Local government in Thailand

           การเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2540 ถึงปัจจุบันเป้นช่วงเวลาที่มีความผันผวนมากที่สุดยุคหนึ่งที่ส่งผลต่อการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถ่ินทังในด้านพัฒนาและด้านอุปสรรค เพราะเมืองมีการประกาศใช้รัฐธรรม พ.ศ. 2540 และการเข้ามาบริหารประทศของ พ.ต.ท. ทักษษิณ ชินวัตร ที่เป็นนายกรัฐมนตรีชวง พ.ศ. 2544-2549 ซึ่งในช่วงเวลากรบริาหปรเทศของเขาได้สร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการกระจายอำนาจในมิติตหนึ่งและด้านการกรชับอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางในอีกมิติตหึงซึงเกิดจากกความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง ก่อนที่รัฐบาลทักษิณ จะถูกทำรัฐประหาร ในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมามีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ในด้านการกระจายอำนาจและกาเพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชน แต่รัฐธรรมนูญฉบับนั้ก็มีหลายมิติที่มีลักษณะการเนิ้นระบบตรวจสอบ การไม่ไว้วางใจในนัการเมือง และการเพ่ิมอำนาจแก่วุฒิสภากับองค์กรอิสระที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน
            ภายใต้สถานะการณ์ทางการเมืองทีผันผวนและความแตกแยกของประชาชนที่เรื้อรังมาต้งแต่ก่อนการทำรัฐประหารใน พ.ศ. 2549 มีการเลือกตังและโค่นล้มรัฐบาลหลายครั้ง รวมถึงเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองทั้งใร พ.ศ. 2552, พ.ศ. 2553 และพ.ศ. 2556-2557 ได้ทให้ประเด็นการผลักดันเก่ยวกับการกระจายอำนาจถูกหยิบบกขึ้นเป้นประเด็นทางนโยบายสาธารณะที่มีกรผลักดันอย่างจิรงจังและเป็นทั้งวาทกรรมทางการเมือง รวมถึงมีข้อเนิทางวิชาการในการอธิบายปรากฎการณ์เปลี่ยนแปลงในชนบทที่ได้รับอิทธิพลจากกลไกใหม่ๆ ในการกระจายอำนาจและการมี่วนร่วมของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 กับรัฐธรมนูญ พ.ศ. 2550 และปรากฎการณ์การเปลียนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจที่ทำให้สภาพการณ์ทางสังคมการเมืองไทยในยุคปัจจุบันเป็นการขยับขยายและเปลี่ยนผ่านจากการเมืองแบบรวมศูนย์ในระบบราชการและระบบการเมืองแบบรัฐสภาของส่วนกลางแบบเดิม มาสู่การเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่ถุกขยายแลดึงเข้ามาอย่งกวางขวาง ทั้งผ่านกลำกที่เป็นทางการแลเผ่ารการวมกลุ่มทางการเมืองซึ่งมาเห็ฯได้อย่างเด่นชัดเมือเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา
             อย่างไรก็ตามจากความรุนแรงทางการเมือภายหลังการเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษำรรมในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 จนเป็นชนวนที่นำมาซึ่งการประท้วงและความรุนแรงทางการเมือง ซึ่งปรากฎหการณ์ความรถนเรงนี้มาจาการแตกขัวยทางการเมืองและความคิดของฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาลและผ่ายที่คัดค้านรัฐบาลที่ยาวนานและมิได้มีสาเหตุจาการผลักดันร่างพระาชบัญญัตินิรโทษกรรมเพียงอย่างเดียว แต่เป็นปมคามตึงเครียดทางการเมืองและสังคมที่แตกแยกในระดับมูลฐานของบรรทัดฐานและทิศทางในการกไหนดสังคมการเมืองไทยทั้งในมิติศีลธรรมพลเมืองรุปแบบการปกครอง/รูปแบบรัฐ ความไม่เท่าเที่ยมทางสังคม หลักนิติรัฐความน่าเชื่อถือต่อสถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญํติ บริหา และตุลาการ บทบาทของระบบราชการและกองทัพ ปัญหาของสื่อสารมวลชน รวมไปถึงการจัดารกและการอยู่ร่วมกันของผุ้ที่เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือบที่แตกแยกกันออกเป็นหลายฝ่าย ซึ่งความตึงเครียดนีได้นำมาซึ่งการรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษ๓าคม พงศ. 2557 โดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผุ้บัญชาการกองทัพบกและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) การเข้ามามีบทบาทนำเื่อกำหนดทิศทางของประเทศโดยรัฐราชการอีกครั้งภายใต้บริบททางการเมืองที่กลุ่มพลังทางสังคมนอกภาครัฐถูกกันออกจากระบบการเมืองและมีความแตกแยกระหว่างประธานกลุ่มต่างๆ มี่สนับสนุนและคัดค้านการรัฐประหารครั้งนี้ ซึคงภายหลังการรัฐประหารครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อการปกครองท้องถิ่นและการกระจายอำนาจดังจะกล่าวถัดไปโดยลักษณะสำคัญของการกระจายอำนาจช่วง พงศ.2540-ปัจจุบันแบ่งการอธิบายออกเป็ฯ 33 ช่วงเวลาดังนี้
              การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถ่ิน พ.ศ. 2540-2549 การกระจายอำนาจที่ไม่ได้ไปพร้อมกับการปฏิรูประบบราชการ ในด้านการกระจายอำนาจช่วง พ.ศ. 2540-2549 นับตั้งแต่กระแสของการปฏิรูปการเมืองช่วงทศวรรษที่ 2530 ได้นำไปสู่การรางรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณจักรไทย พ.ศ. 2540 ถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่สุดของการปกครองท้องถ่ินไทยเนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้บรรจุเนื้อหาด้านการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถ่ินอย่างเป็นทางการ เลปการประกาศใช้พระราชบัญญัติกำหนดและแผนขขั้นตอนการกระจายอำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิน พงศ. 2542 ที่เป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการแรับเปลี่ยนโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างระบบบริหาราชการส่วนกลางและส่วนภูิมภาคกับองค์กรปคกรองส่วนท้องถิ่น จนส่งผลต่อสภาพการณ์โดยรวมของท้องถ่ินและการเมืองการปกครองระดับชาติ และทำให้การกระจายอำนาจถูกกำหนดให้เป็นกระบวนการถาวรที่ฝ่ยการเมืองและฝ่ายขาราชการประจำไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จนทำให้มีกาตราและแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการปกครองท้องถ่ินจำนวนมาก เช่น กฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถ่น กฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถ่ิน กฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติ เป็นต้น
              อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ก็มีมิติทีสรางความเข้มแข็งและเอื้อต่อการกระชับอำนาจของระบบราชการ่วนกลางเพราะเป็ฯรัฐธรรมนูญที่ออกเเบบให้มีรัฐบาลที่เข้มแข็ง ในการกุมอำนาจได้ค่อยข้างเด็ดขาดและแก้ไขปัญหาการขาดเสถียรภาพทางการเมืองจากกลุ่มการเมืองภายในพรรคและพรรคร่วมรัฐบาลเช่น การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีที่ทำได้ยากขึ้นกำหนดใหสมาชิกสภาผุ้แทนราษฎรที่จะดำรงตำแหน่งนรัฐมนตรีต้องลาออกจากการเป็น ส.ส. ก่อน ทไใ้รัฐมนตรีต้องระวังไม่ให้มีความขัดแย้งกับนายกฯ เพราะเกรงว่าจะถูกปลดจากตำแหน่งและไม่สามารถกลับไปเป็น สส.ได้อีก เป็นต้น ทำให้รับบาลกลางมีเสถียรภาพและความมั่นคงในการริเร่ิมนโยบายของตนมากว่าในอดีต
              นอกจากนี้มีแนวโน้มการกระชับอำนาจของระบบราชการผ่านการปฏิรูประบบราชการเพื่อแก้ไขปัฐหาโครงสร้างที่ใหญ่โตของระบบราชการส่วนกลางที่มีหน่วยงานในระดบกระทรวง ทบวง กรม เป้นจำนวนมาก มีการทำงานและภารกิจที่ซ้ำซ้อนหรือไม่สอดคล้งกับสภาวการณ์ปัจจุบัน มีสานการบังคับบญชาหลายขั้นตอนที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน ปัญหาการทุจริตและการห้ผลประโยชน์โดยเจ้าหน้าที่รัฐ โดยประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 แต่การปฏิรูปครั้งนี้กลับขยายโครงสร้างของระบบราชการให้มีหน่วยงานมากขึ้น มีจำนวนบุคลากรของหน่วยงานราชการส่วนกลางเพ่ิมขึ้นจาก 968,400 คน ในปี 2545 เปผ้น1,275,350 คน ในพ.ศ. 2550 และเป็นการปฏิรูประบบราชการที่ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการกระจายอำนาจในฐาน "ส่วนหนึ่งของการปฏิรูป" เนื่ื่องจาก "...เพื่อปรับโครงสร้างและแบ่งส่วนราชการใหม่จาก 14 กระทรวง 1 ทบวง 126 กรม มาเป็น 20 กระทรวง กับอีก 143 กรม โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เป้นหน่วยงานขับเคลื่อนการปฏิรูประบบราชการ และมีการออกกฎหมาย ระเบียบ และแผนงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการปฏิรูประบบราชการ อย่างไรก็ดีการปฏิรุประบบราชการกลับเป็นอุปสรรคของการกระจายอำนาจและไม่ได้ให้น้ำหนักต่อการกระจายอำนาจให้เป็นเรื่องที่ต้องเคียงคู่หรือทำไปพร้มกับการปฏิรุประบบารชการเช่น ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ก็มิได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนด้านการกรจายอำาจให้เป็นยุทธศาสตร์หลักแต่อย่างใด จนทำให้ระบบราชการส่วนกลางและส่งนภูมิภาคยังขยานตัวทั้งในเชิงโครงสร้างแลการบริาหรงานบุคคลเพราะจำนวนของหน่ยงานและตำแหน่งของข้าราชการรดับสูงที่เป้ฯผุ้บริหารหน่วยงานเพิ่มขึ้น"
             นอกจากนี้การบริหารงานในยุคของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ยังได้ดำเนินนโยบายการบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการเหรือ "นโยบายผู้ว่าฯ CEO " เพื่อปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานของจังหวัดจากเดิมที่ขาดประสิทธภาพ ล่าช้า และไม่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนจากความไม่เป็นเอกภาพในการบริาหราชการส่วนภูมิภาคโดยการออกเระเบียบสำนักนากยกรัฐมนตรีวาด้วยระบบบริหาราชการจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2546 จึงทำให้การบริหารราชการส่วนภูมิภาคมีความเข้มแข็งและอยู่ภายใต้การควบคุมสั่งการของราชการส่วนกลางมากขึ้น
            การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2550-2557 ข้อเสนอที่หลากหลายของการกระจายอำนาจ ภายหลังการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 จนมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และมีการร่างและประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 ซึ่งยังคงสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 แต่ได้ปรับปรุงเนื้อหาสาระให้มีความชัดเจนมากขึ้น แต่นี้ก็มีการออกกฎหมายที่เอื้อต่อการกระชับอำนาจของส่วนกลางเช่น การกำหนดให้ผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับการเลือกตั้งสามารถอยู่ใตำแหน่งอย่างไม่มีวาระจนผู้ใหญ่บ้านอายุครบ 60 ปี เป็นต้น แต่ความน่าสนใจในยุคนี้คือข้อเสนอเกี่ยวกับการกระจายอำนาตเร่ิมมีความหลากหลายมากขึ้น เช่น
            - ข้อเสนอการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจโดยคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ข้อเสนอการปฏิรูปประเทศไทยที่จัดทำโดยคณะกรรมการปฏิรูปทีได้รับการแต่งตั้งดดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2553 แล้วได้จัดทำหนังสือแนวทางการปฏิรุปประเทศไทย ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองและผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน พ.ศ.2554 โดยในส่วนของข้อเสนอการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ ฉบับสมบูรณ์ ได้เสนอเกี่ยกับการกระจายอำนาจว่าเป็นส่ิงที่ควรทำเพื่อแก้ไขความเหลื่อมล้ำของความสัมพันธ์ทางอำนาจเพราะปัญหาความเหลื่อมล้ำในความสัมพันธ์ทางอำนาจที่ถูกค้ำจุนโดยโครงสร้างทั้งที่เป้ฯทางการและไม่เป็นทางการ ซึงโครงสร้างของรัฐถือเป็นโครงสร้างอำนาจที่มีความสำคัญซึ่งต้องอาศัยการปฏิรูปแการจัดระเบียบกลไกของรับใหม่เพราะรัฐมักมีการรวมศูนย์และกระจุกตัวของอำนาจที่ศูนย์กลางจนสร้างความไม่พอใจในการกระจุกตัวของำนาจจากประชาชนและความเฉี่ยอชาในทางการเมือง รวมถึงการเพิกเฉยข้อเรียกร้องของท้องถ่ินในทุกด้าน ซึงรายงานชิ้นนี้เสนอว่าการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถ่ินไม่ใช่แค่การถ่ายโอนอำนาจจากองค์กรปกครองขนาดใหญ่สู่องค์กรปกครองที่เล็กกว่า ซึ่งจะเป็นเพียงแค่เปลี่ยนการรวมศูนย์อำนาจจากศูนย์กลางไปยังท้องถิ่นต่างๆ แต่ต้องดำเนินควบคู่ไปกับการลดอำนาจรัฐและเพิ่มอำนาจให้กับประชาชนเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นสามารถจักการชวิตของตนเองและชุมชนได้มากขึ้น
           - ข้อเสนอการตั้งจังหวัปกครองตนเองโดยคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ที่ได้เสนอ "ร่างพระราชบัญญัติการบริาหรจังหวัปกครองตนเอง พ.ศ...." เพื่อยุบเลิกการปกครองส่วนภูมิภาคในระดับจังหวัดลงและให้มีการเลือกตั้งผุ้ว่าการจังหวัดแทน โดยใร่างพระราชบัญญัติกำหนดให้มีกาตั้งจังหวัดปกครองตนเองที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลและถือเป็นราชการบริหารส่วนท้องถ่ินแทนที่จะเป็นราชกาบริหารส่วนภูมิภาคเดิมโดยการจัดตั้งจังหวัดปกครองตอนเองนั้นดำเนินการโดยให้ใช้พระราชกฤาฎีกาจัดตั้งจังหวัดปกครองตอนเงอและผลของพระราชกฤษฎีกานี้ให้มีผลยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งจังหวัดนั้น โดยในจังหวัดปกครองตนเองจะมีโครงสร้างภายใน 2 ระดับคือ องคกรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับบน ได้แก่ จังหวัดปกครองตนเอง มีเขตพื้อนที่การปกครองครอบคลุมทั้งจังหวัและ องค์การปกครองส่วนท้อถงิ่นระดับล่าง ได้แก่ เทศบาลและองค์กาบริหารส่วนตำบลมีเขตพื้นที่การปกครองบางส่วนของจังหวัด โดยทั้งสองระดับจะมีสภาพลเมืองที่จัดตั้งในจังหวัดปกครองตนเอง เทศลาลและองค์การบริหารส่วนตำบล
             - ข้อเสนอการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินรูปแบบพิเศษ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่เดิม โดยรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 กำหนดให้รัฐต้องพัฒนาจังหฝัที่มีความพร้อมให้เป็ฯองคกรปกครองส่วนท้องถิ่นรุปแบบพิเศษขนาดใหญ่โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดและกำหนดให้สามารถจัตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษให้กระทำได้ตามกฎหมายบัญญัติ โดยที่คณะผุ้บริหารท้องถิ่นหรือผุ้บิหารท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งโดยปัจจุบับนมีเมืองที่เสนอร่างกฎหมายที่เพื่อยกระดับเป็นเมืองพิเศษ ตัวอย่างเช่น แม่สอด สมุย และแหลมฉบัง ดดยเฉพาะแม่สอดนั้นได้มีการผลักดันใหจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรุปแบบพิเศษ "นครแม่สอด" จังหวัดตากโดยเสนอร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการนครแม่สอด พ.ศ...อย่างเป็นรูปธรรม
              แนวโน้มการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นพ.ศ. 2557  การรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ทำให้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ถูกยเลิก ทำให้เกิดการปลี่ยนแปลงของการปกครองท้องถิ่นที่มีแนวโน้มการกระชับอำนาจการปกครองท้ถงิุ่นสู่ส่วนกลางในรูปของประกาศจากคณะรัฐประหารเป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปีนับตั้งแต่ประกาศคณะปฏิวัติ..ที่แกไขปรับุรงองค์การบริหารส่วนตำบลและการก่อตั้งกรุงเทพมหานคร ใน พ.ศ. 2515
             จากประกาศคณะรักษาความสวบแห่งชาติฉบับ..กำหนดให้สมาชิกาภท้องถ่ินของทั้งองค์การบริหารส่วยตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลและกรุงเทพมหานครที่ครบวาระหรือพ้นจากตำแหน่งในช่วงเวลานี้ให้งดการจัดให้มีการเลือกตั้งสามาชิกสภาท้องถ่ินหรือผุ้บิริหารท้องถ่ินจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยแปลง โดยให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผุ้บริหารท้องถิ่นจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง โดยให้มีการคัดเลือกบุคคลที่เข้ามาเป็นสมาชิกสภาท้องถ่ินโดยคณะกรรมการสรรหาที่ประกอบด้วยข้าราชการที่มาคัดเลือผุ้ที่จะมาดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถ่นโดยผุ้ที่จะมาเป็นสมชิกสภาท้องถิ่นอย่างน้อยต้องมาจากผู้ที่เป็นข้าราชการหรืออดีตข้อาราชการที่มีตำแหน่งตั้งแต่ระดับชำนาญการพิเศษหรือเที่ยบเท่าขึ้นไป ส่วนตำปหน่ผู้บริหารท้องถ่ินที่ว่างอูนันกำหนดให้ปลัดองค์กรปกครองส่ท้องถ่ินปฏิบัติหน้าที่นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึงทำให้ในแต่ละจังหวัดจึงมีการตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้ที่มาเป็ฯสมาชิกสภาท้องถิ่นขึ้นมาทดแทน โดยตั้งแต่เพือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม ใน พ.ศ. 2557 จะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินที่ครบวาระและกำลังจะครบวาระหทั้งหมด 225 แห่ง
              ผลลัพธ์ที่หลากหลายของการกระจานอำนาจนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 2540 -ปัจจุบันก็เร่ิมีงานศึกษเพื่อประเมินสถานการณ์พัฒนาการของการปกครองท้องถิ่นไทยและผลลัพธ์ของการกระจายอำนาจึ่งมีคำตอบแตกต่างกันทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ โดยการกระจายอาจในช่วงเร่ิมต้นยังมีอุปสรรคและปัญหาในการปฏิบัติงานอของค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่ได้รับมอบหมายทั้งในด้านประสิทธิภาพและการมีประสิทธิผลตรวตามเวลา จากากรประเมินโดยธนาคารโลกในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ภายหลังที่มีการประกาศใช้พระราชยัญญัติกำหนดแผนและขึ้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พงศ. 2542 พบว่า
               - การบริหารจัการข้อมูลด้านการกระจายอำนาจ พบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินไม่ได้รับทราบข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการการกระจายอำนาจที่เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ตน
                - การประหยัดเชิงขนาดในการปกครองส่วนท้อบงถิ่น พบว่างค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินที่มีขนาดเล็กแทบไม่มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติตามหน้าทที่ที่ได้รับมอบหมายได้อถูกต้องประหยัด และมีประสิทธิภาพ
               - ข้อจำกัดของกฎข้อบังคัย พบว่าหน่วยงานส่วนใหญ่ถูกจำกัดด้วยกฎระเบียบต่างๆ ดดยเฉพาะการจัดหารายได้การใช้เงินอุดหนุน และการจัดทำงลประมาณ
               - นโยบายด้ารบุคลากร พบว่าบุคลากรของภาีรัฐไม่มีแรงสนับสนุนที่ดีพอในการจูงใจให้เจ้าหน้าที่จากส่วนกลางโอนย้ายไปทำงานในหน่วยราชการส่วนท้องถ่ิน
               - กลยุทธ์การอบรมด้านการกระจายอำนาจ พบว่าในสถานศึกษามีการเปิดสอนหลักสูตรอบรมเกี่ยวกับการกรจายอำนาจแต่ไม่มแนวทางการอบรมหรือแผนแม่บทการอบรมเกี่ยวกับการเพ่ิมประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน
               - สิ่งจำเป็นเร่งด่วนสำหรับการฝึกอบรม พบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินต้องได้รับการอบรมด้านการคลังท้องถ่ินอย่างเร่งด่วน เช่น การวางแผนทางการเงิน การจัดทำงบประมาณ การบัญชี การจัดทำรายงานทางการเงิน และรายงานการบริหารสินทรัพย์
              - การเพ่ิมศักยภาพให้กับหน่วยงาน พบว่าสำนักงานคณะกรรมการการกระจยอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินได้รับวบประมาณน้อยมาก ในขณะที่สันนิบาตเทศาลแห่งประทเศไทยยังไม่มีความชัดเจนในการเป็นอิสระจากกรมการปกครอง
              - ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการสำหรับงานจัดการเพ่ิมขีดความสามารถที่สำคัญ บพบว่าหน่วยงานที่มีความพร้อมนั้นังขาดแคลนเครื่องไม่เครื่องมือที่จำเป็นต่อการฝึกอบรม
              - การกระจายอำนาจในส่วนของกรุงเทพมหานคร พบว่างานส่วนใหญ่ยังอิงกับระบบราชการเช่น หน้าที่ความรับผิดชอบการดำเนิงสน นโยบายด้านบุคคล การจัดสรรทรัพยากร ฯลฯ
              ส่วนมิติด้านประชาธิปไตยจากการประเมินจากหลายพื้นที่พบว่าวัฒนธรรมการทำงานอขงรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังทำงานแบบระบบราชการและเน้นด้านกฎระเบียบมากกว่าผลงาน ยังเน้นให้ประชานต้องเชื่อฟังหรอปฏิบัติตาม มากว่าการทำงานแบบรับผิดชอบร่วมกันที่อยู่บนฐานของความเสมอภาค ซึ่งเป็นปัจจัยหลักอย่างอนึ่งที่ขัดขวางขบวนการประชาสังคมและประชาธิปไตยชุมชน
               ในทางกลับกันงานศึกษาบางข้ินได้ให้ภาพการเปี่ยนแปลงในเชิงบวกของการกระจายอำนาจ ดที่ได้ประเมินผลการกระจายอำนาจใน พ.ศ. 2556 ที่ให้ความสำคัญในด้านประสิทธิภาพการบริหารงานของท้องถิ่นหลังการกระจายอำนาจพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดบริหารที่หลากหลายซึ่งไม่เคยมีหน่วยงานราชการ นอกจากนี้ท้องถิ่นให้ความสำคัญกับระบบการศึกษาโดยทุ่มเททรัพยากรไปกับการพัฒนาบุคลากร จัดการศึกษาภาษาต่างประเทศ หรอืการศึกษาหลักสูตรท้องถิ่นที่ผ่านการมีส่วร่วมของประชาชน ทำให้เมื่อมีการเปรียบเทียบผลสัมฟทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนระับท้องถ่ิน พบหลายวิชาสูงกว่าปลการทดสอบทองการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ในจังหัด นอกจากนี้เมื่อสำรวจถึงความพึงพอใจของประชานต่องอค์กาปกครองส่นท้องถิ่นพบว่าประชาชนให้ความพึงอพใจต่อการบริหารสาธารณะในด้านการศึกษาพอใจร้อยละ 63 ด้านสาธารณสุขร้อยละ 68.4 ด้านสิ่งแวดล้อมร้อยละ 61.6 และด้านโครงสร้างพื้นฐานประชาชนพอใจร้อยละ 62.9-69.4 และประชาชนร้อยละ 75 เห็นว่าไม่ควรมีกายุบเลิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพราะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
              นอกจากนี้ในแง่มุมของประชาธอปไตยในระดับท้องถิ่นกลับมองว่าการกระจายอำนาจและการลงหลักปักฐานของสถาบันทางการเมืองทั้งในระดับชาิตและท้องถ่ินตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 5240 ทำใหเกิดการสร้างแรงจูงใจให้นักการเมืองตอบสนองความต้องการของผุ้ออกเสียงเลือกตั้งมากขึ้น นอกจากนี้ความเปลี่นแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจตังแต่ทศวรรษที่ 2530 ทำให้ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ในแนวดิ่งกลับลดบทบาทลงและกลับเร่ิมมีปฏิสัมพันะ์ระหว่งกันของคนที่เท่าเที่ยมใรู)แบบแนวนอนมากขึ้น นอกจากนี้การกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินผ่านการเลือกตั้งทางตรงใรระดับ อบต.และเทศบาล ที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนได้สร้างความใกล้ิดทั้งในเชิงกายภาพ ปฏิสัมพันะ์ทางสังคม และความรับผิดชอในอำนาจหน้าที่ที่อปท. ได้รับมอหมายและส่งผลต่อผุ้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ ได้ส่งผลต่อวิถีชีวิตของประชาชนในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้การพิจารณาลงคะแนนเสียงให้กับผุ้บริหารอปท. ก็อาศัยปัจจัยเชิงศักยภาพ ความสามารถ และครือข่ายของผุ้สมัครมากขึ้นในการดึงทรัพยากรมาสู่พื้นที่ "...เนื่องจากงบประมาณเกือบ 40% ของ อปท.มาจากการอุดหนุนของรัฐส่วนกลางโดยตรง ในขณะที่เกณฑ์การจัดสรรวบอุดหนุนหลายประเภทให้แก่ อปท. แต่ละแห่งนั้น เปิดโอกาสให้ผุ้มีอำนาจในส่วนกลางใช้ดุลพินิจได้กว้างขวาทำให้อปท.ต้อง "วิ่งงบ"กับส่วนกลางเพื่อให้ได้รับการจัดสรรมากที่สุดจึงหล่าววได้ว่าชาวบ้านใช้เครื่องมือการเลือกตั้งระับ้องถิ่นในการต่อราองเพื่อดึงทรัพยากรจากรัฐส่วนกลาง"
               เช่นเดี่ยวกับงานของนักมานุษยวิทยาอย่างแคเธอรีน เบาว์วี (2555) "..ผุ้มีส่วนร่วใรการเมืองการเลือกตั้งอย่างเท่าทัน ชาวบ้านตำบลทุ่งนาตระหนักถึงโอกาสใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นภายมต้การปฏิรูปกฎมหายในปี 2535 และ 2537 พวกเขาผนกรวมทั้งกฎหมายใหม่ที่เป็นประชาธิปไตย กฎหมายเก่าสมัยศักดินาขนบะรรมเนียมแบบเดิม พิธีกรรมที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่นัการเมืองภายนอก เจ้าหน้าที่อำเภอ และครือข่ายองค์การพัฒนเอกชนให้เป็นประโยชน์แก่การรณรงค์หาเสียงของพวกเขาในกระบวนการนี้ ทัศนะประชาธิปไตยที่าดหวังว่าผุ้สมัครควรได้รับการคุ้มครองสิทธิในการหาเสียงปะทะกบกฎหมายเก่าในยุคศักดินาที่สร้างความหมายเชิงวัฒนธรรมให้ตำแหน่งผุ้ใหญ่บ้านว่า เป็น "เจ้าของ" หมู่บ้าน"
              จะเห็นได้ว่า งานศึกษาต่างๆ ที่ประเมินผลลัพธ์ของการกระจายอำนาจทั้งในด้านประสทิธิภาพและการพัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่นกลับให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างแลหลากหลายก็จริงแต่แนวโน้มในปัจจุบนกลับพบว่าผลลัพธ์การกระจายอำนาจมีทิศทางที่ดีขึ้นตามลำดับ แม้ปัญหาและความท้าทาสำคัญที่มีมาตั้งแต่เร่ิมีการกระจายอำนาจใน พ.ศ. 2540 จะมีอยู่ก็ตาม
              การวางโครงสร้างและกระบวนการกระจายอำนาจนั้น รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2550 มาตรา..กำหนดให้มีกฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ จึงมีการตราพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน พ.ศ. 2542 โดยหมวด  กำหนดให้ตั้งคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินที่มีลักาณะไตรภาคี คือ ผู้แทนส่วนราชการที่เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินและผุ้ทรงคุณวุฒิ เพื่อจัดทำแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินและแผนปฏิบัติการกำหนดขึ้นจตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
           พ.ร.บ. ฉบับรี้ได้กำหนดโครงสร้งและกระบวนการการกระจายอำนาจกลำกเพื่อสนับสนุนกระบวนการการกระจายอำนาจให้เป็นกระบวนการที่เป็ฯทางการและมีสภาพบังคับในทางกฎหมายเป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตามการปฏิบัติงานของคณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ ก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่โดยศุภสวัสดิ์ ชัชวาล (2555) เห็นว่าเมื่อพิจารณาจากองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ซึงเป็นพื้นที่การต่อรองและผลักดันทิศทางการกระจายอำนาจของผุ้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการกระจายอำนาจก็สะท้อนคุณลักษณะของคณกรรมการคือ
        - บทบาทที่มีไม่มากของนักวิชากร นักวิชากรจะมีบทบาทในคณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ ในฐานะคณะกรรมการุ้ทรงคุณวุฒิ แต่มักเป็นเสียงส่วนน้อยในคณะกรรมการกระจายอำนาจฯ และไม่ใช่ผุ้มีอำนาจที่จะขับเคลื่อนกระบวนการการกระจายอำนาจในทางปฏิบัติ โดยนักวิชาการมักมีบทบาทในการเสอนแนวคิดและการทำงานทางวิชาการเป็นหลัก
       - การขาดบทบาทของฝ่ยภาคประชาชน เนื่องจา พ.ร.บ. การกระจายอำนาจฯ ไมด่ได้กำหนดให้มีสัดส่วนสำหรับตัวแทนของภาคประชาชนในคณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ ทำให้กระบวนการการกระจายอำนาจยังขาดการมีส่วนร่วมชของภาคประชาชนที่เป็นผุ้ได้รับผลจากการกระจายอำนาจดดยตรง
        - บทบาทที่กระตือรือร้นฝ่ายผุ้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เป็นตัวแทนในการผลักดันนโยบายหรือเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินมีจำนวนมากถึง 1 ใน 3 ของคณะกรรมการทั้งหมด แต่มักถุกวิพากษืเสมอว่าข้อเรียกร้องของพวกเขามักเกี่ยวข้องกับประโยชน์าางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นเอง
         - การต้านการกระจายอำนาจของฝ่ายข้าาชการแระจำที่เป็นตัวแทนของข้ราชการหรืออดีตข้าราชการส่วนกลางแลส่วนภูมิภาค เป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนใคณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ ที่มาโดยตำแหน่งและมาจากส่วยของผุ้ทรงคุณวุฒิสูงถึง 15 คน จากทั้งหมด 36 คนทำให้คณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ ถูกครอบงำจาฝ่ายราชการที่มักจะปกป้องผลประโยช์ของระบบราชการมากว่าผลประดยชน์ของท้องถิ่น
          - ฝ่ายนักการเมืองระดับชาติเป็นพันธมิตรกับฝ่ายข้าราชการประจำ แม้นักการเมืองระดับชาติมีสัดส่วนน้อยในคณะกรรมการการกระจายอำนาจ แต่เนื่องจากการกระจายอำนาจจะลอทอนอำนาจและความสำคัญของนักการเมืองระดับชาติที่เคยมีบทบาทต่อการดึงทรัพยากรที่รวมศุนย์อยู่ส่วนกลางมาจัดสรรในเขตฐานเสียงของตนเพราะการกระจายอำนาจมักไปเพ่ิมอำนาจหน้าที่กับวบลประมาณแก่นักการเมืองท้องถิ่น  ทำให้มีแนวดน้มที่ฝ่ายนักการเมืองระดับชาติกับฝ่ายข้าราชการจึงเป็ฯพันธมิตที่จะพยายามทำให้การกระจายอำนาจมีลักาณะอย่างค่อยเป็นค่อยไป


                           - "ระบบการปกครองท้องถิ่นประเทศสมาชิกประชาคมอาเซีย : ราชอาณาจักรไทย", รศ.วุฒิสาร ตันไชย  เอกวิร์ มีสุข, วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถ่ิน สถาบันพระปกเกล้า, 2557.          
           

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)