วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

Historical Approach

     การคิดวิเคราะห์  หมายถึง การคิดอย่างใคร่ครวญไตร่ตรอง โดยอธิบายขอบเขตของการคิดวิเคราะห์ว่าเป็นการคิดที่เริ่มต้นจากสถ านการณ์ที่มีความยุ่งยาก และสิ้นสุดลงด้วยสถานการณ์ที่มีความชัดเจน    
   (ดิวอี้  Dewery ๑๙๓๓)

    การคิดวิเคราะห์เป็นพื้นฐานของการคิดลักษณะอื่น ๆ เช่น การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดเพื่อตัดสินใจ การคิดแก้ปัญหา และกาคิดเพื่อสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์เป็นประเด็นหนึงของการแสวงหาข้อเท็จจริง เป็นการตรวจสอบข้อมูลและบอกความสัมพันธ์ บอกเหตุผลของข้อมูล ในสถานการณ์นั้นได้การคิดวิเคราะห์เป็นการจัดการกับข้อมูลในสถานการณ์ แล้วนำปสู่การคิดระดับสูง เช่น การคิดอยางมีวิจารณญาณ การคิดเพื่อตัดสินใจ การคิดแก้ปัญหาและการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งได้มาจากพื้อนฐานการคิดสังเคราะห์( เป็นการสร้างสิ้งใหม่ ๆ จาข้อมูลที่มีอยู่แล้วจนนำไปสู่การสร้างสิ่งแปลกใหม่สู การคิดสร้างสรรค์)

     การคิดวิเคราะห์ คือความสามรถในการจำแนก แยกแยะองค์ประกอบต่าง ๆ ของสิ่งหนึ่ง สถานการณ์หนึ่ง วัตถุ สิ่งของ หาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น เพื่อค้นการสารภาพวามเป็นจริง หรือสิ่งสำคัญ
  คำถามที่มักใช้กับการคิดวิเคราะห์คือ What?  Where?  When? Why?  Who?  How? แล้วรวบรวมขอ้มูลทั้งหมดมาจัดระบบหรือเรียบเรียงให้ง่ายแก่การทำความเข้าใจซึ่งเป็นการค้นหาความจริงรหรือความสำคัญ  เทคนิคการคิดวิเคราะห์ เป็นการคิดโดยคิดเชิงลึก คิดอย่างละเอียด จากเหตุไปสู่ผล ตลอดจนการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในเชิงเหตุและผล

       แนวการวิเคราะก์การเมืองโดยอาศัยประวัติศาสตร์ ซึ่งเราจะพบว่าคำว่าประวัติศาสตร์นั้นถูกนำมาใช้ในหลายแง่มุม เช่น เหตุการณ์ทีเป็นความจริง
       ประวัติศาสตร์หมายถึงสิ่งที่ได้มีการบันทึกไว้ ประัวัติศาสตร์คือข้อเขียนของมนุษย์ และประวัติศาสตร์คือสาขาวิชาหนึ่งของสังคม...
       'ในฐานะที่เป็นความจริงที่เกิดขึ้น หมายถึงสิ่งใดๆ ทีเรารู้สักนึกคิด จินตนาการพูดหรือได้กระทำไว้ ตลอดจนความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านี้ที่มีต่อกันและกันสภาพแวดล้อมตั้งแต่ดึกดำบรรพ์เป็นต้นมา
       'ในฐานะที่เป็นสิ่งทีได้บันทุกไว้ จะประกอบไปด้วยเอกสารและหลักฐานปฐมภูมิต่าง ๆ ของประสัติศาสตร์ในฐานะที่เป็นความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
        'ในฐานะทีเป็นข้อเขียนนั้น กล่าวว่าเป็นเรื่องราวที่ต้องอาศัยประวัติศาสตร์ในฐานะที่เป็นสิ่งทีได้บันทึกไว้ และจะประกอบไปด้วยการแปลความในรูปแบบที่แตกต่างกันหรือเป็นการนำบางส่วนในประวัติศาสตร์ในฐานะที่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงมาพิจารณา
   ในความเป็นจริงนั้น ประวัติศาสตร์ในฐานะของสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ๆ นั้นจะประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลายแง่ปลายมุมมองด้วยกัน ประวัติศาสตร์ในฐานะที่เป็นข้อเขียนก็อาจจะแปรผันไปมากตามเนื้อหาสาระที่เป็นใจความสำคัญ เช่น อาจมีประวัติศาสตร์ศิลปะ ประวัิติศาสตร์วิทยาศาสตร์ ปรวัติศาสนา เป็นต้น
      แม้ว่าสาระของประวัติศาสตร์จะหลากหลาย แต่ลักษณะเด่นที่สำคัญของประวัติศาสตร์ก็คือจะเน้นความสำคัญกับอดีต เช่น ช่วงระยะเวลใดเวลาหนึ่ง ปละยังมีแนวโน้มว่าจะใช้วิธีการลำดับเหตุกาณ์ในการอธิบายด้วย
     นักประวัติศาสตร์ไม่เพียงแต่จะถามว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน และอย่างไรเท่านั้น แต่ยังถามต่อไปว่าทำไม่จึงต้องทำเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้นมารได้อยางไรและผลที่ได้ในรูปของการกระทำหรือสภานการณ์เป็นอยางไร...

     Gottschalk  อ้างว่า สังคมคาดหวังจากนักประวัติศาสตร์ไว้ว่า "เป็นผู้ที่พยายามหาความแตกต่างหรือเปรียบเทียบช่วงหรือเหตุการณ์และสถาบันในประวัติศาสตร์ เพื่อที่จะผูกสาระเรื่องราวของประสบการณ์ที่เกิดขึ้นของมนุษย์เข้าไว้ด้วยกัน และเป็นผู้ที่นำเสนอข้อสรุปทั่วไปที่มีความเที่ยงตรงสำหรับเหตุการณ์ของประสบการณ์ในอดีต" และสรุปว่า "นักประวัติศาสตร์ต่างไปจากนักวิชากรสาขาอื่น  ๆ ในประเด็นสำคัญที่ว่า นักประวัติศาสตร์จะให้ความสำคัญกับบทบาทของแรง จูงใจ การกระทำ ความสัมฤทธิ์ผละ ความล้าเหลว และสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในการเปลี่ยนแปลงและความต่อเนื่องของประวัติศาสตร์"

      ในทางการเมืองนักรัฐศาสตร์จำนวนมากที่เป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์โดยเฉพาะในสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะมีขอ้เขียนที่เกดี่ยกับประวัติศาสตร์การทูตของประเทศต่าง ๆ มากมาย ในสาขาทฤษฏีการเมือง ส่วนใหญ๋มัจะใช้แนวการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์เช่นกัน เช่น การศึกษาประวัติความคิดทางการเมืองของนักปรัชญาการเมืองตะวันตก


                                                                 จงสรุปบทเรียน
                                                    จากความผิดพลาดของคนอื่น
                                                        เพราะเราไม่มีเวลามากพอ
                                                         ที่จะผิดพลาดได้ทุกเรื่อง
                                                       และความผิดพลาดซ้ำซาก
                                                          จะนำมาซึ่งความหายนะ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...