Tibet



     เขตปกครองตนเองธิเบต เป็นเขตปกครองตนเองของประเทศจีน เมืองหลวงคือ "ลาซา" มีเชื้อสายมาจากชาวอินเดีย ชาวทิเบตมีพระเป็นผู้นำของเขตปกครองพิเศษนี้ ซึ่งนับถือศษสนาพุทธนิกายวัชรยานคล้ายกับภูฎาน
     ทิเบธตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัยเป็นที่ราบสูงที่สูงที่สุดในโลก ได้รับฉายาว่า หลังคาของโลก ฺธิเบตมีอากาศที่หนาวเย็น และอ็อกซิเจนต่ำ 
พลเมืองชายชาวธิเบตกว่าครึ่งบวชเป็นพระ ก่อนจีนจะยึดครองธิเบต ธิเบตมีสามเณริกามากที่สุดในโลก มีคัมภีร์มากมาย พลเมืองนับถือศาสนาอย่างเคร่งครัด ซึ่งได้รับฉายาว่า "แดนแห่งพระธรรม"
  ก่อนคริสต์ศักราช ชนชาติทิเบตอาศัยอยู่ที่ราบสูง ชิงไห่-ทิเบต มีการไปมาหาสู่กับชาวฮั่นที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินใหญ่จีน ผ่านระยะเวลาอันยาวนาน  เผ่าชนต่างๆ ในทีราบสูงลิงไห่-ทิเบตก็ค่อยๆ รวมกันเป็นเอกภาพและกลายเป็นชนชาติธิเบต

     อิทธิพลมองโกล

     การติดต่อระหว่างธิเบตกับมองโกลที่มีลายลักษณ์อักษรครั้งแรกคือการพบปะระหว่าง เจงกิสข่าน กับซังปะ คุงคุรวาและศิษย์อีกหกคนซึ่งอาจเป็นการพบกันในเขตจักรวรรดิ์ตันกัต
   เจ้าชายแห่งมองโกลเข้าควบคุมโกโกนอร์เพื่อหาโอกาสเข้าตีจีนในสมัยราชวงศ์ซ่ง จากทางตะวันตกเขาได้ส่งนายพลคอร์ดาสำรวจธิเบต ในระหว่างสำรวจครั้งนี้ วัดของนิกายกรรมะปะ ถูกเผาและคน อีก 500 คนถูกสังหาร
   เจ้าชายมองโกลเชิญสักยะบัณฑิตผู้นำนิกายสักยะ มายังเมืองหลวงของพระองค์ สักยะบัณฑิตไปถึงโกโกนอร์พร้อมด้วยหลานชายสองคน คือ โดรกอน โชกยัล พักปะ และชนะ ดอร์เจ ซึ่งถือว่าเป็นการยอมจำนนต่อมองโกล เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่นักประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่กล่าวว่าธิเบตเป็นส่วนหนึ่งของจีน อย่างไรก็ตามมีข้อโต้แย้งจากนักประวัติศาสตร์ที่ศึกษาประวัติศาสตร์ธิเบตว่ายุคของมองโกลธิเบตกับจีนเป็นหน่วยการเมืองคนละหน่วยกัน



    เมืองมองเก้ เป็นข่านสูงสุดของมองโกล เขามอบหมายให้น้องชาย คือ กุบไลข่าน (คูบิไล ข่าน) เป็นผู้ดูแลธิเบต และหาโอกาสรุกรานจีน
    สักยะบัณฑิตถึงแก่กรรม กุบไลข่านจึงตั้งให้ โครกอน โชกยัล พักปะ เป็นตัวแทนของธิเบต
    กุบไลข่านได้รับเลือกให้เป็นข่านสูงสุดหลังจาก มองเก้ ข่านสวรรคต
    โครกอน โชกยัล พักปะ กลับสู่ธิเบตและตั้งให้นิกายสักยะเป็นผู้ปกครองสูงสุด
    โครกอน โชกยับ พักปะ เดินทางไปพบกุบไลข่านอีกครั้งที่เมืองคานบา(ปักกิ่ง)เขาได้ประดิษฐ์อักษรสำหรับภาษามองโกเลีย เรียกว่า อักษร พัก-ปา ทำให้ได้รับการยืนยันอีกครั้งว่าเขาคือผู้มีอำนาจปกครองธิเบต
    นิกายสักยะมีอำนาจในธิเบตถึงพุทธศตวรรษที่ 19 แม้ว่าจะมีการกบฎโดยนิกายกาจู ที่ได้รับการสนับสนุนจากฮีลากีข่าน ในเขตอิลข่าน การกบฎถูกปราบโดยความร่วมมือของนิกายสักยะและทหารมองโกลตะวันออก โดยมีการเผาวัดของนิกายกาจู และทีคนถูกฆ่าถึง 10,000 คน
    

กษัตริย์มองโกลนามว่า อัลตัลข่าน ได้พบกับประมุขสงฆ์ของนิกายเกลุกที่ชื่อว่า สอดนัมยาโส แล้วเลื้อมใส เนื่องจาท่านสืบเชื้อสายมาจากนิกายสักยะ และพักโมดรุ ซึ่งเป็นตระกูลที่มีอิทธิพลในธิเบต มีการดัดแปลงวัดที่นิกายอื่นอ่อนแดในการปกครอง และทิ้งให้ร้างเป็นวักนิกายเกลุก (หมวกเหลือง) กษัตริย์ทองโกลทรงเชื่อง่าประมุขสงฆ์นี้เคยเป็นอาจารย์ของพระองค์ในชาติก่อน เมื่อพระองค์เสวยพระชาติเป็นกุบไลข่าน จึงถวายตำแหน่ง "ทะไลลามะ" ("ทะไล"เป็นภาษามองโกลแปลวว่า ทะเล หรือ กว้างใหญ่ "ลามะ" หมายถึงพระหรือคฤหัสถ์ที่มีความรู้ความชำนาญ แต่ชาวธิเบตนิยมใช้คำว่า ไคยาวา ริมโปเช คือ ชัยรัตนะ) ซี่งเป็นต้นกำเนิด "ทะไล ลามะ" และท่านสอดนัมวังยาโส ก็ถวายตำแหน่าง "ธรรมราชาทรงความบริสุทธิ์" แก่อัลตัน ข่าน เป็นการตอบแทน
   

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)