Local government in Malaysia

             จากการที่เป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษทำให้ได้รับอิทธิพบของโครงสร้างการเมืองการปกครองของประเทศอังกฤษมา คือ การปกครองอ้วยโครงสร้างของระบบรัฐสภา ยกเว้น ระบบรัฐาบซึ่งมาเลเซียมีทั้งระบบรัฐบาลหรือสหพันธ์และรัฐบาลแห่งรัฐ สำหรับโครงสร้างการเมืองการปกครองโดยทั่วไปเป็นดังนี้
            ระดับสหพันธรัฐ
            - สภาประมุของผุ้ปกครองรัฐ และพระราชธิบดี
            - นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
            - สภาผุ้แทรราษฎรและวุฒิสภ
            - สภาบันตุลาการ
            ระดับรัฐ
            - ประมุขแห่งรัฐ
            - สภาการบริหารและมุขมนตรี
           - สภานิติบัญญัติแห่งรัฐ
            - เลขาธิการประจำรัฐ
           การปกครองส่วนภูมิภาคและการปกครองส่วนท้องถิ่น
            - ส่วนภูมิภาค
            - ส่วนท้องถิ่น
           ระดับสหพันธรัฐ
           ถือได้ว่าเป็นรัฐบาแห่งชาติ ซคึ่งเป็นตัวแทนของประเทศมาเลเซียในการดำเนินความทสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ ในเวทีระหว่างประเทศการทำสนธิสัญญา การกำหนดนโยบายต่างประเทศ การป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงภายใน การกำหนดกฎหมายการศาลการแลบงสัญชาติ การคลัง การต้า พาณิชย์และอุตสาหกรรม
           - สถาบันประมุข ในโครงสร้างของการปกครองของรัฐบาล กลางมีการแหยกประเภทของผุ้นำระดับสูง ดังนี้
                  กษัตริย์ เป็นประมุขของประทเศ เป็ฯผุ้นำสูงสุดของประเทศแต่อยู่ภายใต้กำหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งประเทศมาเลเซียได้เรีกกษัตริยืของตนว่า ยัง ดี เปอร์ ตวน อากง ที่มีที่มาจากการเลือกตั้งทุกๆ 5 ปี จากบรรดาสุลต่านที่เป็นประมุขของรัฐทั้ง 9 รัฐที่เรียกว่า ยัง ดี เปอร์ ตาน เนเกอรี ในส่วนอำนาจของกษัตริย์หรือประมุขจะกี่ยวข้องกับด้านศาสนา พิธีการต่างๆ นอกจานี้ยังม่อำนาจในด้านอื่นๆ  เช่น อำนาจทางการบริหาร และนิติบัญญัติ กล่าวคือ กฎหมายจะต้องประกาศใช้ถูกยับขั้ง หรือถูกแก้ไขโดยกาัตริย์อีกทั้งกษัตริย์ยังมีอำนาจในด้านอื่นๆ เช่น อำนาจทางการบริหาร และนิติบัญญัติ กล่าวคือ กฎหมายจะต้อง ประกาศใช้ถูกยับยั้ง หรือถูกแก้ไขโดยกษัตริย์ อีกทั้งกษัตริย์ยังมีอำนาจในการแหต่งตั้งให้หัวหน้าพรรคการเมอืงที่มีเสียงข้างมากหรือที่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
                 ที่ประชุมแห่งประมุขรัฐ มีความเกี่ยวข้องกับกษัตริย์สุลต่าน ศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรม องค์ประกอบของที่ประชุมฯ ประกอบขึ้นจากสุลต่าน 9 รัฐ และ 4 ผุ้ว่าแห่งรัฐปีนัง มะละกา ซาบาห์ และซาราวัค ส่วนอำนาจหน้าที่หลักของที่ประชุม คือ การแต่งตั้งกษัตริย์ และอุปราชหรือผุ้สำเร็จราชการแทนพระองค์
            - สถาบันบริหาร ในส่วนนี้มีเพียง 2 กลุ่มผุ้นำ คือ นายก รัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
               นายกรัฐมนตรี เป็นผุ้นำสุงสุดของฝ่ายบริหารตามระบบรัฐสภา นายกรัฐมนตรีเป้นหัวหน้าพรรคอากรเมืองที่สมาชิกได้รับเลือกเข้ามานั่งในสภมากที่สุ หรืออาจเป็นหัวหน้าพรรคที่เป็นนำในสภาผุ้แทนราษฎร ทั้งนี้กษัตริย์จะเป็นผู้ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี สำหรับหน้าที่นั้น นอกจากจะเป็นผุ้นำคณะรัฐบาลในการบริหารประทเศแล้ว นายกรัฐมนตรียังสามารภแต่งตั้งบุคคลเช้าดำรงตำแหน่งผุ้บริหารระดับสุงในระบบราชการ นอกจานี้ยังต้องถวายนโยบายการปกครองและการบริหารรัฐให้แก่กาัตริย์ทราบ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการแต่งตั้งผุ้ิพากษา อธิบิีกรมตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการบริหารสาธารณะ และคณะกรรมการการเลือกตั้งอีกด้วย
             คระรัฐมนตรี ถือว่าเป็นหุ่มผุ้กำหนดนโยบายอันมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้า นายกรัฐมนตรีเองจะเลือกสมาชิกสภาผุ้แทนราษฎรเข้ามาดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามกระทรวงต่างๆ ซึ่งจะมีสมาชิกของคณะรัฐมนตรีทั้งหมด 26 คน จาก 24 กระทรวง กระทรวงต่างๆ ทั้ง 24 กระทรวงในระดับสหพันธรัฐจะส่งตัวแทนของตนเข้าไปยู่ประจำรัฐต่างๆ เพราะโครงสร้างการบริหารงานในแต่ละรัฐจะมีกระทรวงที่รองรับดครงสร้างกันอันมาจากการปกครองระดับชาติ ทั้งนี้เพื่อให้ตัวแทนจากสหพันธ์คอยให้คำปรึกษาแนะนำ เป็นสื่อกลางระหว่างรัฐบาลมลรัฐและรัฐบาลแห่งสหพันธ์ การมีโครงสร้้างในการแหบงกระทรวงที่ถอดแบบมาจากส่วนกลางนี้เป็นเครื่องมือในการควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลแห่งสหพันธ์ทางหนึ่ง สำหรับกระทรวงที่ทำหน้าที่ดูแลการปกครองส่วนภูมิภาคและการปกครองส่วนท้องถิ่น คือ กระทรวงมหากไทยและกระทรวงการเคหะและการปกครองส่วนท้องถิ่น
           - สภาผุ้แทนราษฎรและวุฒิสภา นับแต่ปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา อำนาจนิติบัญฐัติชองสหพันธรัฐ ประกอบด้วยกษัตริย์ และ 2 สภาด้วยกันคือ วุฒิสภา และสภาผุ้แทนราษฎร
              วุฒิสภา ประกอบขึ้นจากสมาชิก 2 กลุ่มด้วยกัน รวมเป็น 70 คน โดยที่ 26 คนมาจากการเลือกต้้งของสภานิติบัญญัติ 13 รัฐ รัฐละ 2 คน ส่วนอีก 44 คนมาจากการเสอนชื่อโดยนายกรัฐมนตรีเพื่อให้กษัตริย์แต่งตั้งจากบุคคลผุ้มีความรู้ความสามรรถในงานสาขาอาชีพต่างๆ เช่น การค้า อุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรืองาน วัฒนธรรม งานด้านสงคมสงเคราห์ หรือผุ้นำชนกลุ่มนอย ซึ่งสมารถดำรงอยู่ในตำปน่งได้วาระละ 6 ปี และมีบทบามในการเป็นตัวแทนให้กับรัฐและ เป็นเครื่องมือสำหรับการปกป้องสิทธิของรัฐต่างๆ ที่อยุ่ในสหพันธ์ุด้วย
             สภาผุ้แทนราษฎร ในปัจจุบับสภาผุ้แทนราษฎรมีสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงมาจากราษฎรในรัฐต่าง โดยมาจากเขชตเลือกต้งแขตละ 1 คน รวม 222 คน สมิชิกสภาผุ้แทนราษฎรนี้จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 21 ปี บริบูรณ์ และอยุ่ในตำแหน่งได้คราวลิ 5 ปี
             - สถาบันตุลาการ(ในระดับสหพันธรัฐ) เนื่องจากเคยเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ การบริหารงานทางด้านยุติธรรมและรูปแบบของศาลทั้งประเทศจึงอาศัยแบบอย่างของกฎหมายอังกฤษ ยกเว้นแต่ศษอิสลามหรือศาลการศาสนาที่ใช้รูปแบบแตกต่างออกกไป โยรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรับมาเลเซียเกิดขึ้นโดยการตกลงร่วมกันระหว่างรัฐบาลอังกฤษและบรรดาเจ้าผุ้ครองนครต่างๆ ในมาลาย และได้รับสัตยาบรรณทั้งโดยกฎหมายของรัฐบาลกลางและรัฐบาลรัฐต่างๆ จึงเป็นที่ยอมรับนับถือว่า รัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศและรัฐธรรมนูญนี้ก็ได้ตราบทบัญญัติกี่ยวกัยอำนาจทางนิติบัญญัติของรัฐบาลกลางและรัฐบาลของรัฐไว้หลายแระการ เฉพาะที่เกี่ยวกับอำนาจทางตุลาการหรือศาลยุติธรรมซึ่งมาเลเซียมอบห้แก่ศาลระดับต่างๆ
              ระดับรัฐ รัฐบาลแห่งรัฐเป็นรัฐบาลท้องถ่ินของรัฐในประทเศมาเลเซียจำนวน 13 รัฐ ทำหน้าที่ปกครองบริหารราชการในรัฐนั้นๆ มีลักษณะเป็นรัฐบาลเล็กๆ 13 รัฐบาลอยฦู่ในประเทศเดียวกัน เพราะมีโครงสร้างเช่นเดี่ยกับรัฐบาลกลาง ที่ประกอบด้วย
              - ประมุขแห่งรัฐ คือ เจ้าผุ้ครองรัฐใน 9 รัฐ หรือเรียกอีกชื่อว่า ยัง ดี เปอร์ ตวน เนเกอรี ซึงทรงมีพระอิสระยยศแตกต่างกัน โดยเจ้าผุ้ครองรัฐยะโฮร์ ตรังกานู ปาหัง สลังงอร์ เปอร์ลิส กลันตัง เนกรีซัมบิลัน เคดาห์ และเปรัค มียศเป็น "สุลต่าน" ซึ่งในปัจจุบันพระปรุมขหรือพระราชาของสหพันธณัฐมาเลเซย คื อเจ้าผุ้ครองรัฐเคดาห์มีพระยศเป็น "พระมหากษัตริย์" ส่วนอีก 4 รัฐที่ไม่มีเจ้าปุ้ครองรัฐจะมีข้าหลวง ที่ำด้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลกลางทำหน้าที่เป็นประมุขโดยทำหน้าที่ด้านพิธีการเป็นส่วนมาก
             - ฝ่ายบริหาร รัฐบาลแห่งรัฐจะมีมุขมนตรีแห่งรัฐ ในรัฐที่มีเจ้าผุ้ครองรัฐ ส่วนในรัฐที่ไม่มีเจ้าผุ้คีองรัฐจะมีผุ้ว่าการรัฐ โดยแต่งตั้งมาจากสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะผุ้บริหารรัฐ ดูแลด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ความปลอดภัยสาธารณะ การศึกษา หรือสุขภาพอนามัยของผุ้คนในรัฐ โดยแต่ละรัฐมีอิสระในกรบริหารจากรัฐบาลกลางพอสมควร ยกเว้นด้านการต่างประเทศ การทหาร การเงินและเศรษฐกิจมหภาคที่ยังคงอยุ่ภายใต้การดูแลของรัฐบาลและรัฐบาลแห่งรัฐ
           - ฝายนิติบัญญัติ แต่ละรัฐมีสภานิติบัญญัติแห่งรับ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับรัฐสภาในรัฐบาลกลาง หากแต่ในระดับรัฐจะมีเพียงสภาเดียว ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน ดดยทำหน้าทีออกกฎหมายท้องถิ่นภายในรัฐมีวาระ 5 ปี
           - ฝ่ายตุลาการ (ในระดับรัฐ) งานด้านตุลาการส่วนใหญ่ในประเทศมาเลเซียจะอยุ่ในระดับรัฐ ซึงแต่ละรัฐก็มีสภาบันตุลาการของตนแยกออกเป็น 7 ประเทภทด้วยกัน
            การปกครองส่วนภูมิภาค การปกคหรองส่วนภูมิภาคและการปกครองส่วนท้องถิ่นภายในแต่ละรัฐนั้น อยุ่ภายต้การกำกับดูแลของรัฐบาลลรัฐอย่างเต็มที่ ถึงแม้ว่าการปกครองส่วนภูมิภาคและการปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นเรื่องภายในของแต่ละรัฐที่จะสารถบริหารจัดกรและออกแบบโครงสร้างได้เอง แต่โดยส่วนใหญ่รูปแบบการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถภ่ินในแต่ละัฐก็จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันในภาพรวม
            การปกคหรองส่วนภูมิภาคของประเทศมาเลเซียลักษณะการแบ่งโครงสร้างคล้ายกับประเทศไทย โดยการกำหนดให้มีหน่วยการปกครองระดับอำเภอและตำบล จะมีความแตกต่างบ้รางก็ตรงที่บุคคลผุ้มาทำไน้าทีปกครองในหน่วยการปกครอระดับภูมิภาคทั้งในระดับอำเภอและตำบลจากการแต่างตั้งของส่วนกลาง มีฐานะเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงเคนะและการปกครองส่วนท้องถิ่น
            จุดเริ่มต้นของการศึกษาการปกครองส่วนท้องถิ่นของมาเลเซียเริ่มจากการปฏิรูปกันอย่งจริงจัง เมื่อปี พ.ศ. 2519 ที่ได้มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการปกครองท้องถ่ิน เรียกว่า Local Government Act 124 ในปี พ.ศ. 2519 กฎหมายฉบับนี้นับว่ามีความสำคัญต่อการปกครองส่วนท้องถ่ินของมาเลเซียเป็นอย่างมาก เพราะเป็นกฎหมายที่มีเนื้อหนาปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นของมาเลเซียเป็นอย่างมาก เพราะเป็นกฎหมายที่มีเปนื้อหาปฏิรูปการปกครองท้องถ่ินของมาเลเซียอย่างจริงจัว ดดยมีความพยายาทำให้การปกครองท้องถ่ินเป็นของประชาชนในท้องถ่ินมากที่สุด ซึ่งจากเดิมากรปกครองส่วนท้องถิ่นของมาเลเซียอยู่ภายใต้การปกครองโดยรัฐส่วนกลาง โดยที่เจ้าหน้าที่รํบสามารไปดำรงตำแหน่งในระดับท้องถิ่นได้ ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการรวมศูนย์อำนาจรัฐที่ต้องการสร้างความเข้มแข็งทางการปกครอง เนื่องจากความหลากหลายของเชื้อชาติและวัฒนธรรมที่อกาจนำไปสู่ควาขัดแย้งในท้องถ่ินต่างๆ ที่ส่งผลต่อแนวนโยบายในการพยายามสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันของมาเลเซียนับแต่ได้รับเอกราช
          อย่างไรก็ตาม การพิจารณาถึงการปกครองส่วนท้องถิ่นของมาเลเซียจำเป็อย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาถึงการปกครองส่วนภูมิภาคควบคู่กันไปด้วย เพราะมาิเลเซียมีลักษณการรบอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางและสร้างองค์กรของรัฐให้เข้มแข็งเพ่อเหตุผลดังที่กล่าวมา ดังนั้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นของมาเลเซียจึงไม่ได้เป็นอิสระอย่งแท้จริงและยัง๔ูกควบคุมโดยโครงกสร้างการปกครองของส่วนกลง เทศมนตรีหรือผุ้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็มาจากการแต่างตั้งของ Menteri Besar โดยตรงและโดยปกติชื่อมี่ถูกเสนอขึ้นไปจะมาจากการเสนอของพรรคการเมืองที่ได้รับชัยชนะในรัฐน้้นๆ หากมองในแง่นี้เทศมนตรีหรือผุ้นำในระดับท้องถ่ินเหล่านี้ก็จะไม่มีอิสระในการบริหารเท่ารที่ควร เพราะพวกเขาจะขึ้นตรงต่อผุ้ที่แต่างตั้งเขามาเท่านั้น
           ได้มีผู้สรุปคุณลักษณะขงอองค์กรปกครองท้องถ่ินมาเลเวีย ดังนี้
            - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีขอบเขตการปกครองที่ชัดเจนตามกฎหมายที่กำหนดให้แต่ละเขตพื้ที่มีอำนาจการปกครองในระดับท้องถ่ินอย่งเท่าเทียมกัน
            - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ ความรัีบผิดชอบในการดและประชาชนในพื้นที่แลพัมรสาผลประดยชน์สาธารณะต่างๆ ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ
            - องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินถือเป็นสภาบันหนึงที่เกิดขึ้นตามกฎหมายพิเศษและอยุ่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลสหพันธรัฐ
            - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องดำเนินหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด มิเช่นนั้นอาจโดนฟ้องร้องได้ โดยมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ดำเนินฟ้องร้อง ครอบครองพื้นที่และเซ็นศัญญาเหรือข้อตกลงตางๆ ได้
            - องค์การปกครองสวนท้องถิ่นมีอำนาจในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินมีหน้าที่ตาข้อบัญญัติท้องถ่ิน เช่น มีอำนาจและหน้าที่กำหนดไว้ตามกฎหมายเท่านั้น
            - ถึงแม้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินจะอยงุ่ภายใต้การกำกับดูแลโดยรัฐบาลสหพันธรัฐ แต่ยังคงมีความเป็นอิสระตามทีบทบัญญัติท้องุ่ินกำหนดอำนาไว้ให้
            - ที่มาของตัวแทนที่ทำหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินมทั้งจากการแต่งตั้งโดยผุ้มีอนำาจสุงสุดหรือรัฐบาลและมาทั้งจากการเลือกโดยประชาชนในพืั้นที่
            - ผุ้ปกครองรัฐที่ได้รับเลือกจากรัฐบาลกลางจะทำงานร่วมกับสมาชิกของสภาท้องถิ่น
            - บทบาทหน้าที่พื้นฐานที่สำคัญขององครกปกครองส่วนท้องถิ่น คือ การดูแลความสะอากของย้านเมือง การให้บริการต้านสาธารณสุข สุขอนามัย และากรรักษาความปลอดภัย
            - อำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินยังหมายวามรวมถึงการจัดเก็บภาษีและลงโทษสำหรับผู้ไม่เสียภาษี อีกทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังสามารถแต่งตั้งพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินได้ รวมทั้งมีอำนาจของตนเอง ในการบริหารจัการงลประมาณท้องถ่ินภายในองค์กรได้
              โครงสร้างและรูปแบบการปกครองท่้องถิ่น รูปแบบการปกครองส่วนทองถิ่นของมาเลเซียหรือรัฐบาลท้องถิ่น บริหารกิจการท้องถ่ินภายใต้การควบคุมของรัฐบาลแห่งรัฐ มีรูปแบบหลัก ๆ 5 รูปแบบดังนี้
              1 สภานคร รัฐบาลท้องถ่ินรูปแบบนี้มีทั้งสิ้น 12 แห่ง คณะกรรมารธิการสภนครมาจากการเลือกตั้ง
              2 สภาเทศบาล (นคร) ซึ่งมี 39 แห่งซึ่งรัฐบาลท้องถิ่นและคณะกรรมาธิการของการปกครองรูปแบบนี้มาจากการเลือกตั้ง มัอำนาจสมบูรณ์ทางการเงินการเก็บภาษีและใบอนุญาตต่างๆ
              การปกครองท้องถิ่น 2 รูปแบบที่กล่าวมาจะถูกจัดตั้งขึ้นในเขตที่มีความเป็นเมืองสูง จำนวนประชากรมากและความหนาแน่นของประชากรมีสูง มีรายได้เพียงพอต่อการบริหากิจการเเมืองขนาดใหญ่รายได้ส่วนใหญ่มาจากการจัดเก็บภาษีในท้องถ่ิน ส่วนเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเป็นเพียงรายได้เสริม ความแตกต่างระหว่าง Municipal Council กับ City Council ใช้รูปแบบที่แยกฝ่ายบริหารกับสภาออกจากกัน
             3 สภาเมือง คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นในเขตเมืองใหญ่ๆ ที่มีประชกรมากกวา 5,000 คน แต่ไม่เกิน 100,000 คน มีความสามารถในทางด้านการคลังอยุ่ใระดับปานกลาง รัฐบาลท้องถิ่นรูปแบบนี้มาจากการเลือกตั้ง
             4 คณะกรรมการเมือง คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็ก มีหน้าที่คล้ายสภาเมือง แต่สัดส่วนของบทบาทหน้าที่ และการบิหารจัดการจะแคบกว่าคณะกรรมาธิการเมืองจะมาจากการแต่งตั้ง จัดตั้งขึ้นในเขตเมืองที่มีประชกรีมาก่ 5,000 คนขึ้นไป มีรายได้ต่ำรายได้ส่วนใหญ่มาจากเงินอุดหนุนของรัฐบาลแต่ยังามสามารถบริหาจัดการได้
            5 สภาท้องถ่ิน หรือสภาอำเภอ คือ งอค์กรปกครองสวนท้องถ่ินที่จัดตั้งขึ้ในเขต อำเภอจำนวน 98 แห่งซึ่งจัดตั้งขึ้นในเขตพี้ทีชนบทที่มีรายได้ต่ำ ประชากรน้อย ประชากรส่วนใหญ่อยุ่ในเขตชนบทและทำอาชีพเกษตรกรรม นับเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินที่มีขนาดเล็กที่สุดรูปแบบหนึ่งขององค์กรปครองส่วนท้องถิุ่นในมาเลเซีย (คล้ายกับองค์การบริหารส่วยตำบรลของไทย)และมักจะตั้งทัซ้อนอยู่กับการปกครองระดับตำบลและหมู่บ้าน มีรูปแบบบ่อย ดังนี้สภาชนบท, คณะกรรมการหมู่บ้าน ,สภาชนบทประจำอำเภอ, สภาอำเภอ, คณะกรรมการชนบท คือ องคกรปกครองส่วนท้องถ่ินในเขตชนบทที่มีขนาดพื้ที่ใหญ่และมักจะตั้งทับซ้อนอยู่กับการปกครองในระดับอำเภท มีพื้นที่ครอบคลุมทั้งอำเภอ ยกเว้นส่วนที่เป้นการปกครองส่่วนท้องถิ่นในรูปแบบอื่น)
             การเลือกตั้งระดับท้องถ่ินในยุคหนึ่งได้ถูกยกเลิกไปจากเหตุความขัดแย้งรุนแรงเรื่องเชื้อชาติที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งท้องถ่ิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 โดยมีการแก้ไขปรับปรงุพระราชยัญญัติการปกครองส่วนท้องถ่ิน พ.ศ. 2508 โดยมีการแก้ไขปรัฐปรุงพระราชบัฐฐัติการปกครองส่วนท้องถ่ิน พ.ศ. 2519 ที่กำหนดให้สภาท้องถิ่นมาจากการแต่งตั้งในหมาดที่ 15 สภาท้องถิ่นถูกแต่งตั้งโดยรัฐบาลมลรัฐ การยกเลิกการเลือกตั้งท้องถ่ินเป็นไปตามประกาศกฎหมายสองฉบับ ได้แก่การปกระกาศภาวะฉุกเฉิน และประกาศภาวะฉุกเฉินแก้ไขเพิ่มเติม ที่สงผลใหประชาชนในระดับท้องถ่ินไม่ได้มีประสบการณ์ในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น สำหรับรัฐซาบลาร์และซาราวักรวมถึงรัฐตามที่ก"มกายกำหนดไม่มีการกำหนดการเลือกตั้ง มลรัฐแต่ละมลรัฐรวมถึงการปกครองกรุงกัวลาลัมเปอร์จะถูกบริหารปกครองโดยตรงภายใต้อำนาจของกระทรวงอาณาเขตของสหพันธ์ ถึงแม้ว่าประเทศมาเลเซียได้เรียนรู้ระบบการปกครองท้องถิ่นจากประเทศเจ้าอารานิคมอังกฤษก็ตาม แต่แน่นอนว่าบริบททางสังคมและเชื้อชาติ ศาสนาที่ส่งผลโดยตรงต่อระบบการเมืองภายในของมาเลิซีย ที่มีผลให้ไม่ประสบความสำเร็จในการกระจายอำนาจไปสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น
              การปกครองส่วนท้องถิ่นของมาเลเซียจึงไม่เหมือกับรูปแบบการปกครองส่วนท้องถ่ินของประเทศไทยนักที่มีหน่วยงการปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งแต่ระดับจังหวัด เทศบาล ตำแบล ในรูปแบบขององค์การบริหารส่วนจังหงีก เทศบาลนคร เมือง และตำบล และงอค์การบริหารส่วนตำบลที่มีการต่อสู้ทางการเมือง มีพรรคการเมืองชัดเจน และมีการจัดการเลือกตั้บงี่ได้รับเลือกมาจากประชาชนโดยตรง ในขณะที่ประเทศมาเลเซียมีระดับในการปกครองส่วนท้องถ่ินที่แยกหว้าง ๆ ได้ 2 ระดับ คือสภาะชนบท และสภาท้องถิ่น ที่ม่บทบาทหน้าทีเหมือนกับสภาเทศบาลและสภาเมืองใหย๋ เพียงแต่ต่างกันที่บริบทของภูมิศาสตร์และพื้นทีในกาควบคุมดูแล
             สภาเทศบาลสามารถยกฐานะไปเป็นสภาเมืองใหย๋ได้หากเข้าเงื่อขปตามที่กฎหมายกำหนด สภาเมืองใหญ่ปกครองโดยยายกสภาเมือง ในขณะที่สภาเทบาลปกครองโดยประธารสภาเทศบาลรัฐบาลแห่งรัฐแต่งตั้งนายกสภาเทศบาล รัฐบาลแห่งรัฐแต่งตั้งนายกสภาเทองและปรธานสภาเทศบาล รวมถึงสมาชิกสภาทั้งหมก โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี และสามารถได้รับการแต่งตั้งซ้ำอีกได้ หากมาองที่มาของผุ้บริหารปกครองระดับภูมิภาคท้องถ่ินจะเห็นว่าเป็นการยึดสายโครงสร้าง การปกครองที่ขึ้นกับส่วนกลาง แต่ประเทศมาเลเซียก็กรนะจายอำนาจให้เฉพาะในส่วนของภารกิจหน้าที่ให้กับอน่วยการปกครองทั้งระดับภูมิภาคและท้องถิ่น อำนาจทางนิติบัญฐักติของการปกครองทั้งในระดับ สภาเมืองใหญ่ สภาเทศบาล และระดับอำเภอ อยู่ที่ผู้บริหาสูงสุดที่ได้รับการแต่งตั้ง ซึ่งอาจเป็นหารแต่งตั้งเต็มเวลาหรือชั่วคราว ซึ่งรัฐบาลแห่งรัฐเป็นผุ้กำหนดคำตอบแทนให้


                                       -"ระบบการปกครองท้องถิ่นประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน: สหพันธรัฐมาเลเซีย", ดร. ไพลิน ภู่จีนาพันธุ์, วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สภาบันพระปกเกล้า, 2556.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)