จากการทำร้ายและทำลายคณะทูตมองโกลอันเป็นสิ่งที่ทำให้เจงกิสข่านโมโหเป็นอย่างมากยกทัพมาทำสงครามกว่า1,700ไมล์ เพื่อตีเมืองซามาร์คันต์ ในระหว่างทำสงครามก็สูญเสียพระนัดดา กระทั่งประกาศฆ่าล้างเมืองทุกผู้นาม และเมื่อสามารถตีซามาร์คันต์ได้จึงเผาทำลายเมืองและเข่นฆ่าผู้คนกว่า แสนคน เหลือเพียงผู้มีความรู้ความสามารถ 30,000 กว่าคนที่พากลับมายังมองโกล
“บรรดานครอันงดงามดอฬารของควาเรศม์ถูกเผามอดไหม้เป็นเพียงเศษซากเถ้าธุลี ไร่นาสาโทที่เขียวชอุ่มกลับกลายเป็นที่รกร้างไร้ซึ่งพืชพรรณ ตามเส้นทางต่าง ๆ มีแต่สุนัขจิ้งจอกละแร้งกาที่คอยจิกกินซากศพของผุ้คนที่ล้มตายเกลื่อนกลาด” (คำบันทึกของนักประวัติศาสตร์มุสลิม)
เจงกิสข่านนำแท่งเงินมาหลอมเป็นน้ำกรอกเบ้าตาของผู้ที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นผู้ปล้นกองคาราวานและสังหารปมู่คณะทูตมองโกล ส่วนกษัตริย์นักรบ สุลต่านโมฮัมเหม็ด กลายเป็นผู้ขลาดเขลาที่หนีศึกเพียงอย่างเดียว เพราะนับแต่ศึกครั้งแรกที่ชายแดนจักรวรรดิ์ พรเองค์ไม่เคยนำกอบทัพใดเข้าขับไล่พวกมองโกลอีกเลย พระองค์เพียงแต่ย้ายพระราชฐานหนีการไล่ล่าของพวกพมองโกลไปเรื่อย ๆ อย่างไร้จุดหมาย.. เจงกิสข่านยังส่งกองทัพออกไล่ล่ามิหยุดหย่อน กระทั่งพระองค์ต้องหนีตายไพร้อมกับราชบริพารไม่กี่คนไปยังเกาะกลางทะเลสาบและสวรรคตที่นั้น
ในการทำลายล้างอย่างหนักนั้น บรรดาขุนนางชาวจีนทูลว่าพระองค์ควรจะปกคองจักรวรรดิด้วยหลักธรรมการปกครองจากบรรดปราชญ์และปัญญาชนไม่ใช่ด้วยคมดาบและกองทัพอย่างเดียวไม่ ปรมาจารย์ในตำนาน“ชิวชู่จี” จึงปรากฎกายขึ้น
“การสยบสรรพสิ่งในใต้หล้าหาใช่การเข่นฆ่าสรรพชีวิตไม่ จงปกครองแผ่นอินโดยการเคารพวิถีแห่งสวรรค์ แลมีความรักต่อปวงประชาเป็นที่ตั้ง”
คำสอนของ “ฉางชุน”ขัดกับนโยบายมองโกลโดยสิ้นเชิง แต่ะทว่าเป็นคำสอนที่ได้รับการยอมรับ และ “ฉางชุนได้ตำแหน่างราชครูแห่งราชสำนักมองโกล”
และในช่วงเวลาเดียวกันนี้กองทัพมองโกลที่ออกล่าสุชต่านโมฮัมเหม็ดชาห์ยังคลรุกไล่ออกไปไกลเรื่อยๆ จนถึงพรมแดนประเทศอิรักแล้วยกวกขึ้นเหนือไปตีชน “เผ่าบุลการ์” ที่อาศัยดินแดนในรัสเซียทางใต้
ขุนพลมองโกลที่ทำหน้าที่ไล่ล่า คือ “ซีเป โนยอน” ขุนพลธนูมือฉมัง และ “สุโบไต บาฮาดูร์” สุโบไต ตาเดียว ผู้เก่งกล้างและโหดอำมหิต
กลยุทธคือการใช้ทัพม้าเบาตีล่อระหว่างฝั่งแม่น้ำเมือตามมาก็หนีข้ามแม่น้ำยั่วยุอีกฝ่ายให้โมโห จึงส่งทัพเต็มอัตราเข้าโจมตี มองจึงใช้ทหารม้าหนักซึ่งซุ่มอยู่รอโอกาสและจังหวะที่เหมาะสมในที่สุดก็เป็นฝ่ายได้ชัยชนะ
ที่เอเซียกลางในเวลาเดียวกัน บรรดขุนศึกที่รองชีวิตนั้นต่างพยายามรวบรวมกองทัพเพื่อู้อาณาจักรโดยมีองค์รัชทายาทของสุลต่านโมฮัมเหม็ด ชาฆ์ พระองค์หนึ่งบังคงรอดชีวิตอยู่เป็นผุ้นำขบวนการ มีนามว่า “เจลัล อัคดิน” ทรงรวบรวมกองทัพจากบบรดาผู้ลีภัยและบ้านเมืองที่หลงเหลือจากการรุกรานของมองโกล กองทัพมุสลิมจากดินแดนต่าง ๆ อาทิ อัพกัน เติร์ก เปอร์เซีย และยังมีกองทหารอาสาจากรัฐสุลต่าลแห่งเดลีในอินเดียมาเข้าร่วมกองทัพด้วยมีกำลังนับแสน คือ มากกว่ามองโกลหลายเท่าตัว…ในครั้งนี้ทัพมุสลิมมีชัยครั้งใหญ่เหนือกองทัพมองดกล ณ “สมรภมปาวัน” จึงทำให้มีมุสลิมจากดินแดนต่าง ๆ มาเข้าร่วมกองทัพเรื่อยๆ บรรดานครรัฐต่อต้านมองโกลที่รักษาการณ์เมืองอย่างหนัก จึงต้องถอยกลับทัพหลวง
เจงกิสข่าน “ทรงกริ้ว” จึงบัญชาให้เจ้าชายตูลิ โอรสพระองค์เล็ก นำทัพไปปราบปราม ซึ่งสุดท้ายแล้วกองทัพพันธมิตรมุสลิมสลายตัวไป เจ้าชายเจลัล หนีรอดไปได้ เจงกิสข่านทรงนำทัพ
“ล่า” ด้วยพระองค์เอง
กองทัพมองโกลตามล่าทัพพันธมิตรอิสลามจนถึงริมแม่น้ำสินธุพรมแดนอินเดีย เจ้าชายเจลัลจึงสังเผาเรื่อข้ามฝากทุกลำเพื่อไม่ให้ทหารคิดหนี
นับว่าได้ผล การสู้แบบจนตรอกทำให้กองทัพมองโกลถอยล่นกลับไป แต่มองโกลไม่รอให้พันธมิตรอิสลามได้ใจไปกว่านั้น ยกพลมาทั้งสองปีกบดขยี้พินาสสิ้น..เจ้าชายเจลัลหนีไปได้
เจงกิสข่านกลับเข้ามาจัดการการบริหารและปกครองที่เมืองซามาร์คันต์ โดยให้ผู้อพยพกลับเข้ามาอยู่ในเมืองพร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลในการกระทำของพระองค์..ทางด้านกองทัพมองโกลที่ยังตามล่าเจ้าชายเจลัลนั้นข้ามแม่น้ำสินธุเข้าไปถึงดินแดนอินเดีย แต่ถูกกองทัพสุลต่านแห่งเดลียันไว้ การไล่ล่าในอินเดียจึงสิ้นสุดลง…หลังจากทำศึกอย่างยาวนาน ในดินแดนเอเซียกลางเจงกิสข่านจึงยกทัพกลับทุ่งหญ้ามองโกล ..
วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น