยาง และฝ่านเฉิง ทั้งสองเมืองนี้เป็นเมืองอกแตก คือมีแม่น้ำฮั่นไหลฝ่านกลางเมือง เช่นเดียวกับ บูดาและเปสต์ในฮังการี 
       ในการล้อมเมืองเซี่ยงหยางนี้ใช้เวลาในการล้อม 5 ปี เกือบเข้าปี่ 6 (ค.ศ.1267-1273) จึงจะตีแตก ดังที่ได้อธิบายถึงภูมิประเทศของเมืองประกอบกับกำแพงเมืองเซียงหยางที่สูงใหญ่และป้องกันการโจมตีจากเครื่องยิง ต่างๆ ด้านหน้าแม่น้ำฮั่นที่มีความกล่าวกว่า150 เมตรเป็นปราการธรรมชาติอย่างดียิ่ง และภูเขาใหญ่เป็นปิดล้อมทั้งซ้ายและขวาและด้านหลังของเมืองอย่างแน่นหนา
       ในการล้อมเพื่อจะให้ชาวเมืองหมดเสบียงและออกมาสวามิภักดิ์ แต่การล้อมเมืองลักษณะนี้ไม่ได้ผลเพราะสามารถออกไปหาเสบียงหรือส่งทหารเข้าปล้นค่ายหรือลอบออกไปหากำลังหนุนทางน้ำได้ ดังนั้นจึงเป็นการชิงเชิงยุทธศาสตร์เหนือน่านน้ำฮั่น
gtrthrthr       มองโกลจึงทำการโจมตีฝานเงกอ่นมองโกลทำการตัดขาดการติดต่อทางบกของทั่งสองเมืองโดยทำลายสะพานระหว่างเมืองทั่งสองเพื่อที่จะต้องงปิดทางแม่น้ำระหว่างสองเมืองจึงทำให้เกิดการรบทางน้ำหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งกว่าจะยึดฝางเฉิงได้ใช้เวลาเป็นปี กองทหารฝานเฉิงลอบลงเรือหนีไปเซี่ยงหยางในที่สุด มองโกลยึดน่านน้ำทางตะวันกตไว้ได้

      กองทัพมองโกลเปิดฉากการโจมตีโดยส่งกองเรือรบระดมยิงกำแพงเมืองอย่างหนักเพื่อให้กองทหารราบบุกยึดหัวหาด ซึ่งก็ได้ผล แต่มองโกลไม่สามารถเข้าตีเมืองได้ การเข้าตีเมืองในแต่ละครั้งมองโกลต้องสูญเสียไพร่พลเป็นจำนวนมาก มองโกลจึงตัดสินใจล้อมเมืองไว้
     เมื่อเซี่ยงหยางถูกล้อม “ชาวซ่ง” ไม่ส่งกองทัพมาช่วย โดยอ้างว่าเมืองนี้มี “เทวดาสถิตย์อยู่” และมองโกลจะต้องย้อนกลับไปเอง 

   ในที่สุด “อบาคาร์ข่าน”ผุ้ครองแค้วนอิลข่าน สืบต่อจากฮูเลกูข่าน ผู้เป็นบิดาได้ส่งกองทัพปสมมแงโกลเปอร์เซียมายังแผ่นดินจีนเพื่อช่วย กุบไลข่าน ทำศึกโดยส่งวิศวกร มุสลิมเชื้อสายเคริดสองคนคือ อลาวดิน และอิสมาอิล มานังจีน วิศวกรสองคนได้ประดิษฐ์เครื่องยิงก้อนหิน ที่เรียกว่า “Counterweight Trebuchet” หรือเครืองยิงหินขนาดยักษ์ ในบันทึกของจีนเรียกเครื่องยิงหินนี้ว่า “หุยหุยเพา” ซึ่งอานุภาพในการทำลาย “หุยหุยเพา” นั้นทำให้ป้อมและเชิงเทินพินาศในพริบตา กองทัพจีนถอนกำลังจากกำแพงเมือง กองทัพมองโกลจึงสามารถรุกเข้ายึดเมืองเซี่ยงหยางได้สำเร็จ

Sun Wu : Lesson 10

             อันภูมิประเทศนั้น มีพื้นที่สะดวก มีพื้นที่ซับซ้อน มีพื้นที่ประจัน มีพื้นที่เล็กแคบ มีพื้นที่คับขัน มีพื้นที่ห่างไกล
- เราไปได้ เขามกได้ เรียกพื้นที่สะดวก พื้นที่สะดวกพึงยึดที่สูงโล่งแจ้งก่อน รักษาเส้นทางเสบียง ก็รบจักชนะ
- ไปได้ แต่ถอยกลับยาก เรียกว่าซับซ้อน พื้นที่ซับซ้อน หากข้าศึกไม่ระวัง ออกตีจะชนะ หาข้าศึกเตรียมพร้อม  ออกตีไม่ชนะ ถอยกลับลำบาก ไม่เป็นผลดี
- เราออกตีไม่ดี เขาออกตีก็ไม่ดี เรียกว่าประจัน พื้นที่เช่นนี้ แม้สภาพข้าศึกเป็นประโยชน์แก่เรา เราก็ไม่ออกตี พึงนำทัพแสร้งถอย ให้ข้าศึกรุกไล่มากึ่งหนึ่ง จึงหวนเขาตี เป็นผลดี
- พื้นที่เล็กแคบ เราพึงยึดก่อน วางกำลังหนาแน่นรอคอย ข้าศึกหาข้ศึกยึดก่อนวางกำลังหนาแน่นอย่าเข้าตี หากกำลังข้าศึกเบาบางก็จงเข้าตี
- พื้นที่ขับคัน เราพึงยึดก่อน เลื่อกที่สูงโล่งแจ้งรอคอยข้อศึก หากข้าศึกยึดก่อนให้ถอย อย่ารบด้วย
- พื้นที่ห่างไกลกำลังกล้ำกึ่ง ยากจะท้ารบ ฝืนรบไม่เป็นผลดี

   หาประการนี้ คือหลักแห่งการใช้ภูมิประเทศ ที่ควรพินิจพิเคราะห์ให้จงดี ความปราชัยของกองทัพ จึงมีที่เตลิดหนี มีที่หย่อนหยาน มีที่ล่มจม มีที่พังทลาย มีที่ปั่นป่วน มีที่ยับเยิน หกประกานี้ มิใช่ภัยจากฟ้า แต่เป็นความผิดของแม่ทัพ
- กำลังก้ำกึ่ง เอาหนึ่งรบสิบ ทัพจึงเตลิดหนี
- ไพร่พลแข็งแรงแต่นายกองอ่อน ทัพจึงหย่อนยาน
- นายกองแข็งแต่ไพร่พลอ่อน ทัพจึงล่มจม
- ขุนพลฉุนเฉียวไม่ฟังบัญชา เผชิญศึกก็ด้วยโทสะออกรบโดยพลการ แม่ทัพไม่รู้ความสามารถขุนพล ทัพจึงพังทลาย
- แม่ทัพอ่อนแอไม่เข้มงวด การฝึกอบรมไม่จะแจ้ง นายกองและไพร่พลมิรู้ที่จะปฏิบัติ การจัดกำลังก็สับสน ทัพจึงปั่นป่วน
- แม่ทัพคาดคะเนข้าศึกมิได้ เอาน้อยรบมาก เอาอ่อนตีแข็ง ไพร่พลมิเฟ้นที่กล้า ทัพจึงยับเยิน
หกประการนี้ คือหนทางแห่งความปราชัย เป็นหน้าที่สำคัญของแม่ทัพ จักไม่พินิจพิเคราะห์มิได้
          อันลักษณะภูมิประเทศนั้น คือสิ่งช่วยการศึก การคาดคะเนข้าศึกเพื่อชิงชัย การพิจารณาพื้นที่คับขันอันตรายหรือไกลใกล้จึงเป็นคุณสมบัติของแม่ทัพเอก ผู้รู้สิ่งเหล่านี้ออกรบจักขนะ ผู้ไม่รู้สิ่งเหล่านี้ออกรบจักแพ้
          เมืองวอถีการรบจักชนะ แม้เจ้านายห้ามรบ ก็พึงรบเมื่อวิถีการบจักไม่ชนะ แม้เจ้านายให้รบ ก็มิพึงรบ รุกไม่แสวงหาชื่อเสียง ถอยไม่หลบเลี่ยงอาญา มุ่งปกป้องซึ่งทวยราษฎร์เอื้อประโยชน์แดเจ้านาย นับเป็นดวงมณีของชาติ
          ใส่ใจไพล่พลดุจทารก ก็จักร่วมลุยห้วยเหว ใสใจไพร่พลดุจบุตรรัก ก็จักร่วมเป็นร่วมตาย  ถนอมแต่ใช้ไม่ได้ รักแต่สั่งไม่ได้ ผิดแต่คุมไม่ได้  ก็จะประดุจเด็กดื้อถือเอาแต่ใจ ใช้การมิได้
          รู้ไพล่พลเรารบได้ แต่ไม่รู้ข้าศึกตีไม่ได้ ชนะกึ่งเดี่ยว
          รู้ข้าศึกตีได้ แต่ไม่รู้ไพร่พลเรารบไม่ได้ ชนะกึ่งเดียว
          รู้ข้าศึกตีได้ แต่ไม่รู้ภูมิประเทศรบไม่ได้ ชนะกึ่งเดียว
ผุ้รอบรู้การศึกจะเคลื่อไหวได้ไม่หลง จะทำการได้ไม่อับจน จึงกล่าวว่า รู้เขารู้เรา จะชนะมิพ่าย รู้ฟ้ารู้ดิน จะชนะมิสิ้น

                                                                                                               ซุนวู

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

Kublai Khan

      ในการทำศึกกับราชวงศ์ซ่งครั้งนี้ มองเก้ ข่าน รู้ดีว่าจะเป็นไปด้วยความลำบากด้วยหนทางและ ปราการทางธรรมชาติทีหฤโหด แต่กระนั้น มองเก้ ข่าน เตรียมการในครั้งนี้เป็นอย่างดี อันดับแรกปิดทางหนีของราชวงศ์ซ่ง คือส่งเจ้าชายกุบิไล ทำการโจมตีอาณาจักรใกล้เคียงที่จะเป็นทางหนีของราชวงศ์ซ่งนั้น ได้แก่ ต้าหลี่ทางตะวันตกเฉียใต้ของราชวงศ์ซ่ง อาณาจักรอันนัม และทิเบต
     เมื่อเจ้าชายกุบิไลสามารถพิชิตดินแดนเหล่านี้ได้ทั้งหมดแล้ว มองเก้ ข่าน จึงเร่งจัดเตรียมทัพขนาดมหึมาซึ่งมีจำนวนทหารกว่า 600,000 นายบุกลงใต้มาสมทบกับทัพคุบไล เพื่อโจมตีราชวงศ์ซ่ง
      ทรงนำทัพตีตามป้อมต่าง ๆ ของราชวงศ์ซ่งอย่างหนักหน่วง แต่ด็เป็นไปด้วยความลำบาก สภาพภูมิอากาศแผ่นดินจีนตอนกลางมีความร้อนชื้นยิ่งกว่าทุ่งหญ้า มองโกลจึงทำให้ทหารมองโกลล้มป่วยมากมาย ทว่ามองเก้ ข่าน มิทรงย่อท้อ ที่เมืองเสฉวนทรงล้อมนานหว่า 6 เดือนก็ไม่สามารถพิชิตเมืองเข้าไปได้ ในที่สุดพระองค์ตัดสินพระทัยยกทัพหักเข้าเมืองโดยบุกโจมตีเมืองอย่างหนักเพื่อหมายจะพิชิตให้ได้ในคราวเดียว แต่ทว่าพระองค์เสด็จสวรรคตก่อนอย่างกระทันหัน
   เจ้าชายฮุเลกูในขณะนั้นเตรียมเพื่อจะบุกเยรูซาเล็ม จึงต้องเลิกทัพกลับมาช่วยเจ้าชายกุบิไล ขึ้นเป็นคาฆานองค์ต่อไป
         เจ้าชายฮูเลกูและบรรดาขุนศึกต่างๆ พากันสนับสนุน เจ้าชายกุบิไลขึ้นเป็นฆาข่านพระองค์ใหม่นามว่า “กุบไลข่าน” ณ เมืองไคผิง
        การครองราชย์ของกุลไลข่านนั้นสร้างความไม่พอใจให้กับเจ้าชายอริก”บเคและบรรดาขุนศึกมองโกลรุ่นเก่า เหตุด้วยการสถาปนาข่านนั้นความทำในกรุงคาวาโครัม เจ้าชายอริโลเคจึงสภาปนาตนเองขึ้นเป็นคาฆานที่กรุงคาราโครัม เช่นกัน เจ้าชายทั้งสองพระองค์จึงทำสงครามกันเป็นเวลากว่า 13 ปี
       เจ้าชายฮูเรกูนำทัพกลับไปยังเปอร์เซียและสภาปนาอาณาจักรข่านที่นั้น อาณาจักรแห่งนนั้นมีนามวว่า “อิลข่าน” (ข่านผุ้เป็นรอง) และยกทัพขึ้นเหนือทำสงคามชิงอาเซอร์ไบจานจาก “เปอร์เกข่าน” ผู้ครองแคว้น โกลเด้นฮอร์น ต่อจากบาตู ข่าน
      กุบไลข่าน ทรงสถาปนาราชวงศ์มองโกลขึ้นเพื่อปกครองแผ่นดินจีนภายใต้อิทธิพลมองโกลขณะนั้น ก็คือ ราชวงศ์ “ หยวน” ซึ่งแปลว่า “ปฐมบท(แห่งความ)เกรีงไกร”
สุดท้ายแล้วกุบไลข่านทรงมีชัยเหนือเจ้าชายอริกโบเค กุลไลข่านทรงเว้นโทษพระอนุชา แต่บรรดาขุนศึกนั้นถูกประหารสิ้น เจ้าชายอริโบเค มีพระชนชีพต่อมาอีกหนึ่งปี จึงสวรรคต
          สมเด็จพระจักรพรรดิกุบไล ข่าน Kublai Khan หรือจักรพรรดิซื่อจูหวางตี้ หรือ จักพรรดิซีโจ๊วฮ่องเต้า เป็นข่านหรือจักรพรรดิ มองโกล และยังเป็นจักรพรรพิองค์แรกแห่งราชวงศ์หยวนของประเทศจีน
         ทรงเป็นพระราชนัดดาในจักรพรรดิเจงกิส ข่าน โดยจักรวรรดิมองโกลที่ เจงกิสข่านสร้างไว้ขึ้นถึงจุดสูงสุดในสมัยกุบไลข่าน  กุบไลข่านทรงเอาชนะ ราชวงศ์ซ่ง และยึดกรุงปักกิ่ง ปกครองประเทศจีน ต้าหลี่ ในยูนนาน เกาหลี
         มาร์โคโปโลนักเดินทางชาวตะวันตกได้เดินทางมาถึงดินแดนจีนในยุคสมัยกุลไลข่าน

พระบรมวงศานุวงศ์
พระอัยกา เจงกิสข่าน   พระอัยยิกา: บูร์ไต
พระราชบิดา: ตูลิ         พระราชมารดา:พระนางซอร์กัจตานิ เบกิ
พระเชษฐา: มองเก้ ข่าน  พระอนุชา:ฮูเลกู อริกโบเค
พระมเหสี:พระนางเตกูลัน,พระนางชาบิ,พระนางทารคัน,พระนางบายากูชิน
พระราชโอรส:องค์ชายเจนจิ้น,องค์ชายดอร์จี,องค์ชายแมงกาลา,องค์ชายนมูคัน,องค์ชายโตกอน
พระราชธิดา:องค์หญิงเมียวเยน,องค์หญิงจีลี่มีซี
พระนัดดา(โอรสขององค์ชายเจนจิ้น):องค์ชายกัมาลา,องค์ชายดารมาบาลา,องค์ชายเตมูร์ ข่าน

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

Last Stand


mamluks      ฮูลากูคาดหวังจะกำจัดฐานอำนาจสุดท้ายของมุสลิมที่หลงเหลืออยู่ นั้นคือราชวงศ์มัมลุกของอียิปต์ โดยก่อนหน้านั้น กองทัพมองโกลได้ถล่มเปอร์เซีย ยึดแบกแดด ล้มล้างจัรวาดิกาหลิบอับบาซิยธะ abbasid Caliphate และยุบราชวงศ์อัยยูบิยะฮ์ Ayyubid Dynasty


ดู mumluk   อัยบัค ซึ่งเป็นพวกมัมลุกและเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์มัมลุ(หรือราชวงศ์ทาส)แห่งอียิปต์ ได้ปกครองอียิปต์ตั้งแต่ ค.ศ.1250-1257 หลังจากที่เกิสภาวะว่างผู้นำอยู่ระยะหนึ่ง กุตูช ซึ่งเป็นมัมลุกอีกคนหนึ่งก็ก้าวขึ้นมามีอำนาจ กูตุชเป็นคนกล้าหาญและเฉลียวฉลาด และได้รับการฝึกการอบรมมาจากโรงเรียทหารของ อัสซอลิฮ์ อัยยูบในสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำไนล์ นอกจากตัวเขาแล้ว หังกน้าที่ปรึกษาของเขาคือ บัยบัรฺ อัล - บันดุคดารี ซึ่งเป็นพวกมัมลู้กอีกคนหนึ่ง คนๆ ยิ่งมีความกล้าหาญและเหี้ยมเกรียมยิ่งกว่าเขา ทั้ง 2 คน ได้รับบรรดาพวกที่หนีภัยมาทั้งหมด เพราะพวกเขากำลังต้องการกำลังทหาร

           มองโกลมาไวกว่าที่คาดไว้ มองโกลส่งทูตมายื่นคำขาดให้พวกอียิปต์ยอมจำนน  กุตูชจึ้งเรียประชุมสภาขุนศึกทันที  นะซีรุดดีน คอยมารี ทหารชาวซีเรียเสนอให้ทำสงครามกับมองโกลเพราะเขารู้ดีว่าแม้จะยอมแพ้ก็ไม่พ้นความตาย บัยบัรเห็นด้วย หลังตกลงกันแล้ว กุตูซได้รับมองอำนาจเต็มในการที่จะจัดการกับทัพมองโกล หลังจากการประชุม ทัพมัมลู้กประกอบด้วยทหารจากซีเรีย จากอาณาจักรอิสลามอื่นๆ และทั้งจาก อาณาจักร โกลเด้นฮอร์น ซึ่งเข้ารับอิสลาม และทหารที่เป็นคริสต์บางส่วน จึงทำให้รู้กลุยุทธทางฝ่ายมองโกลเป็นอย่างดี
           เช้าวันรุ่งขึ้น ชาวเมืองไคโรก็ได้เห็นศพคนนำสารของมองโกล เป็นอันว่า ศึกนี้ไม่มีทางเลี่ยง นอกจากำลังทางทหารแล้ว เรื่องสมรรถนะทางร่างกาย การเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว ความแข้งแกร่งของร่างกาย ความอดทน การเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ความมีวินัยในโลกนี้มีเพียงพวกมัมลุ้กเท่านั้นที่มีคุณสมบัติที่เทียบเคียงกับพวกมองโกลได้
189690_198106966883925_100000538688281_670382_354845_nsablija sandzak
images (2)           ทหารมองโกล มีความสามารถในการขี่ม้าได้อย่างคล่องแคล้ว ยิงธนูได้อย่างแม่นยำในเวลาเดียวกัน ระบบทหารของมองโกลเป็นแบบเรียบง่าย คล้ายการใช้ชีวิตในเวลาปกติ รางกายกำยำลำสั่น รู้จักการข้ามน้ำด้วยการใช้ถุงหนัง ยุทธศาสตร์ลักษณะประจำชาติง่าย ๆนี้ในการทำศึกมาครั้งตั้งแต่สมัยเจงกิสข่าน คือ เมือเกิดศึกสงคราม ชาวมองโกลก็จะกลายสภาพเป็นทหารภายใต้บังคับบัญชาในทันที พวกมองโกลมีความได้เปรียบทหารชาติอื่นๆ อีกอย่างคือ สามารถยิงธนูได้ไกลและแม่นยำกว่านักรบชาติใดๆ และม้าสำรองที่เป็นคลังแสงเคลื่อนที่และเสบี่ยงที่มีชีวิต หากอยู่ในภาวะฉุกเฉิน..
            ทหารมัมลู้ก แห่งอาณาจักรอัยยูบนั้น มีเชื่อสายเติร์ก และเป็นพวกเร่ร่อนอยู่ในทุ่งหญ้าเอเชียกลาง ทุกคนถนัดการขี่ม้าและรู้จักการใชธนูมาแต่เด็ก นอกจากนั้นยังได้รับการฝึกอบรมมาให้มีระเบียบวินัยเคร่งครัด แต่ทหารมัมลู้กเสียเปรียบมองโกลในเรื่องระยะธนู คือระยะยิงสั้นกว่าธนูของมองโกล ซึ่งกุตูซก็รู้ในข้อนี้ดี ดังนั้นในหุบเขาญะลูต แคบๆ จึงเป็นที่ชนสองเผ่าจากทุ่งหญ้าในเอเชียกลางได้มาเผลิญศึกซึ่งกันและกัน
mamluks (1) 
           ด้วยชัยภูมิที่ทางฝ่ายมัมลู้กเป็นผู้กำหนด จึงเป็นฝ่ายได้เปรียบทั้งในเรื่องขนาดกองทัพ (ใหญ่เล็กไม่สำคัญ) และการไม่ต้องกังวลเรื่องจะโดนจู่โจมจากปีกของมองโกล รวมถึงความต้องการและรีบร้อนจะเอาชนะของฝ่ายมองโกล

         จากการที่รู้จักทัพมองโกลเป็นอย่างดีในการจัดกำลังบัยบัรฺ และกุตูซจึงให้ทหารที่ไม่ใช่ชาวอียิปต์เป็นทัพหน้า ทั้งที่มีเสียงคัดค้านโดยกล่าวว่า หากทหารทัพหน้าไม่มีความเข้มแข็งจะทำให้ทัพโดยรวมเสียขบวนแต่บัยบัรฺ และกุตูซตกลงกันดีแล้ว และยังพอมีพื้นที่เพื่อให้ทหารแนวหน้าหนีทัพข้าศึก
         มองโกลเปิดฉากรบก่อนตามแบบฉบับ โดยใช้ทหารม้าขมังธนูควบม้าเข้ายิงธนูกองทัพมุสลิมระลอกแล้วระลอกเล่าแล้วก็ถอยไปก่อนที่จะเข้ามาถึงระยะรัศมีธนูของทหารฝ่ายมุสลิม ทหารแน่วหน้าระส่ำระสาย เมือเห็นทัพมุสลิมแตกพ่าย คิตบูกา นายทัพมองโกล ก็สั่งให้ทหารองตนตามตีทันที การโจมตีของมองโกลเป็นไปย่างหนักหน่วงและสร้างความเสียหายให้แก่ทหารซีเรียอยางหนัก คิตบูกาได้ใจ คิดว่าตนชนะศึก จึงนำทัพตามติดเข้ามาไม่ลดละ และต้องพบว่าตัวเองได้ติดกับอยู่ในวงล้อมพวกมัมลู้ก
       ปีกทั้งสองข้างของกองทัพมัมลู้กซึ่งมีภูเขาและแม่น้ำญาลูตเป็นแนวป้องกันยังคงตั้งมั่นอยู่อย่างไม่หวั่นไหว และแนวที่สองของทัพมัมลู้ก สามารถยับยั้งการบุกของทัพมองโกลได้  และทำการจัดทัพปิดล้อมทหารมองโกลอีกชั้นหนึ่ง การณ์ครั้งนี้นอกจากจะทำให้ทหารมองลู้กพ้นระยะยิงของมองโกลแล้วยังทำให้กองทัพม้าเคลื่อนที่เร็วเป็นอัมภาต เมือสภานการเปลี่นยแปลงไปเช่นนี้ มุสลิมซีเรียจึงรวมพลกลับเข้าสมรภูมิช่วยหนุนพวกมัมลู้กสู้กับฝ่ายมองโกล กระทั้งมองโกลล่าถอยไป
        บัยบัรเป็นคนดุดันโหดเหี้ยม เขาต้อนมองโกลให้ถอยร่นไปยังหนองบึงบัยซาน หลังจากนั้นก็สั่งทหารตามล่าชีวิตศัตรูให้ได้มากที่สุด พวกมองโกลที่หลบไปอยู่ในพงหญ้าถุเผาตายนับพัน อีกส่วนหนีไปก็ถูกไล่ต้อนไปจนมุมที่แม่น้ำจอร์แดน และถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมากบัยบัรฺไม่หยุดแค่นั้นจากแม่น้ำจอร์แดนเขาพากองทหารออกติดตามขับไลมองโกลเป็นระยะทางกว่า  300 ไมล์ มีแต่พวกที่ลอยข้ามแม่น้ำยูเฟรตีสไปได้เท่านั้นที่หลุดรอดจาการล่าสังหารของบัยบัรฺ อัล-บันดุคดารี และเขาก็ได้กลายเป็นสุลฎอนมัมลู้กที่มีชื่อเสียงที่สุดของอียิปต์



       คิตบูกา ถูกจับได้ในสนามรบ และถูกสังหาร     
                                                                                          
    








  สงครามอัยน์ ญาลูต

Abbasid Dynasty-The Ottoman Empire

  เคาะหฺลีฟะฮฺ Caliphate หรือ กาหลิป มาจากคำว่า “เคาะลีฟะฮ์ อัรเราะซูล” แปลว่าผู้แทนของท่านเราะซูล
         รัฐเคาะลีฟะฮ์ เป็นเขตการปกครองแบบหนึ่งในอาณาจักรมุสลิมที่มีประมุขเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่มาจากปรัชญาว่าเป็นผู้สืบอำนาจมาจากนบีมุฮัมมั ศาสดาของศาสนาอิสลาม
al-musta-sim-person-photo-u1 (1)
         ซุนนีย์ระบุว่าเคาะลีฟะฮ์ควรจะเป็นผู้ที่ได้รับเลื่อก โดย Shura ผู้ได้รับเลือกโดยมุสลิมหรือผู้แทน ชีอะห์เชื่อว่าเคาะลีฟะห์คืออิมามผู้สืบเชื้อสายมาจากอะฮฺลุลบัยตฺ ตั้งแต่สมัยมุฮัมมัดมาจนถึงปี ค.ศ. 1924 เคาะลีฟะฮ์ ต่อมาและในปัจจุบันมาจาหลายราชวงศ์
         ระบบเคาะลีฟฮ์เป็นระบบการปกครองระบบเดียวที่ได้รับการอนุมัติจากเทววิทยาอิสลาม และเป็นปรัชญาการปกครองหลักของซุนนียธ โดยเสียงข้างมากของมุสลิมในต้นศตวรรษ
         พระโองการแห่งพระผู้เป็นเจ้าทีทะยอยลงมาในเวลา 23 ปี โดยศาสนทูตที่ไรบมองหมายให้สอนศาสนาอิลามแก่มนุษยชาติ และได้รวบรวมเป็นเล่มมีชื่อว่า “อัลกุรอาน” 
        สาส์นแห่งอิสลามที่ถูกส่งมาให้แก่มนุษย์ทั้งมวลมีจุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ
1 เป็นอุดมการณ์ที่สอนมนษย์ให้ศรัทธาในอัลลอฮ์ พระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว
2 เป็นธรรมนูญชีวิต อันครอบคลุมทุกด้าน ทั้งเรื่อง การปกครอง เศรษฐกิจ และกฎหมาย
3 เป็นจริยธรรมอันสูงสุ่งเพื่อการครองตนอย่างมีเกียรติ


       ในการโจมตีของมองโกล โดยการนำของเจ้าชายฮูเรกู เป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในสามครั้งของโลกมุสลิม ราชวงศ์แอบบาสิยะห์ สิ้นราชวงศ์ บ้านเมืองถูกเผาทำลาย วิทยาการต่าง ๆ ในนครแบกแดดถูกทำลายจนสูญสิ้น
         มูลากู ข่านนำทัพมองโกล ทำลายล้างอย่างที่ไม่มีใครหยุ่ดยั้งได้  เคาะลีฟะฮ์ อัล-มุสตะซิมบิลละฮ์ ถูกฆ่าและมุสลิมนับแสนคนถุฆ่าจนถนนในแบกแดดกองไปด้วยซากศพและถนนกลายเป็นแม่น้ำโลหิต  มองโกลเข้าแบกแดดในวันอาชูร และราชวงศ์อับบาซียะฮฺต้องสิ้นสุดไปลงไปด้วยเลือด กล่าวกันว่าแม่น้ำในแบกแดดกลายเป็นสีหมึกจากหนังสือในห้องสมุดซึ่งถูกทำลายหนังสือในห้องสมุดกรุงแบกแดดที่ถูกทำลายสามารถน้ำมาถมข้ามแม่น้ำได้อย่างสบาย และถนนต้องแดงฉานด้วยเลือดมุสลิม 
      หลังจากทำลายแบกแดดแล้ว กองทัพของฮูลากูก็บ่ายหน้าขึ้นเหนือโจมตีซีเรีย และยึดเมืองอามัสกัส เมืองหลวงของอาณาจักรมุสลิมถูกทำลาย กองทัพต่างๆ ต้อง พ่ายแพ้อย่างราบคาบให้แก่ความดุดันห้าวหาญของทหารม้าและทหารราบของมองโกล มุสลิมสิ้นหว้งในการที่จะต้านทาน ความโหดเหี้ยมของมองโกล
การทำลายล้างของมองโกล
- ห้องสมุดแกรนด์ของกรุงแบกแดด
- ประชากร ตั้งแต่ 200,000ถึงล้าน
- ปล้น ทำลายมัสยิและพระราชวังห้องสมุดโรงพยาบาล อาคารต่าง ๆ
-  การสังหารกาหลิบ
- ระบบชลประทาน


No1




    หลังจากอาณาจักเซลจุกเติร์กแห่งอนาโตเลียถูกกองทัพมองโกลรุกรานและล่มสลายในที่สุด  อาณาจักร ออตโตมานก็ถูกสถาปนาขึ้นโดย อุษมาน และประกาศตนเป็น ปาดีชะห์ปกครองออตโตมาน
          ปาดีชะห์ หรือ สุลต่าน เป็นตำแหน่งเดียและเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจเด็ดขาด เป็นประมุขของรัฐและของรัฐบาลของจักรวรรดิอย่างเป็นทางการ ในบางครั้งอำนาจที่แท้จริงจะตกอยู่ในมือของข้าราชสำนัก

Region




ศาสนา ได้สิ่งที่ธรรมชาติของมนุษย์มีความต้องการอย่างลึกซึ้งภายในและขณะเดียวกันศาสนาก็มีอิทธิพลต่อชีวิตและสังคมของมนุษย์ทั้งด้านกี และด้านร้าย สุดแต่สภานการณ์ ช่วงเวลา และสภาพสังคมในสภาพสังคมและการเปลนทำนองเดียวกันสภาพสังคมและการเปลี่นแปลงของสังคมก็มีอิทธิพลต่อศาสนาเช่นกัน
                ในอดีที่ผ่านมาหลายพันปีจนถึงปัจจุบัน ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่าบางครั้งศาสนาก็ช่วยแก้สภานการณ์ที่เลวร้าย วิกฤตให้สงบลงได้ บางรั้งศาสนาก็เป็นสกเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการจราจล ฆาปันกัน บางครั้งบุคคลในศาสนาก็เข้าไปเกี่ยวข้อง ก้าวก่ายต่อการเมือง การปกครองเศรษฐกิจและสงครามเสียเอง ดังนั้นจึงอาจได้ว่า ศาสนามีอิทธิพลต่อสังคม กละขณะเดียวกันสังคมก็มีอิทธพลต่อศาสนาเช่นกัน
บทบาทและอิทธิพลของสังคมต่อศาสนา
                กล่าวคือ บุคคล สังคม และภาพแวดลิ้มทางสังคม และทางภูมิศาสตร์ตอลดจนวัวัฒนธรรมและการเมืองการปกครอง ล้วนมีส่วนสำคัญที่อาจสามารถเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงศาสนา และมีอิทธิพลต่อศาสนาในด้านต่าง ๆ ได้
                บทบาทและอิทธิพลของศาสนาต่อสังคมส่วนรวม
ความสัมพันธต่อบุคคล บุคคลต่อบุคคล เริ่มจากครอบครัวขยายสู่ชุมชน และประทเศชาติในการจัดระบบของสังคมได้รอิทธิพลจากศาสนาเป็นส่วนมาก กาจัดอัดับในรุปการปกครอง การจัดรูปแบบของสังคม เป็นต้นโดยความเชื่อที่ว่า ผู้ปกครองหรือกษัตริย์นั้น มักจะจุติจาสวรรค์ กังทีเรียกันว่าสมมติเทพ คือเป็นบุคคลอีระดับหนึ่งดำรงฐานลดหลั่นกนลงมาตามลำดับ ..การขจัดปัญหาเรื่องชนชั้น ตามความเชื่อถือทางศาสนาในทุกสังคม แม้จะแตกต่างทางชั้นวรรระอร่างไรก็ตามสามารถรวมกันได้ เพราะอาศัยศาสนาเป็นศูนย์กลางและศูนย์รวมทางสังคมโดยศาสนาอีกอย่างคือ การประกอบพิธีสำคัญๆ ของสัคมนั้นๆ

                ศาสนานำความจริญก้าวหน้าต่าง ๆ ให้แก่มนุษยืมากมาย ทุกประเทศยอมรับว่า ความก้าหน้าทางศิลปวิทยาการทุกชนิดเกิดจากศาสนา  เป็นบ่อเกิดแห่งการศึกษา  มนุษย์ได้รับประโยชน์ อันเกิดจาอิทธพลทธิพลของศาสนาของศาสนาในด้านต่าง ๆ  ศาสนาเป็นสิ่งช่วยจูงในเต้าใจ ให้มนุษยืมีความมั่นคง เป็นอนหนึ่งอันเดียวกัน มีความสงบจิตใจ สบายใจตามหลักธรรองศาสนาที่ตนนับถือ
                ในเรื่องความเชื่อ ศาสนาเป็นเสมือนความเร้นลับของมนุษยื โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วยนที่เป็นไสยศาสตร์ เวทมนต์ คาถา ซึ่งนักสังคมวิทยาลงความเห็นว่าเป็นเรื่องไม่มีเหตุผล แต่ในแง่ของจิตวิทยาสังคม ต้องยอมรับในประสิทธิผลของอำนาจเร้นลั ไสยศาสตร์ และเวทย์มนต์คาถา ในลักษณที่เป็นการต่อสู้ทางอารมณ์ในภาวะการณ์ที่มนุษย์ไม่สามารถจะช่วยตัวเองได้ จึงต้องดาศัสิ่งเหล่านี้เป็นที่พึ่ง เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวผูกพันทางใจ
                ศาสนาเป็นเสมือนสายใยที่เชื่อมมนุษยืกับสังคมเข้าด้วยกันในฐานะที่ศาสาเป้นสถาบันทางสัฝคมที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเหนื่องมนุษย์ดับสังคมให้เข้าด้วยกันในฐานะที่ศาสนาเป็นสถาบันทางสังคมที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับสถาบันที่สำคัญอื่นๆ ในสัคม ซึ่งสามารรถแทรกอยู่ในสังคมแทบทุกชนชั้น ทุกวงการ ทุกสถาบันสัคม



                                                ชาวยิว  ชาวคริสต์  ชาวมุสลิม
                ศานายิวหรือศาสนายูดาห์ เกิดขึ้นในท่ามกลางสภาพสังคมที่ชาวยิวกำลังรับความทุกข์ ลำบาก ตกเป็นทาสถูกดขี่ขมเหงใช้งานหนัก โดนรังแก ถูกฆ่า ตามอำเภอใจของผู้มีอำนาจกครอง ชาวยิวทุคนหวังว่าจะมีผู้มาช่วยให้พ้นทุกข์ พ้นสภาพการเป็นทาส ซึ่งมีสถานะในสังคมเป็นเพียงพลเมืองชั้นต่ำสุด ยูดาห์เกิดมาเพื่อปลดป่อยชาวยิวจากทุกข์ยที่ถูกคุโทษ และภัยที่ถูกคุกคามทั้งปวง หลักธรรมคำสอนของศาสนามีวัตถุประสงค์ให้ชาวยิวร่วมใจกันสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อการปลดแอกและสร้างชาติ สร้างประเทศบ้านเมืองที่เป็นอิสระเป็นหลักฐานมั่นคง
                สภาพสังคมของชาวยิวก่อนเกิดศาสนายิวเป็นเช่นนี้ จึงทำให้เกิดศาสนายิว และทำให้ศาสูกปกครองนายิวเน้นหลักเรื่องชาตินยม การรวมชาติ การช่วยกันสร้างชาติ ดดยมีหลักธรรมคำสอนให้มีความเชื่อมั่นศรัทธาในพรจ้าองค์เดียวสูงสุด และให้ความหวังและกำลังใจให้มีแรงบันดาลใจในการต่อสู้เพื่อชนชาติ ว่าชนชาติยิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงเลื่อก(มีเพียงชาติเดียวในโลกที่พระเจ้าทรงงเลือก) และจะให้ความช่วยเหลือให้ได้พบอินแดนอันอุดมสมบูรณ์ สงบสุข ใช้ตั้งบ้านเมืองสร้างชาติ ซึ่งเรียกว่าดินแดนแห่งสัญญา เป็นพันธสัญญาระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์
                จากหลักธรรมคำสอน ซึ่งมีความเชื่อว่ามาจากพระเจ้าดดยตรงว่าพระเจ้าจะประทานความช่วยเหลื่อชนชาติตนอย่างแน่นอน  ซึ่งกำลังศรัทธาและความเชื่อมั่นนี้ในที่สุดชาวยิดจึงสามารถสร้างชาติและประเทศบ้านเมืองได้สำเร็จ
                ศาสนายิงเกิดขึ้นมาเพื่อช่วยชนชาติยิวโดยเฉพาะ และชนชาติยิวก็มีความเชื่อแลศรัทธาในหลักธรรมคำสอนของศาสนาอย่างลึกซึ้ง 


             ศาสนาคริสต์เกิดขึ้นท่ามกลางสังคมของชาวยิวที่ถูกกดขี่โดยชาวโรมันโดยตกเป็นเมืองขึ้น ถูกกดขี่ ขาดอิสระภาพ สภาพความเป็นอยุ่อัตคัตยากจน  สภาพสังคมของชาวยิวขณะนั้นต้องการผุ้ช่วยเหลือ ผู้สังสอนให้ประพฟติปฏิบัติในทางที่ถูก  ต้องการความรักความเมตตากรุณา ปลอบประดลมให้คลายจากความทุกข์ที่ได้รับอยุ่
                ด้วยความเชื่อที่ว่าพระเจ้าะไม่ทอดทิ้งชาวยิว พระเจ้าส่งผู้มรไถ่บาปเพื่อช่วยเหลือชาวยิว ซึ่งเรียกว่า Messiah ชาวยิวรอคอยผุ้ที่พระเจ้าจะส่งมาช่วยพวกเขาและเมือพระเยซูปรากฎตัวขึ้น และประกาศว่าเป็นบุตรของพระเจ้าพระเยซูมาในขณะที่ประชาชนรอคอย พระเยซุมาเพื่อให้ความหวังเป็นความจริง
                ระยะเวลาที่พระเยซูได้รับการยอมรบจากผู้ศรัทธานับถือว่าพระองค์เป็นบุตรของพระเจ้า เป็นพระฟู้ไถ่บาปให้มวลมนุษย์นั้นมีอยุ่เพืยงไม่กีปีก็ตรึงกางเขนพระเยซูและสาวกออกเผยแพร่ศาสนาไปยังชนบท ปราชนผู้ทุกขืยกาต้ต้อยในสังคมผู้เจ็บป่วยผู้อคอยความหวัง พระองค์ทรงสั่งสอนและปลอบโยนแก่ผู้เศร้าโศก นำความหวังความเข้าใจมาสู่ผุ้สำนึกผิ พระองค์ทำให้คำบาปกลับใจ มีผู้โจมตี ติเตียน พระองค์ว่าทรงคลุกคลีอยู่ท่ามกลางคนบาป คนเลว คนจน คคนสกปรก ต่ำต้อย คนป่วยพิการ... พระเยซูสอนให้มวลมนุษย์รกกันให้อภัยกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
                ศาสนาคริสต์แตกต่างจากศาสนายิว คือพระเยซูมีช่วงเวลาที่ประกาศศาสนาของพระอค์น้อยเหลือเกิดน เพี่ยงเวลา 3 ปี หากพระองค์มีอายุยืนนานดังเช่นศาสดาของศาสนาอื่น ศาสนาคริสต์อาจแผ่ไพศาลในโลกมากกว่านี้ และความเชื่อของสาวกพระเยซู   และมิชชั่นนารี ที่สืบกันมา ซึ่งยึดมั่นอุดมการณ์ ในการเผยแพร่ การเผยแพร่ศาสนาคริสต์เป็นขบวนการที่มีระบบและมีเงินทุนรองรับทำงานเป็นขั้นตอน และร่วมมือร่วมแรงร่วมใจ ทังฝ่ายพระและผุ้แกครองประเทศ ดดยเฉพาะในยุคล่าอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตก ในสมัยนั้นการเมือง และการเผยแพร่ศาสนาคริสต์จะมาคู่กน บางครั้งผู้ปกครองประเทศมหาอำนาจเหล่านั้นก็ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือหรือบงหน้าแต่ถึงอย่างไรมิชชันารีก็เผยแพร่ศาสนาอย่างแท้จริง โดยต้องการให้ประชาชนในประเทศต่าง ๆ หันมานบถือศาสนาคริสต์
                ทั้งการเมืองและการศาสนาจึงต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยปริยาย จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาจะเห็นว่าประเทศที่ต้องตกเป็นอาณานิคมประเทศมหาอำนาจนั้น ในเวลาต่อมาประชาชนจะหันไปนับถือศาสนาคริสต์มากขึ้น


                ศาสนาอิสลาม  เกิดขึ้นในสภาพสังคมที่แตกต่าง การใช้ชีวิตของคนในสังคมอาหรับนั้นมีอิสระเสรีมกากว่าสภาพสังคมหละหลวม ไม่มีกฎระเบียบ ไม่เคารพสิทธิ การรบลาฆ่าฟันเป็นเรื่องปกติ การล้างแค้นเป็นหน้าที่ความเคารพนับถือ สิ่งลึกลับซ้อนเร้นเหนือธรรมชาติ ผีสางเทวดา เวทย์มนต์จะคาภา ไสยศาสตร์เป็นสิ่งจำเปน  จากสภาพสังคมดังกลาศาสนาที่เกิดขึ้นในสังคมเช่นนี้ ต้องมีความเด็ดขาด จริงจัง จึงจะควบคุมคนในสังคมนั้นได้ ศาสนาอิสลามจึงมีหลักธรรมคำสอนที่เป็นกฎหมาย ระเบียบ วิธีปฎิบัติในการกำรงชีวิตเป็นศุนย์รวมจิตใจ เป็นธรรมนูญสูงสุดของชีววิต ซึ่งมีคำสอนละเยดลึกซึ้ง ครอบคลุมการดำรงชีวิตตั้งแต่เกิดกระทั้งตายในทุกๆด้าน
                ศาสดาผู้ก่อตั้งคือ พระมูฮัมหมัด กว่าพระองค์จะประกาศศาสนได้สำเร็จ ต้องต่อสู้เพื่อให้ผุ้ต่ต้านยอมจำนน  การเผยแพร่ศาสนาอิสลาม ท่านศาสดาจะใช้วิธีนุ่มนวล สั่งสอนให้เชื่อฟังและศรัทธา และสำหรับผู้ไม่เชื่อฟัง ต่อต้าน ท่าจึงจะใช้กำลัง คือ ใช้พระคุณตามด้วยพระเดช ใช้ทั้งธรรมะและกองทัพ เพราะอุปนิสัยการเป็นนักสู้และมีอิสระเสรีภาพมากมาเป็นเวลานานของชาวอาหรับ จะสู้กระทั่งแพ้จึงจะรับฟัง การจะยอมใครง่ายๆ นั้นเป็นเรื่องยาก แต่ถ้ายอมรับฟังแล้ว ยอมรับนับถือแล้วก็จะยอมตายถวายชีวิต ด้วยความเด็ดเดี่ยว กล้าหาญ และสละแม้ชีวิต ของชาวอาหรับในการเผยแพร่ศาสนานี้เอง ที่ทำให้ศาสนาอิสลามกลายเป็นศาสนาสำคญของโลก
                เหตุบาดหมางในอดีตระหว่างชาวยิวและอิสลาม กล่าวคือ ชาวยิวบางกลุ่มคื อผู้ลอบทพร้ายทรยศ หักหลัง ท่านศาสนดา มูฮัมหมัด อันเป็นเหตุให้อิสลามไม่ลงรอยกับยิวตลอดมา กระทั่งปัจจุบัน ปัญหาในปาเลสไตต์ก็ยังไคงไม่สงบ และในเรื่อง เยรุซาเล็ม และประวัติศาสตร์ของชาติยิวชาวอิสลามก็ไม่ยอมรับประวัติศาสตร์เยรูซาเล็มตั้งแต่ชาวยิวเข้ามาในดินแดนนี้ หรือตั้งแต่ยุคกำเนิดพระเยซู

                โดยจะเห็นได้ว่าทั้งสามศาสนา ต่างมีรากฐานและนับถือพรเจ้าองค์เดียวกัน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ส่วนหนึ่งเหมือนกัน   ศาสนาคริสต์เข้ากันได้กับทั้ง คริสต์และ อิสลาม ชาวคริสต์มีลักษณะประณีประนอม ไม่อ่อนหรือแข็งเกินไป คำสอนเน้นเรื่องความรัก ความเมตตา และเสียสละแก่เพื่อนมนุษย์
             ศาสนายูดาห์เหมาะสำหรัชาวยิว โดยคำสอนมุ่งเน้นเรื่องความเชื่อ ศรัทาต่อพระเจ้า และเชื่อว่าพระเจ้าได้เลือกชนชาวยิว และจะคอยช่วยเหลือชนชาวยิวตลอดไป อันเป็นพลังให้ชาวยิวสร้างชาติก่อตั้งประเทศได้ เป็นการสร้างศรัทาสามัคคี และความผูกพัจากความเชื่อ และแรงบันดาลใจจากศาสนา
                ศาสนาอิสลามก็เหมาะกับชาวอาหรับ และสภาพสังคมที่หลากหลาย เป็นการทำให้สังคมมีระเบียบ สงบสุข และอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และสามัคคีกัน เป็นศาสนาที่มำสอนที่สามารถควบคุมสังคมได้อย่างดียิ่ง

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

Masyaf

   เป็นราชวงศ์ในยุคที่ที่ขึ้นครองราชหลังจากราชวงศ์อุมัยยะฮ์ถูกโค่นล้ม ได้ย้ายเมืองหลวงจากจากเมือง “ชาม” (ดามัสกัส ซีเรียในปัจจุบัน)มาที่กรุงแบกแดด
  ดินแดนอิสลามในยุคนี้ จึงแบ่งออกเป็น ที่ดามัสกัสซึ่งราชวงศ์เดิมอ าศัยอยู่ และราชวงศ์ใหม่ที่กรุงแบกแดด และยังมีที่ อียิป กรุงไคโร พวกชีอะห์ได้ตั้งราชวงศ์ขึ้นมาคือ ราชวงศ์ “ฟาติมิดส์” อิสลามที่ไคโรนั้น มีกลุ่มที่น่ากลัวที่สุดของอิสลามคือ พวกAssasin หรือพวกนักฆ่าอันมีเมืองหลวงอยู่ที่เมือง Masyaf ซึ่งเป็นกลุ่มที่ชื่อเสียงขึ้นมาหลังจากทำการตีเมืองคืนจาก ซาลาดิน กล่าวคือ
    เมื่อ ซาลาดิน หรือ จีฮัทธ์ทำสงครามกับพวกครูเสด เสร็จสิ้นโดยการทำสัญญากับพระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์ จึงเดินทางมาปราบพวกชีอะห์ตามบัญชา ของ เคาะห์ลีฟะห์แห่งแบกแดด  โดยมีตำนานหรือเรื่องเล่าขานกัน ว่า เมืองครั้งซาลาดีนยึดเมือง Masyaf ได้จากพวก Assasin ซึ่งต้องเป็นทางผ่านที่จะไปยังกรุงไคโร นั้น ขณะที่ ซาลาดิน นอนอหลับอยู่ในเมือง  Masyaf ภายใต้การป้องกันอย่างแน่นหนา พวกมือสังหารได้ส่งขนมเค้กใส่ยาพิษ ไปว่าไว้ในห้องของซาลาดีน และในที่สุดก็สามารถตีเมืองที่ยึดครองโดยซาลาดีนคืนได้ การณ์ครั้งนี้ทำให้ชื่อเสียงของ Assasin เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง




ในการละมาดของชาวอิสลามนั้นผู้ละมาดต้องออกพระนามเคาะหฺลีฟะหฺของตน ซึ่งอิสลามในอียิปต์และอิสลามในกรุงแบกแดดนั้นต่างฝ่ายต่างมีเคาะหฺลีฟะห์ของตนเอง เมือครั้งซาลาดินเคายึดกรุงไคโร จึงบังคับให้ผู้ทำการสวดมนต์หรือละมาดนั้นทุกครั้งจะต้องออกพระนามเคาะห์ลีฟะหฺแห่งแบกแดด เป็นอันว่า ซาลาดีน จึงเป็นผุปกครอง อิสลามในกรุง ไคโรตั้งแต่บันนั้น และขึ้นตรงต่อเคาะหฺลีฟะห์แห่งแบกแดด
   มองโกลนั้นก็เช่นเดียวกัน ภายใต้การนำกองทัพของเจ้าชาย ฮุเลกูผุ้มีความสามารถในการทำสงครามนำทัพ ทหารมองโกล 150,000 นายเข้าตี เมืองหลวงของเหล่ามือสังหารแตกในครั้งเดียวและเดินทัพไปยังแบกแดด เพื่อทำการโจมตีกรุงแบกแดด

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

assassination

   soc4
  “การลอบสังหาร” เป็นรูปแบบของความรุนแรงทางการเมืองที่นักรัฐศาสตร์ไม่ควรมองข้าม สาเหตุแห่งการลอบสังหาร คือ แย่งชิงอำนาจ หนึ่ง ทำไปเพื่อนำสู่ผลประโยชน์ หนึ่ง และ เหตุผลอื่นๆ หนึ่ง เช่นการฆ่าด้วยความบ้า หรืออยากดังเป็นต้น
     assassin เป็นคำที่มีบ่อเกิดจากเปอร์เซียและซีเรีย ประมาณศตวรรษที่ 8-14 ในการลอบสังหารช่วงแรก ๆ เป็นการกรทำของพวกสมาชิกกลุ่ม Nizaris กลุ่มชาวมุสลิม ซึ่งใช้การฆ่าแบบจู่โจมโดยเจ้าหน้าที่ลับ ขณะที่ผู้คนมักมองว่า หลุ่ม Nizaris เป็นกลุ่มที่สังคมไม่ให้การยอมรับ และไม่มีใครคบหา จากทัศนคติ เช่นนี้จึงได้กลายมาเป็นหนึ่งในชื่อของกลุ่มว่า “Hashshashin” ที่รากศัพท์หมายถึง “ผู้เสพกัญชา”
   มีบางแหล่งระบุชัดว่า คำๆ นี้ถือกำเนิดนยุคศตวรรษที่ 11 เพื่อใช้อธิบายพฤติกรรมของ Hassan-i Sabbah ผู้นำกลุ่มชาวมุสลิมที่กุมอำนาจอยางมากในตะวันออกกลาง ผู้เน้นปกครองด้วยการใช้กำลังความรุนแรง ซึ่งการลอบสังหารก็จัดว่าเป็นหนึ่งในวิธีการที่ถูกเขานำมาใช้ เชื่อกันว่าชาวตะวันตกที่นำคำนี้มาใช้เป็นคนแรก คือ Benjamin of Tudela ช่วงศตวรรษที่ 12
    เมื่อตำนานเรื่อนี้แพร่ออกไป คำว่า “Hashshashin” ได้เดินทางผ่านชาวปรังเศสและ อิตาลีhashshashin_by_couvertoire-d4o7e0s 630px-ACR_STORY_11 กระทั่งถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในยุโรป จนปรากฎเป็นคำภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 16 ว่า Assasin และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป สำหรับใช้เรียกขาน นักฆ่าคนทรยศ ในห้วงเวลานั้น
   ในทาง “ปรัชญาการเมือง” ยอมรับกันว่าการ “ฆ่า” เป็นคุณสมบัติที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของธรรมชาติมนุษย์และชีวิตสังคม ยิ่งไปกว่านั้นคือ “รัฐศาสตร์แบบจารีต”ยังนับสนุนความรุนแรงบางชนิดให้มีความชอบธรรม เช่น การปฏิวัติ รัฐประหาร ต่อต้านระบอบอการปกครองที่เลวร้าย…
   การลอบสังหารเป็น “ความรุนแรงทางตรง” ซึ่งจัดเป็นรูปแบบหนึ่งของความรุนแรงทางการเมืองข้างน้อย ในแง่ที่เป็น “การก่อความรุนแรงโดยปัเจกบุคคล” ขณะที่ความรุนแรงทางการเมืองส่วนใหญ่ที่เป็นที่สนใจในทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์มากกว่า มักได้แก่ “การใช้ความรุนแรงรวมหมู่”  ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงโดยรัฐ การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ สงครามกลางเมือง การก่อการจราจล ตลอดจนความรุนแรงโดยกลุ่มองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ
    assasin
ผู้ลอบสังหาร ตำนานนักฆ่ามีมาตั้งแต่สมัยสงครามครูเสดครั้งที่ 3 หลังจากซาลาดินสงบศึกกับพรเจ้าริชาร์ดใจสิงห์ แล้วกลับมาพักที่ดามัสกัส ซาลาดินผู้นำนักรับที่เกรียงไกร มาเกี่ยวข้องกับนักฆ่า หรือ Assasin ได้อย่างไร กล่าวคือ เมือง Masyaf ประเทศซีเรีย ดินแดนแห่งนักลอบสังหาร ป้อมแห่งนักล่าสังหาร และเหล่าบรรดานักฆ่านั้นได้สร้างความปวดร้าวแก่ซาลาดิน กล่าวคือ masyaf_castle1
   Rachid ad-Din Sinan ผู้มีฉายานามว่า The old man of the Mountain ท่านเป็นสาวกของกลุ่ม Hashshashi ในวัยเด็กได้เดินทางมายังเมือง Alamut in Iran ศูนย์หลางของบรรดาเหล่า Assassin และได้รับการฝึก และในปี 1162 จึงเดินทางไปยังซีเรียและทำการยึดเมืองทางตอนเหนือของซีเรียมากมาย จากนั้นในปี 1176 ก้เป็นผู้นำกองทัพในการสู้รบกาบซาลาดินที Masyaf และได้รทำการยึดครอง และปกครองตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งการต่อสู้กับกองทัพซาลาดินเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเหล่า assasin

Tibet



     เขตปกครองตนเองธิเบต เป็นเขตปกครองตนเองของประเทศจีน เมืองหลวงคือ "ลาซา" มีเชื้อสายมาจากชาวอินเดีย ชาวทิเบตมีพระเป็นผู้นำของเขตปกครองพิเศษนี้ ซึ่งนับถือศษสนาพุทธนิกายวัชรยานคล้ายกับภูฎาน
     ทิเบธตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัยเป็นที่ราบสูงที่สูงที่สุดในโลก ได้รับฉายาว่า หลังคาของโลก ฺธิเบตมีอากาศที่หนาวเย็น และอ็อกซิเจนต่ำ 
พลเมืองชายชาวธิเบตกว่าครึ่งบวชเป็นพระ ก่อนจีนจะยึดครองธิเบต ธิเบตมีสามเณริกามากที่สุดในโลก มีคัมภีร์มากมาย พลเมืองนับถือศาสนาอย่างเคร่งครัด ซึ่งได้รับฉายาว่า "แดนแห่งพระธรรม"
  ก่อนคริสต์ศักราช ชนชาติทิเบตอาศัยอยู่ที่ราบสูง ชิงไห่-ทิเบต มีการไปมาหาสู่กับชาวฮั่นที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินใหญ่จีน ผ่านระยะเวลาอันยาวนาน  เผ่าชนต่างๆ ในทีราบสูงลิงไห่-ทิเบตก็ค่อยๆ รวมกันเป็นเอกภาพและกลายเป็นชนชาติธิเบต

     อิทธิพลมองโกล

     การติดต่อระหว่างธิเบตกับมองโกลที่มีลายลักษณ์อักษรครั้งแรกคือการพบปะระหว่าง เจงกิสข่าน กับซังปะ คุงคุรวาและศิษย์อีกหกคนซึ่งอาจเป็นการพบกันในเขตจักรวรรดิ์ตันกัต
   เจ้าชายแห่งมองโกลเข้าควบคุมโกโกนอร์เพื่อหาโอกาสเข้าตีจีนในสมัยราชวงศ์ซ่ง จากทางตะวันตกเขาได้ส่งนายพลคอร์ดาสำรวจธิเบต ในระหว่างสำรวจครั้งนี้ วัดของนิกายกรรมะปะ ถูกเผาและคน อีก 500 คนถูกสังหาร
   เจ้าชายมองโกลเชิญสักยะบัณฑิตผู้นำนิกายสักยะ มายังเมืองหลวงของพระองค์ สักยะบัณฑิตไปถึงโกโกนอร์พร้อมด้วยหลานชายสองคน คือ โดรกอน โชกยัล พักปะ และชนะ ดอร์เจ ซึ่งถือว่าเป็นการยอมจำนนต่อมองโกล เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่นักประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่กล่าวว่าธิเบตเป็นส่วนหนึ่งของจีน อย่างไรก็ตามมีข้อโต้แย้งจากนักประวัติศาสตร์ที่ศึกษาประวัติศาสตร์ธิเบตว่ายุคของมองโกลธิเบตกับจีนเป็นหน่วยการเมืองคนละหน่วยกัน



    เมืองมองเก้ เป็นข่านสูงสุดของมองโกล เขามอบหมายให้น้องชาย คือ กุบไลข่าน (คูบิไล ข่าน) เป็นผู้ดูแลธิเบต และหาโอกาสรุกรานจีน
    สักยะบัณฑิตถึงแก่กรรม กุบไลข่านจึงตั้งให้ โครกอน โชกยัล พักปะ เป็นตัวแทนของธิเบต
    กุบไลข่านได้รับเลือกให้เป็นข่านสูงสุดหลังจาก มองเก้ ข่านสวรรคต
    โครกอน โชกยัล พักปะ กลับสู่ธิเบตและตั้งให้นิกายสักยะเป็นผู้ปกครองสูงสุด
    โครกอน โชกยับ พักปะ เดินทางไปพบกุบไลข่านอีกครั้งที่เมืองคานบา(ปักกิ่ง)เขาได้ประดิษฐ์อักษรสำหรับภาษามองโกเลีย เรียกว่า อักษร พัก-ปา ทำให้ได้รับการยืนยันอีกครั้งว่าเขาคือผู้มีอำนาจปกครองธิเบต
    นิกายสักยะมีอำนาจในธิเบตถึงพุทธศตวรรษที่ 19 แม้ว่าจะมีการกบฎโดยนิกายกาจู ที่ได้รับการสนับสนุนจากฮีลากีข่าน ในเขตอิลข่าน การกบฎถูกปราบโดยความร่วมมือของนิกายสักยะและทหารมองโกลตะวันออก โดยมีการเผาวัดของนิกายกาจู และทีคนถูกฆ่าถึง 10,000 คน
    

กษัตริย์มองโกลนามว่า อัลตัลข่าน ได้พบกับประมุขสงฆ์ของนิกายเกลุกที่ชื่อว่า สอดนัมยาโส แล้วเลื้อมใส เนื่องจาท่านสืบเชื้อสายมาจากนิกายสักยะ และพักโมดรุ ซึ่งเป็นตระกูลที่มีอิทธิพลในธิเบต มีการดัดแปลงวัดที่นิกายอื่นอ่อนแดในการปกครอง และทิ้งให้ร้างเป็นวักนิกายเกลุก (หมวกเหลือง) กษัตริย์ทองโกลทรงเชื่อง่าประมุขสงฆ์นี้เคยเป็นอาจารย์ของพระองค์ในชาติก่อน เมื่อพระองค์เสวยพระชาติเป็นกุบไลข่าน จึงถวายตำแหน่ง "ทะไลลามะ" ("ทะไล"เป็นภาษามองโกลแปลวว่า ทะเล หรือ กว้างใหญ่ "ลามะ" หมายถึงพระหรือคฤหัสถ์ที่มีความรู้ความชำนาญ แต่ชาวธิเบตนิยมใช้คำว่า ไคยาวา ริมโปเช คือ ชัยรัตนะ) ซี่งเป็นต้นกำเนิด "ทะไล ลามะ" และท่านสอดนัมวังยาโส ก็ถวายตำแหน่าง "ธรรมราชาทรงความบริสุทธิ์" แก่อัลตัน ข่าน เป็นการตอบแทน
   

siege....

     ต้าหลี่เป็นเมืองเอกของเขตปกครองตนเองชนชาติไป๋ ต้าหลี่ มณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่บนเทีอกเขาชางซานทางด้านตะวันตก และทะเลสาบเอ๋อไห่ทางด้านตะวันออก เป็นที่ตั้งถ่นฐานชาวไบ๋ และชาวอี้ มาแต่โบราณ
     ต้าหลี่เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรน่านเจ้าซึ่งเป็นอาณาจักของชาวไป๋ในช่วงศตวรรษที่ 8-9 ต่อมาได้เป็นเมืองหลวง อาณาจักรต้าหลี่ ในปี พ.ศ. 1480-1796 และยังเป็นศูนย์กลางการเคลื่อนไหวของกลุ่มกบฎจีนมุสลิม (จีนฮ่อ)พระว่างปี พ.ศ. 2399-2406
     ต้าหลี่ยังมีชื่อเสียในฐานะเป็นแหล่งผลิตหินอ่อนหลากหลายชนิด ซึ่งนำมาใช้ในการก่อสร้างและประดับตกแต่งอาคาร

     ยูนนานเป็นแหล่งอารยธรรมชนเผ่าต่างๆ ที่เก่าแก่นับพันปี การขุดค้นพบยืนยันว่ามีมนุษย์ที่มีอารยธรรมอาศัยอยู่มากกว่า สองพันปี ในช่วงสมัยสามก๊กเป็นถ่อนของชนเผ่าใหญ่ 6 กลุ่ม อำนาจราชสำนักจากจงหยวนไม่สามารถแผ่ขนยมาถึงดินแดนส่วนนี้
     ในสมัยจักรพรรดิถังเสวียนจง ก็เช่นเดียวกัน จักพรรดิถังเสวียนจงจึงแต่งตั้ง พีเล่อเก๋อจากเผ่าหมิงชี่ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งยูนนาน พีเล่อเก๋อจึงก่อตั้งอาณาจักรหนานจ้าว(น่านเจ้า)ขึ้นมา นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าอาณาจักรนี้เป็นของชนชาติไป๋และโลโล (ชนชาติที่พูดภาษาตระกูลธิเบตสายหนึ่ง)K5516214-0
   จากแผนที่ พื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือราชวงศ์ซ่ง ทางตอนเหนือคือราชสำนักเหลียว ทางตะวันตกคือซีเซี่ย และทางใต้สุดคือ ต้าหลี่ อาณาจักรที่อยู่ทางเหนือต้าหลี่ คือ ทู่ฝาน






   ชนชาติไป๋เป็นชนชาติหนึ่งที่พูดภาษาในตะกูล ทิเบโต-เบอร์ทม่า ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุดใน 5 เผ่าของยูนนาน นับถือศาสนาพุทธและอิสลาม ต้าหลี่ตั้งอยู่ริมทะเลสาปเอ๋อไห่ มีทเวเขาล้อมรอบอายุกว่า 1500 ปี อาณาจักรต้าหลี่ปกครองยูนนานกว่า 315 ปี มีกษัตริย์ 22 องค์กว่าครึ่งที่สละราชสมบัติออกผนวช…
      เจ้าชายคูบิไล ได้รับราชโองการให้เคลื่อนทัพโจมตี อาณาจักรต้าหลี่ เจ้าชายคูบิไลจึงส่งทูตมายื่นข้อเสนอต่อกษัตริย์อาณาจักรตาหลี่ ซึ่งเป็นหุ่นเชิดขุนนางเก๋าไตเชียง ผู้คุมอำนาจอยู่เบื้องหลังซึงท้าทายอำนาจกองทัพเจ้าชายคูลิไลโดยสั่งประหารทูตทั้งหมด  เมือเตรียมความพร้อมแล้วจึงเคลื่อนทัพจากเมืองหลิน-เตา มุ่งไปยังทิศใต้ถึงที่ราบยุนนาน ทรงเดินทัพอย่างยากลำบาก โดยฝ่านมณฑลเสฉวนตางไปยังหุบเขาลัดเข้าอาณาจักรต้าหลี่ดินแดนแหล่งต้นน้ำแยงซี ชุนพลบายันนำกองทหราข้ามน้ำในเวลากลางคืน และโจมตีโดยทหารกองทัพต้าหลี่คาดไม่ถึงจึงแตกพ่ยไม่เป็นขยวน เจ้าชายคูบิไลจึงยึดครองเมืองหลวงอาณาจักต้าหลี่โดยปราศจากการต่อต้าน และประหารเก๋าไตเซียงขุนนางผู้กุมอำนาจสูงสุดด้วยการตัดคอ และสังประหารผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารคณะทูตของพระองค์ และสั่งให้ขุนนางมองโกระดับสูงปกครองต้าหลี่ต่อไป
     
     mouse011

        พวกต้าหลี่ที่หนีมองโกลมาก็ลี้ภัยลงไปยังที่ราบทางใต้ ซึ่งเป็นดินแดนของขอม และเป็นข้าทาสของพวกขอมอยู่หลายปี แต่ต่อมาไม่นาน ผู้นำเชื่อสายต้าหลี่ ก็แข็งข้อต่อพวกขอม และได้สถาปนาราชวงศ์ปกครองแผ่นดินเหนือลุ่มน้ำยม

   เมื่อพิชิตอาณาจักรต้าหลี่แล้ว คูิบิไลข่าน หรือ กุบไลข่าน ส่งกองทัพออกไปสองทิศทางเพื่อสกัดราชวงศ์ซ่งพระองค์ทรงให้ยกทัพไปบีบบังคับธิเบตให้ยอมจำนน และโจมตีอาณาจักรอันนัม(เวียนดนามเหนือ-ใต้)แบบสายฟ้าแลบ เพื่อสกัดกั้นการถอยลงมาของราชวงศ์ซ่ง
     มองโกลสุ่งทูตมายังอาณาจักรอันนัม พร้อมให้กษัตริย์เวียตนามเดินทางมาเข้าเผ้า  กษัตริย์เวียดนามทรงกริ้วและสังตัดหัวฑูตมองโกลทั้งหมด กุไลข่านจึงบุกอันนัมแม้ว่าทหารมองโกลจะต้องถอยทัพถึง 2 ครั้งเนื่องจากต้องเจอกับอากาศร้อนแล้ง และโรคระบาดพร้อมด้วยการโจมตีแบบกองโจรกละการวางกับดัก แต่ท้ายที่สุดกษัตริย์อันนัมเลือกจะถวายบรรณาการ และกุลไล่ข่านก็พอใจ ด้วยเป็นไปดังที่ประสงค์ จึงไม่มีการเข้ารุกรานอันนัมอีก..

Mongke Khan

เจ้าชายบาตู
   โอโกไตข่านได้รับการยั่วยุจกบรรดาขุนนางเกี่ยวกับเจ้าชายตูลิ จึงเกิดความระแวง จึงแสร้งทำเป็นป่วยและทรงให้เจ้าชายตูลิเข้าเฝ้าเป็นการด่วน เมือเจ้าชายตูลิรู้ข่าวจึงรีบมา หมอหลวงจึงทูลว่าต้องมนต์ดำ ทางแก้คือจะต้องให้ผู้เป็นน้องรับเคราะห์แทนจึงจะหายประชวร เจ้าชายตูลิด้วยความห่วงพระเชษฐามิรู้ว่าเป็นกลจึงรับพิธีล้างเคราะห์  โอโกไตข่านเมือได้รู้ถึงความภักดีจึงรู้สึกโทมนัสที่คิดระแวงน้อง
       เมือเจ้าชายตูลิขณะกำลังจะสิ้นพระชนม์ โอโกไตข่านจึงให้สัตย์สัญญากับเจ้าชายตูลิว่าหากพระองค์สวรรคตเมือได โอรสองค์โตของตูลิจะได้ขึ้นครองราช…
เจ้าชายคูยัค 
 


   ในปี ค.ศ. 1242 กองทัพมองโกลบุกเข้าถึงนคราเวียนนาที่งดงามแห่งหนึ่งในยุโรปทัพมองโกลตั้งค่ายล้อมเมืองเตรียมบุกครั้งใหญ่ ข่าวการสวรรคตอย่างกระทันหันของโอโกไต ข่านจึงมาถึงกอลทัพมองโกล เจ้าชายบาตูจำต้องถอยกำลังออกจากยุโรปเพื่อกลับไปเลือก คาฆานองค์ต่อไป ณ กรุงคาราโครัม




    เจ้าชายบาตู ข่าน ผู้พิชิตยุโรป
    เจ้าชายมองเก้ โอรสองค์โตของเจ้าชายตูลิ
    เจ้าชายคูยัค ข่าน โอรสองค์โตของโอโกไตข่าน
เจ้าชายมองเก้ 






       เจ้าชายบาตูทรงปฏิเสธเนื่องจากพระองค์มีอาณาจักรของพระองค์เองแล้ว  จึงมีเพียงเจ้าชายมองเก้ และเจ้าชายคูยัค ฝ่ายหนึ่งมีพระนางเซอร์กัจตานิเบกิผู้เป็นอัครมเหสีของเจ้าชายตูบิเสนอให้ลูกชายตนขึ้นครองราชย์ตามสัตย์สัญญาที่โอโกไตข่านทรงสัญญาไว้ก่อนสวรรคต  อีกฝ่ายหนึ่งมีพระนางตูรากีนาผู้เป็นอัครมเหสีของโอโกไตข่านที่ถือสิทธิ์ว่าลูกชายตนคือเป็นโอรสที่ทรงสืบสายเลือดโดยตรงและชอบธรรม  เพราะเหตุนี้ที่ทำให้สภาคูรับไตโต้เถียงกันอย่างรุนแรงและแตกเป็นสองฝ่ายในที่สุด ผลที่ออกมาต้องใช้เวลาถึง 4 ปีจึงจะรู้ผล โดยเจ้าชายคูยัคข่านได้ขึ้นครองราช แม้จะทำศึกเพื่อให้ข่านอื่นๆ ยอมรับตนแต่ภายในราชสำนักมองโกลเองเกิดการฉ้อราษฎรด้วยอำนาจที่แท้จริงตกอยู่ในมือพระมารดา บรรดาขุนศึกและข่านที่จงรักภักดีรู้สึกอดสู้ต่อกาลนี้ ต่อมาอีกสองปี คูยัคข่านก็สิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน
       บรรดาขุนศึกและพระราชวงศ์มองโกลต่างพร้อมใจกันทูลเชิญเจ้าชายมองเก้โอรสเจ้าชายตูลิขึ้นครองบัลลังค์ เป็นคาฆานองค์ที่ 4 แห่งอาณาจักรวรรดิมองโก
       พระนางตูรากีคงยืนยันที่จะเอาสายเลือดของโอโกไตข่านขึ้นครองรา โดยให้พระนัดดาคือ เจ้าชายซีเรมุนเป็นคาฆาน
      จึงเกิดศึกชิงบัลลังค์ นับเป็นเวลา6 ปี ซึ่งในทีสุดเจ้าชายมองเก้ ขึ้นครองราชย์เป็นคาฆานอย่างชอบธรรมและประหารผู้ต่อต้านจนหมดสิ้น
“ข้อจะเจริญรอยตามพระบรมอัยกาเจงกิสข่าน ข้าจะส่งกองทัพมองโกลออกไปพิชิตแผ่นกินโลทั้งประจิมและบูรพาทิศให้เป็นของชาวมองโกลทั้งหมด”
        มองเก้เป็นคาฆานองค์ที่ 4 ทรงเป็นพระราชโอรสของเจ้าชายตูลิและพระนางเซอร์กัจตานิ (จวงเชิงฮองเฮา) ทรงมีพระอนุชา(น้อง)อีก 3 พรองค์คือ เจ้าชายคูบิไล เจ้าชายฮูเลกู และจ้าชายอริโบเค ซึ่งล้วนเป็นยอดนักรบที่มีฝีมือทางการสงคราม
    โดยมีนโยบายดังเดิมคือขยายอาณาจักรมองโกล และเล็งเห็นว่ามองโกลจะต้องพิชิตจักรวรรดิจีนซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่นครหังโจว และจักวรรดิอาหรับอับบาสิดส์ของชาวมุสลิมที่กรุงแบกแดด โดยในการครั้งนี้มีขุนศึกคู่พระทัยคือ พระอนุชาคูบิไลและเฮเลกู

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

Magyarország


      ในวันรุ่งขึ้น กองทัพมองโกลอีสายนำโดยเจ้าชายบาตูข่าน นำทัพหลวงเข้าสู่ฮังการี และเตรียมการเข้าล้อมเมืองบูดาและเปสต์(ในเวลานั้นแบ่งเป็นสองนครด้วยแม่น้ำดานูบ) กองทัพฮังการีและผร่างเศสเคลื่อนพล 70,000 นายตั้งมั่น ณ หมู่บ้านโมฮี ริมฝั่งแม่น้ำซาโต มองโกลสามารถเข้าประชิดค่าย
      มองโกลใช้ยุทธวิธีล้อมค่ายและ่ก่อกวนทุประเภท ปฏิบัติการทางจิตวิทยาที่ได้ผลของโมงโกลคือทหารและอัศวินฮังการีไม่เคยเจอวิธีการและอาววุธแบบนี้(ระเบิดควัน ระเบิดไข่เน่า ระเบิดเสีย และประทัด) จึงเสียขวัญ การล้อมและข่มขวัญดำเนินไป 6 วัน เจ้าชายบาตูจึงส่งกองทัพเข้าโจมตีค่ายและสามารถหักค่ายเข้าไปได้ เจ้าชายบีลารีบนำกองทัพหนีไปทางตะวันตกอย่างเร่งด่วน ในศึกครั้งนี้เจ้าชายบิลาเสด็จหนีไปได้แต่กองทัพฮังการี 70,000 นายตายทั้งหมด

      เมื่อกองทัพมองโกลสายโปแลนด์โจมตีเมืองต่าง ๆ ตามรายทางจนสิ้นและมาถึงฮังการี กองทัพมองโกลทั้งสองสายจึ่งเ้ข้าล้อมกรุงบูดาและเปสต์ไว้ แต่เมืองนี้ไร้กองกำลังคุมกันเมือง มองโกลจึงจึงบุกเข้ายึดและทำลายจนพินาศในที่สุด....



             โยไกลา หรือ สมเต็จพระเจ้าวลาดิสเลาสที่ 2 แห่งโปแลนด์ ทรงปกครองโปแลนด์ รวม 48 ปีและปกครองลิทัวเนียด้วย ทรงเปลี่ยนศาสนามานับถือคริสต์ เป็นผู้วางรากฐานการรวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรของสหราชอาณาจักโปแลนด์-ลิทัวเนีย และยังทรงเป็นผู้ก่อตั้งสาขา ราชวงศ์ยากัลลัน ของราชวงศ์เกดิมินิคส์ที่ปกครองทั้งสองอาณาจักรกระทั่งปี ค.ศ. 1572 และกลายเป็นราชวงศ์ที่มีอิมธิพลมากที่สุดราชวงศหนึ่งในยุคกลาง
   ฮังการีผนึกกำลังกับโปแลนด์เป็นพัมธมิตรทางการเมืองอันทรงพลานุภาพ ราชวงศ์ยากีโลเนียน ขยายเขตอิทธิพลพันธมิตรแกนคู่จรดทะเลบอลติกทางเหนือ และทะเลดำทางใต้
ผงาดขึ้นเป็นอาณาจักใหญ่ที่สุดในยุโรปร่วมสองร้อยปี พลเมืองมีทั้ง เชื้อชาติ สลาฟ ฮังกาเรียน โรมาเนีย มอลดาเวียน เยอรมัน และชนเผ่ามุสลิม ต่างสงบสุขภายใต้เสถียรภาพทางการเมือง และเศรษฐกิจอันแข็งแกร่งและขันติธรรมในการนับถือศาสนา หลังสิ้นราชวงศ์มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบราชาธิปดี แต่ประวัติศาสตร์ต้องกลับตาลปัตร ด้วยตำแหน่งกษัตริย์องค์สุดท้ายเป็นของราชวงศ์ฮังการี
       คริสต์ศตวรรษที่ 17 ยุโรปตอนกลางอ่อนแอลงเป็นลำดับ ด้วยมีศึกติดพันกับรัสเซีย ชาวนายูเครนลุกฮือ และการแผ่อิทธิพลของพวกเติร์ก ชนเผ่าสวีดีชรณรงค์เพื่อปลดแดกตนเอง โปแลนด์ตกที่นั่งลำบาก ฮังกาีรีตกเป็นเมืองขึ้น อ็อตโตมัน เติร์ก และต้องอยู่ใต้ "แอก" ราชวงศ์แฮบสเบิร์กตั้งแต่นั้นมา ฮังการีและโปแลนด์สิ้นชื่อ...คริสต์ศตวรรษที่ 18 ฮังการีมีฐานะเพียงจังหวัดเล็ก ๆ ล้อมรอบด้วยชนเผ่าต่าง ๆ ภายใต้อำนาจจักรวรรดิออสเตรีย   โปแลนด์ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน อยู่ใต้อำนาจของรัสเซีย ปรัสเซีย และ ออสเตรีย.....
     
   

Polska&........

slovakia_map
      ประวัติศาสตร์บนเส้นขนาน
โปล ฮังกาเรียน บ้านพี่เมืองน้อง แม้จะด้อย
ถ้อยคำแต่อันแน่นไปด้วยประสบการณ์การ
จากประวัติศาสตร์ที่เปรียบดังสายใยเชื่อม
โยงชาติใจกลางยุโรปทั้งสองนี้ไว้ด้วยกัน
ตราบนานเท่านนาน
     ความพ้องพานและผิดแผกที่ฮังการีและโป
แลนด์พานพบบนทางขนานของประวัติศาสตร์
     ฮังการรีและโปแลนด์ตั้งมั่นเป็นอาณาจักร
ปกครองตนเองในเวลาไล่เลี่ยกัน ในศตวรรษที่ 10
kingbelaivโดยสวามิภักดิ์ต่อคริสตจักรเพื่อสร้างความชอบ
ธรรมและการยอมรับจากชาติอื่น ๆ
   ปลายยุคกลางอาณาจักรทั้งสองเป็นรัฐกันชน
ระหว่างอาณาจักรโรมันกับชนเผ่านอกรีตทั้งด้าน
ใต้และด้านตะวันออก ขณะเดียวกันต้องเผชิญกับ
การโจมตีจากมองโกลและพวกเติร์ก
    
    หลังจากพิชิตดินแดนรัสเซียแล้วกองทัพมองโกล
ตั้งฐานเพื่อพักไพร่พล และเรียกเกณฑ์กำลังเสริมจาก
รัฐเซียด้วย
    ชาวคูมานส์ ซึ่งเป็นเผ่าเร่ร่อนทำสงครามกับมองโกล
และแตกพ่ายไปเข้ากับกษัตริย์เบลาที่ 4 แห่งฮังการีกว่า
200,000 คน โดยยินยอมเปลี่ยนมานับถือคาทอลิก
    กษัตริย์ทรงเล็งเห็นว่าจะช่วยสงเสริมฐานะของพระองค์
ต่อองค์สันตะปาปา และชาวคูมานส์ยัง ยินดีมอบนักรบ อีก
30,000 ให้เข้าร่วมกับกองทัพด้วย กษัตริยเบลาทรงยินดี
และการตัดสินใจครั้งเป็นเหตุให้มองโกลเข้าโจมตีฮังการี
    ข่านบาตูยื่นคำขาดกับกษัตริย์เบลาที่ 4 ว่า พวกคูมานส์
เป็นข้าทาสของมองโกลจงอย่าให้ที่ลี้ภัยมิฉะนั้นจะเป็น
ศัตรูกับมองโกล..กษัตริย์เบลาทรงปฏิเสธ และรวพลเพื่อ
ป้องกันประเทศ

realwarfare12422

     ขุนพลเมืองต่างๆ ขานรับ ยกเว้น อาชดยุค เฟรเดอริก
แห่งออสเตรีย ด้วยมีปัญหาเรื่องพรมแดนกันอยู่ก่อน และ
375px-Sacking_of_Suzdal_by_Batu_Khanทรงเล็งเห็นความไม่มั่นคงของฮังการีอันเกิดจากพวก
คูมานส์ ในเวลาดังกล่าวอาชอยุคทรงเสด็จฮังการีและ
ข้ามแม่น้ำไปยังเมืองการค้า หลังจากนั้นไม่นานก็เกิด
จลาจลในฮังการี ข่านของพวกคูมานส์ถูกสังหาร มีบางคน
กล่าวว่าพระองค์ทรงเป็นผู้อยู่เบื้องหลังกองทัพมองโกลเคลื่อนทัพออกจากยูเครน กองทัพมองโกล
ประกอลด้วยทหารม้ากว่า 70,000 นาย..ภายใต้การบังคับ
บัญชาของ ข่านตาบู แม่ทัพสุโบไตเป็นผู้ร่วมบัญชาการมองโกลรู้ว่าเวลานี้กษัตริย์และเจ้าครองนครในยุโรปต่างมี
ความขัดแย้งกันอยู่ และรู้ว่าหากมีภัยจากภายนอกรุกราน
จะร่วมกันต่อต้านในทันที เพราะต่างมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด
กันทั้งจากโดยสายโลหิต และการสมรส
    ด้วยเหตุนี้จึงแบ่งกำลังเป็น 2 ส่วน กำลังหน้าสองหมื่น
นำโดยแม่ทัพบัยดาร์และไคดู ราชนัดดา โอโกไตข่าน
เคลื่อนทัพคอยสกัดสกัดโปแลนด์หากจะมีความช่วยเหลือ
ใดมาสู่ฮังการี
      หลังจากบุกเข้าโปแลนด์ กองทัพมองโกล ได้ปล้น
mongkolpol02สะดม และทำลายกองทัพโปลและสงาฟของ กษัตริย์
โบเลสเฟ และทำลายกองทัพโปลที่ชมิลนิค ก่อนจะย้อน
กลับมายังคราโคฟ และเผาเมือง
   ดยุค เฮนรี่ที่ 2 แห่งไซเลเซีย หรือ เฮนรี่ ผู้เคร่งธรรม
รู้ว่าการรอกำลังหนุนอยู่ในเมืองไม่เป็นการดีจึง นัดน้อง
เขย กษัตริย์ เวนเซสลาสที่ 1 แห่งโบฮีเมีย พร้อมทหาร
ห้าหมื่นนาย แต่ทัพมองโกลก็รู้กาลนี้ ดังนั้นก่อนจะถึง“พื้น
ที่ที่ถูกเลือก” มองโกลก็ดักรออยู่ก่อนแล้ว เนื่องจากเจ้าชาย
ไคดู และบัยร์ดาใช้กลยุทธ์เงียบ บวกกลยุทธ์ที่ใช้ได้ผลใน
การรบมานับครั้งไม่ถ้วนคือ ล่าถอย  และแยกทหารราบออก
จากพวกอัศวินและเข้าโจมตีภายหลังด้วยธนูภายหลัง ท่าม
กลางความวุ่นวาย ดยุคเฮนรี่ พยายามหนีแต่ทหามองโกลไล่
ล่าทันปลงพระชนม์พระองค์และตัดศรีษะเสียบไว้ที่ปลายหอก
และใช้แทนธงก่อนเดินทัพสู่ลีกนิกซ์





      

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...