ASEAN Investment Area

              เขตการลงทุนอาเซียน(AIA) เป็นการรวมกลุ่มทางเศราฐกิจในระดับภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (ASEAN) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในอันที่จเพิรมการลงทุนในอาเซียนจากนักลงทุนทั้งในแลนอกกลุ่มอาเซียน เพื่อเสริมสร้างประสทิธิภาพของอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจของอาเซียนโดยเฉพาะให้มีความได้เปรียบในด้านการลงทุนโดยคำนึงถึงความแตกต่างในระดับการพัฒนาการและเสรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียนภายใต้กรอบความตกลงเขตการลงทุนอาเซียน ซึ่งกำหนดพันธกรณีให้ประเทศสมาชิกอาเวียนเปิดเสรีอุตสาหกรรมและให้การประฏิบัติเยี่ยงคนชาติ ภายในปี ค.ศ. 2010 สำหรับนักลงทุนอาเซียน และปี ค.ศ. 2020 สำหรับนักลงทุนทั่วไป
            ในการจัดตั้้งเขตการลงทุนอเาซียนภายใต้กรอบความตกลงเขตการลงทุนอาเซียนเขตการลงทุนอาเซียน มิใช่องค์การระหว่างประเทศ ซึ่งจะมีสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ แต่เป็นเพรียงองค์กรย่อยของอาเซียนเพื่อการพัฒนาความร่่วมือทางเศรษฐกิจของอาิซียน โดยจะต้องอยู่ภายใต้กรอบของ GATT และ WTO ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียส่วนใหญ่ต่างก็เป็ฯสมาชิกอยู่โดยในการดำเนินการจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียภายใต้กรอบความตกลงเขตการลงทุนอาเซียน ซึ่งเป็นความตกลงระหว่างประเทศที่มีค่าในทางกฎหมายระหว่างประเทศอันส่งผลให้สามารถใช้บังคับกับทุกประเทศสมาชิกอาเซียนให้ต้องยอมรับให้ความตกลงดังกล่าว โดยให้มีผลใช้บังคับในอินแดนของตน
             แต่ในทางปฏิบัติ การดำเนินการตามพันธกรณีของกรอบความตกลงเขตการลงทุนอาเซียนก็ประสบปัญหาบ้างทั้งปัญหาที่เกิดจากตัวกรอบความตกลงแลปัญหาที่เกิดจาประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อให้การจัดตั้งแขตการลงทุนอาเซียนบรรลุวัตถุปรสงค์และเอื้อประโยชน์ท้งในด้านการต้าและากรลงทุนต่ออาเซียนและประทเศไทย
             อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียนอาจเกิดผลกระทบต่ออาเซียนและประเทศไทยบ้าง ซึ่งทำให้อาเซียนและประเทศไทยต้องพัฒนาตัวเองและปรับปรุงแก้ไขกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อให้สามารถรองรัีบการลงทุนที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้การจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียนเกิดประโยชน์ต่ออาเซียนและประเทศไทยได้อยางสูงสุดต่อไป
             การจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน เกิดขึ้นจากการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนได้เบ็งเห็นถึงควาสำคัญในการวมกลุ่มความร่วมือทางเศรษฐกิจในระดับภุมิภาค ซึ่งเป้ฯผลมาจากเหตุผลภายในอาเซียน และกระแสภูมิภาคของประเทศต่างๆ อาเซียนจึงต้องพัฒนาระดับความร่วมมือทางเศรษฐกิจในกลุ่มให้มากขึ้นและโดยเฉพาะอย่งยิ่ง เมื่ออาเซียขยายตัวโดยมีประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉีงใต้ครบทั้ง 10 ประเทศ ทำให้อาเวียนกลายเป้นแหล่งรับการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกภูมิภาคอาเวียน เขตการลงทุนอาเซียนจึงเกิดขึ้นเพื่อดึงดูดการลงทุนเสริมสร้างความแข็งแกร่งและเพิ่มความได้เปรียบในด้านการลงทุน ซึ่งจะพัฒนาให้อาเซียนเป็นภูมิภาคกาลงทุนที่มีักยภาพในการรองรับการลงทุนจากส่วนต่างๆ ของโลก
            สถานะทางกฎหมายระหว่างประเทศของเขตการลงทุนอาเซีย เมื่อพิจารณาโดยใช้หลักที่ศาลยุติธรรมระหว่งประเทศได้วินิจฉัยไว้โดยความเห้นแนะนำในคดี ซึ่งงางหลักว่าองค์การระหว่งประเทศใดจะมีสภาพบุคคลในทางกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่ให้พิจารณาจากเจตจำนงค์ของมวลสมาชิกที่จัดตั้งองค์การระหว่างประเทศ โดยดูากวัตถุประสงค์และหน้าที่การงานโดยเฉพาะขององค์การนั้น จะเห้นว่าเขตการลงทุนอาเซียนได้รับการจัดตั้งขึ้นภายใต้กรอบความตกลงเขตการลงทุนอาเซียน ยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาเซียนเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนทั้งจากในและนอกอาเซียนและได้มีการจัดตั้งคณะมนตรีเขตการลงทุนอาเซียน และคณะกรรมการความร่วมมือด้านการลงทุนเพื่อติดตาม ดูแลและประสานงานกับหน่วยงานของอาเซียน เพื่อให้การจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซีนบรรลุประสงค์ ดังนั้น เขตการลงทุนอาเซียนจึงไม่มีสถานะเป้ฯองค์การระหว่างประเทศ ซึงจะมีสภาพบุคคลในทางกฎหมายระหว่างประเทศแต่เป็นองค์กรย่อยของอาเซีนเพื่อพัฒนาความร่วมมือทางเศรษบกิจของอาเซียน
เขตกรลงทุนอาเซียน โดยตัวของมันเองแล้วไม่ใช่การค้าแต่ที่ต้องเข้าไปอยู่ภายใต้กฎหมายการต้าระหว่างประเทศเนื่องจากการให้สิ่งจูงใจและสทิะิประโยชน์จำนวนมากเพือดึงดูดการลงทุนที่จะไปกระทบต่อการค้า ดังนั้น ในการพิจารณาถึงความสอดคล้องของการจัตั้งเขตการลงทุนอาเซียนกับกฎหมายระหว่างประเท จึงต้องใช้หลักกฎหมายการต้าระหว่างประเทสที่มีบทาทสำคัญในระดับสากล และประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ของอาเซียนมีพันธกรณีอยู่ อันได้แก่ GATT และ WTO
           GATT 1994 ซึ่งเกิดจากการประชุมเจรจา GATT รอบอุรุกวัย ที่สิ้นสุดลงมี่เมือง Marakesh ประเทศโมรอคโค เมื่อวันที่ 15 เมษายน 1994 ได้มีการจัดทำความตกลงมาร์ราเกซ เพื่อจัดตั้งองค์การการต้าโลก และไ้มีการนำเอาหลักทั่วไปใน GATT 1947 มารวมไว้ใน GATT 1994 ด้วย โดย GATT 1994 ยังคงรับรองสิทธิในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในรูปแบบของการจัดตั้งเขตการต้าเสรีไว้ในมาตรา 24 ซึ่งได้มีการกำหนดกรอบเงื่อนไขใการรวมกลุ่มทางเศราฐกิจว่าจะต้องมีการขจัดภาษีและข้อจำกัดทางการค้าไม่ให้สูงหรือเคร่งครัดไปหว่าเดิมก่อนที่จะมีการจัดตั้งเขตการต้าเสรี และจะต้องรวบรวมแผนงานและกำหนดการสำหรับการจัดตั้งเขตการต้าเสรีภายในระยะเวลาอันสมควร โดยไม่ควรจะเกิน 10 ปี เมื่อพิจารณาถึงแนวทางในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและเงื่อนไขในการจัดตั้งเขตการต้าเสรีดังกล่าวกับการจัดต้งแขตการลงทุนอาเซียนซึ่งเป้นการรวมกลุ่มทางการต้ารูปแบบหนึ่งที่เน้นในเรื่องของการลงทุน เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าในด้านการลงทุน และมไเป็นการเพิ่มอุปสรรคทางการค้าในการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกอาเว๊ยนกับประเทศคู่ค้าอื่นนๆ โยในการจัดทำกรอบความตกลงเขตการลงทุนอาเซียน ได้กำหนดการจัดเก็บภาษีอากรต่างๆ และกฎระเบียบในการลงทุนไม่สูงกว่าหรือจำกัดมากกว่าที่เคยมีอยุ่ก่อนการรวมกลุ่มหรืทำควาตกลง และมีการกำหนดแผนงานและการดำเนินการต่าๆง สำหรับการรวกลุ่มภายในระยะเวลาที่เหมาะสม คือ 10 ปีสำหรับประเทสมาชิกกลุ่ทอาเซียน นอกจากนั้น ยังได้มีการประชุมเพื่อจะเร่งเปิดเสรีการลงทุนและให้การประติบัติเยี่ยงคนชาติแก่นักลงทุนอาเวียนและนักลงทุนทั่วไปให้เร็วขึ้นแม้ว่าจะยังไม่มีการแจ้งต่อที่ประชุมใหญ่ประเทศสมาชิก เนื่องจากการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวยังดำเนินการไปได้ไม่มากนัก แต่เมื่อพิจารณาถึงการรวมกลุ่ททางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคของอาเซีนในการจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน จะเห็นได้ว่าสอดคล้องกับบทบัญญัติในเรื่องการรวมกลุ่มการต้าเสรีที่ชอบด้วยบทบัญญัติของ GATT ประเทสมาชิกอาเซียนควรจะได้มีการดำเนินการตามเงื่อนไขของ GATT มาตรา 24 ต่อไป
              ในการจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียนได้มีการจัดทำกรอบความตกลงเขตการลงทุนอาเซียน และพิธีสารเพื่อการแก้ไขกรอบควมตกลงเขตการลงทุนอาเซียน เพื่อให้การดำเนินกาจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียนบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ไ้กำหนดไว้เมื่อวิเคราะห์ถึงสถานะทางกฎหมายของเอกสารดังกล่าว ดดยใช้แนวทางการหลักที่ได้จาก คำนิยามในอนุสัญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา 1969 และคำพิพากษาของศาลุติธรรมระหว่างประเทศในคดีไหล่ทวีปแห่งทะเลเอเจี้นยที่ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะหืเอกสารระหว่างประเทศ จะเห็นว่า เอกสารดังกล่าวเป้นความตกลงระหว่างประเทศที่ทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยมีผุ้แทนของรัฐซึ่งได้รับมอบอำนาจเต็มหรือถือว่าเป็นผู้มีอำนาจเต็มเขาทำสนธิสัญญาและแสดงเจตนาในการให้ความยินยิมเพื่อผูกพันตามสนธิสัญญาแทนรัฐ และอยู่ภายใตบังคับของกฎหมายระหว่งประเทศแม้ว่าข้อความและสาระของความตกลงดังกล่าว จะมิได้ระบุชัดแจ้งเกี่ยวกับลักษณธทางกฎหมายแต่ได้มีการกำหนดพันธกรณีระหว่างประเทศสมาชิก และดำเนินกาต่าๆง เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของความตกลงดังกล่าว ดังนั้น AISA Agreement และพิธีสารเพื่อการแก้ไข AIA Agreetment จึงเป็นความตกลงระหว่างประเทศที่มีค่าบังคับทางกฎหมายระหว่างประเทศและมีนิติฐานะเป็นความตกลงเพื่อากรจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน และมื่อ AIA Agreement เป็นความตกลงระหว่างประเทศ ดังนั้นบันทึการตีความกอบควาตกลงเขตการลงทุนอาเซีย ซึ่งจัดทำขชึ้นเืพ่อช่วยในการตีความเอกสารที่มีค่าบังคับเป้ความตกลงระหว่างประทเศ บันทึกการตีความดังกล่าวจึงมีค่าบังคับเช่นเดี่ยวกับเอกสารที่ถูกตีความ
              และโดยผลผูกพันของความตกลงระหว่างประเทศเมื่อประเทศสมาชิกได้ลงนามและปฺบัติตามพันธกรณีแล้ว ความตกลงระหว่างประเทศนั้นย่อมสามารถใช้บังคับกับประเทศสมาชิกทุกประเทศได้และประเทศสมาชิกจะต้องยอมรับให้ความตกลงดังกล่าวมีผลใช้บังคับในดินแดนของตน ซึ่งวิธีการยอรับอาจจะทโดยการประกาศรับสนธิสัญญา หรือการออกกฎหมายเพื่อนุวัติการ แต่กหากมีกฎหมายภายในเรื่องดังกล่าวใช้บังคับอยู่แล้วก็ไม่จำต้องออกกฎหมายเพื่อการนุวัติการจะเห็นได้ว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนมีกฎหมายภายในเกี่ยวกับการลงทุนและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกอยุ่แล้วความตกลงเขตการลงทุนอาเซียนจึงมีผลใช้บังคัยกับประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศได้ทันที่ โดยไม่ต้องมีกาออกกฎหมายเพื่อการอนุวัติการ
             ใการดำเนินงานในดารจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียนได้มีกาจัดตั้งคณะมนตรีเขตการลงทุนอาเซียนและคณะกรรมการความร่วมมืออด้านการลงทุน เพื่อใไ้คำแนะนำประสานงานกับหน่วยงานที่เีก่ยวข้อง ทบทวนการดำเนินงานเสนอคำแนะนำและแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดจากกรดำเนินกาจัดตั้งเขตการลงทุนอาเวียน ภายใต้การควบคุม ดูแลและช่วยเหลือที่อยู่ในอาเซีียนรวมท้งกำหนดกลไกในกรระวับข้อพิพาท โดยได้กำหนดให้นำพิธีสารว่าด้วยกลไกการระงับ้อพิพาท มาใช้จะช่วยให้ปัญหาข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกได้รับการแก้ไขปย่างมีประสิทธิภาพ
 

AIA Agreement ได้กำหนดพันธกรณีให้ประเทศสมาชิกต้องดำเนินการเปิดอุตสาหกรรมทุกประเภทและให้ารปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ โดยทันที แต่ประเทศสมาชิกสามารถขอขยายระยะเวลาการเปิดอุตสาหกรรมและากรให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติเ็ฯภายในปี 2010 สำหรับนักลงทุนอาเซียน และปี 2020 สำหรับนักลงทุนทั่วไปได้ โดยทำเป็นรายการขอยกเว้นชั่วคราว และรายการที่มีความอ่อนไหว และรายการดังกล่าวยังขยายให้ครอบคลุมถึงการบริการที่เกที่วข้องด้วย โดยประเทศสมาชิกจะต้องเปิดภาคบริการไม่น้อยไปกว่าข้อผูกพันที่ประเทศสมาชิกได้ยื่นภายใต้กรอบการเจรจากรเปิดเสรีการค้าบริากรในองค์การการค้าโลก WTO ซึ่งทุกประเทศสมาชิกก็ได้ยื่นรายการดังกลบาวสำหรับภาคการผลิต เกษตร ประมง ป่าไม และเหมืองแร่ เรียบร้อยแล้ว นอกจากการขอยกเว้นตามรายการขอยกเว้นทั้ง 2 รายการแล้ว ประเทศสมาชิกสามารถขอยกเว้นจากการเปิดอุตสหกรรมและการให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติได้โดยการขอยกเว้นทั่วไป สำหรับประเภทกิจการที่มีผลต่อความมั่นคงของชาติ ประเพณี วัฒนธรณมและศีลธรรมอันดี และชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืช ซึ่งทุกประเทศสมาชิกก็ได้ยื่นรายการดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ยังได้กำหนดมาตรการป้องกันฉุกเฉิน ในกรณีที่ประเทศสมาชิกได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากมาตรการการเปิดเสรีตาม ASIA Agreement และมาตรการป้องกันดุลการชำระเงนิระหว่งประเทศในกรณีที่ประเทศสมาชิกเกิดวิก๖การณ์ทางการเงิน
              ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามพันธกรณี คือ ปัญหาที่เกิดจากข้อกำหนดหลักการอย่างกว้างๆ โดยไม่มีการให้คำจำกัดความสำหรับรายการขอยกเว้นชั่วคราว รายการที่มีความอ่อนไหว หรือรายการขอยอเว้นทั่วไปไม่มีการกำหนดจำนวนเงื่อนไขและรายละเอียดในการเสนอและทยอยออกจากรายการดังกล่าว นอกจานี้ ราการดังกล่าวยังไม่ครอคลุมถึงมาตรการการลงทุนที่เกี่ยวกับการค้า ภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลกซึ่งกำหนดให้ยกเลิกมาตรการการลวทุนบางประการที่จะมีผลก่อให้เกิดการจำกัดและบิดเบือนทางการค้า ในส่วนของการใช้มาตรกรป้องกันฉุกเฉิน และมาตรการป้องกันดุลการชำระเงินระหว่งประเทศก็ยังขาดรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการำมาตรการดังกล่าวมาใช้เช่นกัน ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวอาจส่งผลในทางปฏิบัติได้หากประเทศสมาชิกคำนึงถึงแต่การรักษาผลประโยชน์ของชาติเป็นหลักและใช้มาตรการต่างๆ โดยไม่สุจริต จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศสมาชิกจะต้องร่วมมือกันในการปรับปรุงแก้ไข ข้อตกลงให้มีความชัดเจน และโปร่งใสมากย่ิงขึ้น เพื่อให้การดำเนินการจัดตั้งแขตการลงทุนอาเซียนบรรลุวัตถุประสงค์ และก่อประดยชน์แก่ประเทศมาชิกอย่างแท้จริง
           และจากการที่อาเซียนรับสมาชิกใหม่ ซึ่งได้แก่ เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ซึ่งมีปัญหาการเมืองภายในประเทศ และมีสภาพเศรษบกิจที่แตกต่างกับประเทศมาชิกอาเซียนเดิม ทำให้อาเซียนมีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ  2 ระดับ ประเทศสมาชิกใหม่เหล่านี้จึงได้รับการผ่อนผันระยะเวลาใการดำเนินการตามพันธกรณี แต่ประเทศสมาชิกใหม่เหล่านี้ก็ได้ให้ความร่วมมือในการปรับปรุงและพัฒนาในด้านต่างๆ อันจะเื่อ้อำนวยต่อการลงทุน ประกอบกับการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมก็ได้พยายามให้ความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยการประชุมปรึกษาหารือและการเสนอความคิดเห้นร่วมกันของหน่วยงานและคณะทำงานใรระดับต่างๆ ทั้งภายในประเทศสมาชิกแต่ละประเทศและระหว่างประเทศ และยงมีการกำหนดแผนงานอื่นๆ เพ่อส่งเสริมให้การดำเนินการตาม วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
         จากการพิจารณาึถงสภาพเศรษบกิจและการลงทุนของประเทศสมาชิกอาเซียน จะเห้นได้ว่า การลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียนมีแนวโน้มเพ่ิมขึ้นทุกปีกระทั่งในปี 1998 ซึ่งเกิดวิกฤตเศรษบกิจ ทำให้การลงทุนในภูมิภาคอาเวีนลดลงอันเนื่องมาจากสภาพเศรษฏฐิจของประเทศสมาชิกอาเซีนเอง และของประเทศผุ้ลงทุน ทั้งจากยุโรป ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ซึ่งต่างก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจที่แผ่ขยายไปทั่วโลกประกอบกับการถูกแบ่งส่วนทางการตลาดจากการรวมกลุ่มทางเศรษบกิจในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งสร้างความสนใจให้แก่ประเทศผุ้ลงทุนให้หันไปลงทุนในปละนอกประเทศ
               จากการศึกษาหลักการและการดำเนินการต่างๆ ในการจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน แม้จะเกิดปัญหาหลายประการ ซึ่งดดยภาพรวมของอาเวียนอาจส่งผลกระทบด้านลบในระยะสั้นพอสมควร จากการที่ประเทศสมาชิกต้องสูญเสียรายได้บางส่วนจากการลดภาษี ความไม่พร้อมทีจะแข่งขันกับอุตสาหกรรรมจากต่างประเทศ ระดับการพัฒนาทางเศรษบกิจที่แตกต่างกันระหว่งประเทศสมาชิกเดิมกับประเทศสมาชิกใหม่ และความไม่พร้อมในโครงสร้างพื้นฐานทางเศณษฐกิจ ความผันผวนทางเศราฐกิจอาจส่งผลให้ความร่วมมือชะงักงันหรือเกิดควาทล่าช้ากว่ากำหนด แต่ในระยะยาวเขตการลงทุนอาเซียนจะส่งผลในด้านบวกแก่ประเทศสมาชิกอยางมาก เนื่องจากการขยายจำนวนประเทศสมาชิก ทำให้อาเซียนกลายเป็นตลาดขนาดใหญ่ และมีทรัยพากรธรรมชาิตท่อุดมสมบูรณื ซึ่งจะดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และการลงทุนจากต่างประเทศจะเป็นสื่อนำความช่วยเลือทางเทคนิคเข้าประเทศ ซึ่งจะทำให้อาเว๊ยนเพิ่มอำนาจต่อรองทางการค้า และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกมายิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดการแข่งขันระหว่งประเทศสมาชิกในการให้ปสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนแก่การลงทุนจากต่างประเทศนอกจานั้นเขตการลงทุนอาเซียนยังอาจจะช่วยแก้ปัญหวิฏฟติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วทุกภูมิภาคเพราะการร่วมมือกันจะทำให้มีโอกาสในการแก้ไขปัญหาได้ยอ่างมีประสทิธิภาพมากยิ่งขึ้น
           

                                 "ความตกลงเขตการลงทุนอาเซียน", กษมา มาลาวรรณ,วิทยานิพนธ์(บางส่วน)มหาวิทยาลัยรามคำแหง นิติศาตรมหาบัณฑิต,2544.
                           

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)