วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555
Ogodei Khan
เมื่อโอโตไก ข่าน ขึ้นครองราช ทรงสร้างเมืองหลวงกลางทุ่งหญ้าสเต็ปส์ (ในกาลครั้งนี้มีผู้วิเคราะห์ ว่าการสร้างเมืองหลวงห่างไกลออกไปทำให้เศรษกิจของมองโกลไม่เติบโต การจะทำการค้ากับมองโกลต้องเดินทางไกลจึงไม่ค่อยจะมีพ่อค้าเข้ามาทำการค้ากับมองโกล) และทรงแบ่งดินแดนจักรวรรดิมองโกลออกเป็นสามส่วน
อาณาจักรมองโกลแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
- แคว้น่มหข่าน ปกครองโดยข่านสูงสุด เมืองหลวง จักรวรรดิ์มองโกล กรุง คาราโครัม และแผ่นดินจีนที่พิชิตมาได้ เจ้าชายตูลิ ปกครองแผ่นดินมองโกลชั้นใน
- แคว้นซาตาไกข่าน ปกครองโดยเจ้าชายซาตาไกข่าน คือ ดินแดนเอเชียกลางทั้งหมดที่พิชิตมาได้ในสมัยเจงกิสข่าน
-แค้วนกระโจมทอง (คิพชัคข่าน) เติมที่เป็นของเจ้าชายโจชิ แต่เจ้าชายโจชิสวรรคต จึงตกสู่ผู้สืบทอด คือ “เจ้าชายบาตูข่าน” โอราสองค์โต เจ้าชายโจชิ
โดยมีนโยบายขยายดินแดนดังเดิม ซึ่งการขยายดินแดนในยุค เจงกิสข่านนั้นมีทั้งทาง จีน อินเดีย เปอร์เซีย และยุโรป โอโตไก
ปี ค.ศ. 1230 โอโกไต ข่านส่ง “สุโบไต”คุมกองทัพเข้ายึดครองดินแดนในเอเซียกลางหลังจากดินแดนแห่งนี้เคยถูก เจงกิสข่านตีมาแล้ว กองทัพมองโกลเข้ายึดครองเขตเอเชียกลางและขยายดินแดนครอบคลุม ตุรกี ยูเครน อาร์เมเนีย และอาร์เซอไบจาน จากนั้นในเวลาเดียวกัน พระองค์และพระอนุชา ตูลิ นำกองทัพหลวงข้ามแม่น้ำฮวงโหรบกับราชวงศ์จิอีกครั้ง โดยทัพมองโกลส่งสารขอความช่วยเหลือจากราชวงศ์ซ่งให้ช่วยทำสงครามกับอาณาจักรจิน และมีชัยชนะเหนืออาณาจักรจิน อาณาจักรจินล่มสลาย ปี ค.ศ. 1233 เจ้าชายตูลิได้รับบัญชานำทัพเข้าตี “อาณาจักรโคกรูโย” ครั้งใหญ่ กระทั่งกษัตริย์ โคกรูโย ต้องหนีไปอยู่บนเกาะคังวา ทว่าเจ้าชายตูลิทรงเสด็จสวรรคตอยางกระทันหัน ต่อมาเกิดกรณีพิพาทเรื่องพรมแดนกับราชวงศ์ซ่ง สภาคูรัลไต(ก่อตั้งเพื่อป้องกันการใช้อำนาจเกินขอบเขตของข่านสูงสุด โดยสภานี้มีหน้าที่ลงมติในการแต่งตั้งขุนนาง ประกาศภาวะสงครา การออกกฎหมายและการคัดเลือกองค์รัชทายาท) ของมองโกลจึงมีความเห็นให้ขยายอาณาเขต เข้าตีราชวงศ์ซ่ง (ซ่งใต้) พร้อมกับส่งกองทัพอีกทัพหนึ่งเข้าตียุโรป
ในครั้งนี้แม่ทัพคือ บาตู Batu ลูกชายของโจชิ พร้อมทหารพันธมิตร ประมาณ150,000 คน โดยเริ่มจากการบุกเผ่า บัลการ์ บริเวณแม่น้ำวอลการ์
“ มองโกลรุกรานทวีปยุโรปโดยข้ามภูเขายูรัล ในปี ค.ศ. 1236 เข้าโจมตีอาณาจักรรัฐเซีย ในปี ค.ศ. 1242 (รวมเวลาที่อยู่ในรัสเซียตั้งแต่ ค.ศ. 1237-1342) มองโกลเข้าโจมตีอาณาจักรเคียฟเผาเมืองต่าง ๆ ฆ่าฟันผู้คนเกือบหมด ผู้ใดไม่ตายก็บังคับให้เป็นเชลย กองทัพบาตูเข้ามาทางภาคใต้ของเขตทุ่งหญ้าสเตปป์ ยึดบัลแกเรีย มองเดเวีย และวัลลาเซีย มองโกลเข้าตีแต่เพียงตะวันออกของรัสเซียเท่านั้น แต่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ก็ยอมอยู่ใต้อำนาจ บาตูตั้งกองบัญชาการทางบริเวณลุ่มแม่น้ำโวลก้า ปัจจุบัน คือ เมืองซาไรเก่า The Old Sarai และตั้งอาณาจักรอยู่ทาง บริเวณที่เรียกวา โกลเด้นฮอร์ด The Golden Horde ซึ่งประกอบด้วย มณฑลไครเมีย มณฑลกาซาน บริเวณไซบีเรียตะวันตก ประมุขของอาณาจักรมีฐานะเป็นข่าน รองลงมาจากข่านผู้ยิ่งใหญ่
ชาวรัฐเซียต้อง ถวายเครื่องบรรณาการให้แก่ข่านทั้งสองอาณาจักร และเมื่อต้องการให้ชาวรัสเซียส่งกองทัพเข้าไปช่วยข่านทำสงคราม ชาวรัฐเซียต้องนำกองทัพเข้าไปช่วยทันที”
( Golden Horde หรือ Jochi Ulus เป็นคำที่สลาฟตะวัออกใช้เรียกมองโกล ที่ต่อมากลายเป็นกลุ่มชน เติร์ก - มุสลิม ที่มาของคำว่าโกลเด้นฮอร์ด ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด บางแห่งก็ว่าหมายถึงแค้มบาตู และต่อมาประมุขยองกลุ่มฮอร์ด ในมองโกเลีย Altan Orda หมายถึงแค้มพ์ทอง หรือ วัง บางแห่งกล่าวว่า บาตูมีเต้นท์สีททอง ซึ่งเป็นที่มา ของโกลเด้นฮอร์ด)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น