แนวคิเรื่องการจัดตั้งประชาคมอาเซียนเกิดขึ้น ในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่บาหลีในปี 2003 โดยได้มีการจัดทำ Bali Concord II ซึ่งตกลงกันว่าจะจัดตั้งประชาคมอาเซยนขึ้นภายในปี 2020 (ต่ต่อมาเป็นปี 2015) โดยประชาคมอาเซียนจะมี 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชคมการเมืองความมั่นคง ประชาคมสังคมวัฒนธรรม สำหรับประชาคมการเมืองความมั่นคงนั้น ต่อมในปี 2004 ได้มีการจัดทำ แผนปฏิบัติการ หรือ Plan of action ขึ้น ซึ่งมีการบรรจุมาตรการต่างๆ เพื่อไปสู่การจัีดตั้งประชาคมและล่าสุด อาเซียน ได้จัดทำแผนงานหรือ Blueprint ซึ่งมีรายละเอียดมากว่า แพลน ออฟ แอคชั่น โดยได้มีการลงนามรับรอง บลูพริ้นท์ Blueprint ในการประชุมสุดยอดที่หัวหิน โดยแบ่งเรื่องหลักๆ ในการสร้างประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียนคือเรื่องการพัฒนาทางการเมือง การพัฒนาบรรทัดฐาน กลไกป้องกันความขัดแย้ง กลไกแก้ไขความขัดแย้ง
ซึ่งในประเด็นนี้ มีข้อสังเกตว่า คำนิยามของประชาคมความมั่นคงอาเซียน จำกรัฐบาลอาเซียน นั้นแตกต่างค่อนข้องมากจากคำนิยามของนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องประชาคมความมั่นคง ซึ่งนักวิชาการให้ความสำคัญ กับ ประชาคมความมั่นคงจะต้องมีการกำหนด นโยบายร่วมกัน การับรู้ถึงภัยคุกคามร่วมกัน มีอัตลักษณ์ร่วม มีความร่วมมือทางการทหาร มีความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย และมีสถาบันที่เป็นทางการ ซึ่งแตกต่างจากประชาคมความมั่นนคงอาเซียนที่รัฐบาลอาเซียนกำหนดขึ้นมา และกลไกการป้องกันและแก้ไขความขัดแย้งของประชาคมอาเซียมีลักษณธมุ่งเน้นแก้ความขัดแย้งระหว่างรัฐ แต่โลกในยุคปัจจุบันความขัดแย้งส่วนใหญ่เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในรัฐ แต่มีลักษณะข้ามชาติ ดังนั้น กลไกอาเซียนจึงอาจจะไม่มีประสิทะิภาพรอบรับกับความขัดแย้งในรูปแบบใหม่
- การพัฒนาทางการเมือง เรื่องการส่งเสริมประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและการติดต่อในระดับประชาชนต่อประชาชน อย่างไรก็ตาม ในโลกแห่งความเป็นจริงอาเซียนยังมีปัญหามากมายที่เกี่ยวกับพัฒนาการประชาธิปไตย ซึ่งที่สุดแล้วกลไกนี้จะถูกตัทอดหน้าที่และละบทลาทกระทั่งไร้ประสิทธิภาพในที่สุด
- การพัฒนาบรรทัดฐาน หรือกฎเกณฑ์ข้อตกลงต่างๆ ของอาซียน (ทัศนของผู้เขียน..) ใอนาคต อาเซียนคงจะต้องพัฒนาขยายการทำสนธิสัญญาและข้อตกลงให้ครอบคลุมในด้านต่างๆ ต่อไป โดยให้มองที่สหภาพยุโรป วิวัฒนาการของสหภาพยุโรปที่เป็นมาโดยตลอด ตั้งแต่การจัดตั้งประชาคมยุโรป ก็มีสนธิสัญญารองรับ...
- การป้องกันความขัดแย้ง ประชาคมมั่นคงอาเซียน จะเน้นในการสร้างกลไกป้องกันความขัดแย้ง ซึ่งกลไกที่สำคัญคือ มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน การจัดประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซีน การจดทะเบียนการซื้อขายในอาเซียน และการพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้า
อย่างไรก็ดี การพัฒนามาตการเหล่านี้ ไม่ใช้เรื่องง่าย และไม่แน่ใจว่าจะทันเวลาหรือไม่ การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซีนนั้น นังมีความร่วมมือที่เบาบางมาก และเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่แปลกแต่จริง ที่อาเซียนก่อตั้งมา 41 ปีแล้ว แต่ไม่มีการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนเลย ก็เพิ่งจะมีประชุมครั้งแรกเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง หากอาเซียนไม่มีการร่วมมือทางการทหารอย่างจริงจัง การพัฒนาไปสู่การเป็นประชาคมความมั่นคงอาเซียนอย่างแท้จริง ก็คงไม่เกิดขึ้น
- การแก้ไขความขัดแย้ง กลไกหนึงที่สำประชาชาติใช้อย่างได้ผลคือ กองกำลังรักษาสันติภาพ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้มีการถกเถียงกันในประเด็นที่ว่า อาเซียนควรมีการจัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพของอาเซียน หรือไม่ อินโดนีเซียนดูจะผลักดันเรื่องนี้เป็นพิเศษ แต่ก็มีหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศที่ยังมีระบอบเผด็จการในอาเซียน ยังคงหวาดระแวงว่า กองกำลังรักษาสันติภาพอาเซียน อาจเป็นกลไกที่จะขช้ามาแรกแซงกิจการภายใน โดยเฉพาะการเข้ามาทำให้ระบอบเผด็จการของตนสั่นคลอนลง ดังนั้น ขณะนี้ อาเซียนจึงไม่สามารถตกลกันได้ในเรื่องนี้ แต่กลับมองว่ เราควรผลักัดนการจัดตั้งกองกำลังรักษาสนัติภาพของอาเซียนให้เกิดขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นกลไกในการักษาสันจิภาพในอาเซียนแล้ว ยังจะทำให้อาเซียนมีความเป็นเแกภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในกรอบของการส่งกองกำลังอาเซียนเข้าร่วมกับกองกำลังรักษาสันติภาพของประชาชาติ
- ความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจ การกำหนดความสัมพันธ์ของประชาคมอาเซียนกับประเทศมหาอำนาจ ซึ่งมีหลายระดับ ระดับแรกเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะอาเซียน + 1 คือความสัมพันะ์ระหว่งอาเซียนกับสหรัฐ จีน ญี่ปุ่น อินเดียฯลฯ โจทย์สำคัยคือ ทำหอย่างไรอาเซียนจะทำใเ้หิดดดุลยภาพแห่งอำาจในภมิภาคขึ้น และทำอย่างไรประชาคมความมั่นคงอาเซียนจึงจะกลายเป็แหนหลักของสภาบันความมั่นคงในภูมิภาค อาเซียนจะต้องพยายามเล่นเกมถ่วงดุลอำนาจให้ด โดยไม่ไปแกล้ชิดกับมหาอำนาจใดมหาอำนาจหนึ่งมาเกินไป
นอกจากนี้ ความสัมพันะ์ของประชาคมอาเซียในกรอบอาเซียน +3 อีก ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เป้าหมายระยะยาวคือ การพัฒนสไปเป็นประชาคมเอเชียตะวันออก มองว่าการพัฒนาตรงนี้ น่าจะเป็นการต่อยอดไปจากประชคมความมั่นคงอาเซีนย ขยายออำปเป็นประชคมความมั่นคงเอเชียตะวันออก ซึ่งอาจจะเป็นเป้าหมายระยะยาว
ความสัมพันะ์ของอาเซียนใีอีกกรอบหนึ่งคื อEast Asia Summit ซึ่งเป็นกรอบอาเซีนย +6 มองว่า กรอบนี้ วัตถุประสงค์หลักคือ การดึงอีก 3 ปรเทศเข้ามา คือ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เพื่อถ่วงดุลจีน แต่ก็กำลังจะเป็นดาบสองคม เพราะอาเซีย +6 กำลังเป็นตัวทำลายการจัดตั้งประชาคมเอเซียตะวันออกพังทลายลง อาเซียนจึงไม่ควรเพิ่มความสัมพันธ์ในกรอบนี้ให้เข้มข้นขึ้น
สำหรับกรอบสุดท้าย ที่จะกล่าวคือ ASEAN Regional Forum ซึ่งมองว่ายังมประโยชน์อยุ่แต่ประชาคมความมั่นคงอาเซียนจะตองมีบทบาทเป็นผู้นำต่อไป
อุปสรรค การจัดตั้งประชาคมความมั่นคงอาเซียนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะอุปสรรคหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความขัแย้งทางกเมือง กรณีพิพาทเรื่องพรมแดนระหว่างประเทศมาชิก ประเทศสมาชิกยังไม่ไว้วางใจซึ่งกันแลกัน แลยังงกำหนดยุทธศาสตร์ทางทหาร โดยตั้งอยูบนพื้ฐานว่า ประเทศเพื่อบ้านอาจจะเป็นศัตรูหาอาเซียแก้ไปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ การจักตั้งประชาคมความมั่นคงอาเซียนอย่างแท้จริง ก็คงะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ประชาคมเศรษกิจอาเซียน
ตลาดร่วมอาเซียน ใน Blueprint ได้มีการพูดถึงการจัดตั้งตลาดร่วมอาเซีย โดยมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า, การไหลเวียนอย่างเสรีของบริการ, การไหลเวียนอย่างเสรีของการลงทุน, จะให้มีการไหลเวียนที่มีความเสรีมากขึ้น สำหรับเงนิทุนและ การไหลเวียนเสรีสำหรับแรงงานมีฝีมือ
การเปิดเสรีการค้า จะเน้กนการลดภาษีลงให้เหลือ 0% และจะมีการขจัดอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษี ซึ่งน่าจะเป็นอุปสรรคสำคัญของการเปิดเสรีการค้า
สำหรับการเปิดเสรีการค้าบริการนั้น อาเซียนตั้งเป้าหมายว่า จะเปิดเสรีโดยเริ่มต้นจากสาขา 4 สาขาด้วยกัน ได้แก่ การขนส่งทางอากาศ ด้านสุขอนามัยและการท้องถเที่ยว และหลังจากนั้น จะเปิดเสรีทุกสาขา สาขาที่น่าจะมีปัญหาคือ การเปิดเสรีสาขาการเงิน โดยชอาจจะต้องนำเอาสุตร อาเซียน-เอ็กซ์ คือประเทศไหนพร้อมก็เปิดเสรไปก่อน ส่วนประเทศไหนไม่พร้อมก็เข้ามร่วมด้วยที่หลัง
สำหรับการเปิดเสรีการลงทุนนั้น อาเซียนได้มีกรอบความตกลงในเรื่องการจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน และมีแผนที่จะทำการความตกลงกันใหม่ ซึงจะเน้นในเรื่องของการปกป้องการลงทุน การมีกฎระเบียบด้านการลงทุน ที่มีความโปร่งใส ส่งเสริมอาเซียนให้เป็นเขตการลงทุนเดี่ยว และเปิดเสรีระบอบการลงทุนของสมาชิกอาเซียน ที่จะนำไปสู่การลงทุนเสรและเปิดกว้าง
การไหลเวียนของเงินทุน อาเซียนยังไม่สามารถตั้งเป้าหมายให้เสรี ร้อยเปอร์เซนต์ จึงได้แคตัเ้งเป้าหมายให้การไกลเวยนของเงินทุนมีความเสรีมากขึ้นเท่านั้น
การไหลเวียนของแรงงาน อาเซียนก็ยังไม่สามารถเปิดเสรี ร้อยเปอร์เซนต์ ได้ เพีงแต่ตั้งเป้าหมายเปิดเสรีเฉพาะแรงงานมีฝีมือเท่านั้น ดังนั้นถ้าดุตามทฤษฎีแล้ว ตลาดร่วมจะต้องมี 4 เสรี คือ เสรีในการค้าสินค้า เสรีการค้าภาคบริการ เสรในการเคลื่อนย้ายเงินทุน และเสรีในการเคลื่อย้ายแรงงาน ดังนั้นจึงเป็นตลาดร่วมที่ยังไม่สมบูรณ์ ดังนั้นในอนาคต อาเซียนตะต้องหารือว่า เราจะเป็นตลาดร่วมแบบไหน ถ้าต้องการเป็นตลาดร่วมอย่างแท้จริง ก็คงจะต้องมีการหารือกันถึงเรื่องการเปิดเสรด้านเงินทุนและด้านแรงงาน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย
การลดช่องว่างระหว่างประเทศรวยและประเทศจน ใน บลูพรินท์ ได้กล่าวถึงมาตการการลดช่องว่างระหวางประเทศรวยและประเทจนในอาเซียน ซึ่งหลังจากอาเซียนรับสมาชิกใหม่เข้ามา อาเซียนก็เหมือนแตกออกเป็น 2 ขั้ว คือ ประเทศพี่เก่า 6 ประเทศ ที่มีฐานะดีกว่า กับปรเทศน้องใหม่ 4 ประเทศ ที่มีฐานะยากจน เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีความเห็นว่า การแห้ปัญหาเรื่องนี้ของอาเซียน ยังไม่มีเอกภาพเกรพาะกลไกอาเซียนนั้น หลักๆ จะมี 2 กลไก คือ กลไกการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับกำไกกการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งมักจะมีปัญหาขัแย้งกัน โดยเฉพาะในเรื่องของการแห้ปัญหาลดช่องว่าง แต่ในกรอบของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน เมื่อปี 2001 ได้มีการจัดทำปฎิญญาเพื่อลดช่องว่างเช่นกัน และดูเหมือนว่า ทั้ง 2 กลไกนี้ ไปด้วยกันไม่ได้
ความสัมพันธ์กับมหาอำนาจ ความสัมพันธ์กับมหาอำนาจทางเศรษฐิจ ซึ่งมีอยู่หลยกรอบด้วยกัน กรอบแรกคือ อาเซีย +1 ในขณะนี้ความสัมพันธ์ราบรื่นดี โดยเแพาะกับจีน ี่ปุ่น อินเดีย ออสเกตเลีย และ อียู โดยอาเซียนเน้นการเจรจา FTA กับประเทศคู่เจรจาเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ความสัมพันะ์อาเซยนกับสหรัฐ ยังไม่ดีเท่าที่ควร จึงมฃควรมีการผลักดันการเจรจา FTA อาเซียน- สหรัฐ และการประชุมสุดยอด อาเซียน-สหรัฐขึ้นเป็นครั้งแรก
มิติที่สองคือความร่วมมือในกรอบอาเซียน +3 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหวางอาเซี่ยนกับ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ควรมีการผลักดัน ให้มีการจัดตั้งประชาคนเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกขึ้น โดยจะเป็นการต่อยอดออกไปจากประชคมเศรษฐกิจอาเซียน
อีกมิติหนึ่งคือ อาเซียนในเวที่โลก อาเซียนยังมีปัญหาอย่างมากให้การกำหนดท่าที่ร่วมกันเวทีโลก จะเห็นได้ว่า ท่าที่ของอาเซียนใน WTO ก็ไคนละทิศละทาง ใน Blueprint ของประชาคมอาเซียน ไม่ได้มีการพูว่า อาเซียนจะมีการพัฒนาเป็นอะไรต่อไป จึงของเสนอความเห็นว่า อาเซียน่าจะพัฒนาเป็นสหภาพอาเซียน ซึงมีลักษณะคล้ายๆ กับสหภาพยุโรปนั่นเอง ดดยมีการพัฒนาระบบการเงินอาเซียนให้เป็นระบบเดียวกัน คื อให้มีการจัดตั้งสหภาพการงินอาเซียน ซึ่งในระยะยาว จะพัฒนาไปเป็นเงินสกุลอาเซีน และจัดตั้งธนาคารกลางอาเซียนขึ้น นอกจากนี้ การที่จะเป็นสหภาพอาเซียนได้ อาเซียนจะต้องมีการกำหนดนโยบายร่วมที่เป็นเนื่องเดี่ยวกัน โดยเฉพาะนโยบาย อุตสาหกรรม นโบยบายเกษตร และนโยบายต่างประเทศ
อุปสรรค ปัญหาใหญ่ของอาเซียนคือ ช่องว่างระหว่างประเทศรวยและประเทศจน ซึ่งยังคงมความแตกต่งกันมาก ระหว่างประเทศรวยซึ่งเป็นสมาชิกเก่า เช่น สิงคโปร์ กบประเทศสมาชิกน้องใหม่ ที่ยังคงมีความยากจนอยู่มากโดยเฉฑาะลาว กัมพูชา และพม่า ปรเทศอาเซียยังคงมองประเทศสมาชิกอื่นเป็นคู่แข่งทางเศรษฐกิจ แทที่จะเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ นอกจานี้ อาเซียนยังมีปัญหาทั้งบูรณาการในเชิงบลึกและใเชิงกว้าง ปัฐญหาบูรณาการในเขิงลึกคือ ไม่ใช้เรื่องง่าย ที่อาเซีนยนจะบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งตลาดร่วมอาเซียนอย่างสมบูนณ์แบบ ในขณะที่ปัญหาบูรณาการในเชิงกว้างก็คือ ถึงแม้อาเซียนจะรวมตัวอกันอย่างเข้มแข็งแคไหน หรือในเชิงชึกแค่ไหน แต่อาเซียนก็ยังเป็นกลุ่มของประเทศเล็กๆ 10 ประเทศเท่านั้น อาเซียนจึงกำลังถึงทางตันในบูณาการในเชิงกว้าง
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ASEAN Socio Cultural Community เรียกย่อว่า ASCC มีเป้าหมายหลักที่จะทำให้เกิดประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และมีสงคมที่รับผิดชอบ เพื่ดก่อให้เกิดความเป็นอนหนึ่งอันเดี่ยวกัยและก่อให้เกิดเอกภาพ โดยเสริมสร้างอัตลักาณ์ร่วมกนแ ะลทำให้เกิดเป็นสัวงคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ซึ่งจะทำให้คุณภาพชีวิตและความเป็อยู่และสวัสดิการขปงระชาชนดีขึ้น ASCC ให้ความสำคัญกับ 5 เรื่องด้วยกัน คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สวัสดิการสังคม สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อมและการสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เรื่องแรกที่ ASCC ให้ความสำคัญคือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเน้นการศึกษาให้เป็นวาระของอาเซียน การสร้างสังคมความรู้ โดยส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐายอย่างทั่วถึง ส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม ส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเสริมสร้างทักษาในการปกอบอาร สำหรับสตรี เยาวชน ผุ้สูงอายุ และผุ้พิการ
สวัสดิการสังคม ASCC จะส่งเสริมความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ดดยลดความยากจนและส่งเสริมการคุ้มครองและวัสดิการสังคม เน้นการแก้ไขปัญหาความเหล่อล้ำด้านสังคมและเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก รวมถึงการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ ในการกำจัดความยากจนและความหิวโหย และ ASCC จะให้ความมั่นใจว่า ประชาชนอาเซียนทุกคนมีอาหารพอเพียงตลอดเวลา และให้ความมั่นใจในความปดลอภัยด้านอาหาร เนสการเข้าถึงการรักษาสุขภาพ ารบริหารทางการแพทย์และยาที่เพียงพอและราคาถูก รับประกันอาเซียนที่ปลอดยาเสพติด และพร้อมรับกับภัยพิบัติและประชาคมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น
สิทธิมนุษยชน ใน blueprint ของ ASCC ได้กล่าว่า อาเซียนมีพันธกรณีในการส่งเสริมความยุติธรรมและสิทธิของประชาชน โดยเน้นการปกป้องผลประโยชน์ สิทะิ รวมทั้งส่งเสริมโอกาศอย่างเท่าเทียม และยกระดับคุณภาพชีวิต มาตรฐานการดำรงชีวิตสำหรับสตรี เยาวชน ผุ้สูงอายุ และผู้พิการ...
สิ่งแวดล้าม ใน blueprint ของ ASCC ได้กล่าวว่า อาเซียน จะส่งเสริมสิ่งแวดล้อมสีเขียวและสะอาดโดยการปกป้องทรัพยากรทางธรรมชาติ อนุรักษ์ดิน น้ำแร่ธาตุและพลังงาน ความหลากหลายทางชีวภาพ ป่าไม ทรัพยากรชายฝั่ง และทรัพยากรทางทะเล รวมทั้งปรับปรุงคุณภาพน้ำและอากาศ และอาเซียนจะมีส่วนร่วมในความพยายามของโลกในการจัดการแห้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและคุ้มครองชั้นโอโซน...
การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน เรื่องสุดท้ายที่ ASCC ในห้ความสำคัญ คือ การสร้างอัตลักาณ์ของอาเซียน โดยจะเน้นการสร้างความรู้สึกของการอยู่ร่วมและส่งเสริมความเป็นเอกภาพในความแตกต่าง ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศสมาชิก เก่ยวกับวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ศาสนา และารยธรรมส่งเสริมการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน เพื่อให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจด้านประวัติศาสตร์ของภูมิภาคที่เป็นหนึ่งเี่ยว และค้นหาเกี่ยวกับอัตลักณ์ของอาเซียน และสร้างอาเซียนที่มีประชาชนเป็แหรนำ โดยสนับสนุนทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมใการะบวนการสร้างประชาคม
อุปสรรค กล่าวโดยสรุป การจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซยน อย่างแท้จริงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะอาเซียนยังมีปัญหาเรื่องสังคมวัฒนธรมอีกมาก ได้แก่ ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ปัฐหาการมีอัตลักาณ์ร่วมกัน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ประชาชนยังมีความขัดแย้งและไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ปัญหาช่องว่างระหว่างปรเทศรวยและประเทศจนปัญหาการทำให้ประชาคมอาเซียน เป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนยืกลาง และปัญหาที่ประชาชนไม่มีความรู้เรื่องอาเซียน...
- บทความ "ประชาคมอาเซียน", ประภัาสร์ เทพชาตรี, 2552.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น