วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560

Common Market

             กับการเปิดเขตการค้าเสรีในปี พ.ศ. 2558 กระทั่งปัจจุบันมีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดบ้างหรือไม่นั้นในปี พ.ศ. 2560 การดำเนินการต่างๆ ก็เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ต่อความคิดเห็นที่หลากหลายก่อนการเปิดเขตการค้าเสรีกับงาน "ประชุมวิชาการประจำปี 2555 สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัมหิดล" ได้มีผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสายวิชาการได้มาให้ความรูป้ซึ่งจะขอนำบางส่วนมาแสดงไว้ในที่นี้..
             ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล..
             เนื่องจากประชาคมอาเซียน มีพิทพ์เขียวที่มีแผนปฏิบติการไปสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนที่ควรจะสมบูรณ์ภายในปี 2558 ซึ่งคงไม่ใช่ทุกเรื่อง แต่ขอให้เข้าใจอาเซียนก่อนว่ามีความเป็นมาอย่างไร จะได้ไม่ผิดหวังมากนักเช่นเรื่องปฏิญญา เป็น TOR ที่เขียนขึ้นมาอยางเร่งอด่วนใต่อนที่ประเทศไทยเปนประธานอาเซียน การผลักดันให้เกิดขึ้นมาด้วยขีดจำกัดไม่เหมือนสไภาพยุโรปและจะไม่ใช่มาตรฐานสากลในหลายๆ เรื่องแต่เรื่องที่อยากให้ได้มาตรฐานสากลเร็วๆ คือเรื่องการค้า (AEC) ส่วนเรื่องวัฒนธรรมเป็นจุดเด่นของอาเซียนเพราะมีความหลากหลาย ถ้าสามัคคีเห็นความงดงามของความแตกต่างกันได้จะเป็นจุดเด่นเพราะว่าหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนา ชาติพันธุ์และเข้าใจกัน ซึ่งคิดว่ากว่าจะรักกันคงไม่ใช่ภายในปี 2558 อาจจะอีกหลายปี เพราะฉะนั้นอาเซียนเป็นองค์กรที่เรียกว่าตกลงกันด้วยฉันทามติ ไม่ใช้การโหวตเพราะถ้าโหวตก็โกรธกันการประชุมทุกครั้งจึงต้องมีการถามกันไปถามกันมา เพราะฉะนั้นขอให้พลเมืองอาเซียนเข้าใจว่าอาเซียนอยู่กันในลักษณธที่ว่าถ้าทำได้ก็ทำ ถ้าทำไม่ได้ก็ยังไม่ต้องทำ โดยอาเซียนมีสูตรการร่วมมือกัันที่เรียกว่า ASEAN-X คือบางประเทศที่ไม่พร้อมก็ลบออกไปก่อน เช่นเขตการค้าเสรีอาเซียนนั้น คนที่พร้อมกว่าเพื่อนคือประเทศไทย เพราะเราเป็นคนเสนอให้เปิดเขตการต้าเสรีในปี 2535 ถ้าไม่พร้อมไม่เสนอ การลดกำแพงภาษีสินค้ารายการต่างๆ จากที่มีอยู่เหลือ 30% ก็เกิดในปี 2536 การลดเหลือ 0% เกือบทุกรายการสินค้าก็เมือ 1 มกราคม 2554 โดยเกือบ 2 ปี แล้วที่เขตการค้าเสรีอาเซียนนั้นสมบุรณ์ในประเภทการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนโดยไม่มีภาษีระหว่ง 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน ส่วนประเทศที่ไม่พร้อมคือ เขมร ลาว พม่า เวียดนาม จึงของลบเป้น -4x และรอวันที่ 1 มกตราคม 2558 จะได้เตรียมผุ้ผลิตในประเทศเพื่อให้พร้อมรับมือกับสินค้าที่จะทะลักเข้ามาโดยไม่มีภาษี แต่ AEC ก็มีมากกว่าเรื่องขนส่งสินค้า ดังนั้น จึงขอให้เข้าใจว่าอาเซียนนั้นค่อยๆ ไป ถ้าไม่พร้อมก็รอโดยหน้าที่ของพวกเราคือทำงานให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง
              ใน First ASEAN people forum ปี 2009 ซึ่งมีความต้องการให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ได้แสดงออกอย่างเต็มี่จึงเป็นหน้าที่ของทุกท่านที่ทำงานอยุ่ที่ต้องผลักดันอย่งเต็มที่เรื่องของ Food Security กับ Food Safety มากแต่ Food Security and Safety เน้นไปที่ Food Safety มากแต่ Fod Security ก็ยังมีเช่น บัญญัติไว้ว่าต้องมีการ stock อาหารไว้ในยามฉุกเฉินหรือเกิดทุพภิขภัย หรือถ้ามีอาหารก็ต้องกระจายให้ทัีวถึง ให้มีอาหารพร้อมที่ให้ชาวบ้านในอาเซียนทั้ง 10 ชาติได้มีกินมีใช้ทุกเวลา หรือการใช้เทคโนโลยีการผลิตอาหารเข้าสู่ Preseved food ดังนั้นจะเห็นว่ามีการพูดถึงเรื่อง security food โดยแม้ คืออาเซียนนั้นไปตามกระแสโลก
             สำหนับเรื่องความมั่นคงที่เรียกว่า Non Tradition Security ประกอบด้วย Food Environment การต้ามนุษย์ การค้าอาวุธ กากนิวเคลียร์ เป็นความมั่นคงที่ไม่ใช่แบบแผนดั้งเดิม ทั้งนี้อยากให้คนไทยดุจุดบกพร่องของความงดงามของพิมพ์เขียวซึ่งข้อบกพร่องมีมากที่ไม่ได้มาตรฐานแต่พยายามจะอธิบายว่าทำไมเกิดความคิดเชิงลบ เพราะว่าผมคิดว่านักคิด นักวิชาการได้รัีบวิธีคิดโดยรับความรูแบบโลกาภิวัฒน์คือเดินทางท่องเที่ยวศึกษาหาความรู้แลกปลี่ยน ไปดูงานวิจัยที่ผมใช้อ้างอิง่อยๆ ในการบรรยาย ของนิตยสาร The Economist ซึ่งใช้นักวิจัยในอังกฤษเป็นสถาบันเลย หรือสถาบันทอีกที่ใน นิวยอร์ก เรียกว่า อินสติติวส์ เลกูลัมซ์ ที่วิจัยเรื่องประชาธิปไตยในโลก โดยพบว่าประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ของดัชนีความเป็นประชาธิปไตยในอาเซียนแต่อยู่ประมาณที่ 50 ของโลก ไม่ไปถึงไหน โดยไทย อินโดนีเซีย มาเลเซียอยู่กลุ่มประชาธิปไตยแบบมีตำหนิ ส่วนประเทศอื่นๆ เช่น เขมร สิงค์โปร บางที่ก็เป็ฯบางทีก็ไม่เป็นประชาธิปไตย บางปรเทศก็ไม่เป็นประชาธิปไตย  รัฐเผด็จการ เช่น ลาว เวียดนาม พม่า ซึงประเด็นี้เองทำให้ประชาคมอาเซียนเกิดมในโลกที่ต้องพึ่งพากัน เรียกว่า Interdependent World ในทางรัฐศาสตร์เพราะฉะนั้นประเทศที่ไม่พร้อมในการรวมกลุ่มก็ต้องรีบรมกลุ่มเพื่อการต้า แต่แรกเริ่มเดิมที่นั้นเพื่อความมั่นคงเพราะกลัวคอมมิวนิสต์ เลยทำให้มุ่งเน้นกันแต่ AEC การเมืองความมันคงก็มีการลงนามมาหลายคณะ ส่วนเรื่องวัฒนธรรมก็เป็นความงดงามที่อยุด้วยกันแบบหลากหลาย ทำให้อาเซียนเกิดขึ้นมาอย่างหลวมๆ โดยเกิดมา 42 ปีแล้ว ก็ยังไม่เป็นรูปเป็นร่างจึงบอกกันว่า มีแค่ 3 ประชาคมแล้ว ในปี 2020 จะต้องมีประชาคมอาเซียนที่สมบูรณ์แต่คิดว่าช้าไปจึงเป็นปี 2015 เพราะต้องมีการแข่งขันกัน แต่ในความเป็นจริงประชาคมอาเซียน เขตการค้าเสรีนั้นเปิดมาตั้งนานแบ้วแต่ยัยไงไม่มีแผนท ทำให้เข้าใจผิดกันว่ายังไม่เปิด
              ต่อไปเรามาพูดถึงเรื่องของเศรษฐกิจ ซึ่งสำคัญและซีเรียสเพราะประชาคมอาเซียนมี AEC Score Card มีการประเมินผล ว่าแต่ละปีนั้นต้องทำอะไรบางเช่นปีนี้การลงทุนข้ามพรมแดนทาดงด้านอุตสาหกรรมบริการ เราสามารถไปลงทุนโดยเป็นเจ้าของกิจการในอาเซียนได้ 60% ปี 2558 ได้ 70% หรือมีการบอกว่าไปตั้งโรงเรียนเป้ฯ Service Industry ได้ในต่างประเทศแต่ในความเป็นจริงคือก็ยังไม่ได้ เพราะกฎหมายในประเทศนั้นๆ ยังไม่ได้แก้ เช่นจะไปตั้งคลินิคในสิงคโปร์ก็ยังทำไม่ได้ สิ่งที่อยากจะเน้นคือเรื่องประชคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้นเกิดมานานแล้ว แต่สิ่งที่เราดังวลคือเรื่องการเคลื่อนย้ายพรมแดนของผุ้ประกอบวิชาชีพ ซึ่งเจรจากันได้แค่ 7 อาชีพใน 30,000 กว่าอาชีพ โดย 7 อาชีพที่ว่าเจรจาได้แค่มาตรฐานเท่านั้นแต่ไม่ได้ออกประกาศนียบัตรรับรองว่าจะได้ไปทำงานที่ไกน ไม่ได้ระบุสถานที่ ้องไปหางานทำเอาหาได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ไม่ได้ แต่ภ้ากฎหมายยังไม่ผ่านก็ไม่ได้อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นประชคมอาเซียนยังมีหนทางอีกยาวำกล สรุปภาพรวมคือ คนไทยต้องไม่กลัวการเปิประชคมอาเซียนเพราะมันเปิดมาตั้งนานแล้วและไทยก็เป็นผู้ริเริ่ม การเปิดเขตการต้าเสรีในเรื่อง AFTA ประเทศไทยก็เป็นครเสนอและทางเราก็พร้อมที่จะแข่งขัน ส่วนเรื่องภาษาอังกฤษอย่ไปกังวลว่าเราไม่พร้อม ต้องภูมิใจว่าเราไมได้เป็นอาณานิคมของใคร ให้พอแค่สื่อสารกันไดก็เพียงพอไม่ถึึงขนาดต้องเก่งกาจ โดยขอให้เน้าภาษอาเซียนจะดีกว่าเืพ่อการสื่อสารกันในการทำมาหากินหรือหาเครือข่าย
                คุณศิริบูรณ์ ณัฐพันธ์
                ขอขอบคุณข้อมูลจากอาจารย์แต่ละท่านที่ทำให้เราได้เห็นมุมมองต่างๆ อย่างรอบด้านเพื่อให้เราตัดสินใจได้ว่าจะเดินหน้าต่อไปอย่างไรดี ผู้ที่ทำงานสื่อสารมวลชน เป็นนักวิชาการ ผู้ที่ติดตาอาเซยนมาตลอด ประเด็นสำคัญที่จะพูดคุยกัน ระบบสุขภาพ ซึ่งมีการพาดพิงเรื่องวิชาชีพ แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เป็นวิชาชีพที่ถูกพูดถึงมากเมือมีการเปิด AEC แม้จะบอกว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ทำให้มีข้อเป้นห้วงใหญ่ๆ ว่าจะเกิดปัญหาสมองไหลในอาเซียนหรือไม่
                 นายแพทย์พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข
                  มองในด้านวิชาการ เร่ิมจากการตั้งคำถามว่า จินตนาการหรือความที่เราอยากเห็นประชาคมอาเซียนเป็นยังไงนั้น หน้าตามันคืออะไร เช่น European Community คือตัวอย่างภาพที่เราอย่ากเห็นใช่ไหม แล้วเราก็ยอมรับว่าเรายังไม่ค่อยสมบูรณ์และค่อยๆ คืบคลานไปสู่เป้าหมายสุดท้าย นั้คือ ยูโรเปี้ยน คอมมูนิตี้ หรือเปล่า คือผมก็ยังไม่ทราบยุทธศาสตร์ในสมัยนั้นหรือจุประสงค์ในการสร้างประชาคมอาเซียนขึ้นมา ส่วนที่ 2 คือเวลาเราสร้างประชาคมอาเว๊ยนขึ้นมา สิ่งที่เราเรียกว่าปัจจัยพื้นบานในการสร้างประชาคึมนั้นมีอยู่จริงและสามารถสร้างได้จริงหรือเปล่า ซึ่งผมก็เห็นว่าทางประชาคมยุโรปนั้นมีความแตกต่างไม่ขนาดเท่าของเรา เพราะของเรานี่ตั้งแต่จนที่สุดคือกำลังพัฒนา GDP ประชากรไม่ถึง1000 ไปจนถึงสิงคโปร์ที่วยกว่าสวิสเซอร์แลนด์นั้น เราจะสร้างประชาชนที่มีเงื่อนไขต่างกันมากขนาดนี้ได้จริงหรือ เรากำลังสร้างส่ิงที่มันเป็นไปไม่ได้ใช่หรือเปล่าและมาหลอกว่ากำลังจะทำให้มันเป็น ถ้ามันเป็นไปได้เราจะเห็นถึงภาพสะท้อนของความเป็นไปไม่ได้ของอุดมการณ์ อุดมคติของสิ่งที่เรจะสร้างกับสิ่งที่เรียกว่า Fundamental ของการที่จะสร้างให้มันเกิดขึ้นมา เกิดขึ้นอยุ่ตลอดเวลา ซึ่งหลายตั้งจะเห็นสิ่งที่เรียกว่าภาพสะท้อนนโยบายที่ขัดแย้งกันเองภายใต้อุดมการณ์ชุดใหญ่นี้แล้วฝันนั้นจะเป้นจริงได้จริงหรือ
             
  ส่วนที่ 2 คือตัวเราเองที่จะต้องเข้าใจประเทศต่างๆ ต้องเรียนรุ้ภาษาอื่นๆ นั้น ทำให้เกิดคำถามว่าเราเข้าใจตัวเองมากขนาดไหน การศึกษาได้สร้าทัศนคติที่เรามีต่อประเทศต่างๆ วึ่งเราได้ปลูกฝังค่านิยมชุดหนึ่งขึ้นมาในตัวเราโดยที่ไม่รู้ตัว เราเหยีดประเทศลาว เราเหยียดประเทศกัมพูชา และไปแสดงทัศนคติต่อประเทศเพื่อบ้านว่าเราเหนือกว่า และเขาต่ำกว่า และโดยไม่รู้ตัวว่าเรารู้สึกด้อยกล่าชาติตะวันตกแต่ก็เหยียบคนอื่นที่เป็นเพื่อนบ้านเรา ทำให้เกิดคำถามว่าวิธีคิดแบบนี้จะทำให้เราสร้างประชาคมได้หรือ ถ้ามองในแงของประชาคมคือกำลังรู้สึกว่าส่วนหนึ่งเรากำหลังจะสร้าง Solidarity ในระดับภูมิภาคขึ้นมา คือความรุ้สึกเป็นเอกภาพว่าเราคือพวกเดี่ยวกัน คนทุกข์ร้อนเราก็ทุกข์้อน เช่นกิดพายุโซโครนากิสในพม่า คนประเทศพม่าเดือดร้อนเราก็เดือดร้อนโดยเดือดร้อนเพราะเป็นคนนภูมิภภาคของเรา เราามารถคิดแบบนั้นได้หรือไม่ถ้าเรายังคิดแค่ว่ากลัวคนไทยจะได้รับผลกระทบแปลว่าเรายังเอาตัวเราเองเป็นศูนย์กลางอยู่ ความรู้สึกสำนึกที่จะเรียกว่าเป็นประชากรภูมิภาคนั้นมันไม่เกิด
              ดังนั้นโดยรวมคิดว่าทุกคนพยายามจะสร้างเงื่อนไขของประชาคมในฐานะที่เป็นที่แสวงหาประโยชน์ เพราะถ้าพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจก็คือเป็นที่ตักตวงผลประโยชน์ในลักษณะที่ว่า เรารอดแล้วทั้งประชาคมรอดหรือไม่นั้นเราก็อาจไม่ได้มองว่าเป็นประเด็นสำคัญ ดังนั้นประเทศที่พัฒนาแล้วเร่ิมดึงเอาบุคลากรทางสาธารณสุขเข้าาเพื่อรักษาพลเมืองของตัวเอง โดยมีแนวคิดคือแรงงานราคาถูกทำให้เกิดการตั้งคำถามในองค์การอนามัยโลกว่าแล้วคุณคิดถึงประเทศที่ส่งออกบุคลากรหรือไม่ว่า เขาจะไม่มีหมอมาดูแลคนไข้ของประเทศตัวเองแล้วเราไปดึงบุคลากรเขามา แบบนี้ใช้วิะีการที่เหมาะสมของประชาคมดลกทีพัฒนาแล้วหรือยัง โดยประเด็นั้นก็จะเกิดขึ้นกับเมืองไทยด้วย... ( หลากหลายมุมมองต่อการก้าวสุ่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 : โอกาสและความท้าทายในมิติตสุขภาพ)

               .... ในปี 2558 อาเซียนจะก้าวไปสู่การเป็น AEC ซึ่งเป็นการก้าวข้ามจาก FAT มาเป็น "ตลาดร่วม" โดยมีจุดมุ่งหมายที่่จะเป็นตลาดเดี่ยวและฐานการผลิตเดียว เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ถือว่า AEC จะเป็นตลาดร่วมที่ไ่เต็รูปแบบ เพราะติดที่การเคลื่อนย้ายแรงงาน เนื่องจากหลายประเทศเกรงว่าจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงและค่าแรง ซึ่งจะทำให้ผุ้ใช้แรงงานภายในประเทศเดือดร้อน
                ต่อคำถามที่ว่าในอนาคต อาเซียนจะใช้เงินสกุลเดียวกันอย่างในยุโรปได้มั้ย..อยากจะบอกว่าแค่คิดก็ผิดแล้ว และมั่นใจว่ามันจะไม่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของ
พวกเรา เหตุผลก็เพราะช่องว่างการพัฒนา ระหว่างอาเซียนด้วยกันเองนับว่ากว้างมาก ซึ่งจะป็นอุปสรรคสำคัญต่อการที่จะต้องดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจร่วมกัน จริงอยุ่ที่การใช้เงินสกุลเดี่ยวกันจะทำให้การค้าในภูมิภาคเป็นไปอย่างสะด้วกมากขึ้น แต่ผลเสียมีมากว่าผลดีแนนอน ยกตัวอย่างวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ค่าเงินบาทอ่อนตัวลง เป็นปัจจัยที่ทำให้การส่งออกเพิ่มสุงขึ้นเป็็นอย่างมาก และเป็นตัวฉุดให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวจากภาวะซบเซาอย่างรวดเร็ว นี้เป็นผลพวงของความเป็นอิสระในการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน
              ตัวอย่าง กรณีของกรีซ ประเทศเจอวิกฤตหนี้เป็ฯระยะเวลานานถึงเกือบ 5 ปีแล้ว ป่านนี้ยังไม่ฟื้นตัวเลย จะออกจากยูโรโซนก็ลำบาก เพราะจะมีผลกระทบต่อยุโรปอย่งมหาศาล อยุ่ต่อไปก็ไม่มีอิสระในการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินยูโรไม่สามารถที่จะอ่อนตัวลงได้มากจนทำให้สินค้าส่งออกของกรีซเป็นที่น่านใจมากขึ้น การส่งออกไม่สามารถเป็นตัวขับเคลื่นอให้เศรษฐกิจกรีซดีขึ้น ก็เลยต้องอยุ่ในภาวะซบเซาที่ยืดเยื้อต่อไป
             ฉะนั้น มันไม่จำเป็นที่อาเซียนอย่างเราจะต้องเจริญรอยตามสหภาพยุโปร โดยมีความเห็นว่า การรวมตัวของประเทศสมาชิกอาเซียนภายใต้กรอบ AEC ในรูปแบบที่เป็นอยู่น่าจะเพียงพอแล้ว ในระยะ 5 - 10 ปีนี้
            การจัดลำดับความสำคัญไม่ควรอยุ่ที่การเจรจาให้มีการรวมตัวทางเสณาฐกิจที่แน่นแฟ้นเหนียวแน่นมากขึ้น แต่สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกก็คืออาเซยนควรมีความจริงใจต่อกันและกันให้มากกว่านี้ ภาครัฐของทั้ง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนควรร่วมใจกันกำจัดอุปสรรคทางการต้าแบบแอบแผงในรูปของมาตรฐานต่างๆ และควรที่จะปรับเปลี่ยนกฎระเบียบภายในประเทศให้สอดคล้องกับกรอบข้อตกลง เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้บุคคลและภาคธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากการเป็น AEC ให้ได้มากที่สุดแลเห็นผลเป็นูปธรรมชัดเจน มิฉะนั้นจะถือว่าการเจรจาทางการค้าที่ดำเนิมากกว่า 20 ปีก็จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับภุมิภาคอย่างเต็มที่...("AEC..ก้าวหนึ่งที่เข้มข้นของการรวมตัวทางเศราฐกิจอาเซียน..www.siamintelligence.com)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...