Ethnicity of Asain

              ชาติพันธ์ คือกลุ่มคนที่มีจุดกำเนิดของบรรพบุรุษร่วมกัน มีขนบธรรมเนียมประเพฯีเป็นแบบแผนเดียวกัน รวมถึงมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม เชื้อชาติและสญชาติสอดคล้องกัน สำหรับผุ้คนที่อยู่ในกลุ่มชาติพันธ์เดียวกัน มักมีความรู้สึกผูกพันทางสายเลือดและทางวัฒนธรรมพร้อมๆ กันไป โดยเป็นความรู้สึกผูกพันที่ช่วยเสริมสร้างอัตลักษณ์ของบุคคลและของชาติพันธ์ุและในขณะเดียวกัน ก็สามารถเร้าอารมณ์ความรู้สึกให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิง ถ้าผุ้ที่อยู่ในกลุ่มชาติพันธ์ุนั้นนับถือศาสนาเดียวกัน หรือได้รับอิทธิพลจากกระบวนการกล่มเกลาทางสังคมแบบเดียวกัน
             ชาติพันธ์ คือ สิ่งที่แสดงถึงพื้นฐานความเป็ฯมนุษย์ในแต่ละเช้อชาติและแสดงถึงวิวัฒนาะการของระบบสังคมการเมือง โดยในแต่ละภูมิภาคมักประกอบไปด้วยกลุ่มคนหลากหลายเผ่านพันธุ์ โดยแต่ละเชื้อชาติก็จะมีวัฒนธรรมและประเพณีที่สวยงามเป็ฯของตนเอง ซ่ึ่งจัดว่าเป็นสีสันทางชาติพันธุ์ของมนุษย์อย่างหนึ่งและเป็นความงดงามของสัคมโลกที่ประกอบไปด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย
            อุษาคเนย์ หระ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์ทางอารยธรรมและชาติพันธุ์วรรณนา ดดยหากพัิจารณาความแตกต่างทางภาษา อาจจัดแบ่งกลุ่มชาติพันธุ์ออกเป็นกลุ่มหลัก ได้แก่
         
- กลุ่มตระกูลมอญ-เขมร หรือ ออสโตรเอเชียติก เช่น มอญ เขมร ลัวะ ข่า ม้อย ฯลฯ
            - กลุ่มตระกูลชวา-มลายู หรือออสโตรเนเซียน/มาลาโยโพลินิเซียน อาทิ ชวา มลายู จาม มอแกน ซาไก ฯลฯ
            - กลุ่มตระกูลไทย-ลาว เช่น ไทย ลาว จ้วง หลี อาหม ฯ ลฯ
            - กลุ่มตระกูลจีน-ทิเบต อาทิ พม่า กระเหรี่ยง อะข่า ปะด่อ ฯลฯ
            - กลุ่มตระกุลม้ง-เมี่ยน เช่น แม้ว เย้า ฯลฯ
            ขณะเดียวกันหากแบ่งตามตามการนับถือศาสนา กลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียอาคเนย์ก็มักมักประกอบด้วย
             - กลุ่มที่นับถือศาสนาพุทธ เช่น ไทย พม่า ลาว เขมร ฯลฯ
             - กลุ่มที่นับถือศาสนาอิสลาม เช่น ชวา มลายู จาม โรฮิงยา ฯลฯ
             - กลุ่มที่นับถือศาสนาคริสต์ เช่น ฟิลิปปินส์ คะฉิ่น ติมอร์ ฯลฯ และ
             - กลุ่มนับถือภูต ผี ท้องถ่ิน เช่น อะข่า ขมุ มูเซอ ลีซอ ฯลฯ
             ในอีกแง่มุน หากพิจารณาตามรูปแบบการตั้งถ่ินฐาน ก็อาจแหบ่งกลุ่มชาติพันธุ์ออกเป็น "ชนกลุ่มใหญ่" ซึ่งมักอาศัยอยุ่ในเขตที่รอบและหุบเขา กับ "ชนกลุ่มน้อย" ซึ่งมักอาศัยอยุ่ในเขตภูเขาและมี่สูงชัน ดดยแต่ละกลุ่มล้วนมีวิวัฒนาการและระดับการพัฒนาที่หลากหลายพอๆ กัน เช่น ชนที่ราบอย่างชาวพม่า ชาวเขมรและชาวเวียดนาม มักมีความชำนาญในการ ปลูกข้าว รวมถึงมีรากฐานอารยธรรมที่อิงแอบอยู่กับโครงข่ายชลประทานและระบบสังคมกสิกรรม
ในขณะที่ ชนภุเขาอย่างชาวลีซอ ชาวลาหู่และชาวอะขา มักดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูกแบบเร่ร่อน โดยเน้นการล่าสัตว์ เก็บของป่าและทำไร่เลือนลอย แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งชนที่ราบและชนภูเขา ต่างมีปฏิสัมพันธ์ทางการเมือง การค้า  ภาษาและวัฒนธรรม ไม่มากก็น้อย ซึ่งจัดเป็นแบบแผนทางวัฒนธรรมที่พบเห็นได้ทั่วไปโดยเฉพาะอยา่งยิงในเขตเอชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป
              นอกจากนี้น หากวิเคราห์ตามหลักรัฐศาสตร์ ก็อาจจัแบ่งกลุ่ทชนออกเป็น "ชนกลุ่มใหญ่" และ"ชนกลุ่มน้อย" ได้เช่นกัน โดยในแต่ละรัฐ มักมีกลุ่มชาติพันธุหลากหลายกลุ่มอาศัยอยุ่ในประเทศเดียวกันโดยกลุ่มชาติพันู์ที่มีอำนาจในการปกครองประเทศ มักถือว่าเป็นชนกลุ่มใหญ่ ส่วนหลุ่มชาติพันู์ที่ไม่มีอำนาจในการปกอครงอประเทศ มักเรียกขานกันว่าชนกลุ่มน้อย เช่น ปะเทศพม่าซึ่งประกอบด้วยชาวพม่าที่เป็นปมู่มากภายในประเทศ และชนเผ่าต่างๆ เช่น กะเหรี่ยง คะฉิ่น มอญ ไทใหญ่ คะยาห์ ฯลฯ ซึ่งถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่ยังขาดอำนาจในการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น
             Ernst B.Hass ให้ทรรศนะว่า ความสำเร็จของการรวมตัวระหว่างประเทศ ควรประกอบด้วยเงื่อนไขสำคัญ 4 ประการ ได้แก่
              ความสอดคล้องกันในเรื่องค่านิยมพื้นฐานทางสังคม
              โอกาสและความสามารถในการต่อรองเรื่องผลประดยชน์ระหว่างหน่วยการเมืองต่างๆ
              เครือข่ายการติดต่อสื่อสารภายในชุมชนนั้นๆ และ
              ลักษณะความเป็นพหุนิยมของสังคม
         
  Philip E.Jacop& Henry Teune อธิบายถึงปัจจัยบางประการที่มีอทธิพลต่อการรวมตัวกันใรรูปแบบประชาคมระหว่างผระเทศ ซึ่งมักประกอบด้วย
               ความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ เพื่อความสะดวกในการไปมาหาสู่และกระชับความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ
               ประชากรในชาติที่จะรวมตัวกนเป็นประชาคมควรมีเชื้อสายหรือเผ่าพันู์เดียวกัน หรืออย่างน้อยที่สุดก็คล้ายคลึงกัน
 กลุ่มที่จะรวมตัวกันควรมีแบบแผนการปฏิบัต ประสบการณ์ จุดมุ่งหมายและคงามเข้าใจร่วมกนเพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้กับประชาคม และ
                สภานภาพของประชคมที่จะตั้งขึ้นควรมีความเป็นกลาง และไม่ผูกพันหรือพึงพาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมากเกินไป
                 จากการสำรวจข้อคิดเห็นของนักทฤษฎีโดยสังเขป อาจกล่าวได้ว่า การ้อยรัดประชาชาิตเข้าเป็นประชคมเดียวกันอย่างแนบแน่น ควรมีการเสาะหารูปแบบวัฒนธรรมร่วมประจำกลุ่มพร้อมกับปรับเทคนิคความร่วมมือเพื่อขัดแต่างให้รัฐและผุ้คนที่หลากหลายต่างมความเข้าใจและเห็ฯอกเห็นใจซึ่งกันและกันโดยในกรณีของอาเซียนั้น หากสมาชิกสามารถโน้มน้าวให้ชนกลุ่มใหญ่และชนกลุ่มน้อยมีความต้องการที่จะอยุ่ร่วมกันอย่างสันตุภายในประชาคมเดียวกัน โดยมีความภักดีและเคารพนอบน้อมต่อประชคมนั้นๆ แต่ก็ยังมีโอกาสรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนได้พอสมควรความสำเร็จในการบูรณาการอาจเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งก็ต้องทำควบคู่กันไปทั้งในลักษณะของความเป็นประชาคมแห่งรัฐและประชาคมแห่งภูมิภาค ยกตัวอย่างเช่น ในขณะที่ชนชาติต่างๆ ในอินโดนีเซีย ต่างอยู่ายใต้ประชาคมการเมืองเดี่ยวกัน ดดยมีธงชาติ เพลงชาติและอุดมการณ์แห่งชาติร่วมกัน แต่ชนชาติต่างๆ นั้นยังคงรักษาวัฒนธรรมย่อย ของตนเอาไว้ เช่น ประเพณีแบบฮินดูของชาวบาหลี หรืป ประเพณีแบบเมลานีเซียนของขาวอิเรียนจาร์ยา


             - ความหลากหลายทางชาติพันธุ์กับการอยู่ร่วมกันเป็นประชาคมอาเชียน, ดุลยภาค ปรชารัชช

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)