แจ็คหม่า เจ้าพ่ออาลีบาบา ยักษ์ใหญ่ E-commerce ของจีน ประกาศลงทุนใหญ่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าประจำภูมิภาคอาเซียนที่มาเลเซีย และร่วมผลักดันมาเลเซียให้เป็น "ศุนย์กลาง E-Commerce" ประจำภูมิภาค เพื่อนผมไม่น้อยรู้สึกแปลกใจ และเสียดายเทนรัฐบาลไทย แต่ผมกลับคิดว่า รัฐบาลเราอาจไม่ได้เสียใจอะไรมากก็ได้..เนื่องจากยังไม่พร้อม และไม่กล้าเดิมพันเหมือนกับรํฐบาลมาเลเซีย หรือ เรายังไม่แน่ใจว่าถ้าเเจ็คหม่า บุกเรา เราจะได้ประโยชน์จริง หรือแจ็คหม่าและสินค้าจีนจะกินรวบประเทศไทย...
นโยบายเขตการต้าเสรีดิจิตัล(DFTZ) ของมาเลเซีย สิ่งสำคัญที่มาเลเซียนอมตามข้อเสนอของเจ็คหม่า ก็คือ การจัดตั้ง "เขตการต้าเสรีดิจิตัล" แจ็คหม่าให้สัมภาษณ์ว่า ตัวเขาพยายามนำเสนอไอเดียนี้กับรัฐบาบยุดรปและรัฐบาลในประเทศเอเซียหลายประทเศ แ่ทุกประเทศของเวลาศึกษาก่อน มีนายกฯ นาจิบของมาเลเซียที่ตกลงรับข้อเสนอ และใช้เวลาต่อมาอีก 4 เดือน ก่อนประะกาศจัดตั้งเขต การข้าเสรีดิจิตัลอย่างเป้ฯทางการ
เขต DFTZ นับเป็นเขตการต้าเสรีดิจิตัลแห่งแรกของโลก สินค้า E-Commerce (ไม่จำกันว่าเป้ฯสินค้าจากชาติไหน) ที่ส่งผ่านเข้ามาในเขตนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี(ภาษีศุลกากร ภาณีอื่นๆ และค่าธรรมเนียมต่างๆ ) รวมทั้งลดขั้นตอนการขออนุญาตที่ยุ่งยากลงด้วย โครงการที่เสร็จสมบูรณืของเขต DFTZ จะเปิดใช้งานในปี ค.ศ. 2019 โดยแบ่งเป้นสามส่วน ได้แก่
E-Fulfillment Hub คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า E-Commerce ณ สนามบินนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ลงทุนโดยเครืออาลีบาบา, Cainiao (พันธมิตรด้านโลจิสตกิส์ของอาลีบาบา), Lazada (E-Commerce ใหญ่ในเอเซีย ซึ่งอาลีบาบาซื้อไปแล้ว),และ POS Malasia(ไปรษณ๊ย์มาเลเซีย) โดยสินค้าจะผ่านกระบวนการจัดการด้านศุลกากรที่สะดวกและรวดเร็ว
Satellite Service Hub ตั้งอยู่ที่ "Internet City"ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ โดย Catcha Group ของมาเลเซียจะเป้นผุ้ลงทุนด้วยวงเงิน 1.3พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ประกอบด้วยอาคารสำนักงานสำหรับ start-up, Co-Working Space, และโชว์รูม O2O (Offline to Online) เป้าหมายเพื่อเป็นที่รวมตัวของบริษัท Tech ในภูมิภาคมากกว่า 1,000 แห่ง และคนทำงานในวงการ Tech มากกว่า 25,000 คน
eService Platfome ในโลกออนไลน์ ซึ่งจะช่วยให้ผุ้ค้า E-Commerce ที่ต้องการนำเข้าหรือส่งออกสินึ้าสามารถดำเนินขั้นตอนขออนุญาตต่อหน่วยงานรัฐต่างๆ ผ่านขึ้นตอนออนไลน์ได้ในที่เดียว รวมทั้งติดต่อบริษัทและทำการตลาดได้อย่างเต็มที่ โดยไม่้ต้องมัวเสียเวลาหรือกำลังคนกับการเินเรื่องติดต่อหน่วยงานตาชการหรือเจรจากับบริษัทโลจิสติกส์เช่นในอดีต
แนวคิดของโครงการเขตการต้าเสรีดิจิตัลนี้ เลียนแบบจากระบของเขตทดลอง E-Commerce ข้ามชาติ เมื่อหางโจว ประเทศจีน (ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ Alibaba) โดยเขต DFDZ ของมาเลเซียน ตังเป้าจะเชื่อต่อเป็น platform เดียวกับของเมืองจีน
ผลที่ตามคือ มาเลเซียจะกลายเป็นเมืองท่า E-Commerce ของอาเซียน สินค้าจีน สินค้าผรัีง ที่จะบุกตลาด E-Commerce ของอาเซียนผ่าน platform ของอาลีบาบา จะผ่านเข้ามาที่คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าในมาเลเซียก่อน แล้วจึงต่อไปยังตลาดผุ้บริโภคสไคัญในอาเซียน เช่น ไทย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์..(Thaipublica.org/..แจ็คหม่าบุกมาเลเซีย : เกมส์เดิมพันของใคร)
ก่อนที่แจ็ค หม่า จะตกลงกับมาเลเซีย เขาได้มาเจรจากับไทยในช่วงปลบายปีที่ผ่านมา โดยเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559 แจ็ค หม่า กล่าวในงานบรรยายพิเสษสไกรับผุ้ประกอบการรุ่นใหม่หัวข้อ " Entrepreneurship and Inclusive Globalization" ขณะเดินทางมาประเทศไทยวา ภายใน 12 เดือนจากนี้จะได้เห็นโรดแมพการทำงานร่วมกับรัฐบาลไทย
ขณะเดียวกันจะมีการปรับแผนใหเหมาะสมทุก 6 เดือน สิ่งที่หวังคงไม่ใช่ความหวังความสำเร็จยิ่งใหญ่แต่จะค่อยๆ ทำให้เกิดขึ้นทีละน้อย เบื้องต้น งานที่จะทำร่วมกัน เชน ยกระดับเอสเอ็มอี เทรนนิ่งผุ้รปะกอบการรายใหม่ พัฒนาคน เปิดโอาสให้ไปศึกษาดูงานที่สำนักงานใหญ่อาลีบาบาร่วใสนับสนุนนโยบายรัฐบาลไทย "ผมมองว่านโยบายไทยแลนด์ 4.0 การสนับสนุสาร์ทอัพ รวมถึงผุ้ประกอบการรายใหม่ของรัฐบาลไทยนั้นมาถุกทางแล้ว อาลีบาบายินดีให้การสนับสนุน ช่วยให้ไทยสามารถสเนอเอกลักษณ์สู่สายตาโลก"
เมื่อครังเจ้าพ่อาลีบาบามาไทย แจ็ค หม่า ไม่ได้แค่โฉบมาขายฝันแล้วจากไป แต่ยังมีความตกลงถึงขั้นตั้งคณะทำงานร่วมมืกับรัฐบาลไทยอย่างเป็นรูปธรรมผ่านการบอกกล่าวของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี
แจ็ค หม่า ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการยกระดับเรื่องดิจิตัลของประเทศไทยเหมือนกับที่เคยช่วยรัฐบาลจีนและรัฐบาลของอีกหลายประเทศทั่วโลกมาแล้ว เพือช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยหรือเอสเอ็มอีที่มีสัดส่วนกว่า 90% ของผุ้ประกอบการในไทยทั้งหมดให้มีโอกาสค้าขายไปยังต่างประเทศ
ตามแผนการทางอาลีบาบากรุ็ปและรัฐบาลไทย จะมีการตั้งคณะทำงานร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อมาร่วมจัดทำแผนปฏิบัติการ มีแผนงาน 1 ปี โดยทางอาลีบาบา จะมาร่วมพัฒนาแพล็ตฟอร์มเพื่อช่วยให้ผุ้ประกอบการรายย่อยค้าขายได้ ทั้งยังจะมาช่วยฝึกนักธุรกิจและเอสเอ็มอีของไทยเรื่องการต้าขายผ่านระบบอี-คอมเมิร์ซ และจะร่วมกับรัฐบาลและสถาบันการศึกษาช่วยสอนเรื่อง อี -คอมเมร์ซ ให้เกิดการตื่นตัวในเด็กรุ่นใหม่ เพื่อสร้างผุ้ประกอบการใหม่หรือสาร์ทอัพขายสินค้าให้กับคนทั่วดลก
แจ็ค หม่า มองว่า ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรคือจุดแข็งของไทย สามารถสงออกไปสู่ตลาดใหญ่อย่างจีน ยุโรป และทั่วโลก ดังนั้นสิ่งที่ต้องเข้าไปสนับสนุคือทำอย่างไรให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าได้บนโลกออนไลน์ เรื่องนี้รัฐบาลต้องวางนโยบายพร้อมพัฒนาอีโคซิสเต็มส์ที่จะผลักดันให้เกิดการเติบโต
ที่สำคัญ แจ็ค หม่า ย้ำและยืนยันว่าไม่คิดจะมาทำงเงินในไทย แต่จะเป็น แพลตฟอร์ม อินหราสตรักเจอร์ ส่วนหนึ่งช่วยพัฒนาอีโคซิสเต็ม เชื่อมโยงการต้า การลงทุน การท่องเที่ยว ยกระดับภาคธุรกิจ และผลักดันให้เกิดการเติบโต โดยบทบาทสำคัญจะเข้ามาเป็ฯพันธมิตร ไม่ใช่มาควบคุมหรือทำให้ผุ้ประกอบการท้องถิ่นตายจากไป เพราะหากเป็นเช่นนั้น อาลีบาบเองคงอยุ่ไม่ได้เช่นกัน....(new.tlcthai.com/ข่าว ข่าวเด่น)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น