วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2560

Intergration Theory

               แนวคิดทฤษฎีการรวมกลุ่ม ได้ปรากฎขึ้นครั้งแรกในทวีปยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 14-16 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อต้องการรวมยุโรปตะวันตกเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งการรวมตัวดังกล่าวจะมีลักษณะของการผสมผสานกันทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ดยมีเป้าหมายในระยะแรกที่จะรวมให้ยุโรปตะวันตกเป้นองค์กรทางการเมือง และในขณะเดียวกันก็ต้องการจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนที่อยู่ในแต่ละประเทศให้มีความแน่นแฟ้นมากขึ้นด้วย กต่ในความเป้นจริงแนวคิดดังกล่าวไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในทางปฏิบัติ เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวยุโรปตะวันตกมีประเทศมหาอำนาจอยู่หลายประเทศ ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็ต้องการมีอำนาจเหนือประเทศอื่นๆ ด้วยกันทัเ้งนั้น
               ต่อมาแนวคิดการรวมกลุ่มได้เริ่มปรากฎขึ้นอีกครัี้งนกึค่งเมือสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลงพร้อมกับความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นไปทั่วทุกภูมิภาคทำให้ประเทศต่างๆ ต้องการที่จะฟื้นฟูประเทศให้มีความมั่นคงขึ้นอีกครั้งประกอบกับกัารที่แต่ละประเทศมีอำนาจอธิปำตรทีเป้นตัวของตัวเงอ อีกทั้งยังมีแนวคิดแบบชาตินิยมทำใป้ประเทศต่างๆ เหล่านี้จึงได้ขยายความร่วมือและสร้างความสัมพันธ์ต่อกันอย่างกวเ้างขชวางทั้งทางด้านการเมือง เศราฐกิจ และสังคม ด้วยการกระชับความ่วมมือต่อกันทั้งใรระดับทวิภาคและพหุภาคี และได้นำไปสู่การรวมตัวเป็นกลุ่มองค์กรระหว่างประเทศในสฃที่สุด
               ปรากฎการณ์ดังกล่าวนี้เองได้ทำให้นักวิชากรทางด้านการวมกลุ่มเป้นจำนวนมากได้ไันมาสนใจศึกษา โดยในชั้นต้นนี้นักวิชาการได้แบ่งแนวความคิดการรวมกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม โดยนักวิชาการกลุ่มแรกเชือ่ว่ ความก้าวหน้าทางด้านวิยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะทำให้การติดต่อสื่อสารข้ามชาติกระทำได้โดยสะดวก แต่ในขณะเดียวกันก็จะทำให้โลกประสบกับเคราะหืกรรมที่เกี่ยวกับภัยของสงรามเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งการที่สภาวะทางด้านเศรษฐกิจของโลกที่แนวโน้มที่จะตกต่ภลงได้ส่งผลกระทบต่อมาตรฐานการครองชีพและคุณภาพชีวิตของประชกรโลกอย่งกวางขวาง ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้เองเป็นปัญหาร่วมกันของทุกประเทศในโลกที่จะต้องประสบ ดังนั้นจึงมีความจำเป้ฯที่แต่ละประเทศจะต้องให้ความร่วมือและช่วยเลหือซึ่งกันและกัน เพราะโดยลำพังของรัฐบาลชาติคงไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนเหล่านี้ลงได้ ทำให้บทบทแลอำนาจอธิปไตยของรัฐบาลชาติจึงเร่ิมลดลงเรื่อยๆ ในขณะเดี่ยวกันบทบาทและอำนาจขององค์กรระหว่างประเทศก็จะเพิ่มสูงข้นตามลำดับ
              ในขณะที่นักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งมีความเห็ว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในปัจจุบนไม่มีความสอดคล้องกบระบบการเมืองที่แข่งขันกันแสวงหาอำนาจ เพราะว่าแต่ละประเทศต่างก็มีพัฒนาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับนโยบายทางด้านการต่างประทเศ ทำให้แต่ละประเทศจะต้องมีการติดต่อสัมพันะ์กันระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้นซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ได้ส่งผลให้รฐบาลของแต่ละประเทศต้องมีกาตติดต่อสัมพันธ์ดันเพ่ิมมาากข้นเพื่อให้ได้มาซึ้งผลประดยชน์แห่งชาติของตนเป็นสำคัญ แม้ว่าจะต้องแลกมาด้วยการลดลงของอำนาจอธิไตยของประเทศตนก็ตาม
              ในขณะเดี่ยวกันนักวิชาการของประเทศสหรัฐอเมริกาก็ได้ให้ความสนใจในการศึกษาเรื่องการรวมตัวระหว่างประเทศด้วยเช่น โดยเฉพาะในช่วงที่การศึกษาประเทศสหรัฐอเมริกาได้ก้าวเข้าสู่ยุคพฤติกรรมศาสตร์ ด้วยการสร้างอิทธิพลให้กับการศึกษาทางด้านรัฐศาสตร์อย่างมีเหตุผลและเป็นวิทยาศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ซึ่งจากการศึกษาของนักวิชาการในอดคตที่ผ่านมาพบ่า การรวมตัวกันของรัฐต่างๆ นั้นสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะ โดยลักษณะแรก ได้แก่ การใช้อำนาจบังคับหรือการข่มขู่ด้วยกำลัง และลักษณะที่อง ได้แก่ การเห็นพ้องต้องกันในเรื่องของกระบวนการรวมตัวและโครงสร้างของสถาบันการเมืองมีการพั่งพาอาศัยกัน ทำให้รัฐสามารถรวมตัวเข้าเป้ฯอันหนึ่งอันเดียวกันและเป็นกรณีที่ทำการศึกษาใเวลาต่อมาด้วย
              ซึ่งจากการศึกษางานด้านการรวมตัวกันระหว่งประเทศของนักวิชากรด้านการรวมกลุ่มที่ผ่านมา ทำให้สรุปแนวทางการรวมกลุ่มได้ 3 ระบบ 4 ทฤษฎี ดังนี้..
             ระบบความร่วมมือ Cooperation System เป็นการรวมกลุ่มขององค์กรระหว่างประเทศหรือองค์กรของเอกชนระหว่างประเทศก็ได้ โดยจะเป็นความสัมพันธ์ในรูปแบบของรัฐต่อตัฐหรือองค์กรต่อองค์กร ถ้าเป็นในระดับของรัฐบาลก็จะประกอบด้วยตัวแทของรัฐบาลในแตละประเทศที่มารวมตัวกัน ถ้าหากเป็นองค์กรของเอกชนก็จะประกอบด้วยตัวแทนขององค์กรเอกชนในแต่ละประเทศที่เข้ามารวมตัวกัน แารรวมกลุ่มในระดับนี้สมาชิกจะมีความสำนึกในผลประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม โดยสมาชิกจะไม่มีการมอบอำนาจอธิปไตยของตนให้กับองค์กรส่วนกลาง แต่สมาชิกจะมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตัวเอง มติที่ละคะแนนเสียงจะใช้มติเอกฉันท์ ประเทศใดจะรับไปปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัตก็ได้ ทำให้เสียงส่วนใหญ่จึมไผุกมัดประเทศสมาชิก ซึ่งในชั้นนี้จะเป้ฯการรวมตัวทางด้านนโยบายการต่างประเทศและนโยบายทางกาทหารซึ่งสามารถใช้ได้กับกรณีของอาเซียน
           ระบบประชาคม Community System  เป็นการรวมกลุ่มที่ประเทศสมาชิกจะมีการมอบอำนาจอธิปไตยส่วนหนึ่งให้แก่องค์กรกลาง หรือองค์กรที่มีอำนาจเหนือชาติ โดยองค์กรดังกล่าวจะมีหน้าที่ในาการควบคุมนโยบายด้านต่าๆง ตลดอจนดูแลในเรื่องผลประโยชน์ของประเทศสมาชิก โดยอธิปไำตยองประเทศสมาชิกจะมีการแบ่งกันอย่างชัดเจน การลงคะแนนเสียงจะใช้คะแนนเสียงส่วนใหญ่ของประเทศสมาชิกเป็นหลัก ประเทศที่ไม่เห็นด้วยจำเป็นต้องปฏิบัติตามด้วยระบบนี้สามารถใช้ได้กับกรณีของการรวมกลุ่มประเทศในยุโรป ซึ่งจะมีคณะกรรมาธิการรัฐสภายุโรปและคณะมนตรีเป็ฯองค์กรเหนือชาติที่คอยควบคุมอูแลองค์กรอยุ่
           ระบบสหพันธรัฐ Federal System เป็นการรวมกลุ่มที่สมชิกแต่ละประเทศจะมอบอำนาจอธิปไตยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป้ฯทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสสังคมให้แก่รัฐบาลกลาง โดยรัฐบาลกลางจะมีหน้าที่คอยควบคุมดูแลผลประโยชน์ของรัฐทุกรัฐอย่างเท่าเทียมกัน อำนาจของแต่ละรัฐจึงมีเท่าที่รัฐบาลกลางมอบให้ โดยแต่ละรัฐจะไม่มีตัวแทนของตัวเองแต่จะมีตัวแทนของประชาชนทั้งหมดคอยดูแลผละประโยชน์รัฐจะไม่มีตัวแทนของตัวเองแต่จะมีตัวแทนของประชาชนทั้งหมดคอยอูแลผลประดยชน์ร่วมกัน การลงมติต่างๆ  จะใช้คะแนนเสียงส่วนใหญ่เป็นเกณฑ์ ระบบนี้สามารถใช้ได้กับกรณีของประเทศสหรัฐอเมริกา
          ทฤษฎีการรวมกลุ่ม แบ่งได้ 4 ทฤษฎี คือ
          ทฤษฎีสหพันธ์นิยม Federalism Theory เป็นแนวคิดการรวมกลุ่มของรัฐทางกฎหมายอยางเป็นทางการ ดดยเป็นการรวมกลุ่มทางการเมืองของรั้ฐตั้งแต่  2 รัฐขึ้นไปด้วยมาตรการทางรัฐธรรมนูญและรูแบบทางการเมืองที่เหมาะสม เนื่องจากมีความเชื่อว่า การรวมตัวกันน่าจะเกิดขึ้นได้ในระดับนานาชาติ ซึ่งเมือแต่ละรัฐยอมสละอำนาจอธิปไตยของตนบางส่วนให้แก่องค์กรกลางแล้ว องค์กรดังกล่าวก็จะมีหน้าที่ในการรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของทุกรัฐ โดยทำหน้าที่ทางด้านการต่างประเทศ การเงิน การคลัง การป้องกันประเทศและด้านอื่นๆ โดยประเทศที่เกิดการรวมกลุ่มดังกล่าวประชากรจะมีลัษณะบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน อาทิ เช่น ภาษา วัฒนธรรม หรือการอุยูใกล้ชิดกันทางภุมิศาสตร์ ซึ่งเมื่อกิดการรวมกลุ่มกันอย่างเป็นทางการแล้วหลังจากนั้นประชารในแต่ละประเทศก็จะเกิดการปรับตัวเข้าหากันได้ต่อไป
          ทฤษฎสัมพันธ์นิยม Transactionalism Theory เป็ฯแนวคิดที่ไม่ถือกรอบทางด้านกฎหมายและถาบันเป็นเรื่องสำคัญ แต่เน้นที่สภาพของการส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งความสำนึกในการเป็นชุมชนแห่งประชาคมเดี่ยวกัน เพื่อสร้างประชาคมให้มีความมั่นคง โดยประชาคมจะประกอบไปด้วยสถาบันต่างๆ ท้งที่เป้ฯทางการและไม่เป็นทางการ อีกทั้งสมาชิกภายในประชคมจะต้องมีกาตติดต่อสื่อสารและสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาหรือมีประเพณีที่ทางการได้กำหนดขึ้นโดยประเพณีต่างๆ เหล่านี้จะต้องมีความแข็งแรงและครอบคลุมขอบเขตอย่างกว้างขวางเพื่อให้สามารถควบุคุมการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในกลุ่มสมาชิกได้อย่างสันติ และมีลักษระที่แน่นอนในช่วงเวลาที่นานพอควร
          ทฤษฎีภารกิจนิยม Functionalism Theory เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการรวมกลุ่มแบบทฟษฎีสหพันธ์นิยมไม่สามารถจัดการกับปัญหาความแตกต่างของแต่ละรัฐลงได้ ดังนั้นเืพ่อต้องการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงเกิดทฤษฎีภารกิจนิยมขึ้น โดยตั้งอยุ่บนสมมุติฐานที่ว่า ปัญหาต่างๆ ที่นานาชาติกำลังประสบอยู่ในปัจจุบนเป็นเรื่องทางด้านเทคนิคที่มีความสลับซับซ้อนเกิดความสามารถของรัฐบาลหรือนัการเมืองในระดับชาติที่จะแก้ไขได้โดยลำพัง ดังนั้นจึงมีความจำเป้ฯที่จะต้องมอบภาระกิจเหล่านี้ให้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของผุ้ชำนาญการเฉพาะเรื่อง ด้วยการรวมตัวกันอย่างหลวมๆ ดังนั้นการดำเนินการข้ามขอบเขตของรัฐ โดยรัฐยินยิมเสียสลุอธปไตยของตนด้วยการมอบอำนาจทางการบริหารบางเรื่องซึ่งเป็เนรื่องที่มีวัตถุประสงค์เฉาะที่ไม่ใช่เร่องทางด้านการเมืองให้แก่องค์กรกลางเฉพาะด้านแล้ว องค์กรกลางเฉพาะด้านเหล่านี้ก็จะสามารถแก้ไปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งจะมีผลทำให้หน่วยทางการเมืองของรัฐโน้มเอียงเข้าหากันเพิ่มมากขึ้น ทำให้พรมแดนของรัฐค่อยๆ ลดความสำคัญลง และจะนำไปสู่สภาวะเอ่อล้น ซึ่งจะทำให้เกิดความร่วมมือในสาขาอื่นๆ ตามมา
         ทฤษฎีภารกิจนิยมใหม่ Neo-function Theory เป็นแนวคิดที่พัฒนาขึ้นมาจากทฤษฎีภารกิจนิยมเ นือ่งจาเชื่อว่าการรวมตัวกันเพื่อการแก้ปัญหาทางด้านเทคนิคเฉพาะด้านนั้นมีแนวโน้มทีจะขยายตัวออำปสู่สภาวะเอ่อล้น ซึ่งจะทำให้เกิดความร่วมมือในสาขาอื่นๆ ตามมา ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้เงสภาบันกลางที่มีอำนาจเหนือรัฐ ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ผลักดัน ส่งเสริม และเสนอทิศทางใหม่ๆ เืพ่อให้ความร่วมมือดังกล่าวดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อองค์กรปฏิบัติหน้าที่ในการส่งเสริมความร่วมมือทางด้านเศรฐกิจและสังคมมากขึ้น องค์กรเหล่านี้ก็จะพัฒนาและกลายเป็นองค์กรที่มีอำนาจทางการเมืองในที่สุด
          สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ได้ก่อกำหเนิดเมื่อ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1967 พัฒนาการความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจของอาเซียนตลอดระยะเวลา 3 ทศวรรษที่ผ่านมาพบว่า ในทศวรรษแรกความร่วมือทางด้านเศรษกิจของอาิซียนนั้นมีค่อยข้องน้อย เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวอาเซียนได้ให้ความสำคัญไปในเรื่องของสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเป็นหลัก ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวได้ทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนในขณะนั้น 5 ประเทศมีความเข้าใจและเห็นใจซึ่งกันและกันมีการรเียนรู้และพยายามปรับตัวเข้าหากัน ประกอบกับการที่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคแห่งนี้ยังมีความล้าหลังและยังขาดการพัฒนาในด้านต่างๆ เป็นจำนวนมาก ดังนั้นการสร้างพื้นฐานทางด้านเศรษบกิจในสาขชาเศราฐกิจที่ำสคัญต่างๆ จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการสร้างความมัี่นคงทางด้านการเมืองภายในภุมิภาคใหกลับคืนมา
          ต่อมาในทศวรรษที่ 2 อาเซียนจึงได้เริ่มมีความร่วมมือทางด้านเศรษบกิจในลักาณะของการพึ่งพากันระหว่างประเทศสมาชิกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามปฏิญญาสมานฉันท์แห่งอาเซียน ที่กำหนดให้มีความร่วมมือทางด้านเศรษบกิจเพื่อการพัฒนาทางอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ภายในอาเวียนการให้มความตกลงเรื่องสิทธิพิเศษทางด้านการต้าเพ่อส่งเนิามการค้าภายในภูมิภาค การให้มีความร่วมมือในการเข้าสุ่ตลาดภายนอกอาเซียน และการให้มีความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสินค้าโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศ ซึ่งใรเวลาต่อมาได้นำไปสู่การริเริ่มโครงการที่ครอบคลุมสาขาทางด้านเศรษบกิจต่าๆง โดยโครงการเพื่อการส่งเสริมการค้าภายในภูมิภาค การให้มีความร่วมมือในกาเข้าสู่ตลาดภายนอกอาเซียน และการให้มีความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสินค้าโภคภัฒฑ์ระหว่างประเทศ ซึ่งในเวลาต่อมาได้นำไปสู่การริเริ่ม โครงการที่ครองคลุมาขาทางด้านเศรษฐกิจต่างๆ โดยโครงการเพื่อการส่งเสริมการค้าภายในภุมิภาคได้แก่ โครงการให้สิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างกัน โครงการเืพ่อการพัฒนาทางด้านอุตาสาหกรรมได้แก่ โครงการอุตสาหกรรมอาเซียน ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นการพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตของภุมิภาค ตามมาด้วยโครงการแบ่งผลิตทงอุตสาหกรรมอเาซีย และโครงการร่วมลงทุนทางอุตสาหกรรมอาเซียน ซึ่งโครงการทั้ง 4 โครงการที่อเาซียนได้ริเริ่มและดำเนินการในช่วงทศวรรษที่สองที่ผ่านมานั้น อาเซียนได้บรรลุวัตถุประสค์ร่วมในการพัฒนาเพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางด้านเศรษฐกิจของอาเซียนให้เกิดขึ้น โยอาศัยข้อได้เปรียบต่างๆ ของอาเซียนที่มีอยุ่แล้ว ในขณะที่ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจกับประเทศนอกอาเซียนนั้นจะมีความสัมพันธ์ในสภระแบบผุ้ให็-ผู้รับ
            ในทศวรรษที่ 3 อาเซียนไดพ้ยายามสานต่อแนวทางการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจที่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาจากทศวรรษที่ผ่านมา โดยเน้นในเรื่องของการบรรลุผลทางด้านเศรษบกิจในสาขาต่างๆ ให้เพ่ิมมากขึ้น ด้วยการเปิดเสรีทางด้านการค้าในระดับภูมิภาค เพือเพิ่มศักยภาพทางด้านเศรษบกิจให้มีอำนาจต่อรองที่ทัดเทียมกับประเทศที่มีความก้าวหน้าทางด้านเศรษบกิจด้วยความสัมพันธ์แบบพึงพาอาศัยกันแทนที่สภานะแบบผุ้ให้-ผู้รับ ในอดีต โดยอาเซียนจะนำเอาบทเรียนต่างๆ ที่เกิดขึ้นจาการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจในช่วงเวลาที่ผ่ามาเป้นบทเรียนและเป็นพื้นฐานสำคัญเพื่อนำมาปฏิบัติ ปรัฐปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาสาขาความร่วมมือทางด้านเศรษบกิจของประเทศสมาชิกให้มีศักยภาพทางด้านเศรษบกิจที่เพ่ิมสูงขึ้น ด้วยการให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการพึ่งพากันเพิ่มมากขึ้นควบคู่ไปกับการเปิดประเศตนเองสู่โลกภายนอก เพื่อให้อาเซียนสามารถขยายตลาดและมีช่องทางในการติดต่อกันทางด้านเศรษฐกิจการต้าที่มีความกว้างขวางเพิ่มขึ้นอีกทั้งยังมี่วนทำให้มีอำนาจในการต่อรองที่ทัดเที่ยมกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ด้วยการมีความสัมัพนธ์แบบพึงพาอาศัยกันกับประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจที่มากกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศที่พัฒนาแล้ว



             - "เขตการต้าเสรีอาเซียนสู่มิติอาเซียน 2020: ลู่ทางและปัญหา", ภัทรพล ภูมิพย์, วิทยานิพนธ์ ศิบปศาสตร์มหาบัณฑิต(รัฐศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2547.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...