รัชสมัยของ วลาดิเมียร์มหาราช (ค.ศ. 980-1015)
พะราชโอรสยาโรสลาฟที่ 1 เดอะไวส์ (ค.ศ. 1019-1054) เป็นยุคทองของคิเอฟ สมัยนี้เป็นสมัยที่จักรวรรดิเคียฟรุสยอมรับนับถือคริสต์ศาสนา และมีการรวบรวมประมวลกฎหมายที่เขียนเป็นภาษาสลาฟตะวันออกที่เรียกว่า “ประมวลกฎหมายรุสสคายา” Russakaya Pravda
สันนิษฐานกันว่าเคียฟ เริ่มก่อตั้งประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 5 โดยมีตำนานในพงศาวดารรัสเซียกล่าวไว้ว่า 3 พี่นอ้งจากชนเผ่าสลาฟ คือ คยี เชค โคริฟและลีบิค เป็นผู้สร้างเมืองนี้ โดชื่อเมืองว่าเคียฟ คือมาจากชื่อ “คยี”พี่ชายคนโต ทั้งนี้ยังมีอีกลายตำนานเกี่ยวกับก่อตั้งเมืองเคียฟ แต่ตำนาน สื่พี่น้องเป็นที่นิยมมากที่สุด
นักประวัติศาสตร์ระบุว่าช่วงเวลาที่เคียฟก่อตัวขึ้น น่าจะประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 5-9 โดยมีชาวสลาฟเป็นพวกแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ รูปแบบของเมืองในช่วงแรกน่าจะเป็นการรวมตัวกันแบบเมือง ป้อมปราการ ต่อมาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 จักรวรรดิคาซาร์ของชาวเติร์ก ได้ขยายอำนาจเข้ามายังบริเวณนี้ พวกเขาเริ่มสร้างเคียฟให้เป็นเมืองมากขึ้นกว่าเอิม ..ในช่วงปลายศตวรรษ เคียฟตกอยู่กับพวกวารันเจียน (มีชาวรุสเป็นผู้นำ) และกลายเป็นศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรเคียฟรุส..
จากการเป็นเมืองสำคัญทำให้เคียฟผ่านที่การเมืองหลวงที่สำคัญ และการเป็นเมืองร้างที่โดนเผาทำลาย สลับกันไปมานับครั้งไม่ถ้วน ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้จะอยู่ใจนช่วง การรวมชาติของชาวรุส
กระทั่งการขยายอำนาจของมองโกลอาณาจักเคียฟรุสก็เสื่อมอำนาจลง โดยมีอาณาจักรแกรนด์ดัชชีแห่งลิธัวเนีย ก้าวขึ้นมาแทน ด้วยความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ของเคียฟ ทำให้สองอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ในขณะนั้นแย่งชิงเคียฟ ท้ายสุด ลิธัวเนียเป็นฝ่ายครอบครองเคียฟ และผนวกดินแดนเดิมของอาณาจักรเคียฟรุสเป็นของตน พัฒนาต่อมาจนเป็นมณฑลเคียฟ…
ชาวรุสกับเขามามีอำนาจในเคียฟและดินแดนโดยรอบอีกครั้ง โดยอาณาจักซาร์แห่งรัสเซีย ได้ผนวกเคียฟเข้าอยู่ในอำนาจ ต่กเนื่องไปจนกระทั้งอาณาจักรซาร์พัฒนาเป็นจักวรรดิรัสเซีย เคียฟก็ยงคงมีความสำคัญอยู่เช่นเดิม แต่ผันจากศูนย์กลางการปกครองมาเป็นศูนย์กลางทางศาสนา(คริสต์) และการค้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น