วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560

Local government in Vietnam

           เวียดนามปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ มีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวคือ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเวียดนาม มีอำนาจสูงสุดตามรัฐธรรมนูปี ค.ศ. 1992 รัฐธรรมนูญเวียดนามฉบับปัจจุบันที่เร่ิมใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 และแห้ไขเพิ่มเติมในปี ค.ศ. 2001 ได้วางกรอบอำนาจหน้าที่ของรัฐและความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรของรัฐกับเอกชนไว้ รัฐธรรมนูยญได้กำหนดให้พรรคคอมมิวนิสต์เป็นสถาบันทางการเมืองที่มีอำนาจสูงสุด
            โครงสร้างการปกครองของเวียดนามแบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายหลักๆ คือ
            1 องค์การฝ่ายนิติบัญญัติ หรือสมับบาแห่งชาติ เป็นหน่วยงานสูงสุด้านนิติบัญญัติเปรียบเทียบำับหน่วยงานของไทยได้เทียบกับรัฐสภา สมัชชาแห่งชาติเป็นองค์กรที่สมาชิกได้มาจากการเลือกตั้ง มีจำนวนทั้งหมด 493 คน มีหน้าที่บัญญัติและแก้ไขกฎหมาย แต่างตั้งประธานาธิบดีตามที่พรรคคอมมิวนิสต์เสนอ การรับรองและถอดถอนนายกรัฐมนตรีตามที่ประธานาธิบิี เสนอ รวมทั้งการแต่างตั้งคณะรัฐมนตรีตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ หน้าที่ของสมัชชาแห่งชาติคือการตรา รับรอง และแก้ไขรัฐธรรมนูญ พิจารณากฎหมาย พิจารณางบประมาณประจำปี อีกทั้งพิจารณาแต่างตั้งสถาบันทางการเมืองอื่นๆ ด้วยได้ แก่ สภาแห่งรัฐ สภารัฐมนตรี ศาลสูงสุด และองค์กรควบคุมประชาชน
          2 องค์การฝ่ายบริหาร (รัฐบาลส่วนกลาง) ประกอบด้วยประธานนาธิบดี คณะรัฐมนตรี รวมทั้งพรรคอมมิวนิสต์ โดยองค์กรที่มีหน้าที่บรริหารพรรคอมมิวนิสต์ โดยองค์กรที่มีหน้าทบริหารพรรคอมมิวนิสต์
          3 รัฐบาลระดับท้องถ่ิน หรือที่อาจเรียกได้ว่า สภาประชาชนและคณะกรรมการประชาชน มีคณะกรรมการประชาชนประจำท้องถ่ินนั้น ทำหน้าที่เป็นองค์กรบริหารสูงสุดบริหารงานให้เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎระเบียบต่างๆ ที่บัญญัติโดยองค์ของรัฐที่อยู่ในระดับสูงกว่า ระบบการบริหารราชการท้องถิ่นของเวียดนามแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ลักษณะเฉพาะที่สำคัญของการปกครองเวียดนามก็คือเป็นการปกครองแบบที่เรียกว่า "โครงสร้างขนานระหว่างพรรคและรัฐ"กล่าวคือ พรรคคอมมิวนิสต์กับรัฐมีความสัมพันะ์กันอย่งแนบแน่น จำไม่สามารถแยกพรรคกับรัฐมีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น จนไใามสามารถแยกพรรคกับรัฐออกจากกันได้ เพราะบุคคลที่บริหารงานต่างก็เป็นสมาชิกพรรคอมมิวินสิต์ด้วยกันทั้งสิ้น
          ระบบโครงสร้างทางการเมืองของเวียดนามนั้นมีลักาณะคล้ายคลึงกับประเทศคอมมิวนิสต์อื่นๆ คือ มีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเวียดนามเป็ฯองค์กรที่มีความสำคัญสูงสุด บทบาทของพรรคคอมมิวนิสต์นั้นมีมากในรัฐะรรมนูญทุกฉบับกำหนดให้เคารพบทบาทนำของพรรคในการใช้อำนาจของรัฐมากกว่าในระบบเสรีประชาธิปไตแบบทั่วไป หากพิจารณจากมาตราที่ 4 ของรัฐธรรมนูญเวียดนามจะพบวาได้ระบุเอาไว้ถึงการให้อำนาจแก่พรรคคอมมิวนิสต์ไว้ว่า "พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม..เป็นพลังจำของรัฐและสังคม"
            โครงสร้างากรบริาหรของประเทศเวียดนามนั้นมีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้บริหาร ตัวแทนที่เข้าไปอยู่ในสภมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี รัฐบาลนั้นมีนายกรัฐมนตรีเป็นผุ้นำซึ่งได้ับการคัดเลือกมาจากสมัชชาแห่งชาติ และดำรงตำแหน่งวาระ 5 ปี นอกจานี้ก็ยังมีประธานาธิบดี ซึ่งทำหน้าทีเป็นประมุขของรัฐเชนเดี่ยวกันและได้รับการคัดเลือกจากสมัชชาแห่งชาติเช่นเดี่ยวกันทั้งสองเป็นสมรชิกของกรมการเมือง ซึ่งกรมการเมืองเป็นกลุ่มของคนที่ถือว่าเป็นหัวกะทิของพรรค เป็นผุ้ที่มีอำนาจสุงสุดภายในประเทศ
             ลักษณะการปกครองแบบรวมศูนย์ของเวียดนามนั้น มีผุ้วิเคราะห์ไว้ว่า เกิดจากการได้รับอิทธิพลของสองความคิด คือ แนวคิดในลัทธิขงจื้อ ซึ่งเป็นมรดกจากการที่เวียดนามเคยอยู่ภายใต้การปกครองของจีนพันหว่าปี ซึ่งลักษณะของการกครองแบบขงจื้อคือการเน้นศูนย์อำนาจอยู่ที่ส่วนกลาง อีกความคิดหนึ่งที่ส่งผลต่อรูปแบบการปกครองเวียดนามก็คือแนวคิดในลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งแพร่ขยายเข้ามาสู่เวียดนามในช่วงคริสต์ศตวรษที่ 20  กรอบความคิดแบบคอมมิวนิสต์นั้นเน้นการปกครองแบบรัฐรวมศุนย์ เชื่อมั่ว่ากรรมสิทธิ์ทุกอย่างเป็นของสังคมโดยรวม ประชาชนมีสทิะิ์ในหารเข้ถึงทรัพยากรได้อย่างเท่าเที่ยม กังนั้เพื่อที่จะกำจัดนายทุนและปันส่วนจัดสรรการเข้าถึงทรัพากรให้กับทุกฝ่าย ส่งผลให้ปัจจัยการผลิตทั้งหมดนั้นต้อง
            ในช่วงที่ฝรั่งเศสปกครองเวียดนามและมีสหพันธ์อินโดจีนนั้น การดูแลสหพันธ์อินโดจีนนั้นอยู่ภายใต้กระทรวงอาณานิคม สหพันธ์อินโดจีนแบ่งโครงสร้างการบริหารออกเป็นการบริหารงานส่วนกลางและการบริหารส่วนภูมิภาค
            การบริหารงานส่วนกลาง ผุ้มีอำนาจสูงสุดในการบริหารงานคือ ผุ้ว่าการหสพันธ์อินโดจีน ซึ่งประจำการอยู่ที่กรุงฮานอย เขาเป็นตัวแทนสุงสุดในการทำการแทนรัฐบาลฝรั่งเศส โดยมีสภาสหพันะ์อินโดจีนเป็นผู้ช่วยในการตัดสินใจ สภาดังกล่าวประกอบไปด้วยผุ้ว่าการสหพันธ์เป็นประธานสภา และสมาชิกที่เป็นชาวฝรั่งเศส รวมไปถึงคนเวียดนามอีก 2 คนทำหน้าทีเป็นตัวแทนคนพื้นเมือง
            สภาหสพันธ์อินโดจีนประชุมปีละ 1 ครั้ง เพื่อภิปรายให้ความเห็นและอนุมัติวบประมาณ ผลการตัดสินหรือความเห็นชอบของสภาสหัพนธ์จะถูกส่งต่อไปยังกระทรวงที่สำคัญ 4 กระทรวงที่เกี่ยวข้อง คือ กระทรวงการบริหารกิจการการเมือง - การแกครอง กระทรวงกลาโหมกระทรวงกิจการภายในและสารนิเทศ และกระทรวงการคลัง
           การบริหารภูมิภาค ฝรั่งเศสแบ่งการบริหารส่วนภุมิภาคในบริเวณอินดดจีนออกเป็น 5 ส่วนด้วยกัน คือ ดังเกี่๋ย ตอนเหนือของเวียดนาม, อันนัม ตอนกลางของเวียดนาม, ลาว, กัมพุชา (รัฐในอารักขา) โคชินจีน หรือทางตอนใต้ของเวียดนาม(อาณานิคม) บริเวณโคชินจีนนั้นจัดเป็นอาณานิคม อยุ่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสโดยตรง ผุ้มีอำนาจสุงสุดในโคชินจีนคือผุ้ว่าอาณานิคม โดยขึ้นตรงกับผุ้ว่าการสหพันธ์อินโดจีนที่ฮานอย มีหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านเศรษฐกิจ การเวิน การภาษีอากร แต่ไม่มีอำนาจในการให้คำปรึกษาหรือตัดสินใจด้านการเมือง นอกจานี้ยังมีสภาอาณานิคมโคชิจีนอีก 16 คน ซึ่งประกอบไปด้วยชาวฝรั่งเศสและชาวเวียดนาม และยังมีสภาที่ปรึกษาผุ้ว่าการอาณานิคมที่ม่สมาชิกเป็นทั้งชาวฝรั่งเศสและชาวเวียนาม ในส่วนของรัฐอารักขานั้น มีผุ้ว่าการสูงสุดขงอรับอารักขา ตามแต่ละรัฐอารักขา โดยมีอำนาจสุสุดและขึ้ตรงต่อผุว่การสหพันธ์อินโดจีนที่ฮานอย แต่เฉพาะในอันนัมเท่านั้นที่ฝรัี่งเสสยังคงสภาบันจักรพรรดิที่เว้และงอคกรบริหารงานส่วนใหย๋ของรัฐบาลจักรวรรดิไว้ แต่ไม่มีอำนาจที่แท้จริงเพราะมีอำนาจแต่ทางงานพิธิีการที่เกี่ยวข้องกับจารีตประเพณี สภาที่มีอำนาจทีทแ้จริงคือสภาผุ้ว่าการัฐอารักขา โดยมีผุ้ว่าการัฐอารักขาเป็นประธาน
            ในช่วงที่ฝรั่งเศสเข้าไปปกครองเวียดนามและมีการแก้ไขโครงสร้างการปกครองท้องถิ่น ฝรั่งเศสแทบจะไม่เปลียนแปลงการปกครองในหมู่บ้าานเลย เพราะฝรั่งเศสคิดว่าจารีตการปกครองของปกครองในหมู่บ้านเลย เพราะฝรั่งเศสคิดว่าจารีตการปกครองของหมู่บ้านเวียดนามนั้นไม่มีผลต่อบทบาทของฝรังเศสในเวียดนาม ดังนั้นฝรั่งเศสจึงปล่อยให้รูปแบบที่เคยมีมานานแล้วในเวียดนามยังคงอยุ่ต่อไป
             ช่วงที่ฝรั่งเศสเข้าปกครองเวียดนาม มีการจัดระบบการศึกษาใหม่ในเวียดนามเพื่อให้ชาวเวียดนามเรียรู้วิธีการบริหารราชการของฝรั่งเศสและเรียนรู้วัฒนธรรมฝรั่งเศสอื่นๆ รวมทั้ง หลังจาฝรั่งเศสเข้ายึดเวียดนาม ปัญญาชนจำนวนมากไม่ยอมไใ้ความร่วมมือกับฝรังเศส ทำให้ฝรั่งเสสจำเป็นต้องสร้างนักบริหารและนักปกครองรุ่นใหม่ขึ้นมาทำงานใรระบอบอาณานิคม ด้วยกานจัดตั้งโรงเรียนสอนราชการ

           
             รูปแบบระบบการปกครองท้องถิ่นของเวียดนามในปัจจุบัน ต้องกล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า รูปแบบการปกครองท้องถ่ินของเวียดนามนั้น เวียดนามแทบจะไม่มีการปกครองท้องถิ่นอยู่เลย เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของเวียดนามไม่มีองค์ประกอบการปกครองท้องถิ่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเป้ฯอิสระของท้ถองถ่ินเพราะรัฐบาลส่วนกลางเข้ามาควบคุมดูแลในเกือบทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องงบประมาณ การบริหารงานบุคคล หรือการบริารงานทั่วไปที่ให้อิสระแก่ท้องถ่ินค่อนข้างน้อย การได้มาซึ่งผู้บริหารหรือสภาท้องถิ่นที่ผ่านการเลือกตั่งในรูปแบบที่รัฐสามารภควบคุมได้ คือ จัดให้มีการเลือกตั้งจริงในหน่วยการปกครองต่างๆ แต่การเลือกตั้งไม่มีการแข่งขัน ผุ้สมัตรรับเลือกตั้งล้วนสังกัดพรรคคอมมิวนิสต์ อีกทั้งยังต้องได้รับการรับรองจากคณะกรรมการบริหารพรรคคอมมิวนิสต์ในระดับบนก่อนเสมอจึงจะสามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผุ้บริหารท้องถิ่นได้ ดังนั้นรูปแบบการปกครองท้องถ่ินของเวียดนามจึงเทียบเคีรยงกับรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยได้ยาก
            อย่างไรก็ดี รัฐธรรมนูญเวียดนามได้กำหนดลำดับชั้นของการปกครองส่วนท้องถิ่นเอาไว้ ว่าด้วยสภาประชาชนและคณะกรรมการประชาชน รูปแบบการแบ่งการปกครองท้องถิ่นของเวียดนามนั้นอาจแตกต่างจากรัฐอื่นๆ เช่น สหพันธรัฐอย่างออสเตรเลียหรืออเมริกานั้นแบ่งรูปแบบการปกครองออกเป็น 3 ระดับด้วยกัน คือ ระดับสหพันธรัฐ ระดับรัฐ และระดับเดี่ยวอาจแบ่งกรปกครองอกเป็น 2 ระดับ คือ รัฐบาลกลางและรัฐบาลต่ำกว่าชาติ เวียดนามก็แบ่งการปกครองออกเป็นสองระดับ เช่นเดียวกัน ระดับต่ำกว่าชาติ ก็คือระดับท้องถิ่น
           รัฐธรรมนูญเวียดนามปี ค.ศ. 1992 รัฐบาลจัดโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่นออกเป็น 3 ระดับใหย๋ระดับสูงสุดคือรัฐบาลกลาง การปกครองท้องถิ่นระดับแรกคือระดับจังหวัด ระดับที่สองคือระดับเมืองและระดับที่สามคือระดับคอมมูน โดยในแต่ละระดับก็จะมีการแยกย่อยออกไปอีก ดังที่จะได้กล่าวในส่วนต่อไป ในแต่ละระดับ จะมีหน่วยงาานที่รับผิดชอบงานด้านท้องถิ่นอยู่ 4 หน่วยที่สำคัญคือ คณะกรรมการประชาชน สภาประชาชน ศาลประชาชน ตัวแทนประชาชน โดยในที่นี้จะมุ่งศึกษาแต่สภาประชาชนและคณกรรมการประชาชนเป้ฯหลัก เพราะเป็นสองหน่วยที่มีความเกี่ยวข้องกับการปกครองท้องถิ่นโดยตรง
            อำนาจหน้าที่ของท้องถิ่น เราจะเห็นได้จากอำนาจหน้าที่ของสภาประชาชนและคณะกรรมการประชาชนว่ามีหน้าที่ที่หลากหลาย ทั้งในประเด็นเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยองท้องถิ่น ความมั่นคงของประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ การดูแลวิทธยาศาตรืและเทคโนโลยี สิ่งเเวดดล้อม ศิลปะวัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ และอื่นๆ ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องจัดการเรือ่งสังคมของท้องถิ่นเป็นหลัก โครงสร้างการบริหารและทำงานของท้องถิ่นนั้นเป็นไปอย่างสลับซับซ้อน แต่ละระดับชั้นประกอบไปด้วยสภาประชาชนและคณะกรรมการประชาชน ซึ่งมีหน้าที่ในการรายงานตรวจสอบ ควบคุมการทำงานระหว่างกัน ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการตัดสินจและการทำงาน เพาระต้องอาศัยการเดินเรื่องเพื่อส่งต่อให้ตัดสินใจหลายขั้นตอน ทำให้การทำงานเกิดความล่าช้าในการตัดสินใจอนุมัติโครงการ
              ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางกับท้องถิ่น ในประเด็นเรื่องหน่วยของกความรับผิดชอบคือ ระดับของท้องถิ่นในการรับผิดชอบต่อการปกครองท้องถิ่น ท้องถิ่นของเวียดนามมีอำนาจในการจัดการประเด็นบางอย่าง เช่น ระบบการศึกษา กฎหมายหรือด้านตำรวจ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่รับผิดชอบสาธารณูปโภค เช่น ถนน ไฟฟ้า หรือโทรศัพท์ รวมถึงประเด็นเรื่องอุตสาหกรรม โรงพยาบาลก้เป็นหนึ่งในความรับผิดชอบของท้องถ่ิน และการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน โดยงบประมาณด้านสาธารณสุขนั้นจะมาจากค่าบริหารของผุ้ป่วยที่มาใช้บริหรในโรงพยาบาล การดุแลผู้สูงอายุและคนพิการนั้นเป็นหน้าที่ของครอบครัวที่ต้องดุแล แต่ก็มีหน่วยงานที่ช่วยดุแลบุคคลที่ไม่มีครอบครัวท้องถิ่นก็จะมีอำนาจในการดูแลหน่วยงานลักษณะนั้น หรืออาจกล่าวโดยสรุปก็คือ อำนาจของท้องถิ่นนั้นมีอำนาจในการดูแลประเด็นกว้างๆ ของสาธารณะ
             อย่างไรก็ดี ด้วยรูปแบบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ของเวียดนาม ส่งผลให้กระบวนการตัดสินใจและการบังคับออกกฎและดูแลท้องถ่ินของเวียดนามนั้นไม่เป็นอิสระ วบประมาณที่ต้องจัดสรรลงมาจากรัฐบาลส่วนกลางเพื่อดูแลท้องถิ่นนั้นก็เต็มไปด้วยกฎระเบียบเชิงราชการที่มีข้อกำหนดและกระบวนการมากมายเฉกเช่นเดี่ยวกับลักษระการทำงานของระบบราชการไทย ซึ่งส่งผลให้การกระทำการใดๆ นั้นเป็นไปด้วยความบ่าช้า ทั้งในเรื่องการตัดสินใจและการเบิกจ่ายวบประมาณ แต่ข้อดีของการผูกอำนาจไว้กับรัฐบาลส่วนกลางก็คือการที่รัฐบาลสามารถปรับเปลี่ยนวบประมาณไปในประเด็นที่มีความต้องการเร่งด่วนได้เร็วกว่า
             งบประมาณท้องถิ่น รูปแบบอำนาจด้านงบประมาณของเวียดนามนั้นเป็นลำดับขั้นอย่างมาก และเป็นไปตามแบบ Matruska Doll Model ซึ่งงบประมาณจากหน่วยการปกครองระดับล่างต้องได้รับการอนุมัติทั้งจากสภาประชาชนและจากหน่วยงานราชการระดับสูง งลประมาณของท้องถ่ินถูกถือรวมเป็นงบประมาณของท้องถ่ินถูกถอืรวมเป็นงบประมาณของรัฐ
           ท้องถิ่นไม่มีอิสระด้านวบประมาณของตัวเองมากนัก แม้ท้องถ่ินจะสามารถกำหนดเป้าหมายและของบประมาณไปยังส่วนกลาง แต่งบประมาณของท้องถิ่นก็ยังรวมกับวบส่วนกลาง นอกจากนี้.โครงสร้างแบบลำดับชั้น นั้นก็ส่งผลให้ต้องอาศัยการได้รับการอนุมัติที่ยุ่งยาก อย่างไรก็ดี กฎหมายที่มีความสำคัญต่องบประมาณของเวียดนามคือ กฎหมายวบประมาณของรัฐ ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996 และมีการแก้ไขครั้งล่าสุดในปี ค.ศ. 2002 กฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายฉบับแรกของเวียดนามที่มีการพูดถึงเรื่องงบประมาณการเงินและากรคลังของประเทศ
            ในปี ค.ศ. 1996 กฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดให้มีการแบ่งงบประมาณออกเป็นสองสวนใหญ๋คือวบประมาณส่วนกลางและวบประมษรท้องถ่ิน โดยวบประมารศ่วนกลางมีหน้าที่ในการสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลกลางเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของประทเส ในขณะที่วบประมาณส่วนท้องถิ่นนั้นมีหน้าที่ในการสนับสนุนการทำงานของสภประชาชนและคณกรรมการปรกชาชน รวมไปถึงหย่วยงานระดับท้องถ่ินทอืนๆ รวมไปถึงกระบวนการของวบประมาณและการจัดการการตรวจสอบ และอื่นๆ
           กฎหมายวบประมาณของรัฐได้รับการแห้ไขครั้งแรกในปี ค.ศ.1998 และอีกครั้งในปี ค.ศ. 2002 โดยกำหนดให้รัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นมีที่มาของรายได้ไม่ทับซ้อนกันในบางประเด็น และให้ใช้ร่วมกันในบางประเด็น ประเด็นที่สำคัญก็คือ แปล่งที่มาของรายได้นั้นมาจากแหล่งที่แตกต่างกันออกไปดังที่เสนอไปในตาราง ในส่วนของการตัดสินใจการใช้งบประมาณของสภาประชาชนนั้นจะเป็นการตัดสินใจโดยสภาประชาชนเองตามที่ได้รัฐบาลได้นัดสรรให้มา...
           ... ปัญหารเรื่องการรวมศุนย์อำนาจ เวียดนามปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ ปัญหาของการรวมสูนย์อำนาจของเวียดนามไว้ที่รัฐบาลส่วนกลางได้ส่งผลต่อกาปกครองท้ถงอิ่นของเวยดนาม อีกทั้งรูปแบบการปกครองท้องถ่ินของเวียดนามเองนั้นก็ไม่ได้เป็นไปในลักษระการปกครองท้องถิ่นที่สังคมไทยเข้าใจ เนื่องจากยังเน้นการปกครองจากส่วนกลาง การไม่มีโครงกสร้าง อำนาจ หน้าที่ การเงิน หรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ อีกทั้งปัญหาในระบอบการปกครองแบบคอมมิวินิสต์เองก็มีปัญหาในตัวของมนัน เราอาจสรุปได้ว่าปัญหาของการปกครองท้องถ่ินเวยดนามมีดังนี้
             - การทำงานขององค์รปกครองสวนท้องถ่ินขดการมีส่วนร่วมของประชาชน และขาดความกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหา
              - การตัดสินใจไม่มีความยือหยุ่น ไม่เป็นไปตามกำหมายซึ่งนำไปสู่การร้องทุกข์และการฟ้องร้อง
               - มีการละเมิดสิทธิขั้นพี้นฐานของประชาชน
               - มีการคอรัปชั้นกันอย่างกว้างขว้าง
               - เจ้าหน้าที่ท้องถ่ินไม่มีความคิดริเร่ิมในกิจการงานใหม่ๆ
               - เจ้าหน้าที่ท้องถ่ินมีการตอบสนองต่อความต้องการของเจ้านายระดับบนเป็ฯอย่างดีแต่ไม่ตอบสนองข้อเรียกร้องต่อประชาชน
               - เจ้าหน้าที่ไม่คุ้นเคยกับกฎระเบียบของกฎหมาย มักจะใช้ดุลยพินิจส่วนตัวในการแห้ไขปญ
               - เจ้าหน้าที่ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการออกกฎหมาย
               ทั้งหมดนี้ พอจะทำให้เห็นได้ว่า การปกครองท้องถ่ินของเวียดนามยังขาดความเป็นอิสระอยู่มาก ซึ่งมีลักาณะที่เรียกว่า "การปกครองท้องถิ่นโดยรัฐ" แต่แม้จะมีปัญหาดังที่ได้กล่าวมาในข้าองต้น รัฐบาลกลางของเวียดนามก็ได้พยายามแสวงหาแนวทางในการที่ะแก้ไขปัญหาที่มีความเกี่ยวข้องกับการปกครองท้องถิ่นเอาไว้บ้างแล้ว หลายๆ ปัญหาที่ได้หล่าวมา เกิดขึ้นจากการที่อำนานทั้งหลายของการปกครองท้ถงอิ่นไปกระจุกตัวอยู่ที่รัฐบาลส่วนกลาง ดังนั้น เพื่อจะเป็นการลดปัญหาการปกครองส่วนท้องถิ่นรัฐบาลเวียดนามจึงได้เร่ิมมีการพูดถึงการกรจายอำนาจไปสู่ท้องถ่ินโดยได้กำหนดหลักในการกะจายอำนาจดังนี้
               - กระจายอำนาจต้องไม่มีผลกระทบต่อความเป็นอันเหนึ่งอันเดียวกันของรัฐ อำนาจของรัฐต้องเป็นอันหนึ่งอันเดี่ยวกันจะแบ่งแยกไม่ได้
                - ต้องหารูปแบบที่เหมาะสมเสียก่อน กล่าวคือ การจะกระจายอำนาจไปสู่ท้องถ่ินนั้นต้องมีการทำการวิจัย ออกแบบ และวิเคราะห์ถึงผลกระทบในมิติต่างๆ เสียก่อน
                 - การกระจายอำนาจต้องดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปและระมักระวัง
                 - การกำหนดอำนาจกน้าที่ระหว่างสวนกลางและท้องถ่ินต้องเป็นไปเพื่อเพิ่มประสทิธิภาพของการทำงานของส่วนกลาวและในขณะเียวกันก็ต้องเพิ่มความเป็นอิสระของท้อถงิุ่นในการตัดสินใจด้านสังคมและเศรษฐกิจของท้องถิ่นนั้นๆ
                - อำนาจและหน้าที่ของทั้งรับบาลกลางและรัฐบาลท้องถ่ินต้องได้รับการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้ทราบว่าอำาจหน้าที่ใดมีความเมหาะสมกบท้องถ่ิน
                - หน่วยงานของส่วนกลางต้องไม่สร้างดครงสร้างองค์กรเหมือนกับโครงสร้างองค์กรของหน่วยงานของท้องถิ่น
                - การกระจายอำนาจที่ดีต้องก่อให้เกิดผล 4 ประการ คือ การมีการบริาหรกิจการบ้านเมืองที่ดี การเพ่ิมความสะดวกแก่ประชาชนในท้องที่ การส่งเสริมการปกครองโดยยึดหลักฎหมาย การเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน จากแนวคิดเรื่องการกรจายอำนาจดังกลล่าวส่งผลให้รัฐบาลมีการกำหนดบทบาทความรับผิดชอบกับรัฐบาลท้องถ่ินแยหกันไว้ 3 หน้าที่คือ
              1 รัฐบาลและหน่วยงาน่วนกลางทมีหน้าที่รับผิชอบหลัก 7 เรื่อง คือ การเมือง เศรษฐฏิจ วัฒนธรรม สังคม ป้องกันประเทศ การรักษาความสงบเรียบร้อย และการดำเนินการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
             2 ส่วนท้องถ่ินมีหน้ามีรับผิชอบตอประชาชนในท้องถ่ินในเรื่อง
                    - การสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีในท้องถิ่นให้สอดคล้งกบเจตนารมของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อหลักประกันเอกภาพความเป็นผุ้นำของรัฐบาลกลาง
                    - การดำเนินการอย่างสร้างสรรค์และอย่างมุ่งมั่นในการพัฒนาทุกด้านในท้องถิ่นในการบริการสาธารณะที่ดีต่อประชาชน
                    - การส่งเสริมการปกครองตามหลักนิติธรรมของรัฐสังคมนิยม และส่งสเริมกลไกของประชาชน โดยประชาชน เพื่อปรชาชน
                     - การธำรงรักษาความมั่นคงและปรับปรุงมตรฐานการครองชีพของประชาชน รวมท้งการพัฒนาการผลิตทั้งหลาย โดยมีการใช้ศักยภาพของคนให้เหมาะสม
           3 ความสัมพันธ์ของอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบระหว่างรัฐบาลกลางและท้องถ่ิน ต้องมีควมชัดเจน รัฐบาลเวียดนามถือว่าเรื่องนี้เป็นหัวใจสำคัญที่สุดในการปกคีองท้ถงิถ่ิน และเพื่อหลีกเลี่ยงการทำงานที่ซ็ำซ้อนและการสะดุด โดยยึดหลักการเป็นอิสระของท้องถิ่นและดดยส่งเสริมบทบาทของภาคประชาชนในการตรวจสอบลการทำงานของรัฐบาลกลางและท้องถิ่น


                                           - "ระบบการปกครองท้องถิ่น ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน : สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม", นรุตม์ เจริญศรี, วิทยาลัยพัฒนากากรปครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า, 2556.
                                   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...