วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555
Самарқанд
ซามาร์คันต์ เป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดเมืองหนึ่งในเอเชียกลาง ตั้งอยู่ในประเทศอุซเบกิสถาน เป็นโอเดซิสซึ่งได้รับน้ำมาจากคลองที่ขุดมาจากแม่น้ำซารัฟชาน ชื่อเดิมเขงเมืองซารม์คันด็ คือ เมืองมารกันดะ 329 ปี ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าเอล็กซานเดอร์มหาราช เสด็จผ่านเมืองนี้เพื่อทีจะเดินทางไปอินเดีย จึงยึดไว้ ต่อมาพวก เติร์ก อาหรับ และเปอร์เซีย ก็เข้าปกครองเมืองนี้ต่อ ๆ กันมา เมืองซามาร์คันด์แห่งนี้เจริญรุ่งเรืองสูงสุดในยุคกลาง และในปี ค.ศ. 1215 เจงกิสข่านแผ่อาณาจักเข้าควบคุมเส้นทางสายไหม แล้วได้ยึดซามาร์คันด์ในปี ค.ศ. 1221....
เมืองซามาร์คันต์ ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า เซมิซ-เคนท์ แปลว่าจุดที่แม่น้ำตัดกัน ได้ชื่อว่าเป็น"อัญมณีแห่งอิสลาม"เป็นเมืองใหญ่อันดับสองรองจากทาชเคนท์ จากผลพวงความรุ่งเรืองของ "ทางสายไหม"ซามาร์คันต์ได้กลายเป็นเมืองสำคัญที่สุดในแถบนี้ มีการสร้างแนวกำแพงเมืองโอบล้อมทั้ง 4 ด้านและยังมีเสรีภาพทางศาสนา ที่นี่ มีทั้งวัิและโบสถ์ของโซโรแอสเตอร์ ศาสนาดั้งเดิม พุทธศาสนาและคริสตศาสนา ในศตวรรษที่ 9-10 เริ่มเป็นศูนย์กลางของศสนาอิสลามตะวันออก..
กิมย้งได้พรรณนาภาพเมืองซามาร์คันต์ ในยุคนั้นในหนังสือ "มังกรหยกภาค 1 " ตอนเจงกิสข่านยกทัพบุกยึดเมืองนี้ซึ่งเป็นเมืองหลวงของ "ฮัวชื่อจือมอ" กลางดินแดนเมาะปักหรือทะเลทรายตอนเหนือว่า "... เป็นนครเลื่องชื่อของฮัวชื่อจือมอที่เพิ่งยกขึ้นเป็นเมืองหลวงใหม่..การจัดทหารจำนวนสิบกว่าหมื่นคอยเฝ้ารักษา สะสะมอาวุธกักตุนเสบียง วางมาตรการป้องกันอย่างแข็งขัน ความหนาแน่นแข็งแกร่งของกำแพงเมือง ยิ่งไม่มีนครใดในแผ่นดินจะเทียบเคียงได้"
".... ยอดเขาหิมะมีลักษณะประหลาด สูงชะลูดโดดเด่นอยู่กลางทุ่งหญ้า ค้ายพฤกษาใหญ่ที่ไร้กิ่งไร้ใบต้นหนึ่ง ชาวพื้นเมืองจึงขนานนามว่าเท็กบักฮง (ยอดเขาไม้โกร๋น) เมืองซามาการต์ปลูกอิงเชิงเขา กำแพงเมืองตะวันตกพึ่งพิงผนังผาด้านหนึ่ง ทั้งประหยัดค่าก่อสร้าง หนำซ้ำมั่นคงแข็งแรง แสดงออกถึงภูมิปัญญาของสถาปนิกที่สร้างเมืองนี้ ยอดเขาไม้โกร๋นมีลักษณะลาดชัน ประกอบด้วยหินแข็งแกร่ง ปราศจากต้อนไม่ใบหญ้างอกเงย ต่อให้เป็นลิงค่างยังไม่สามารถปีนป่ายขึ้นไม่"
จงกิสได้รู้จากพ่อค้าจากแดนไกลว่าิดินแดนของพวกเขาอุดมสมบูรณ์ตลอดปี เจงกิสข่านจึงส่งทูตและพ่อค้าไปเจริญสัมพันธไมตรีกว่า 40 คน
ชาร์โมฮัมเม์ด กษัตริยืผู้พิชิตแห่งเปอร์เซีย ขึ้นครองบัลลังค์โดยการปราบดาภิเศก เมื่อคณะทูต มองดกลมาถึงคณะทูตถูกกล่าวหาว่าเป็นสายลับ จึงถูกประหารทั้งหมดเหลือเพียงหัวหน้าทูต คนเดียว เมื่อห้วหน้าทูตกลับมาถึงมองโกล เจงกิสข่านโกรธเกรี้ยวอย่างมาก โดยตามธรรมเนียมมองโกล ทูต คือตัวแทนกษัตริย์การทำแบบนี้เป็นสิ่งที่ไม่น่าให้อภัย
เจงกิสข่านจึงจัดทัพเพื่อทำสงคราม โดยระยะทางในการเดินทางกว่า 1,700 ไมล์ หากพิจารณาตามพ้อนเพเดิมแล้ว เจงกิสข่านเป็นเพียงหัวหน้าเผ่ามองโกลเร่รอ่นเผ่าเล็ก ๆ อาศัยอยู่ในเต็นท์ ไม่มีบ้านเมืองของตนเอง แต่สามรถปราบปรามจักรวรรดิต่าง ๆ ได้ราบคาบอย่างง่ายดาย ซึ่่งเป็นวีรกรรมที่ยิ่งใหญ่ การบุกเมืองซามาร์คันต์ ซึ่งเป็นเมืองระดับมหานคร เจงกิสข่านมีเพียงกองทัพม้พเีพียง 80,000คน
เมื่อยึดเมืองได้ ก็สั่งเผาเมือง และไล่ฆ่าผู้คนนับแสน เหลือไว้เฉพาะช่างฝีมือ และผู้มีความรู้เพียง 30,000 คน และนำคนเหล่านี้กลับไปยังมองโกลเลียเพื่อเป็นทรัพยากรบุคคลของชาติต่อไป..
หลังจากหมดอำนาจ จักรวรรดิมองโกล ในปี ค.ศ. 1910 ติ
มูร์ เลงค์ ข่านเป็นผู้นำความรุ่งฌรจน์คืนสู่จักรวรรดิดังเดิม จึงนำทัพเข้ายึดดินแดนตั้งแต่ทะเลดำไปจรดลุ่มน้ำสินธุ บุกทำลาย
บ้านเมืองจนสิ้นซาก ฆ่าฟันผู้คนจนสิ้นเมือง แล้วนำกะโหลกมากองสร้างเป็นพีระมิต เหลือไว้เพียงช่างฝีมือเพื่อ โดยส่งช่างเหล่านี้มานิรมิตซามาร์คันต์ให้กลายเป็นนครที่สวยงามอีกครั้ง...
ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าอุลุค เบก ซามาร์คันต์ได้กลายเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและวิทยาการ พระเจ้าอุลุค เบก ถูกลอบปลงพระชนม์ หลังจากนั้นนครนี้ก็ได้เสื่อมถอยอย่างรวดเร็วพร้อมกับเส้นทางสายไหมได้ปิดลง ในปี ค.ศ.1500 จึงตกเป็นของมองโกล โดยถูกพวกโกลเด้น ฮอร์ด เข้ายึดครองในคริสตวรรษที่ 19 ตกเป็นของรัฐเีซีย มีการตัดเส้นทางรถไปในปี 1896 และกลายเป็นศูนย์กลางทางการส่งออกสินค้าการเกษตร ภายหลังดินแดนี้ได้ถูกแยกกลายเป็นส่วนหนึ่งของประทเศอุซเบกิสถานปัจจุบันและเป็นมรดกโลก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น