Economic Integration

            โดยทั่วไปการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ หมายถึง การให้หรือได้สิทธิเท่าเทียมกันทางการค้า การลงทุนและสิทธิอื่นๆ ระหว่างประเทศที่เป็นสมาชิกด้วยกัน ซึ่งนิยมตีความครอบคลุมไปถึงการยกเลิกปัญหาและอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน เมื่อประเทศสมาชิกต่างให้สิทธิที่เท่ากัน ใช้กฎเกณฑ์เดี่ยวกัน ก็จะสามารถรวมตัวเป็นกลุ่มประเทศเศรษบกิจเดี่ยวกันได้ในที่สุด
             ประเทศสหภาพยุโรป มีการรวมเป็นตลาดเดียว และมีการใช้ระบบเงินตรเดียว คือ เงินสกุลยูโร สำหรับการให้หรือได้สิทธิเท่ากันจะมีการนำไปปฏิบัติภายใต้ตามความตกลง ที่มีการลงนามระหว่างกัน ซึ่งจะระบุขั้นตอน เงื่อนไข ปละระยะเวลาที่จะเพ่ิมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจให้มากขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับขั้น ของการรวมกลุ่มการค้าเานีซึ่งมักจะเริ่มจากการลงนามจัดตั้งเขตการค่าเานี Free Trade Area ภายใต้สนธิสัญญาระหว่างประเทศ เรียกว่า "ความตกลงการต้าเสรี Free Trade Agreement : FTA"นั่นเอง
            การรวมกลุ่มทางเศรษกิจเพื่อการต้าระหว่างประเทศ จะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงไรนั้นขึ้นอยุ่กับปัจจัยต่างๆ เหล่านี้
            - แต่ละประเทศมีเศรษฐกิจที่พึงพาการต้าระหว่างประเทศมากกว่าการค้าภายในประเทศ และมีความพา้อมที่จะเปิดการค้าเสรี
             - ระดับการรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกมีแนวโน้มในเปิดเสรีมากขึ้น
             - ประเทศสมาชิกมีพื้นที่หรืออาณาเขตติดต่อกัน (ง่ายต่อการส่งข้อมูลข่าวสารและง่ายต่อการสร้างความสัมพันธ์)
            - ประเทศสมาชิกมีประวัติศาสตร์ร่วมกัน ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม จะมีข้อขัดแย้งต่างๆ น้อย
            - ประชากรมีเชื้อชาติ ภาษา ประเพณีและวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน จะสามารถสร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดี่ยวกัน
            ระดับหรือขั้นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ระดับการต้าและประเด็นเจรจาที่เปิดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และจัดทำเป็นความตกลงที่จะให้ทุกฝ่ายได้สทิธิต่างๆ อย่างเท่าเทียมกันจนในที่สุดไม่มีความแตกต่างระหว่างประเทศคู่สัญญาของการรวมกลุ่มนั้น ได้แก่
          Preferential Trade Agreement : PTA  หมายถึง ความร่วมมือในเฉพาะประเด็นที่มีความสนใจร่วมกันเป็นบางส่วนเท่านั้น อาทิ โครงการความร่วมมือเฉพาะทางด้านอุตสาหกรรมอาเซียน ที่เปิให้บริษัทเอกชน 2 ฝ่าย ที่เป็นสมาชิกอาเซียนด้วยกันและต้องการทำหารต้าสินค้าที่อยุ่ในโครงสร้างการผลิตเดียวกัน  ดังนั้น ประเทศทั้ง 2 ฝ่ายหรือแต่ละฝ่ายจะเลือกเก็บอากรในอัตราต่ำหรือร้อยละ 0 เมื่อมีการค้าสินค้าระหว่งกันตามขั้นตอนโครงสร้างการผลิตสินค้านั้น หรือเป็นการให้สทิะิประดยชน์ในบางสินค้าด้วยอากรขาเข้าที่ต่ำเป็นพิเศษของประเทศที่พัฒนาแล้ว แก่ประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด
           - Free Trade Area เขตการค้าเสรี หมายถึง การรวมกุ่มทางการต้าและบริกรทีเน้นการยกเลิกอากรขาเข้และข้อจำกัด ทางการค้าและสินค้าระหว่างกันส่วนมากจะเป็นปุปสรรคข้อกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี ประเทศสมาชิกจะได้/ให้สิทธิประโยชน์พิเศษตามสาระที่ได้ลงรามเป็นความตกลงจัดตั้งเขตการต้าเสรี กันไหว้ ตรงกนี้จะเน้นการลดอากรมาที่ร้อยละ 0 มากกว่าประเด็นอื่น เช่น การยกเลิกโควตาสินค้า การอุดหนุนทางการค้าและบริการ กาลงทุนฯ
            FTA จะเป็นการให้สิทธิประโยชน์ที่เท่าเที่ยมกันระหว่างประเทศภาคีเพื่อการขยายขอบเขตและประเด็นทางเศรษฐกิจที่มากว่า PTA อย่างชัดเจน ยิ่งไปกว่านั้น FTA ยังครอบคลุมถึงประเด็นเจรจาเปิดการค้าเสรีด้านอื่นๆว้ทุกรูปแบบของ WTO ซึ่งมี 2 ทางเลือกคือ กำหนดเงื่อนไขในรายละเอียดเอง และให้เป็นไปตามขั้นตอนและรายละเอียดของ WTO  ดังนั้นหากกำหนดให้เป็นไปตามนี้เล้ว แการเจรจาก็จะยังดำเนินต่อไปเรื่อยๆ หลังจากที่ได้ลงนามกันเป็น FTA แล้ว สำหรับประเทศไทยได้ยึดหลักการนี้มาตลอด
          - Custom Union สหภาพศุลกากร หมายถึง การรวมกลุ่มประเทศสมาชิก FTA โดยจะไม่เก็บอากรขาเข้าสินค้าที่มีการต้าระหว่างกัน (อากรขาเข้าร้อยละ 0 ) ส่วนสินค้านำเข้าจากประเทศอื่นจะถูกเก็บอากรขาเขาในอัตราเดียวกันหมด ในขั้นนี้ ประเทศสมาชิกจะเน้นที่ระเบียบและขั้นตอนพิธีการผ่านด้านสุลการกร และการอำนวยความสะดวกทางการค้า ให้แก่กันเป็นพิเศษ และจะใช้กฎระเบียบการค้า การบริการ และการลงทุนเดียวกัน สำหรบประเทศไทยก็ได้ตกลงที่จะดำเนินการเช่นนี้ในทุกๆ FTA ที่ไปลงนามไว้รวมทั้ง AEC ที่จะเปิดด้วย
          - Common Market ตลาดร่วม หมายถึง การรวมกลุ่มเศรษฐกิจประเทศสมาชิกเพิ่มเติมจากการเป็นสหภาพศุลกากร เน้นที่การร่วมมือกันผลิตสินค้าเดียวกันในจำนวนสมากๆ โดยอาศัยปัจจัยและจุดแข็งของแต่ละฝ่ายร่วมกันเพื่อประโยชน์ทางการค้า ทำให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพดีราคาถูก สามารถแข่งขันได้ จึงมีการส่งออกไปยังประเทศอื่นได้เป็นจำนวนมาก จัดเป็นศูนย์กลางการผลิต ที่มาจากการร่วมลงทุนอย่างมหาศาลและเสรี ทุกประเทศสมาชิกจะได้สิทธิเท่าเทียมกันในการนำเช้าสงออกสินค้า บริการ การลงทุน แรงงาน และปัจจัยการผลิต ทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างเสร สำหรับประเทศไทยก็ได้มีความพยายามที่จะเป็น Detroit of Asia, Kitchen of the World หรือการรวกลุ่มเป็นคลัสเตอร์ต่างๆ มาก่อนแล้ว คาดว่า จะมีการดำเนินการเพิ่มขึ้นอีกมากก่อนถึง AEC เช่นกัน
            - Economic Union สหภาพเศรษฐกิจ หมายถึงการรวมกุ่มประเศสมาชิกเป็ตลาดรวมโดยมีนโยบายเศรษฐกิจการค้า การคลังและใช้ระบบเงินตราร่วมมกัน เช่น ประเทศสไภาพยุโรปในปัจจุบันได้บรรลุถึงการใช้เงินยูโรร่วมกัน
            - Political Union สหภาพการเมือง หมายถึง การรวมกลุ่มประเทศสมาชิกที่เป็นสหภาพเศรษฐกิจ มีนโยบายทางการเมือง เศรษฐกิจ และระบบเงินตราเดียวกันทั้งหมด ถือเป็นการรวมตัวในชั้นสุงสุด


                   - FAT กับบันได 6 ขั้นไปสู่การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ (Economic Integration), ดร. นิลสุวรรณ ลีลารัศมี, เอกสารหมายเลชข 4"
                 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)