Local government in Loas

          การแบ่งเขตการปกครองภายในประเทศของ สปป.ลาว แบ่งออกเป็น 16 แขวงและนครหลวง 1 แห่ง การปกครองท้องถิ่นในปัจจุบันตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พ.ศ. 1991 (ฉบับแก้ไขปรับปรุง ค.ศ. 2003) มาตรา 75 กำหนดให้แบ่งการปกครองท้องถ่ินออกเป็ฯ 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นแขวง ขั้นเมือง และขั้นบ้าน โดยขั้นแขวงมีหนวยการปกครอง คือ แขวงและนครหลวง ขั้นเมืองมีหน่วยการปกครอง คือ เมืองและเทศบาล ส่วนขั้นบ้านมีหนวยการปกครอง คือ บ้าน ส่วนตำแหน่งผุ้ปกครองกำหนดให้แขวงมีเจ้าแขวงเป็นผู้ปกครอง นครหลวงโดยเจ้าครองนครหลวง ส่วนการปกครองระดับเมืองให้ปกครองโดยเจ้าเมือง สวนเทศบาลให้อยู่ภายใต้การปกครองของหัวหร้าเทศบาลและสุดท้าย คือการปกครองในระดับบ้านให้มีนายบ้านเป็ฯผู้ปกครอง ในกรณีที่จำเป็นอาจจะตังเขตพิเศษขึ้นตามความเห็ฯชอบของสภาแห่งชาติ โดยให้เขตพิเศษนั้นมีฐานะเที่ยบเท่ากับแขวง
        การปกครองท้องถิ่นในสมัยอาณานิคมฝรั่งเศสระหว่าง ค.ศ. 1893-1945 ภายใต้การปกครองแบบเมืองขึ้นโดยมีพระเจ้าแผ่นดินปกครองในฐานะประมุขแต่เพียงในนามเท่านั้น ซึ่งการจัดโครงสร้างการกคอรงในช่วงเวลานี้ได้แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนกลางมีการจัดตั้เง กระทรวง ทบง
 กรม และอีกส่วนหนึ่ง คือ ส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย
           แขวง มี เรสิดังต์ เป็นผู้ปกครอง
           เมือง มี เดเลเกย์ เป็นผู้ปกครอง
           กอง มี นายกอง เป็นผู้ปกครอง
           ตาแสง มีตาแสง เป็นผุ้ปกครอง
           บ้าน มี นายบ้านเป็นผู้ปกครอง
            " แขวง" เป็นหน่วยการปกครองที่หใญ่ที่สุดในระดับท้องถิ่น ขึ้นตรงหรือยู่ภายใต้การบังคับบัญชาต่อข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศส หรือผุ้สำร็จรชการประจำลาว โดยแขวงประกอบด้วยหลาย "เมือง" เมืองแบ่งเปนหลาย "ตาแสง" มีความหมายได้ทั้งหน่วยการปกครองระดับตำบลและหัวหน้าผุ้ปกครอง ซึ่งได้รับการเลือกตั้งมาจากนายบ้านที่อยู่ในพื้นที่ตาแสงนั้นๆ โดยเจ้าเมืองให้การรับรองทั้งตาแสงและนายบ้านมีหน้าที่ในการสำรวจประชกร รายงานเกี่ยวกับการเกิดการตาย ดุแลประชาชนตามคำสั่งของเจ้าเมืองและเจ้าแขวงส่วนท้องถิ่นมีเทศบาล ทั้งนี้ฝรั่งเศสได้จักตังเทศบาลขึ้นในทุกท้องที่ทุกแขยวงเพื่อดำเนินกาบริาหรงานส่วนท้องถ่ิน โดยมอบให้ข้าหลวงประจำจังหวัดดำรงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรี นอกจานี้ยังมี "กอง" ที่จัดตั้งขึ้นในเขตที่ไม่สามารถจัดเป้ฯเมืองได้ โดยมีนายกองเป้นผุ้ปกครองซึ่งอาจขึ้ต่อเจ้าเมืองหรือเจ้าแขวงแล้วแต่กรณีไป
            ในด้านอำนาจหน้าที่นั้น ตาแสงและนายบ้านมีหน้าที่สืบสวนหาคนร้าย และเป็นผุ้พิพากษาในคดีบางประเภท สามารถที่จะปรับผู้ที่กระทำการละเมิดจารีตประเพณีหรือความสงบของหมู่บ้าน หากตาแสงและนายบ้านทำงานได้ดดี เจ้าแขวงอาจให้ยศเป็ฯหมื่อนแสน เพย และพยา ส่วนเจ้ามืองนั้นถือได้ว่ามีอำนาจเบ็ดเสร็จและประชาชต้องเช่อฟังอย่างเคร่งครัด มีการใช้อำนาจและกระบวนการปกครองด้วยระบบศาล หัวหน้าตำรวจ ระบบโรงเรียนโดยผ่านหัวหน้าโรงเรียนประถมสมบูรณ์ตอนต้น การสาธารณสุขโดยใช้การออกคำสั่งเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล ใช้อำนาจปกครองประชาชผ่านตาแสงและนายบ้าน
            กล่าวได้ว่า การจักการปกครองที่เกิดขึ้นมุ่งเน้นการสร้างระบบควบคุมลาวให้อยู่ในความสงบเป็นหลัก โดยใช้ระบบควบคุมเป็นขั้นตอนกล่าวคือ ระดับเมืองให้เจ้าเมืองนั้นมีอำนาจมากและเก็บผลประโยชน์หรือบรรณาการส่งใหรัฐผุ้ปกรองมากกว่าการสร้างความเป้ฯปึกแผ่นของคนในชาติ สามารถเรียกเก็บภาษีสาธารณูปโภคจากประชาชนได้โดยให้แขวงเป้ฯหน่วยจัดเก็บหรือแผงในรูปค่าธรรมเียมต่าง ต่อมาเมืองญี่ปุ่นได้ครอบครองลาวต่อจากฝรั่งเศสในเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 ยังคงรักษาโครงสร้างการปกครองของฝรั่งเศสไว้เช่นเดิม แต่ให้ผุ้ปกครองชาวญี่ปุ่นเข้าไปทำหน้าที่แทนผุ้ปกครองชาวฝรั่งเศสและจัดให้มีสภาที่ปรึกษาสูงสุดคู่กับพระเจ้าแผ่นดิน และให้มีที่ปรึกษาสูงสุดของญี่ปุ่นแทนที่ข้าาหลวงใหญ่ของฝรั่งเศส ตลอดจนย้ายที่ทำการจากเวียงจันทน์ไปตั้งอยู่ที่ท่าแขกในแขวงคำม่วน ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ติดชายแดนไทยและเวียดนาม
            ต่อมาเมื่อญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม ฝรั่งเศสได้กลับเข้ามายึดอำนาจในการปกครองลาวอีกครั้งหนึ่ง ภายใต้บริบทางการเมืองที่ประชาชนมีความตื่นตัวทางการเมืองและมีกระแสชาตินิยมมากขึ้น ฝรั่งเศสจึงได้จัดรูปแบบการปกครองใหม่ ถึงแม้จะไม่เป็นประชาธิปไตย แต่ได้นำรูปแบบโครงสร้างการปกคอรงแบบโลกเสรีตะวันตกมาใช้โดยจัดให้มีสภาแห่งชาติ รัฐธรรมนูญและรัฐบาล ซึ่งอำนาจทั้งหมดยังคงเป็นของข้าหลวงฝรั่งเศส รวมทั้งได้มีการแบ่งแยกข้าราชการออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ข้าราชการระดับสหพันธ์ ทำงานให้แก่องค์กรยุติธรรม การคลัง การเงิน ภาษี โยธาธิการ ไปรษณีย์ การศึกษาระดับกลางและระดับสูงตลอดจนองค์การรักษาความปลอดภัยของสหพันธ์ ในขณะที่อีกระดับหนึ่ง คือ ข้าราชการระดับท้องถิ่น ประกอบด้วย กองทหารรักษาพระองค์ กองทัพแห่งชาติ การศึกษาแห่งชาติ ข้าราชการกระทรวงทบวง กรมของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรลาว แต่ยังคงโครงสร้างการปกครองท้อถงถิ่นเอาไว้ ได้แก่ แขวง เมือง กอง ตาแสงและบ้าน
            เมื่อพรรคประชาชนปฏิวัติลาวยึดอำนาจจากรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรลาวแล้ว หัวใจสำคัญประการหนึ่ง คือ เปลี่ยนแปลงการจัดระเบียบบริหาราชการ โดยในช่วงระยะเริ่มแรกของการปกครองจนถึงก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ค.ศ. 1991  นั้น มีแนวโน้มเป็ฯการกระจายอำนาจโดยองค์การปกครองส่วนท้องถ่ิน มีการแยกหน่วยงานออกเป็นอิสระจากองค์การของราชการบริหารส่วนกลาง มีวบประมาณและบุคลากรเป็ฯของตนเอง เจ้าหน้าที่ทังหมดของหน่วยการปกครองท้องถ่ินเหล่านั้นได้รับเลอกตั้งจากประชาชน รวมทั้งมีอิสระในการปฏิบัติตาอำนาจหน้าที่ของตนเป็นไปตามระเบียบการเกี่ยวกับการจัดตั้งสภาประชาชนและคณะกรรมการปกครองท้องถิ่นขึ้นต่างๆซึ่งได้รับการรับรองโดยที่ประชุมสมัยวิสามัญของคณะรัฐมนตรีผสมการเมืองแห่งชาติ เมื่อปี ค.ศ. 1975 และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้ง สภาประชาชนและคณะกรรมการปกครองประชาชนขั้นต่างๆ โดยแบ่งโครงสร้างออกเป็น 4 ขั้น คือ
               แขวงหรือกำแงนคร มีเจ้าแขวงหรือเจ้าครองกำแพงนรเป็ฯผุ้ปกครอง
               เมือง มีเจ้าเมือง เป้ฯผุ้ปกครอง
               ตาแสง มี ตาแสง เป็นผุ้ปกครอง
               บ้าน มี นายบ้าน เป็นผุ้ปกครอง
         ในแต่ละขั้นมีสภาประชาชนและคณะกรรมการปกครองท้องถิ่นขั้นต่างๆ ได้แก่ สภาประชาชนระดับแขวงและกำแพงนครสภาประชาชนเมืองและเทศบาลแขวง สภาประชาชนตาแสงและเทศบาลเมอง ซึ่งสภาประชาชนขั้นต่างๆ ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนท้องถิ่นที่สภาประชาชนขั้นนั้นๆ ตั้งอยู่ เพื่อทำหน้าที่เป้นองค์การอำนาจรัฐอยู่ในท้องถิ่นเป็นตัวแทนให้แก่สิทธิประโยชน์และรับผิดชอบต่อประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ ตั้งอยู่ เพื่อทำหน้าที่เป็ฯองค์การอำนาจรัฐอยู่ในท้องถิ่นเป็นตัวแทนให้แก่สิทธิประโยชน์และรับผิดชอบต่อประชานในท้องถิ่นน้ชั้น สภาประชาชนขั้นต่างๆ จะเป็นผุ้เลือกตั้งคณะกรรมการปกครองประชาชนในขั้นของตนและผู้พิพากษาศาลขั้นของตนยกเว้นสภาประชาชนตาแสงที่ไม่มีศาลประชาชนเป็ฯของตนเองโดยอำนาจในการตัดสินคดีที่เกิดขึ้นในเขตตาแสงและทเศบาลนั้นเป็นอำนาจในการตัดิสินคดีที่เกิดขึ้นในเขตตาแสงและเทศบาลนั้นเป็ฯอำนาจของศาลประชาชนเมืองและศาลประชาชนแขวงหรือกำแพงนครซึงต่อมา ได้มีการยุลเลิกสภาประชาชตาแสงแต่ยังคงคณะกรรมการปกครองตแสงไว้
               ช่วงเวลานี้ถือได้ว่าสภาประชานเป็นกลไกที่มีความสำคัญและบ่งชี้ถึงการก้าวเข้าสู่การกระจายอำนาข ของสปป.ลาวในยุคนั้นและเป็ญยุคที่มีลักษณะของการสร้างประชาธิปไตยในระดับฐานรากได้อยางชัดเจนที่สุด ซึ่งในแต่ละขั้นต่างๆ มีอำนาจหน้าที่คล้ายกันนั่นคือ การับประกันการเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐ รักษาความสงบเรียบร้อยทรัพย์สินของรัฐและพลเมืองในท้องพถิ่นของตนรวมถึงการรับประกันสทิธิความเสมอภาคและส่งเสริมความสามัคคีระหว่างชนชาติในท้องถิ่นนั้นๆ ตลอดจนปลุกระดมให้พลเมืองในท้องถิ่นปฏิบัติพันธะหน้าที่ที่มีต่อรัฐให้เป็นไปด้วยดี นอกจากนั้นสภาประชาชนขึ้นต่างๆ ยังมีอำนาจออกมติเพื่อใช้ปฏิบติหรือใช้ในการแก้ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ วัฒฯธรรมและสังคมของพื้นที่นั้นโดยต้องไม่ขัดต่อกฎหมายของรัฐหรือมติขององค์การรัฐขึ้นสูงกว่า
              ในด้านการจัดโครงสร้างสภาประชาชนขึ้นต่างๆ ยังไม่มีการเลือกตั้งประธานเป็นการภาวร อำนาจหน้าที่ในการเรียกประชุมสภาประชาชนขึ้นอยู่กับคณะกรรมการปกครองประชาชน ซึ่งจะประชุมเลือกประธานหรือเลขานุการตามมติในแต่ละสมัยประชุม ทั้งนี้ไม่ได้มีการกำหนดคุณสมบัติและจำนวนสมาชิกสภาประชาชนไว้อต่อย่างใด มีเพียงการกำหนดคุณสมบัติของผุ้มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งและมีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งและมีสิทธิเลือกตั้งไว้ว่า ต้องเป็นผุ้ไม่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง ไม่ถูกจำคุก ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตและมีอายุครบ 18 ปี ในวันเลือกตั้ง และได้มีการกำหนดจำนวนสมาชิกสภาประชานในขั้นต่างๆ และวิธีการเลือกตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งผุ้แทนประชาชน ค.ศ. 1988 ที่ได้ให้อำนาจหน้าที่แก่คณะประจำสภาประชาชนสูงสุดร่วมกับคณะประจำสภารัฐมนตรีเป็ฯผุ้กำหนดจำนวนผุ้แทนประชาชนขั้นต่างๆ ทั่วประเทศแล้วจึงออกประกศโดยคำสั่งของประธานสภารัฐมนตรี
           
อย่างไรก็ตาม ได้มีการสร้างกลไกทางการเมืองที่ดำเนินงานควบคุ่ไปกับการปกครองระดับท้องถิ่น โดยรัฐบาลได้ส่งสมาชิกพรรคและทหารของฝ่ายขบวนการประเทศลาวหรือพรรคประชาชนปฏิวัติลาวให้มาตั้งถ่ินฐานอยู่ในทุกชุมชนในเขตปลดปล่อยใหม่ เพื่อทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการปกครองประชาชนในโครงสร้างการปกครองท้ถิงถ่ินระดับต่าๆ มีหน้าที่ในการสอดส่องูแลอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังได้จัดตังกองกำลังต่างๆ ลักษณะเช่นนี้เปรียบได้กับการจัดโครงสร้างแบบหน่วยย่อย (cell) ดังเช่นพรรคอมมิวนิสต์โดยทั่วไปที่มีเป้าหมายในการขยายอิทธิพลครอบคลุมพื้นที่การปกครองและสร้างความเป็นปคกแผ่นนั่นเอง
             หลังจากประกาศใช้รัฐะรรมนูยแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ค.ศ. 1991 เป็นผลให้การจัดโครงสร้างการปกครองมีลักษณ์ของการรวมศูนย์อำนาจที่เข้มข้นมากขึ้น เนื่องจากประสบการณ์ของการกระจายอำนาจในการปกครองที่ไม่ประสบความสำเร็จโดยเฉพาะสภาประชาชนขั้นต่างๆ ไม่มีบทบาทางการปกครองเท่าที่ควร โดยสวนใหย่จะเป็นบทบาทของคณะกรรมการการปกครองประชาชน หลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1991 ถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองจากการปกครองตามเขตแค้วนสู่การแบ่งขั้นคุ้มครอง และเปลียนจากการคุ้มครองด้วยมติคพสั่ง เป็นการคุ้มครองรัฐด้วยรัฐธรรมนูญ
            รัฐธรมนูญฉบับนี้ได้กำหนดให้โครงสร้างการปกครองระดับท้ถงิถ่ินทีเพียง แขวง กำแพงนคร เมืองและบ้าน โดยหนวยการปกครองและตำแหน่ง "ตาแสง" ถุกยกเลิกไปไม่มีการระบุถภึงสภาท้องถิ่นใด ๆ ทั้งสิ้น เหตุที่นำไปสู่การยกเลิกตาแสง เนื่องมาจากตาแสงเป็นหน่วยงานที่ไม่มีประสิทธิภาพและสร้างความยุ่งยากให้แก่การประสานงานระหว่งเมืองกับบ้าน ซึ่งทำให้การนำมติคำสั่งขององค์การขึ้นสูงมาปฏิบัติในหน่วยงการปกรองระดับบ้านเป้นไปอย่าล่าช้า เป้ฯผลให้ำคร้องของประชาชนที่เสนอขึ้นไปสู่การปกครองระดับเมืองจึงตกค้างอยู่ที่ตาแสงแต่ถึงแม้ว่าจะมีการยเลิกตาแสงแล้ว ในบางพื้นที่ก็ยังคงมีตาแสงอยู่
           ภาพรวมของพัฒนาการปกครองท้อถงิ่นของ สปป,ลาวในช่วงเวลานี้ ถือได้ว่าภายใต้ระบบการบริหารแบบรวมศูนย์ส่งผลให้การบริหารตัวเมืองและชนบทไม่มีความแตกต่างกันมากนักเนื่องจากรัฐบาลสนบสนุนงลประมาณให้ทั้งหมด แม้ว่าเมปืงใหญ่ จะเป็นศูนย์กลางทางกรเปกครอง เศราฐกิจและวัฒนธรรม แต่รูปแบบการบริหารไม่ได้แยกระหว่งการเป็นเขตเมืองและชนบท
             ในปี ค.ศ. 2003 เป็นปีที่มีความสำคัญต่อการปกครองท้องถิ่นของ สปป.ลาว ในเชิงของการปรับตัวที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้ถงอิ่น นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายในการแบ่งอำนาจและมอบหมายความรับผิดชอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินเป็นผุ้คุ้มครองดินแดน ทรัพยากรธรรมชาติและประชานเพื่อความเจริญมั่งมี ผาสุขโดยกลำกทางกฎหมายที่มีความสำคัญต่อการปรับตัวในยุคปัจจุบัน ได้แก่ การแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรับประชาธิปไตยประชาชนลาว ค.ศ. 1991 ในปี ค.ศ. 2003 ซึ่งกำหนดให้การปกครองท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นแขวง มีแขวงและนครหลวง ในการ๊จำเป็นอาจจัดตั้เงเป็นเขตการปกครองพิเศษได้ ในปัจจุบันมีเพียง 1 แห่ง คือ นครหลวงเวียงจันทน์ มีเจ้าแขวงและเจ้าครองนครหลวง เป็นผุ้ปกครอง ขั้นเมือง ประกอบด้วย เมืองและเทศบาล มีเจ้าเมืองและหัวหน้าเทศบาล เป้นผู้ปกครอง ประกอบกับการประกาศใช้กฎหมายการปกครองส่วนท้องถิ่น ค.ศ.2003 ได้นิยามความหมายขององค์กรปกรองส่วนท้องถิ่นว่า เป็นการจัดตั้งหน่วยกาบริหารรัฐในขั้นท้องถ่ินที่มีภาระบทบาทในการคุ้มครองด้านการบริหารทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมสังคม สิ่งแวดล้อม การวางแผนการพัฒนาตัวเมือง การบริการสาธารระ การรับประกันความสงบและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในท้องถ่ิน โดยมีความร่วมมือกับต่างประเทศตามการมอบหมายของรับบาล นอกจากนี้ยังมีหลักปฏิบัติตามมติกรมการเมืองศูนย์กลางพรรค ว่าด้วยการสืบต่อปรับปรุงโครงสร้างบริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น
            การประกาศใช้กฎหมายหรือแนวปฏิบัติดังกล่าวได้รับอทะฺพลสำคัญมาจากนโยบายจินตนาการใหม่ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษบกิจและสังคม ของสปป.ลาว ให้มีการขยายตัวอย่างมาก ส่งผลให้มีการปรับปรุงระบบการบริหารรัฐอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ พรรคประชาชนปฏิวัติลาวจึงได้นำแนวคิด "การสร้างกลุ่มบ้านและบ้านพัฒนา" มาเป็นแนวทางในกาพัฒนาสังคมและเศรษบกิจของประเทศ ในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาหลายๆ ด้าน เช่น การแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ การเพ่ิมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การพัฒนาทางกสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยน ตลอดจนการกรับปรุงโครงสร้างองค์กรของกระทรวงและการกรจายอำนาจสู่ท้องถิ่นตามที่รัฐาลมอบหมายภารกิจ เพื่อเป้นกลไกหลักในการขับเคลือนนโยบายของพรรคไปสู่การปฏิบัติ  มีแนวนโยบายเปลี่ยนให้แขวงเป็นหน่วยด้านยุทธศาสตร์ เปลี่ยนเมืองให้เป็นหน่วยด้านการวางแผนและงบประมาณเปลี่ยนหมู่บ้านให้เป็นหน่วยสนับสนุนการทำงาน รวมถึงการกระจายอำนาจให้แก่แขวง เพื่อยุติการวางแผนเศรษบกิจจากส่วนกลางที่ไม่มีประสทิธิภาพและขาดความคล่องตัว ซึ่งการกระจายอำนาจดังกล่าวส่งผลให้เจ้าแขวงมีอสิระในการบริหารและพัฒนาทางเศรษฐกิจภายใจแขวงของตนเองอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การกำหนดแผนพัฒนาทางเศรษบกิจ งบประมาณการก่อสร้าง การคาภายในแขวงและการติดต่อทางการค้ากับต่างประเทศ เป็นต้น
            การเปลี่ยนผ่านอำนาจทางเศรษฐกิจให้แก่ปขวงในยุคนี้เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในกาสถาปนาอำนาจและบทบาทนำในท้องถิ่นของเจ้าแขวง ทั้งนี้ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่า การกระจายอำนาจที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะการมอบอำนาจใหแก่เจ้าแขวงนั้น เป้ฯการกระจายอำนาจที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะการมอบอำนาจให้แก่เจ้าแขวงนั้น เป้นการกะจายอำนาจทางการบริหารและการจัดการทางเศรษฐกิจจากส่วนกลางไปยังส่วนท้องถิ่นระดับแขวงมากขึ้น ในขณะที่อำนาจของส่วนกลางภายในพื้นที่แขวงมีลดลง เม่อมีแนวโน้มเช่นนี้จึงได้มีความพยายามดึงอำนาจกลับมารวมศูนย์ที่ส่วนกลางเช่นเดิม
            ในปี 2003 ยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ การเกิดหน่วยการปกครองแบบรวมกลุ่ม ที่เรียกว่า "เขต zones"และ "คุ้มบ้าน group villages โดยการแบ่งเป็นเขตและคุ้มบ้านนี้ เป้นการจัดตั้งและแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในลักาณะของการรวมกลุ่มบ้าน ประมาณ 7-15 บ้านต่อ 1 เขต หรือคุ้มบ้าน เป็นหน่วยเชื่อมโยงระหว่างเมืองกับบ้าน แทนที่หน่วยการปกครอง ตาแสงที่เคยมีในอดีตถึงแม้จะมีผลดีในแง่ของการกระชับขั้นตอนการปกครองระว่างแขวง เมืองและย้านก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันก็ส่งผลเสียต่อการจัดการปกครองที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะในแขวงที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่และมีความสลับซับ้อน ทำให้เป็ฯอุถปสรรคต่อการบริหารและการจัดบริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งผลจากการควบุคมตรวจสอบของเจ้าหน้าที่รับไม่สามารถทำได้ทั่วถึงและนำไปสู่ข้อบกพร่องในการควบคุมและป้องกันการกระทำความผิดต่างๆ เช่น การลักลอบขนสินค้าหรือค้าขายหนีภาษีและการลักลอบตัดไม่ เป็นต้นและในบางพ้นที่จะประสบปัญหาเรื่องสถานที่ทำการของส่วนราชการอยู่ไกลจากพื้นที่หมู่บ้าน โครงการที่เกิดขึ้นนี้้เป็นโครงการที่เกิดขึ้นอย่างไม่เป็ฯทางการเนื่องจากไม่มีบัญญํติเป็นกฎหมาย แต่ไ้รับการอ้างถึงย่อยครั้งในเอกสารของทางราชการ ประกอบกับมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน ถือเป็นรากฐานสำคัญในการก้าวสุ่การกระจายอำนาจของ สปป.ลาวในอนาคต
            "กฎหมายเอื้อให้เกิดโอกาสในการก่อร่างสร้างองค์กรปกครองท้องถ่ินที่มาจากากรเลือกตั้ง(เทศบาล)อย่างค่อยเป็นค่อยไปและในการปรับโครงสร้างองค์กรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เปป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการของการเพ่ิมขีดความสามารถให้แก่องค์รและสำนักงานในพื้นที่
              การปกครองขั้นแขวงและนครหลวง
               แขวง เป็นหน่วยทางการปกครองเที่ยบได้กับจังหวัดของไทย ได้รับการจัดตั้งหรือถูกยุบเลิกและกำหนดเขตแดนตามความเ็นชอบของสภาแ่งชาติตามการเสนอของนายกรัฐมนตรี โดยทั่วไปการเลือพื้นที่่ใดเป็นที่ตั้งของที่ทำการแขวงจะพิจารณาในเชิงภูมิศาสตร์และความสะดวกในการเข้าถึงหรือให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการพร้อมต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสังคมเป้นสำคัญ ซึ่งในพื้นที่แต่ละเขวงของ สปป,ลาวนั้น มีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและศักยภาพในการเติบโตที่แตกต่างกันไปตามนโยบายเป็นพื้นที่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ต่างๆของรัฐและลักษณะของพื้นที่ ใดเป็ฯที่ตั้งของที่ทำการแขวงจะพิจารณาในเชิงภูมิศาสตร์และความสะดวกในการเข้าถึงหรือให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงความพร้อมต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสังคมเป้ฯสำคัญ ซึ่งในพื้นที่แต่ละแขวงของ สปป.ลาวนั้น มีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและศักยภาพในการเติบโตที่แตกต่างกันไปตามนโยบายและการเป็นพื้นที่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ต่างๆ ของรฐและลักษณะของพื้นที่
             ด้านกาจัดโครงสร้างการปกครอง แขวงและนครหลวงมีเจ้าแขวงและเจ้าครองนครหลวง เป็นผุ้มีอำนาจสุงสุดในกาบังคับบัญชารฐกรในแขวงนั้นๆ รวมถึงรัฐกรในสังกัดราชการบริาหรส่วนกลางที่ถูกส่งไปปฏิบัติหน้าที่ในแขวงหรือนครหลวงนั้นด้วยซึ่งไม่ได้เป็นเพียงผุ้ปกครององค์กรส่วนท้องถ่ินเท่านั้นแต่เจ้าแขวงแลเจ้าครองนครหลวงโดยส่วนใหญ่จะดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคระดับแขวงควบคู่ไปด้วยนอกเหนือจากตำแหน่งทางการเมืองในฐานะที่เป็นสมาชิกคณะกรรมการบริหารศูนย์กลางพรรค ซ่งการจะขึ้นสู่ตำแหน่งเจ้าแขวงได้นั้นจะต้องอยุ่ในตำแหน่งหรือมาจากสานการบริาหรงานของพรรคมาก่อน โดยเจ้าแขวงมีฐานเที่ยบเท่ารัฐมนตรีดังพิจารณาได้จาการโยกย้ายหรือสลบสับเปล่ยนตแหน่งระหว่างเจ้าแขวงกับรัฐมนตรีซคึ่มีอยุ่เสมอ ฐานะของเจ้าแขวงและเจ้ครองนครหลวงนั้นมีฐานะเท่ากัน แตกต่างกันเพียงความรัีบผิดชอบพื้ที่ในการปกครองเนื่องจากนครหลวงเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของประเทศอันเป็นศูนย์กลางทางการปกครองและเป็นที่ตั้งของกระทรวง ทบวงกรมแลองค์กรส่วนกลางอื่นๆ เท่านั้น  ตำแหน่งเจ้าแขวงหรือเจ้าครองนครหลวงได้รบการแต่งตั้งโยกย้ายหรือปลดจากตำแน่งโดยประธานประเทศตามการสเนอของนายกรัฐมนตรีส่วนโครงสร้างการบริหารองค์กรขั้นแขวงนั้นประกอบด้วยห้องว่าการปกครองแขวงหรือนครหลวง แผนกของแขนงการ และหน่วยงานระดับกระทรวงประจำแขวงหรือนครหลวง ซึ่งบุคลากรภายในองค์กรขึ้นนี้ประกอบด้วย รองเจ้าแขวงหรือรองเจ้าครองนครหลวง ซึ่งเป็นอำนาจในการแต่างตั้งหรือปลดจากตำแหน่งโดยนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังประกอบด้วย หัวหน้าและรองหัวหน้าห้องว่าการ แขนงการและรัฐกร ก้านอำนาจหน้าที่ของเจ้าแขวและจ้าครองนครหลวงถูกกำหนดโดยบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ค.ศ. 1991 ว่าด้วยทิศทางแลหลัการในการคุ้มครองตามแขนงการ
            นครหลวงเวียงจันทน์มีฐานะเที่ยบเท่าแขวงเป้นเขตที่ตั้งของเมืองหลวงของประเทศ เขตปกครองนี้แยกออกมาจากแขวงเวียงจันทน์ โดยถูกแยกออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วสนที่หนึ่ง คือ แขวงเวียงจันทน์ และอีกส่วนหนึ่ง คือ แขวงกำแพงพระนคร โดยกฎหมายปกครองท้องถิ่น ค.ศ. 2003 กำหนดให้นครหลวงเวียงจันทน์ ประกอบด้วย หลายเมืองและหลายเทศบาล เป็นศูนย์กลางทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคมและการบริหารที่มีบทบามส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของชาติ โดยพื้นที่การปกครองของนครหลวงเวียงจันทน์ประกอบด้วย 7 เมือง แบ่งออกเป็น 3 เขต ได้แก่ เขตตัวเมือง ประกอบด้วย เมืองจันทะบูลี เมืองไชยเชษฐา เมืองศีรสัตตนาค และเมืองศรีโคตรบอง เขตชานเมือง ประกอบด้วย เมืองนาทรายทอง เมืองชัยธานี เมืองทรายฟอง และเขตนอกเมือง ประกอบด้วยเมืองปากงึมเมืองสังข์ทอง และยังกำหนดให้มองค์การพัฒนาและบริหารตัวเมืองนครหลวงเวียงจันทน์ ในการบริหารและพัฒนาตัวเมืองนครหลวงเวียงจันทน์ พร้อมทั้งทำหน้าที่วางแผนจัดให้มีการตรวจตรา ดุแลการปลูสร้าง ปกปักรักษาสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ถนน "ฟฟ้า คลองระบายน้ำ กำจัดขยะมูลฝอย เป็นต้น  องค์การพัฒนาและบริหารตัวเมืองเวยงจันทน์ ประกอบด้วย คณะชี้นำ ได้แก่ รองเจ้าครองนครหลวงเวียงจันทน์ เป็ฯรองหัวหน้าองค์การ อพบล. โดยตำแหน่ง ตทำหน้าที่เป็นผุ้ประจำการในฐาะนัวหน้าสำนังานขององค์การ อพบ. นอกจานี้ยังประกอบด้วยกรรมการอีก 4 ท่าน ซึ่งเป็นเจ้าเมือง 4 ตัวเมือง ได้แก่ เมืองจันทะบูลี เมืองไชยเชษฐา เมืองศรีสัตตนาค และเมืองศรีโคตรบอง ซึ่งคณะกรรมการเหล่าน้ได้รับการแต่างตั้งโดยนายกรัฐมนตรี ตามการเสนอของเจ้าครองนครหลวงเวียงจันทน์และคณะจัดตั้งศูนย์กลางพรรค
             การปกครองขั้นเมือง 
             เมือง เมืองเป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ระหว่งแขวงหรือนครหลวงกับบ้าน ดดยการสร้างตั้งหรือยุบเลิกเมืองจะต้องพิจารณาถึงประเด็นเรื่องประชากร การบริหาราชการและเงื่อนไขเศรษฐกิจสงคมของพื้นที่นั้น รวมทั้งการใช้วบประมาณเพื่อการสร้างสาธารณประดยชน์ให้มีประสิทธิภาพด้วย ในด้านการบริหารงานของหน่วยการปกครองระดับเมือง มุ่งเน้นการปรสานงาน ตรวจตราและประเมินผลการดำเนินงานต่างๆ ที่เกี่ยวช้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและการให้บริการประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ  โครงสร้างการปกครองของเมือง มีเจ้าเมืองเป็นผุ้ปกครองสูงสุด ฝดดยมีรัฐกรของส่วนกลางปฏิบัติหน้าที่ประจำเมืองนั้น ๆ ตำแหน่งเจ้าเมืองได้รับการแต่างตังและปลดจากตำแหน่งโดยนายกรัฐมนตรี ส่วนตำแหน่งรอบลเจ้าเมืองซึ่งมีฐานะเป้นผุ้ช่วยของเจ้าเมือง ได้รับการแต่างตังจากเจ้าแขวงหรอเจ้าครองนครหลวงที่เมืองนั้นตั้งอยู่ การจัดโครงสร้งการบริหารองค์กรขึ้นเมืองประกอบด้วย ห้องว่าการปกครองเมือง ห้องแขนงการ และหน่วยงานระดับกระทรวงประจำเมือง บุคลากรประกอบด้วยรองเจ้าเมือง หัวหน้าและรองหัวหน้าห้องว่าการ และพนักงานรัฐกร อำนาจหน้าที่ของเจ้าเมืองนั้น มีภารกิจเช่นเดียวกับเจ้าแขวงและเจ้าครองนครหลวงตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งสาะารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การแบ่งส่วนราชการของหน่วยการปกครองระดับเมืองคล้ายกับการแบงส่วนราชการของแขวงหรือนครหลวง โดยแบงออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่หนึ่ง คื อห้องว่าการเมือง ประกอบด้วยหน่วยงาน เลขานุการ หน่วยงานปกครองและหน่วยงานบริหารการเงิน ส่วนที่สอง คือ ส่วนราชการของหระทรวงต่างๆ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในเมืองนั้นๆ
               เทศบาล เทศบาลคือ องค์การบริหารรัฐระดับท้องถ่ินในขึ้นเมืองโดยอยู่ใต้การบังคับบัญชาของแขวงหรือนครหลวง โดยมีหัวหน้าเทศลาลที่มาจากการแต่างตั้งจากนายกรัฐมนตรี ไม่ได้มาจากากรเลือกตั้งและไม่มีสภาเทศบาลดังเช่นรูปแบบเทศบาลทั่วไป กฎหมายปกครองท้องถ่ิน ได้กำหนดให้เทศบาลมีฐานะเป็นองค์กรปกครองท้ถงิถ่ินขั้นเมือง มีภารกิจและบทบาทในการบริหารทางด้านการเมือง เศรษบกิจ วัฒนธรรม สังคม รวมถึงการก่อสร้างและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การักษาทรัพยากรธรรมชาติ ส่ิงแวดล้อม ปฏิบัติตามแผนการพัฒนาตัวเมอืงการให้บริการสาธารณะ รับประกันความสงบล ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสะอาดายในเทศบาล ความสัมพันธ์และความร่วมมือกับต่างประเทศตามที่ไดรับมอบหมายจากแขวง กัวหร้าองค์กรปกครองเทศลาล คื อกัวหร้าเทศบาบ ได้รับการแต่างตั้ง โยกย้ายและปลดจากตำปหน่งโดยนายกรัฐมนตรี ตามการเสนอของเจ้าแขวง รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้ให้อำนาจหัวหน้าเทศบาลมีสิทธิและหน้าที่ในการวางแผนการจัดตั้งปฏิบัติและคุ้มครองการพัฒนาตัวเมืองบริการสาธารณะให้ทั่วถึง มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาดและสวยงามในขอบเขตตัวเมือง ตามที่ได้กำหนดไว้ในผังเมือง รวมทั้งดำเนินการตามสิทธิ์และหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในระเบียบกฎหมาย โครงสร้างการบริหารของเทศลบาล ประกอบด้วยห้องว่าการปกครองเทศบาล ห้องแขนงการ และหน่วยงานกองวิชาการนอกจากนี้ในส่วนของหน่วยงานบริการส่วนบุคลากรภายในองค์กรของเทศบาล ประกอบด้วย รองหัวหน้าเทศบาล หัวหน้าและรองหัวหน้า ห้องว่าการ รวมถึงพนักงานรัฐกรที่สังกัดโครงสร้างบริหารของเทศบาลซึ่งตำแหน่งหัวหน้า รองหัวหน้าว่าการเทศบาลได้รับการแต่งตั้งโยกย้ายและปลดจากตำแหน่งโดยเจ้าแขวงหรือเจ้าครองนครหลวงส่วนหัวหน้าห้องแขนงการประจำเมืองได้รับการแต่งตั้ง ดยกย้ายและปลดจากตำแหน่งโดยรัฐมนตรว่าการกระทรวงนั้นๆ
                การปกครองขั้นบ้าน บ้าน เป็นหน่วยการปกครองท้ถงอถ่นิขึ้นต้นและมีขนาดเล็ที่สุดเป็นผลมาจากเป้าหมายในการจัดหน่วยปฏิบัติการในพื้นที่เพื่อขยายการดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายรัฐ การปกครองครองระดับบ้านอยู่ในพื้นที่ซึค่งมีบ้านเรือนมากกว่า 20 หลังคาเรือน หรือมีประชาชนอาศัยอยู่ร่วมกันมาก่า 100 คน ก็สามารถจัดตั้งให้เป็นบ้านได้ตามการนุมัติของเจ้าแขวงหรือเจ้าครองนครหลวงโดยการเสนอของเจ้าเมืองนอกจากการมีฐานะเป็นหน่วยทางการปกครองแล้ว ยังถือว่าบ้านเป็นที่ดำรงชีวิตของบรรดาเผ่าชนที่จัดให้มีการปฏิบัติตามแนวทาง นโยบายหรือคำสั่งขององค์การขั้นสูง การจัดการปกครองระดับบ้าน จัดดครงสร้างให้มีายบ้านเป็นผุ้ดูแลโดยมีรองนายลบ้านจำนวนหนึ่งหรือสองคนเปนผุ้ช่วยงาน และยังประกอบด้วยคณะกรรมการบ้านอีกจำนวนหนึ่ง แม้บล้านจะเป็นหน่วยการปกครองขั้นต้น แต่สิ่งที่มีความสำคัญ คือ นายบ้านมาจากากรเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในเชตพื้นที่บ้านนั้นๆ ส่วนใหญ่จะเป็นผุ้ที่ประชาชนให้การยอมรับและเป็นผุ้มีจิตสาธารณะหรือมีบทบามในพื้นที่เมื่อได้รับผลการเลือกตั้งแล้ว เจ้าเมืองจะเป็นผู้นำเสนอชื่อต่อเจ้าแขวงหรือเจ้านครหลวงเพื่อให้แต่างตั้งเป็นนายบ้านต่อไป ส่วนตำแหน่งรองนายบ้านและกรรมการบ้านได้รับการแต่างตั้งจากเจ้าเมืองตามการเสนอของนายบ้าน ทั้งนี้หากไม่มีผุ้ลงสมัครหรือไม่สามารถเลือกตั้งนายบ้านได้ เจ้าเทืองจะเป็นผู้คัดเลือกบุคคลที่มีความเหมาะสมแต่งตังให้เป็นนายบ้าน  นอกจากนั้นโครงสร้างที่สำคัญอื่นๆ ของการปกครองขั้นบ้าน ยังประกอบด้วยคณะกรรมการบ้าน ซึ่งแบ่งออกเป็นด้านต่างๆ เพื่อช่วยนายบ้านดำเนินงานในการบริาหรงานภายในพื้นที่บ้าน ซึ่งนายบ้านและรองนายบ้านจะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะกรรมการ โดยคณะกรรมการแต่ละชุดจะมีกรรมการ 3 คน ที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนภายในบ้านนั้นๆ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)