วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560

History Economic of Sounth East Asia : Filipine

              -ฟิลิปปินส์ สภาพของฟิลิปปินส์เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่สองนั้น ความยับเยินของบ้านเมือง ิส่งก่อสร้าง การคมนาคมเสียหายมาก ความอดอย่างรวมทั้งโรคระบาดต่างๆ แพร่ไปทั่ว เมืองสำคัญๆ ถูกทำลาย เศรษฐกิจทรุดโทรม ขาดแคลนสำรองเงินตรต่างประเทศเพื่อซื้อสินค้าเข้า ภาวะเงินเฟ้อสูงมาก ค่าครองชีพสูงถึง 800% เมื่อเทียบกับก่อนสงคราม อเมริกายื่นมือเข้าช่วยเหลือ โดยจ่ายเงินถึง 72 ล้านดอลลาร์ ซึ่งก็มาจากเงนิ ที่ยกจากภาษีสินค้าเข้าอเมริกันบลางอย่างของฟิลิปปินส์นั่นเอง จากนั้นฟิลิปปินส์ก็รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศมาตลอด การยอมรับความช่วยเหลือโดยไม่หยุดยั้งของฟิลิปปินส์นับแต่หลังสงครามดลกคร้งที่สองนี้เอง ได้ส่งผลต่อประเทศมาจนถึงปัจจุบันด้วยภาระหนี้สินที่ท่วมท้นจนอาจล้มละลายได้ การตกเแ็นหนี้สินต่างประเทศนั้นย่อมมีผลให้ประเทศเจ้าหนี้มีอำนาจในการกำหนดเงื่อนไขบางอยางที่สำคัญแก่ประเทศผุ้กู้ได้ ดังนั้นประเทศผุ้กู้จึงเสมอนตกอยู่ในลักษณะอาณานิคมนั้นเอง เป้ฯอาณานิคมซึ่งมิได้ถูกบังคับโดยกำลังอาวุธ แต่ถูกบังคับโดยอำนาจแห่งเศรษฐกิจที่เหนือกว่าถือเป็นอาณานิคมแผนใหม่ การตกเป้นอาณานิคมไม่ว่าจะลักษณะใดย่อมไม่เป็นผลดีแก่ประเทศทั้งนั้น
             เมื่อสิ้นสงครามโลก นายมานูเอล โรซัล ได้รับตำแหนงประธานาธิบดีโดยการสนับสนนุของอเมริกัน เขาพยายามปรับปรุงสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ โดยนำมารตรการทุกอย่างมังการเงิน การคลัง การต้า และนธยบายการแลกเปลี่ยนเงินตรามาใช้ มีการทำข้อตกลงทางการค้ากับสหรัฐอเมริกา ใน ค.ศ. 1946 ซึ่งปรากฎใน "รับบัญญัติเบลล์"และข้อตกลงว่าด้วยการบูรณะประเทศฟิลิปปินส์ใน "รัฐบัญญัติไทดิงส์"ในรัฐบัญญัติเบลล์มีการตกลงทางการต้ากับสหรัฐ เช่น ในระยะ 8 ปี จากค.ศ. 1946-1954 ฟิลิปปินส์จะส่งสินค้าเข้าอเมิรกาได้โดยไม่เสียภาษี แต่ต้องเป้นจำนวนที่สหรัฐกำหนด จากนั้นสินคึ้าเข้าของฟิลิปปินส์จะถูกเก็บภาษีขาเข้าเพิ่มเรื่อยๆ จนถึงจุดสูงสุดในปี ค.ศ. 1974 สินค้าทีอยุ่ในข่ายข้อตกลงดังกล่าว คือ น้ำตาลดิบ น้ำตาลขาว ข้าว ยาสูบ น้ำมันมะพร้าว กระดุมหอยมุก สินค้าเหล่านี้จะต้องลดจำนวนร้อยละ 5 ทุกๆ ปี แต่ขณะเดี่ยวกันสินค้าอเมริกันจะไม่ถูกจำกัดสิทะิ์ใดๆ ทั้งสิ้นและคนอเมริกันจะมีัสิทธิ์ทุกอย่างในประเทศฟิลิปปินส์เท่าคนฟิลิปปินส์ เช่น สิทธิการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ จะเห้ฯได้ว่าเป้นสัญญาที่ฟิลิปปินส์ถูกเอาเปรียบอย่างเด่นชัน เช่น จะถูกกบโดยทรัยากรธรรมชาติ กีดขวางการตั้งอุตสาหกรรมในประเทศ ฯลฯ แต่ฟิลิปปินส์ต้องยอมรับเพื่อให้ได้รับความช่วยเลหือตามรัฐบัญญัติไทดิ้งส์ของอเมริกัน ซึ่งมีข้อกำหนดว่าจะจ่ายค่าเสียหายให้ฟิลิปปินส์เกิน 500 เหรียญได้ต่อเมื่อฟิลิปปินส์ยอมรับรัฐบัญญัติเบลล์แล้ว รัฐบัญญัติเบลล์นี้ได้ถูกขนานนามว่า ไรัฐบัญญัติปีศาสจ" นอกจากนั้นการยอมรับข้อตกลงดังกล่าวอาจเป็นเพราะเห็นว่ามีประโยชน์แก่การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมบางประเภท คือ น้ำตาล ซึ่งอย่างน้อยจะมีตลาดอเมริกันเป็นแหล่งรองรับก็ได้ การแก้ปัญหารเศรษกฐกิจนี้ไม่ได้ผลนัก จนเป้ฯที่สงสัยกันว่า เมื่ออเมริกันยุติการช่วยเหลือ ฟิลิปปินส์จะเลี้ยงตนเองได้หรือไม่...ในรัฐบาลต่อมาผุ้นำฟิลิปปินส์ ก็พยายามแก้ไขปัญหาต่างๆ แต่สภานการเลวร้ายลง มีผุ้กล่าวว่าเหตุเพราะรับบาลไม่มีความรับผิดชอบอย่างแท้จริง ทั้งๆ ที่การผลิตในค.ศ. 1949 ได้ผลดีมาก เมื่อเทียบกย คศ. 1946 รายได้ของประเทศก็สูง โดยให้เหตุผลว่า การบริหารภาษีขาดประสิทธิภาพ, ความล้มเหลวในระบบการเช่าที่ดินทำกสิกรรม,ความเสื่อมโทรมทางศีลธรรมจรรยาของประชาชน รวมทั้งการฉ้อราษฎร์บังหลวงของข้าราชการ,การขาดความศรัทธาในรัฐบาลและประการสุดท้ายซึ่งเป็นข้ออ้างจากคณะสำรวจภาวะเศราฐกิจจากอเมริกา คือ ประชากรเพิ่มเร็วมาก ฟิลิปปินส์พยายามแก้ไปัญหาต่างๆ แต่ไม่แก้ที่รากฐาน กลุ่มอิทธิิพลและข้าราชการทุจริตคือปัญหาพื้นฐานของฟิลิปปินส์ (เช่นเดี่ยวกับประเทศด้อยพัฒนาอีกหลาบประเทศ) ซึ่งทำให้มาตรการเื่อแก้ปขปัญหาเศรษบกิจไม่ประสบผลสำเร็จ
                  ในสมัยของ รามอน แมกไซไซ มีจุดหมายทางเศราฐกิจที่สำคัีญ คือ การปฏิรูปการเกษตรกรรม ตั้งองค์การฝึกฝนอาชีพ ตั้งศษลเกี่ยวกับที่ดิน ฯ แต่อิทธิพลของบรรดาเจ้าทของที่ดินซึ่งเป็นสมาชิกพรรคการเมืองก็ทำให้ความพยายามของเขาไร้ผล เขาพยายามแก้ไขปัญหาด้วยการใช้นโยบายวบประมาณแบบไม่สมดุลในการกระตุ้นการขยายตัวทางเกษตรกรรมซึ่งแนวคิดนี้เป้นแนวคิดแบบเคนส์ แมกไซไซ พยายามใช้ขบวนการสหกร์เกษตร สภาบันการเงินเพือสินเชื่อเกษตร อย่างไรก็ตามนโยบายของเขามีผลให้การผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่ทว่ามีผลทำให้กิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นด้วย เนื่องจากธนาคารกลางขยายตัวเพ่ิมขึ้น แต่ทว่ามีผลทำให้เกิกถาวะเิงนเฟ้อขึ้นด้วย เนื่องจากธนาคารกลางขยายวงเงินกู้ให้แก่รัฐบาลอย่างรวดเร็ซจนเกินไป กล่าวได้ว่าในช่วง ค.ศ. 195431957 ผลผลิตเพิ่มอย่างรวดเร็วถึงประมาณร้อยละ25 ในสมัยของแมกไซไซ มีการกีดกันชาวต่างชาติยกเว้นอเมริกัน ในการต้าปลีกมีการควบคุมทั้งสินค้าเข้าและออกเพื่อช่ววยอุตสาหกรรมในประเทศ
               ฟิลิปปินส์ไม่อาจหลีกเลี่ยงอเมริกันได้พ้น เมื่อแมกไซไซถึงแก่กรรม รัฐบาลชุต่อมาต้องใช้นโยบายรัดเขช็มขัด รวมทั้งการควบคุมการแลกเปลียนเงินตราด้วย ทั้งนี้เนื่องมาจากการใช้จ่ายอย่างมากมายของรัฐบาล ฟิลิปปินส์เริ่มแสงวงหาเงินกู้จากแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น แต่เป็นการให้กู้ที่มีเงื่อนไขมากมายหนี้สินต่างประเทศของฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้นทุกที่ ยังผลให้การเงินขาดเสถียรภาพและต้องลดค่าเงินพื้นบ้านเสมอ
           ฟิลิปปินส์ยังเต็มไปด้วยปัญหาทั้งเศรษฐกิจและการเมืองซึ่งสะสมมาแต่อดีต ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งเกิดจากการตกเป็นทั้งในรูแปบบเก่าและรูปแบบใหม่ ดดยเฉพาะหลังสงครามดลกครั้งที่สองนั้นอิทะิพลทางเศรษบกิจของชาวต่างชาติที่มีต่อฟิลิปปินส์ยิ่งเด่นชัด การตกเป็นอาณานิคมครั้งแล้วครั้งเล่าของฟิลิปปินส์ ช่วยให้ชนชั้นนายทุนพื้นเมืองดำรงอยู่ได้อย่างผาสุกโดยความร่วมมือกบประเทศแม่ คนกลุ่มนี้น่าจะเป็นผุ้ที่ทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ได้เป็ฯอย่างดี แต่เป็นที่นน่าสงสัยว่านายทุนพื้นเมืองเหล่านี้มีบทบาทต่ดการพัฒนาประเทศเพียงไร ชนชั้นนายทุนชาวพื้นเมืองนี้ได้รับการปกปักษ์รักษามาตั้งแต่สมัยการตกเป็นอาณานิคมของสเปน ขณะที่เศรษฐกิจเพื่อการส่งออกชขยายตัวนับแต่อดีตจนกระทั่งเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 ในช่วก่อนสงครามโลกครั้งที่สองนั้น จำนวนนายทุนชาวพื้นเมืองก็ขยายตัวออกไปเรื่อยๆ เช่น กัน ในขณะเดี่ยวกันการเกษตรกรรมตลดอจนการส่งออกก็ขยายตัวไปด้วย แต่ทว่ากิจกรรมการเกษตณและการส่งออกของฟิลิปปินส์ต่างไปจากประเทศอาณานิคมโดยทั่วไป คือ การเกษตรเพื่อการส่งออกนั้นจัดำเนินการโดยชวฟิลิปปินส์เองเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่อาณานิคมอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นการเกษตรขนาดใหญ่ตลอดจนการส่งออกมักจะดำเนินงานโดยคนต่างชาติ โดยลักษณะเช่นนี้น่าจะเป็นบทบาทของนายทุนชาวพื้นเมืองด้วย แต่สินค้าเกษตรของฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่เป็นการผลิตตามความต้องการของสหรัฐอเมริกานั่นเอง อุตสาหกรรมของฟิลิปปินส์ยังผุกพันกับเศรษบกิจของสหรัฐอย่างเหนียวแน่น บรรษัทอเมริกันยังคงควบคุมกิจการประเภทโรงสีและการตลาดของสินค้าส่งออกทั้งยังมีการลงทุนขนาดมหาศาลในกิจการประเภทเหมืองแร่และสาธารณูปโภค
          การค้าเสรีระหว่างอเมริกาและฟิลิปปินส์เริ่มจากปี ค.ศ. 1909 นั้นังผลให้สไรัฐกลายเป็นตลาดที่สำคัยของสินค้าขึ้นปฐมของฟฺิลิปปินส์ และสินค้าอุตาสหกรรมจากอเมริกาก็ถูกส่งมาขายที่ฟิลิปปินส์ด้วยราคาที่สุงลิบลิ่ว จะเห็นได้ว่าแม้ข้อตกลงจะส่งผลดีให้กับสินค้าออกเกษตรของฟิลิปปินส์ก็ตาม แต่ทว่าสินค้าอุตสาหกรรมจากสหรัฐอเมริกานั้นเป็นฝ่ายได้เปรียบมากกว่า
         หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ฟิลิปปินส์ก็เหมือนกับประเทศนแถบอเชียตะวันออกเแียงใต้โดยทั่วไป กล่าวคือขากแคลนเงนิตราต่างประเทศแต่ที่ค่อนข้างจะพิเศษคือ ฟิลิปปินส์เป็นหนี้ต่างประเทศอย่างมหาศาล ซึงชี้ให้เห็นว่าชาวต่างชาติจะเข้ามามีบทบาทในเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์อย่างแน่นอน
         การที่ชาวต่างชาติจะผลิตสินค้าส่งมาขายฟิลิปปินส์หรือเข้าดำเนินกิจกรรมทางเศราฐกิจ่างๆ ในประเทศนี้ อาจมิใช่สิ่งที่เสียหายมากนัก ถ้าเงินกำไรจะถูกสะสมในประเทศ หรือก่อใหเกิดการว่าจ้างทำงานเพิ่มขึ้นฯ แต่ที่เป็นผลเสียหายเนื่องจากเงินกำไรจากการลงทุนของบรรษัทต่างชาติถูกส่งกลับไปสู่ประเทศแม่ และที่เลวร้ายไปหว่านั้นคือ นักลงทุนข้ามชาติเข้ามาในประเทศฟิลิปปินส์ในลักษณะมือปล่าแต่เข้ามากู้เงินจากธนาคารท้องถ่ินในการลงทุนเพื่อกอบโดยผลกำไรกลับสู่ประเทศตน ในขณะที่นักลงทุนชาวฟิลิปปินส์เองเป็นจำนวนไม่น้อยต้งอไปแสวงหาเงินทุนจากแหล่งอื่นซึ่งอาจเสียดอกเบี้ยในอัตราสูง และส่งผลให้เกิดปัญหาด้านดุลขำระเงินติดตามมาในอนาคต สภาพดังกล่าวนั้นดูเหมือนจะเกิดขึ้นกับประเทศด้อยพัฒนาหลงสงครามดลกครังที่ 2 เป็นส่วนใหญ่ ภายใต้การบงการของประเทศมหาอำนาจฝ่ายพันธมิตรนั้น การสำรวจภาวะเศรษบกิจของประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลายตลอดจนคำแนะนำต่างๆ ถูกเสนอขึ้นมาพร้อมกับข้อเสนอให้ความช่วยเหลือ ทั้งทางด้านการเงินและวิทยาการต่างๆ ตลอดจนผุ้เชี่ยวชาญ โดยมีหน้าฉากอยุ่ที่สถาบนระหว่างประเทศ เช่น ธนาคราโลก, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF ปรากฎว่าฟิลิปปินส์ต้องตกอยู่ภายใต้ข้อเรียกร้องต่างๆ ของนักลงทุนต่างชาติ มีการให้สิทธิพิเศษมากมายตามกฎมหายต่างๆ ที่สร้างขั้นมาในช่วงนั้น
          ฟิลิปปินสก้าวเข้าสู่ทศวรรษ 1970 ด้วยอาการที่ซวนเซ ในค.ศ. 1972 ตกเป็นหนี้ต่างประเทศเป้นจำนวถึง 2 พันล้านเหรียญสหรัฐและเพ่ิมเป็นกว่า 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ใน ค.ศ. 1979 การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศน้นมิใช่แต่จะทำให้มีภาระหนี้สินเท่านั้น แต่มักปรากฎว่าสถาบันการเงินผุ้ให้กู้เหล่านี้มีบทบาทเข้าแทรกแซงกิจการทางเศรษบกิจภายในประเทศผุ้กู้ด้วย นโยบายต่างๆ ทางเศรษฐกิจจึงมักถูกกำหนดโดยเงื่อนไขของสถาบันการเงินเลห่นั้น และโดยที่สถาบันการเงินเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากประทเศอุตสาหกรรมที่ร่ำรวยทั้งหลาย จึงเท่ากับว่าบรรดานายทุนเหล่านี้มีอำนาจในการสร้างเงื่อนไขต่างๆ แก่ประเทศผุ้ขอกู้ยืมด้วย... (ประวัติการพัฒนาเศรษฐกิจของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้,รศ. ญาดา ประภาพันธ์)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...