Local government in Singapore

          การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะจัดให้มีการปกครองท้องถิ่นตามแบบประชาธิปไตยภายในประเทศได้ โดยอาศัย 2 หลักการพื้นฐานสำคัญที่เกื้อหนุนให้เกิดการปกครองท้องถ่ินก็คือ การกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยเฉพาะในทางการเมือง หากในประเทศใดที่มีแนวคิดเกี่ยวกับการกระจายอำนาจจากส่วนกลางและแนวคิดการมีส่วนร่วมทางการเมืองแพร่หลาย และถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสภาบันทางการเมืองและวัฒนธรรมางการเมืองที่เอื้อต่อการจัดตั้งการปกครองท้องถิ่นในประเทศเพื่อเปิดให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมจัดการปกครองกันเอง ที่สะท้อนถึงความต้องการของประชาชน และให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดตั้งการปกครองท้องถิ่นในประเทศเพื่อเปิดให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมจักการปกครองกันเอง ที่สะท้อนถึงความต้องการของประชาชน และให้เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่สูงสุด โดยไม่ต้องถูกจำกัดจากการดำเนินการตามคำสั่งของส่วนกลางเท่านั้น
             สำหรับประเทศศิงคโปร์ โดยตัวรูปแบบการบริหารภาครัฐแล้ว ไม่มีส่ิงที่เรียกว่า "การปกครองท้องถิ่น" ดังนั้น การศึกษาเรื่องการปกครองท้องถิ่นสิงคโปร์ในครั้งนี้จึงไดม่ใช่การศึกษาหน่วยงานหรือองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะตามหลักแล้วไม่มี แต่เป็นการศึกษาถึงแนวคิดพัฒนาการการกตะจายอำนาจและการมีส่วนร่วม ตลอดจนศึกษาหน่วยงานหรืองค์กรในระดับล่างที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนที่มีความใกล้เคียงหือมีโอกาศพัฒนาไปสู่การปกคีองท้องถิ่นได้ ดังนั้นในบทนี้จึงเร่ิมต้นด้วยกาศึกษาเกี่ยวกับการกระจายอำนาจและการมีส่วนรวมทางอการเมืองในสิงคโปร์ ทั้งในแง่ลักษณะ พัฒนาการและแนวโน้มว่ามีมากน้อยเพียงใด เพื่อค้นหาคำตอบได้ว่าทำไมสิงคโปร์จึงไม่มีการปกครองท้องถ่ิน และหากมีแนวคิดดังกล่าวอยู่ จะพัฒนาไปสู่การเกิดการปกครองท้องถ่ินสิงคโปรน์ในอนาคตได้หรือไม่
             ระดับความเป็นประชาธิปไตย เศรษฐกิจและประชาธิปไตย เป็นสิ่งหนึ่งที่วงวิชาการรัฐศาสตร์ได้ให้ความสนใจเป็นเวลนาน โดยกลุ่มหนึ่งเห็นว่า การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะส่งเสริมให้เกิดพัฒนาการทางประชาธิปไตยตามไปด้วยในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งกลับเห็นจรงกันข้าม โดยมองว่าเศรษฐกิจและประธิปไตยไม่มีการเกี่ยวข้องกัน ซึ่งหากพิจารณาประเทศสิงคโปรแล้ว ดูจะมีลักษณะเป็นกลุ่มหลัง เพราะในขณะที่อัตราการเจริญเติบโตท างเศราฐกิจอยู่ในระดับสูง จนถือได้ว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วแต่ระดับความเป็นประชาธิปไตยของสิงคโปร์นั้นกลับสวนทางกัน แม้ว่าโดยรูปแบบการปกครองของสิงคโปร์เองจะเป็นประชาธิปไตยก็ตาม จากการสำรวจที่ได้ศึกษาดัชนี้ึความเป็นประชาธิปไตยของประเทศต่างๆ โดยพิจารณาขากกระบวนการเลือกตั้ง เสรีภาพของพลเมือง อำนาจหน้าที่ของรัฐบาลการมีส่วนร่วมทางการเมือง และวัฒนธรรมทางการเมือง ซึ่งในปี ค.ศ. 2011 พบว่า สิงคโปร์มีดัชนีความเป็นประชาธิปไตยที่อันดับ 81 จาก 167 ประเทศ โดยได้คะแนน 5.89 จากคะแนนเต็ 10 ถือว่าอยู่ในระดับประชาธิปไตยครึ่งใบ สูงกว่าค่าเแลี่ยที่ระดับคะแนน 5.49 แต่เป็นอันดับี่ 5 ในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันและเมื่อเที่ยบกับประเทศที่พัฒนาแล้วในเอเชียด้วยกัน พบว่าสิงคโปร์อยุ่ลำดับท้ายสุด โดยที่ญี่ปุ่น เกาะหลีใต้ และฮ่องกง อยู่ในอันดับที่ 21  22 และ 80 ตามลำดับ ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเป็นประชาธิปไตยของสิงคโปร์อยู่ในระดับต่ำก็คือ "การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน" ซึ่งสิงคโปร์ได้คะแนนเพียง 2.78 จากคะแนนเต็ม 10 เท่านั้น
            พัฒนาการการกระจายอำนาจ เป็นรูปแบบการใช้อำนาจรัฐอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการรวมอำนาจและการแบ่งอำนาจ โดยการกระจายอำนาจ หมายถึง การที่รัฐบาลกลางกระจายอำนาจบางส่วนทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และการบริหารให้แก่ประชาชนหรือปน่ยงานของประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งเรียกว่า หน่วยการปกครอง ท้องถิ่น หรือรัฐบาลในท้องถ่ิน เพื่อให้ดำเนินกิจการสาธารณะและให้บริหารแก่ปรชะาชนในท้องถิ่น ดังนัน การกระจายอำนาจจึงเป็นหลักการสำคัญที่ก่อให้เกิดการปกครองท้องถิ่น
            สำหรับประเทศสิงคโปร์ ในทางการบริหารภาครัฐ มีเพียงการบริหารจากส่วนกลางเท่านั้น เนื่องจากเป้นประเทศขนาดเล็ก รัฐบาลสามารถดูแลได้อย่งทั่วถึง ทำหใ้ำม่ใีความจำเป็นต้องการบริหารส่วนภูมิภาคหรือส่วนท้องถ่ินแต่อย่างไร ประกอบกับการที่สิงคโปร์อยุ่ภายใต้การบริหารงานของพรรคกิกจประชาเป็นระยะเวลานานนับตั้งแต่แยปกตัวเป็นเอกราชจากอังกฤา ก็เป็นอีกสาเหตุทำให้แนวทางการกระจายอำนาจจึงไม่ได้รับากรสนับสนุนในสิงคโปร์
            ทั้งนี้ การที่พรรคิกิจประชาสามารถครองที่นั่งสภามาใได้โดยตลอเพราะมีผลงานที่เป็นรูปธรรมจการทำงานเป็นนรัฐบาลที่ยาวนาน จนสามรถทำให้สิงคโปร์ที่เป็นประเทศขนาดเล้ฏ ไม่มีทรัพยากรธรรมชาิเป็นของตัวเอง กลายเป็นประเทศที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจและความเป็นอยูู่งที่สุดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อบรรลุเป้ามหายนี้ รัฐบาลพรรคกประชาจึงให้ความสำคัญกับประสทิะิภาพการบริการและเสถียรภาพทางการเมืองเป็นสำคัญ มีการปกครองในลักษระเข้มงวดและขี้นำประชาชนในุกด้สน ดดยถือว่ารัฐบาลเป็นผุ้ที่รุ้ัดีที่สุด ส่วนผุ้ที่เห็นต่างทั้ังนักการเมือง นักวิชาการ เหรือสือมวลชนก็๗ะถูกควบลคุมไม่ให้เสนอความเห็นต่อต้านรัฐบาล เพราะมองว่าจะเป็นชนวนไปสู่ความวุ่นวายและขัดแยงในสังคม ในขณ๖ะที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงสนับสนุนแนวทางนี้ของรัฐบาล ตราบเท่าที่รัฐบาลัวงให้ควาสำคัญและมีผลงานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตมากกว่า
             การกระจายอำนาจในความหายของการให้ท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการดูแลกันเอง จึงเป็นสิ่งที่ไม่มีในสิงคโปร์ จะมีก็แต่การแบ่งอำนาจระหว่างหน่วยงานด้วยกัเอง โดยเฉพาะการแบ่งอำนาจจากหน่วยงานของรัฐไปยังคณะกรรมการแห่งชาติที่จัดตั้งตามกฎหมาย ซึ่งเป็นองค์กรกึ่งภาครัฐ ซึ่งรัฐบาลพรรคกิจประชาได้เริ่มบริหารภายใต้กลไกคณะกรรมแห่งชาติที่จัดตั้งตามกฎหมายมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 โดยมีคณะกรรมการพัฒนาเคหะแห่งชาติเป็นคณะกรรมการแห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นตามกลไกนี้ และหลังจากนั้นก็ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการต่างๆ ขึ้นมาอีกมากมาย จนกระทั่งปัจจุบันคณะกรรมการแห่งชาติที่จัดตั้งตามกฎหมาย กลายเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญของการบริหารภาครัฐสิงคโปร์
            อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการแห่งชาติที่จัดตั้งตามกฎหมาย แม้จะเป็นองค์กรกึ่งภาครัฐ และมีโครงสร้างการบริหารที่คล่องตัวแบบเอกชนแต่ก็ยังอยุ่ภายใต้การดูแลอย่างเ้มงวดจากรัฐบาลพรรคกิจแระชาอีทั้งจุดประสงค์ในการก่อตั้งเพื่อแบ่งเบาภาระงานของรัฐบาลแะเพ่ิมความคล่องตัวเท่านั้น ทำให้คณะกรรมการเหล่านี้จึงยังไม่ใล้ภาพสะท้อนของการกระจายอำนาจในสิงคโปร์
           ดังนั้น พัฒนาการการกระจายอำนาจของสิคโปร์จึงไม่มีความคืบหน้ามากนัก กระทั่งช่วงทศวรรษที่ 1980-1990 รัฐบาลพรรคกิจประชาเริ่มหันมาสนใจเรื่องการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้น แต่เหตุผลของแารสนใจดังกล่าว เกิดขึ้นเนื่องจากต้องการสร้างความนิยมในตัวรัฐบาล หลังจากที่คะแนนความนิยมเร่ิมลดลง และการสูญเสียที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรให้กับพรรคฝ่ายค้านในปี ค.ศ. 1981 แม้จะเพื่อที่เดี่ยวก็ตาม ทำให้รับบาลเร่ิมก่อตั้งหน่วยงานขึ้นมาหลายหย่วยงานเพื่อดำเนินการเรือ่งการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
            สำหรับในส่วนของการกระจายอำนาจนั้ การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่สุดของสิงคโปร์เกิดขึ้นในปี ค.ศ.2000 เมื่อสิงคโปร์ได้ดำเนินแผนการกระจายอำจานสู่ท้องถิ่น ด้วยการเสริมสร้างอำนาจให้สภาพัฒนาชุมชน โดยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 เขตให้สภาพัฒนาชุมชนดูแลซึ่งภายในแต่ละเขตสภาพัฒนาชุมชนก็จะมีนายกเทศมนตรีทำหน้าที่รับผิดชอบกิจการภายใน้องถ่ิ แผนการกระจายอำนาจนี้ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ด้านการเมืองของสิงคโปร์ อันเป็นความพยายามของนายโก๊ะจ๊กตง ที่จะปรับเปลี่ยนสิงคโปร์ให้เป็นสังคมที่มีระบบการควบคุมจากส่วนกลางน้อยลง
            นอกเหนือจากสภาพัฒนาชุมชนแล้ว อีกหนึ่งองค์กรที่อยู่ในขอบข่ายการกระจายอำนาจของสิงคโปร์ก็คือ สภาเมือง อันเป็นองค์การที่ทำหน้าที่ดูแล บริหาร จัดการ ทรัพย์สิน ของการเคหะแห่งชาติ ซึ่งการเคหะแห่งชาติถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศสิงคโปร์ เพราะประชากรส่วนใหญ่ขจองสิงคโปร์ล้วยอาศัยอยู่ในการเคหะแห่งชาติ สภาเมืองเป็นหน่วยงานที่ได้รับการโอนอำนาจมาจากคณะกรรมการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ อีกทีหนึ่ง และในการบริหารงานยังเปิดให้ผุ้อยู่อาศัยในเขตของการเคหะแห่งชาตินั้นๆ เข้ามามีส่วนร่วมด้วย
            อย่างไรก็ตาม ทั้งสภาเมืองและสภาพัฒนาชุมชนเอง ก็ยังไม่สามารถถือเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นได้ เพราะโดยอำนาจหน้าที่ยังถือว่ามีอย่างจำกัด ขณะที่โครงสร้างองค์กรเองก็เปิให้รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงและควบคุมได้ง่าย ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า แนวคิดการกระจายอำนาจในสิงคโปร์นั้นมีอยู่ต่ำมากจนถึงแทบไม่มีเลย เนืองอ้วยการบริหารส่วนใหญ่รวมศูนย์อยู่ที่รัฐบาลพรรคกิจประชา แค่กระนั้น การมีอยู่ของคณะกรรมการที่จัดตั้งตามกฎหมาย สภาเมือง และสภาพัฒนาชุมชนแม้จะไม่ใช่องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินในทางทฤฎี แต่ก็ถือเป็นองค์กระดับพื้นฐานที่มีความใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด ในที่นี้จึงไดเน้นศึกษาองค์กรดังกล่าวเพื่อต้องการทราบว่า องค์กรเหล่านนี้มีความใกล้เคียงและสามารถนำไปสู่การปกครองท้องถิ่นได้หรือไม่และมากน้อยเพียงไรทั้งนี้ รายละเอียดขององค์กรทั้ง 3 จะกล่าวถึงในบที่ท 3 และ 4 ต่อไป
              การมีส่วนร่วมทาองการเมืองหมายถึงกระบวนการที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนในการแสดงความคิดเห็น ร่วมดำเนินการบริหาร รวมถึงร่วมประเมินผลกับรัฐ นอกเหนือจากการไปเลือกตั้งเพียงอย่งเดี่ยว ถือเป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งที่บ่งบอกความเป็นประชธิปไตยของแต่ละประเทศอย่างไรก็ตา สำหรบสิงคโปร์ กม้จะมีรูปแบบการปกครองแบบประชาธิไตย แต่หากพิจารณาในส่วนของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนแล้ว กลับพบว่าอยุ่ใรระดับต่ำและมีข่้องทางที่เปิดให้มีส่วนร่วมไม่มากนัก ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลสิงคโปร์ถือเอาความมั่นคง และเสถียรภาพของทางการเมืองเป็นสิ่งสำคัญของประเทศเพราะทำให้สามารถบริหารประทเสได้อย่างประสิทธิภาพและประสทิะผล มิติด้านการมีส่วนร่วมจึงถูกมองข้มไป ทั้งจากรัฐบาลเองและจากประชาชนภายในประเทศ
             ในช่วงแรกของการก่อตั้งประเทศนับจากการได้รับอำนาจปกครองตนเองอย่างสมบูรร์จากอังกฤษในปี ค.ศ. 1959 จนมาถึงกลางทศวรรษที 1980 ช่องทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองหลักของประชาชนมีเพียงการอกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แม้สิงคโปร์ได้นัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเป็นประจภ และมีพรรคกาเมืองส่งผุ้สมัครลงแข่งขันหลายพรรค แต่ทุกครั่งพรรคกิจประชาก็ได้รับชัยชนะสามารถคว้าที่นั่งในรัฐสภาทั้งหมดไปครองได้ ทำให้ระบบพรรรคการเมืองของสิงคโปร์มีัลักษณะแบบระบบพรรคการเมืองแบบครองความเป็นจ้าว อันเป็นระบบมี่มีการแข่งขันระหว่างพรรคแต่มีเพียงพรรคเดียวที่มีโอกาศได้รัีบชับชนะและมีควาได้เปรี่ยบเหมือนพรรคอื่นๆ ที่อ่อนแอกว่าโดยสิ้นเชิง
             รัฐบาลพรรคกิกจประชาได้เริ่มหันมาสนใจการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนอย่างจริงจัง ในทศวรรษที 1980 โดยมีสาเหตุสำคัญเมื่อปี ค.ศ. 1981 นาเดวน แนร์ สมาชิกรัฐสภาพรรคกิจประชา ได้ลาออกจากตำแหน่งเพื่อดำรงอำแหน่งปรธานาธิบดีส่งผลให้ต้องมีการเลือกตั้งซ่อม แต่ผละกลับปรากฎว่า นาย เจ.บี. เจยา เร็ตนัม สมาชิกจากพรรคกรรมกร ได้รับชัยชนะ ถือเป็นตั้งแรกที่พรรคการเมืองอื่นนอกจากพรรคกิจประชาได้รับชัยชนะแม้จะเป็นเพียง 1 ที่นั่งก็ตาม และในการเลือกตั้งทัี่วไปปี ค.ศ. 1984 พรรคกิจประชาก็ต้องสูญเสียที่นั่งไปให้พรรคฝ่ายค้าน 2 ที่นั่ง และยังได้รับคะแนนเสียงเพียงร้อยละ 64.83 ลดลงจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งก่อนเมืองปี ค.ศ. 1980 ที่ได้ีะแนนเสียงไปกว่าร้อยละ 77.66
             แม้คะแนนนิยมที่ลดลงและการสูญเสียที่นั่งให้พรรคฝ่ายค้านจะมีจำนวนน้อยแะไม่กระทบเสถียรภาพของรัฐบาล แต่ทำให้พรรคกิจประชาหัสมาทบทวนหาสาเหตุและหนทางแห้ไข ซึ่งพบว่า การเน้นความมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพประสิทธิผลของรัฐบาลมากกว่าหลักการประชาธิปไตย และการใช้มาตรการโต้ตอบของรัฐบาลต่อผุ้ที่ไม่เห็นด้วยหรือโจมตีรัฐบาล อาทิ การสังปิดหนังสือพิมพ์ที่โจมตีรัฐบาล การฟ้องร้องรักวิชาการหรือนักการเมืองฝั่งตรงข้ามด้วยข้อหาต่างๆ หรือการกีดกันนักการเมืองจากพรรการเมืองไม่ให้ได้รับชัยชนะส่งผลให้พรรคกิจประชามีภาพลักษณ์การรัฐบาลอำนาจนิยม ประกอบกับช่วงทศวรรษที่ 1980 ชนชั้นกลางและคนหนุ่มสามที่เป็นคนรุ่นที่ 2 และ 3 ได้เพ่ิมจำนวนมากขึ้ ซึ่งคนเหล่านี้มีความคาดหวังจากสังคมแบบชนชั้นกลาง ที่หากไม่ได้รับการตอบสนองอย่งพอเีเพียงก็จะส่งผลต่อความนิยมของรัฐบาล
              จากปัฯหาดังกล่วทำให้รัฐบาพรรคกิจประชาได้ดำเนินการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนมากขึ้น ซึ่งก็เปเป็นช่วงปรระจวบเหมาะกับการเหลี่ยนแปลงสำคัญภายในพรรค คือ การถ่ายโอนอำนาจจากนายลีกวนยิว ทีปกครอประเทศมากกว่า 25 ปี ไปยัง นายโก๊ะจธกตง โดยนายโก๊ะจ๊กตงและผุ้นำรุ่นใหม่ภายในพรรคคนอื่นๆ ได้ดำเนินการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมืองเพื่อลดความไม่พอใจของประชาชนต่อรัฐบาล นายโก๊ะจ๊กตง ได้ทำมาตรการต่างๆ ที่คิดว่าจะส่งผลดีต่อคะแนนนิยมพรรคกิจประชา แต่ในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 1991 ซึ่งจัดขึ้นก่อนกำหนด 1 ปี ปรากฎว่า พรรคกิจประชาแม้จะเป็นฝ่ายชนะแต่กลับได้คะแนนเสียงน้อยสุดเมื่อเที่ยบกับการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ โดยได้เพียงร้อยละ 60.97 และต้องสูญเสียที่นั่งไปให้พรรคฝ่ายค้านถึง 4 ที่นั่งมากที่สุดนับตั้งแต่สิงคโปร์มีการเลือกตั้งมา ผลการเลือตั้งเช่นนี้ ทำให้นายโก๊ะจ๊กตงมองว่า ประชาชนยงไม่พร้อมสำหรับการมีประชาธิปไตยที่เปิดกว้าง จึงได้หรักลับมามุ่งเน้นนโยบายความเสถียรภาพทางการเมืองเป็นหลักอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ก็มีผุ้วิเคราะหืผลการเลือกตั้งว่าเป็นเพราะไม่พอใจนโยบายบางประการ และต้องการให้มีพรรคฝ่ายค้านมาตรวจสอบรัฐบลาลมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ออกเสียงเลือกตั้งเป็นต้งแรก
             ในปี ค.ศ. 1995 นายโก๊ะจ๊กา ได้แสดงความเห็นถึงระบบการปกครองประชาธิปไตยตามแยวทางของสหรัฐอเมริกและตะวันตกว่ายังไม่เหมาะกับสิงคโปร์ เนื่องด้วยระบอบประชาธิปไตยั้นไม่สามารถนำมาใช้ให้เห็นผลได้ในประเทศแถบเอเชีย โดยตัวอย่างของประเทศที่ได้นำเาอระบอบดังกล่าวมาใช้ไ่ว่าจะเป็นไต้หวันหรือไทยก็ล้วนประสบปัญหาทางการเมืองด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่เงป็นการสะท้อนความตั้งใจของนายโก๊ะจ๊กตง ที่ต้องการคงระบอบประชาธิปไตยแบบอำนาจนิยมในสิงคโปร์ต่อไ ปขณะที่ในส่วนจองประชาชนเองก็มีความโน้มเอียงไปางพรรคกิจประชา เพราะเห็นว่าการเจริญเติบโตางเศรษบกิจและความมั่นคงทางวัตถุมีความสำคัญและจับ้องได้มากกว่าลหลักการประชาธิปไตยที่พรรคฝ่ายค้านมักยิบยกมาใช้หาเสียง
              การเปลี่ยนแปลงครังสำคัญของสิงคโปร์เกิดขึ้นอีกครั้งในปี ค.ศ. 2004 เมื่อนายลีเซียนหลุงได้ก้าวเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีแทนนายโก๊ะจ๊กตงภาพลักษณ์การเปิ็นคนเชื่อมั่นตนเองสูงและเข้างวดทำให้มีความกังวลว่าจะมีกาปิดกันการแสดงความคิดเห็นของประชาชมากยิ่งขึ้น แต่นายลีเซียนลุงก็ทราบว่าปัจจุบันเป็ยุโลกาภิวัตน์ ประชาชนได้ซึมซับเอาค่านิยมตะวันตกมามากขึ้น จึงได้สนับสนุนให้ประชาชนเขามารมีส่วนร่วมในการบริหารประทเศมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการผ่อนคลายความเข้มงวดแต่ทุกอย่างก็มีอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล


                        - "ระบบการปกคหรองท้องถิ่น ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน:สาธารณรัฐสิงค์โปร์", สุกิจ แดงขาว เกอวีร์ มีสุข, วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า, 2556.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)