วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2560

Local government in Indonesia

           อินโดนีเซียเป้นสาธารณรัฐแบบรัฐเดี่ยว แตมีการจัดการปกครองแบบกระจายอำนาจอย่างกว้างขวาง อินโดนีเซียมีการแบ่งเขตการปกครองภายในของตนเองออกเป็นหลายระดับก้มีชื่อเรียกที่ต่างกันออกไป 
           รูปแบบการปกครองท้องถิ่น
           มณฑล คือชื่อเรียกเขตการปกครองภายนอินโดนีเซียในระดับรองลงมาจากระดับประเทศ โดยทั่วไปแล้วในงานศึกษาหรือรายงานข่ราวในภาษาไทยมักจะรเียกเขตการปกครองประเภทนี้ของอินโดนีเซียว่า จังหวัด โดยเทียบเคียงมาจากคำว่า province ซึ่งขอเรียกว่า provinci ของอินโดนีเซียว่า มณฑล ทั้งนีเป็นไปตามเหตุผลที่ทวีศักดิ์ เผือกสม ได้กลาวไว้ คือ โพวินซี่ แต่ละแห่งของอินโดนีเซียนั้นมักมีขนาดพื้นทีกว้างขวางและมีจำนวนประชากรมากกว่าจังหวัดของประเทศไทยอย่างมาก ดังนันคำว่ามณฑลน่าจะสื่อความหมาย ได้ดีกว่าคำว่าจังหวัด
             ปัจจุบัน อินโดนีเซียมีการแบ่งการปกครองออกเป็น 33 มณฑลโดยในจำนวนนี้มีอยู่ 5 มณฑลที่มีสถานะพิเศษกว่ามณฑลอื่น ในแต่ละมณฑลของอินโดนีเซยจะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ทำหน้าที่ในฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติโดยผุ้นำของฝ่ายบริหาร คือ ผู้ว่าการมณฑล และฝ่ายนิติบัญญัติ คือ สภาผุ้แทนราษฎรส่วนภูมิภาค หรืออาจเรียกสั้นๆ ว่า สภามณฑล ปัจจุบัน กฎหมายของอินโดนีเซีย กำหนดให้ตำแหน่งผุว่าการมณฑลมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ซึ่งต่างจากในอดคตที่ผุ้ว่าการมณฑลมาจากการเลอกของสภามณฑล ส่วนสมาชิกสภามณฑลนั้นในปัจจุบันก็มาจากการเลือกตังของประชาชนเช่นกัน
           ปัจจุบันการกระจายอำนาจในระดับมณฑ,ยังมีไม่มากนัก อำนาจที่มฯฑลได้รับมาจากสวนนกลางยังคงมีน้อยกว่าอำนาจที่เขตปกครองในระดับรองลงไปได้รับมา ในระยะแรกของการกระจายอำนาจในช่วงปี ค.ศ. 1999 เองก็มีการตั้งคำถ่มว่าการจัดให้มีการกระจายอำนาจทั้งในระดับมณฑ,และในระดับนรองลงมาจะทำให้เกิดความซ้ำซ้อนเกินความจำเป็นหรืไม่ อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการประกาศใช้กฎหมาย มณฑลได้ถูกเปลี่ยนแปลงให้มีฐานะเปรีียบเสมอืนเป้นเครื่องมือหนึ่งที่รัฐบาลส่วนกลางใช้เพื่อกำหนดทิศทางการปกครองในระดับท้องถ่ินตั้งแต่ระดับจังหวัดและนครลงไป กล่าวคื อถึงแม้ผุ้ว่าการมณฑลจะมาจากการเลือกตังของประชาชน แต่กฎหมายก็ระบุว่าผุ้ว่าการมณฑลจะมาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่กฎหมายก็ระบุว่าผุ้ว่าการมณฑลมีสภานะเป้ฯตัวแทนอย่งเป็นทากงรของรัฐบาลส่วนกลาง รับผิดชอบโดยตรงต่อปรธานาธิบดี นอกจากนี้ กฎหมายฉบับดังกล่วยังระบุไว้ด้วยว่า ผุ้ว่าการมณฑ,มีหน้าที "กำหนดทิศทางและดูแลการจัดการปกรองในจังหวัดและนคร" และประสานงานการนำนโบายของรัฐบาลมาปฏิบัติในมณฑล จังหวั และนคร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความคลุมมเครือว่ามณฑลมีสถานะเช่นใดกันแน่ในระบบบริหารราชการแผ่นดินของประทเศ ระหว่างเป็นองค์กรปกคอรงส่วน้องถ่ินที่ตอบสอนงความต้องการของประชาชนและถูกควบคุมได้โดยประชาชนในท้องถที่ตามหลัการกระจายอำนาจ หรือว่าเ้ฯเพียงแขนขาของรัฐบาลส่วนกลางที่ทำหน้าที่นำนโยบายจากส่วนกลางมาปฏิบัติเขตท้องถที่ของตน อันเป็นปกครองตาหลักแบ่งอำนาจตำแหน่งผุ้ว่าการมณฑลเองก็ยากที่จะสรุปได้่าเป็นผุ้นำท้องถ่ินหรือว่าเป็นตัวแทนของรัฐบาลส่วนกลาง
             สำหรับมณฑลท้ง 5 แห่งที่มีสภานะพิเศษต่างจากมณฑ,อื่นๆ มีดังนี้
             - อาเจะห์ ตั้งอยู่ตอนเหนือสุดของเกาะสุมาตรทางตะวันตกเฉียงเนหืของอินโดนีเซีย เป็นเขตการปกครองพิเศษ มีอิสระในการปกครองตนเองในลักาณะที่ต่างจากมณฑลอื่น ซึ่งสถานะพิเศษนี้ถูกรับรองไว้ในกฎหมาย กล่าวคือ มณฑลแห่งนี้ใช้ระบบกฎมหายของตนเอง นั่นคือระบบกฎหมายแบบชะรีอเฮ์ อันเป็ฯระบบกฎหมายที่อิงกับหลักศาสนาอิสลาม ซึ่งเหตุผลทีรัฐบาลอินโดนีเซียยอมให้อาเจะห์เป็นเขตปกครองที่พิเศษกว่าที่อื่นได้ เชนีั มีที่มาจากปัญหาความไม่สงบภายในดินแดนทาเจะหที่เคยเป็นปัญหายืดเยื้อระหว่งรัฐบาลอินโดนีเซียกับขบวนการอาเจะห์เสรี อันเป็นชบวนการติดอาวุธที่มีป้าเหมายตองการแยกดินแดจอาเเจะห์ออกเป็นอิสระ เมื่อรัฐบาลอินโดนีเซยเล็งเห็นถึงความต้องการของชาวอาเจะห์ที่จะรักษาอัตลักษณ์ทางเชื่อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมของตน ประกอบกับต้องการจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยหลักสันติวิธี จึงยินยอมให้อาเจะห์มีสถานะพิเศษ มีสิทธิบริหารจัดการกิจการทางศาสนา ประเพณี และการศึกษาของตน อย่งไรก็ตาม ยังมีการถกเถียงกันอยู่ว่า แม้จริงแล้วชาวอาเจะห์โดยทั่วไปนั้นต้องการกฎหมายชละรีอะฮ์จริงหรือไม่ หรือ ว่าคนที่ต้องการมีเพียงกลุ่มผุ้เคร่งศานาซึ่งมีจำนวนไม่มากนัก นอกจากนี้ อำนาจพิเศษอีกประการหนึ่งของมณฑ,อาเจะห์ก็คือชาวอาเจะห์ได้รับอนุญาตให้ตั้งพรรคการเมืองในระดับท้องถ่ินขึ้นเองได้ต่างจากในพื้นที่อ่นซึ่งพรรคการเมืองในท้องถิ่นจะต้องเป็นสาขาของพรรคการเมืองระดับประเทศเท่านั้น ในปี 2006 เป็นครังแรกที่ชาวมณฑลอาเจะห์ได้เลือกตัง้งผุวาการมพณลของตนโดยตรง การเลือกตั้งรั้งนี้เป็นตรั้งแรกในอินโดนีเซียที่อนุญาตให้ผุ้สมัครรับเลือกต้งในระดับท้องถ่ินสามารถลงสมัครได้โดยไม่ต้องสังกัดพรรคการเมือง ซึ่งเป็นข้อยกเว้นพิเศษของมณฑลอาเจะห์อันเป็นผลจากากรที่รัฐบาลอินโดนีเซียได้ลงนามร่วมกับกลุ่ม GAM ในข้อตกลงเฮลซิงกิ ผลของการเลือกตั้งปรากฎว่า นายเออร์วานดี ยูซุฟ อดีตนักเคล่อนไหวในกลุ่ม GAM ได้รับชัยชนะ
              เขตปกครองพิเศษยอกยาการ์ตา เป็นดินแดนที่มีสุลต่านเป็นประมุขปกครองมายาวนานตังแต่ก่อนจะตกเป็นอาณานิคมของตะวันตก และยังคงอยุ่ภ-ายใต้การปคกรองของสุลต่านแม้กระทั่งในปัจจุบัน โดยตำแหน่งสุลต่านของยอกยากร์ตานั้นถือว่าเทียบเท่ากับผุ้ว่าการมณฑลในมฑณฑลอื่นๆ หากแต่ตำแหน่งสุลต่านสืบทอดทางสายเลือด ไม่ได้เป็นตำแหน่งที่ได้มาจากการเลือกตั้งเหมือนกันตำแหน่งผุ้ว่าการมณฑลอื่น ๆ จึงทำให้เป็นประเด็โต้เถียงกันอยู่ว่าเหตุใดยอกยากร์ตาจึงสมควรได้รับสถานะพิเศษดังกล่าว และลักาณะการปกครองเช่นนี้ของยอกยาการ์ตานั้นเหม่ะสมหรือไม่กับอนินโดนีเซียยุคโม่ที่เป้ฯสังคมประชาธิปไตย
              ปาปัว เป็นมณฑลที่อยู่ทางตะวันออกสุอของประเทศ มณฑลแห่่งนั้เป็นอีกมณฑลหนึ่งที่มีประวัติการเคลื่อนไหวเพื่อแยกตัวออกจากอินโดนีเซีย ดังนันรัฐบาอินโดนีเซียจึงได้ให้สถานะพิเศษแก่ปาปัว คือได้รับอำนาจในการปกครองตอนเงอที่สูงหว่า มณฑลปกติทั่วไปเพื่อจูใจให้ขาวปาปัวยอมอยู่ภายใต้การปกครองของอินโดนีิเวียต่อไป ในด้านการคลังณฑลปาปัวได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลส่งวนกลางในอัตราส่วนสุงกว่ามณฑ,ปกติ และไนด้านการปกครองรัฐบาลส่วนกลางก็ได้อนุมัติใ้มีการจัดตั้งสภาท้องถ่ินรูปแบบพเศษขึ้นมาทำงานควบคู่กับสภาท้องถิ่นปกติโดยสภารูปแบบพิเศษของมณฑลปาปัวนี้ มิชื่อเรียกว่า Majelis Rakyat Papua หรือ MRP ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆ ในเขตพื้นที่ปาปัวทำหน้าทพิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์ อัตลักษณ์ และวัฒนธรรมของชาวพื้นเมือง นอกจากนี้กฎหมายยังระบุว่า ผุ้ว่าการมณฑลและรองผุ้ว่าการมณฑลของปาปัวจะต้องมีเชื่อสายปาปัว และการเข้าสู่ตำแหน่งจะต้องได้รับความยินยอมจากสภา อีกด้วย ซึ่งการกำหนดคุณสมบัติไว้เช่นนี้ทำให้มีการวิจารณ์กันว่า เพราะเหตุใดคนต่างถ่ินซึ่งมีจำนวนมากถึงร้อยละ 40 ของประชกรในมณฑลจึงไมได้รับสิทธิ์ในการลงสมัครเป็นผู้ว่าการมณฑลของปาปัวจะต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ซึ่งต่างจากมณฑลอื่นๆ ที่กำหนดวุฒิการศึกษาเพีียงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
              ปาปัวตะวันตก เป็นมณฑลที่มีประชกรน้อยที่สุดของประเทศ ตั้งอยุ่บนเกาะนิวกินี เช่นเดียวกับมณฑลปาปัวและมีสถาะพิเศษเช่นเดี่ยวกับมณฑลปาปัว โดยรับาลส่วนหลางของอินโดนีเซ๊ยได้ส่งเงินอุดหนุนให้แก่ทั้งมณฑ,ปาปัวและมณฑลปาปัวตะวันตกมาแล้วรวมกันไม่น้อยกว่า 3,120 ล้านเหรียญสหรัญ ในรอบ 12 ปีที่ผ่านมา
              หรุงจากการ์ตา นครหลวงขงประเทศ มีสถานะเป็นเขตปกครองพิเศษทีเที่ยบเท่ามณฑล มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า เขตนครหลวงพิเศษจาการ์ตา โดยกฎหมายฉบับแรกที่ระบุถึงลักษณะการปกครองของกรุงจาการ์ตาในยุคปฏิรูปแระเศคือกฎหมายฉบับที่ 34 /1999 และมีการแก้หขอีครั้งในกฎหมายฉบับ 29/2007 กรุงจาการ์ตามีผุ้นำือผุ้ว่าการซึ่งมาจาการเลือตกั้งดยปรชาชน ภายในเขตนครหลวงนี้ยังมีการแบ่งเป็นนคร ย่อย ๆ อีก 5 แห่ง แต่ละแห่งมีผุ้นำคือนายกเทศมนตรีของตนเอง โดยตำแหน่งนายกเทศมนตรีของนครที้ง 5 แห่ง ในจาการ์ตา นั้นไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หากแต่มาจาการแต่งตั้งโดยผุ้ว่าการกรุงจาการ์ตา ในแต่ละนครก็มีสภาของตนเอง แต่ไม่มีบทบาทอะไรมากนัก เป็นเพียงสภที่ให้คำปรึกษาแก่ฝ่ายบริหารเท่านั้น ซึ่งการที่ตำแหน่งนายกเทศมนตรีในกรุงจาการ์ตามาจาการแต่งตั้งเช่นนี้ก็อาจเกิดคำถามว่าสมควรหรือไม่ที่เมืองหลวงของปรเทศจะนไเอาระบบการเมืองการปกครองที่ไม่เป้นปรชาธิปไตยเท่าไรนักมาใช้เช่นนี้ ดดยในประเด็นนี้ก็มีการอธิบายไว้ว่าเมืองหลวงอย่างจาการ์ตาสมควรจะมีแนวนโยบายการบริหารที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้เงใรระดับผุ้นำและระดับรองลงมา การที่ให้ผุ้ว่าการกรุงจาการ์ตาเป็นผู้แต่งตั้งนายกเทศมนตรีแทนที่จะให้ประชาชนเป้นคนเลือกก็เป็นไปเพื่อรักษาความเป็นหนึ่งเดี่ยวกันทางนดยบายแลการบริหาร แต่หากอนุญาตให้สมีการเลือกตังตำปหน่งนายกเทศมนตรีภายในกรุงจาการ์ตา ก็มีโอกาสที่จะได้บุคคลที่มีควาเห็นขัดแย้งหรืออยู่ฝ่ายตรงข้ามกับผุ้ว่าการนครหลวง ทำให้การบริหารกิจการต่างๆ ไม่เป็นไปในทิศทางเดี่ยวกัน
             จังหวัด การปกครองท้องถ่ินในลำดับรองลงมาของอินโดนีเซีย คือ การปกครองระดับจังหวัด โดยในปัจจุบันอินโดนีเซียแบ่งออกเป็น 405 จังหวัดทั่วประเทศ แต่ละจัวหวัดมีผุ้นำคือ ผุ้ว่าราชการจัวหวัด ซึ่งมาจาการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างมณฑลกับจังหวัดและนครนั้นมีข้อถกเถียงกันอยุ่ว่าีความเป็นลำดับชั้นระหว่างกันหรือไม่ กล่าวคือ ในทางทฤษฎีแล้วผุ้ว่าราชการจัวหวัดและนายกเทศมนตรีนั้นอบยู่ภายใต้การบังคัยบัญชาของผุ้ว่าการมณฑล แต่เนื่องจากการกระจายอำนาจของอินโดนเีเซียกำหนดให้ผุ้นำของจังหวัดและนครมาจาการเลือกตั้งของประชาชน ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่า ผุ้ว่ราชการจัวหวัดและนายกเทศมนตรีไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจของผุ้ว่าการมณฑ?ลอย่งแท้จริงแต่อยู่ใต้อิทธิพลของประชาชนผุ้เลือกตั้งแลบรรดาผุ้ให้เงินสนับสนุนในการลงเลือกตั้งมากว่า
              นคร Kota  
               นคร มีลำดับชั้นเที่ยบเท่ากับจังหวัด หล่าวคือเป็นหน่วยการปกครองในระดับต่ำลงมาจามณฑลเหมือนกัน แต่มีความต่างคือ นครจะมีเนื้อที่เล้กกว่าจังหวัด และนครมักเป็นเขตอุตสาหกรรมและเศษฐกิจภาคบริการ ในขณะที่จังหวัดมักเป็นเขตที่มีการทำการเกษตรมากกว่า ผุ้นำของนคร คือ นายกเทศมนตร่ ซึ่งมาจาการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี
               อำเภอ เป็หน่วยการปกครองในระดับรองลงมาจากจังหวัดและนครทำงาอยู่ภายใต้ผุ้ว่าราชการจังวหวัดหรือนายกเทศมนตรี ผุ้นำของอำเภอ คือ นายอำเภอ มาจากการแต่งตั้งโดยผุ้ว่าราชการจัหวัดหรือนายกเทศมนตรีไม่ได้มาจากการเลือตั้งโดยประชาชนดังนั้นสถานะของอำเภอจึงเปรียบได้กับเป็นหน่ยงานย่อยๆ ของ จังหวัดและนครต่างๆ เท่านั้น
                ตำบล Kelurahan อินโดนีเซียมีหน่วยการปกครองในระดับล่าวสุดอยู่ 2 ปรเภ คือ ตำบลและหมู่บ้าน โดยตำบลบเป็นหน่วยการปกครองที่ตังอยุ่ในพื้นที่ชุมชนเมือง ผุ้นำของตำบล คือ กำนัน มาจาการแต่งตั้งของผุ้ว่าตาชการจังหวัดหรือนายกเทศมนตรี
               หมู่บ้าน หมู่บ้านคือหน่ยการปครองระดับล่างสุด โดยมีฐานะเท่าเที่ยมกับตำบล แต่หมุ่บ้านตั้งอยู่ในพื้นที่ชนบทเท่านั้น โดยในยุคระเบียบใหม่ของซูฮาร์โต หมุ่บ้านตั้งอยุ่ในพื้ที่ชนบทเท่านั้น ดดยในยุคระเบียบใหม่ของซูฮาร์โต หมู่บ้านตั้งอยุ่ในพื้นที่ชนบทเท่านั้น โดยในยุคระเบียบใหม่ของซูฮาร์โต หมู่บ้านเป็นหน่วยการปกครองที่รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญอย่างมาก โดยรัฐบาลตระหนักว่าหมุ่บ้านเป็นหน่วยการปกครองที่อยุ่ใกล้ชิดกับชัวิตประชชนและมอิทธิพลต่อประชาชนไได้มากในหลายด้าน รัฐบาลในสมัยนั้นจึงต้องการเข้ามาจัดระเบยบการปกครองในระดับหมู่บ้าน โดยใช้วิธีการต่างๆ จูงใจและบังคับวห้ผุ้นำหมุ่บ้าสสวามิภักดิ์กับส่วนกลางและรับเอานโยบายที่ส่วนกลางกำหนดไปปฏิบัติในขณะเดี่ยวกัน อุดมการณ์หรือการกระทำใดๆ ที่ต่อต้านหรือผิดแผกไปจากแนวคิดของรัฐบาลก็จะถูกปิดกั้น หมู่บ้านในยุสมัยของซูฮาร์โตจึงเป็นหมู่บ้านที่ปราศจากความหลากหลาย ปราศจากชีวิตชีวา เป้นเพียงหน่ยงนที่ทำตามคำสั่งของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนถึงลักษณะการปกคีองประเทศในยุคระเบียบใหม่ที่ความเป็นไปทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมล้วนถูกกำหนดมาจากส่วนกลาง
               อย่างไรก็ตาม กฎหมายฉบับยที่ 22/1999 ได้นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่หมู่บ้านเป็นอย่างมาก กล่าวคือมีการระบุไว้อย่างเป็นทางกาสรว่าการจัดการปกครองในหมุ่บ้านจะยึดหลักความหลากหลาย, การมีส่วนร่วม,การปกครองตนเอง, การส่งเสริมประชาธิปไตย และการให้อำนาจแก่ประชาชน ตัวอย่างของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น ผุ้นำหมู่บย้านมาจาการเลือตั้งของประชาน ดยมีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี ส่วนสมาชิกสภาปมู่บ้านมีที่มาจาการคัดสรรโดยปรชาชนในหมุ่บ้านซึงไม่ได้ใช้กระบวนการเลือกตั้งแบบทั่วไป แต่ใช้กระบวนการพูดคุยโดต้เถียงภายในชุมชน สมาชิกสภาปมูบ้านมีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี เช่นเดี่ยวกัน
            การเงินและการคลังท้องถิ่น ก่อนที่จะมีการกระจายอำนาจในยุคปฏิรูป ท้องถิ่นต่างๆ ของอินโดนีเซียแทบไม่มีอำนาจในการบริหารจัดการการเงินการคลังของตนเงินภาษีที่เก็บได้ในแต่ละท้องถ่ินถูกส่งเข้าส่วนกลาง และส่วนกลางเป็นผุ้พิจารณาจัดสรรเงินเพื่อหลับมาอุดหนุนการดำเนินงานของท้องถิ่นโดยงบอุดหนุนแก่ท้องถ่ินดังกลาวมีอยุ่ 2 รูปแบบด้วยกัน คือ 
            1 เงินถ่ายโอนเพื่อการพัฒนาทั่วไป คือเงินที่ส่วนกลางทกำหนดให้ท้องถิ่นใช้จ่ายเพื่อขัเคลื่อน
โครงการพัฒนาต่างๆ ซึ่งมีมากมายหลายประเภทตั้งแต่โครงการด้านส่ิงแวดล้อม ไปจนถึงการก่อสร้างตลาดซื้อขายสินค้า
            2 เงินอุดหนุนเพื่อการปกครองตนเองของท้องถิ่น เงินส่วนนี้มักใช้สำหรับจ่ายเงินเดือนแก่พนักงานราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปฏิรูปประเทศ ก็มีการเปลี่นแปลงเกี่ยวกับการเงินการคลังของท้องถิ่นเกิดขึ้น โดยกฎหมายฉบับนี้ระบุว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินจะมีแหล่งรายได้ทั้งสิ้น 2 ข่องทาง คือ 
             เงินรายได้จากภายในท้องถิ่น เช่น ภาษีท้องถ่ิน ภาษียานพาหนะใน้องถ่ินผลกำไรจากกิจการของท้องถิ่น เงินส่วนนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินเป็นผุ้เก็บและนำมาใช้จ่ายได้เอง ไม่ต้องส่งเข้าส่วนกลาง
            เงินถ่ายโดนจากส่วนกลาง คือ เงินที่ส่วนกลางถ่ายโอนไปให้้ท้องถ่ินทั้งในระดับมณฑลและระับจังหวัดแลนคร โดยกฎหมายฉบับบนี้กำหนดว่าเงินรายได้ของรัฐอย่างน้อยร้อยละ 25 จะต้องถูกจัดสรรให้แก่ท้องถ่ิน เงินที่ส่วนกลางถ่ายโอนให้ท้องถ่ินแล่งได้อีเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ เงินก้อนอุดหนุน แบ่งไดเ้ปฯอีก 2 ปผระเภท คือเงิน ถ่ายโดอนเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไปมักใช้เพื่อจ่ายเงินเดือนแก่พนักงานขอรัฐในระดับท้องถ่ินและอีกประเภทหนึ่งคือเงินถ่ายโอนเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ เงินก้อนนี้รัฐบาบสวนกลางจะเป็นผุ้กำหนดว่าให้ท้องถ่ินนำไปใช้เพื่อดำเนินการในเรื่องใด ซึ่งสิ่งที่ส่วนกลางกำหนดก็มกจะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในช่วงเวลานั้นๆ, เงนิปันสวนจากรายได้ของรัฐบาล คือเงินส่วนที่รัฐบาลส่วนกลางถ่ายโอนให้ท้องถ่ิน โดยไม่กำหนดว่าจะต้องนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใดโดยเฉพาะ ซึ่งการที่ส่วนกลางมอบงบประมทาณให้ท้องถ่ินนำไปบริหารและกำหนดเป้าหมายในการใบ้ไดเองเช่นี้นับว่าสอดคล้องกับหลักการกระจายอำนาจ นั้นคือทำใหองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินเข้มแข็งขึ้น มีอำนาจกำหนดความเป็นไปในพื้นที่ของตนมากขึ้น ขณะเดี่ยวกันก็ลดการแทรกแซงกิจการในท้องถ่ินจากส่วนกลางลง
             นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ในกรณีของมณฑลที่มีสาถนะพิเศษ 3 แห่ง ได้แก่ อาเจะห์ ปาปัว และปาปัวตะวันตก รัฐบาลส่วนกลางก็จะจัดสรรเงินด้อนพิเศษให้แก่มณฑลเหล่านี้เพิ่มเติมอีกดัวย
             การบริหารงานบุคคลท้องถ่ิน ในยุคของซูฮาร์โต รัฐบาลส่วนกลางมีบทบาทครอบงำการบริหารทรัพยากรบุคคลของหน่วยงานรัฐทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นโดยมีองค์กรอยู่ 3 องค์กรด้วยกันที่ถูกกำหนดให้รับผิดชอบงานด้านนี้อย่างเป็นทางการ  ได้แก่ กระทรวงการปฏิรูปการบริหาร สำนักงานข้าราชการแห่งรัฐ สถาบันรัฐประศาสนศาตร์แห่งชาติ 
            อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากท้งสามองค์กรที่กล่าวมา ก็ยังมีหน่วยงานอื่นๆ ในส่วนกลางที่มีส่วนร่วมในการบริาหรทรัีพยากรบุคคล เช่น กระทรวงการคัีงและกระทรวงมหาดไทยต่างก็มีส่วนใการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับอัตรเวินเดือนและขอบเขตพื้นที่ภารกิจของเจ้าพนักงาน เป็นต้น จึงกล่าวได้่าถึงแม้การกำหนดนโยบายทางงานบุคคลจะมีขึ้นที่ส่วนกลางก็จริง แต่กลับมีหน่ยงานรับผิดชอบหลายหน่วยจนทำให้ประสิทธิภาพของการบริหารงานบุคคลมีใไม่มากเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป้นในด้านการวางแผน การทำงบลประมาณ และด้านอื่นๆ 
           เมื่อยุคระเบียบใหม่ของซูฮาร์โตส้ินสุดลง กระแสการกระจายอำนาจที่เกิดขึ้นตามมาก็ดูะมือจะส่งผลถึงเรื่องกาบริหารทรัพยากบุคคลในระดับท้องถ่ินด้วย แต่ในความเป็นเจริงแล้วความเปลี่ยนแปลที่เกิดขึ้นกลับมีไม่มากนัก บทบาทและอำนาจาส่วนกลางในการบริหารงานบุคคลของวท้องถ่ินยังคงมีอยู่สูง กล่าวคือ กฎหมายฉบับที่ 22/1999 ซึ่งมีเนื้อหาว่าด้วยการกำหนดขอบข่ายอำนาจขององค์กรปกครองสวนท้องถ่ิน มีการเขียนไว้ในมาตรที่ 76 ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินมีอำนาจแต่างตั้งโยย้าย กำหนดอัตราเงินเดือน เงินบำนาญ สวัสดิการ รวมถึงการฝึดอบรมต่างๆ ของเจ้าพนักงาน แต่มาตรา 75 ของฏำมหายฉบับเดี่ยวกันกลับระบุไว้ว่า กระบวนการทั้งหมดที่กล่วมาจะต้องดำเนินไปตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งทำให้เกิดความสับสนขึ้ว่าสรุปแล้วท้องถ่ินมีอิสระจากส่วนกลางมากน้อยเพียงใดการบริหารส่วนกลางที่มีหน้าที่ดุแลงานบุคคล 


                                         -  "ระบบการปกครองท้องถิ่นประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน :  สาธารณรัฐอินโดนีเซีย", ภานุวัฒน์ พันธุ์ประเสริฐ, วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า, 2556.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...