วันอังคารที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2560

AREAN Summit

             การประชุมสุยอดอาเซียน ASEAN Summit เป็นการประชุมของผุ้นำสูงสุดระหว่างประเทศ สมาชิกอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย ไทย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, บรูไนดารุสซาลาม, เวียดนาม, ลาว, พม่าและกัมพูชา โดยในช่วงแรกจัดประชุมโดยหมุนเวียนกันระหว่างประเทศสมาชิก 5 ประเทศ คือ ไทย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ หลังจากมีสมาชิกเพ่ิมจึงได้หมุนเวยน การจัดประชุมไปยังประเทศสมาชิกใหม่ด้วย ดดยหัวข้อการประชุมจะเป็นเรื่องการปรึกา หารือ ขอความร่วมมือ ขอฉันทมติหรือลงนามในเรื่องเศราฐกิจ แารเมือง ควมมั่นคง ด้านสังคมและวัฒนธรรมของประเทศสมาชิก ช่วงแรกของการจัดกระประชุมไม่มีการจัดเป็นประจำต่อเนื่อง แต่หลังจาก การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 7 ที่ประเทศบรูไนฯ การประชุมก็มีการจัดต่อเนื่อง ทุกปี
          ครั้งที่ 1 วันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซียมีการลงนามว่าด้วยความร่วมือในเอกสาร 3 ฉบับ คือ "ปฏิญญาสมานแันท์อาเซียน", "สนธิสัญญาไม่ตรีและความรวมมือในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้"และ "ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งสำนักงานเลขาธิการอาเซียน"
          ครั้งที่2 วันที่ 4-5 สิงหาคม พ.ศ. 2520 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เป้นการประชุมเนื่องในโอกาสก่อตั้งอาเวียนครบ 10 ปี โดยเน้นย้ำถึงความร่วมมือ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนให้มีความมั่นคงแข็งแรงขึ้น รวมถึงการมุ่งพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ นอกภูมิภาคด้วย
           ครั้งที่ 3 วันที่ 14-15 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ที่กรงุมะนิลา ประเทศฟิลิปปิน์ มีการออก "ปฏิญญามะนิลาปี 2530" และประกาศให้ปี พ.ศ. 2535(ครบรอบ 25 ปีอาเซียน) เป็นปีการท่องเที่ยวอาเซียน มีการหารือกันเรื่องเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์แห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเด็นเรื่องสันติภาพเสรีภาพและความเป็นกลาง
           ครั้งที่ 4 วันที่ 27-29 มกราคม พ.ศ. 2535 ที่ประเทศสิงคโปร์ มีการออก "ปฏิญญาสิงคโปร์" และหารือกันเรื่องความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหประชาชาติและองค์กรระหว่างปรเทศในการตกลงกันเรื่องสันติภาพ นอกนี้ยังพิจารณาเรื่องการจัดตั้งเขตการค้า เสรีอาเซียน
           ครั้งที่ 5 วันที่ 14-15 พ.ศ. 2538 ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย มีการออก "ปฏิญญากรุงเทพฯ"และลงนามในเอกสารอีก 2 ฉบับ คือ "สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์แห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้", "ความตกลงอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญา" การประชุมสุดยออาเซียนครั้งนี้ถือว่าเป็นการครบการหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดประชุมของป 5 ประเทศสมาชิก ซึ่งกินเวลา 28 ปีนับตังแต่ประชุมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519
           ครั้งที่ 6 วันที่ 15-16 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ที่กรงุฮานอย ประเทศเวียดนาม มีการออก "ปฏิญญาฮานอย" และประกาศ "การจัดตั้งเขตลงทุนอาเซียน" รับรอง "แผนปฏิบัติการฮานอย" เพื่อให้อาเซียนบรรลุวิสัยทัศน์อาเซียนในปี พ.ศ. 25631 การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการจัดการประชุมสุดยอด อาเซียนครั้งแรกของเวียดนาม หลังจากเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน 3 ปี
           ครั้งที่ 7 วันที่ 5-6 พศจิกายน พ.ศ. 2544 ที่กรงุบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไนดารุสซาลาม มีการออก "ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการดำเนินการร่วกันในการต่อต้านการก่อการร้าย" ปรับปรุง "แผนปฏิบัติการฮานอย" สนับสนุนให้จัดตั้ง "แผนงานเพื่อการรวมตัวอาเซียน" และสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน" หลังจากากรประชุมคร้งนี้ การประชุมสุดยอดอาเซียนก็มีจัดต่อเนื่องกันทุกปี โดยหมุนเวียนกันในหมู่ประเทศสมาชิก
          ครั้งที่ 8 วันที่ 4-5 พศจิกายม พ.ศ. 2545 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพุชา ที่ประชุมได้ลงนามความตกลงด้านการท่องเที่ยวอาเซียน และเน้นย้ำเรื่องการต่อต้านการก่อการร้าย การบริาหรจัดการทรัพยากรธรรมชาิต และให้ความสำคัญกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมากที่สุดในการรวมตัวอาเซียน
         ครั้งที่ 9 วันที่ 7-8 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย มีการประกาศ "ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน II " หรือ "ความร่วมมือบาหลี II" ว่าด้วยการจัดตั้งประชาคมอาเว๊ยน ซึึ่งประกอบไปด้วยประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเวียน ประชาคมเศราฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธณณฒอาเซียน พร้อมทั้งรับรอง "แผนปฏิบัติการประชาคมเศราฐกิจอาเซียน"
          ครั้งที่ 10 วันที่ 29-30 พฤศจิการยน พ.ศ. 2547 ที่กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ที่ประชุมได้ลงนาม "แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์" พร้อมทั้งรับรอง "แผนปฏิบัติการประชาคมความมันคงอาเซียน" และ "แผนปฏิบัติการประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน" และจัดตั้งกองทุนอาเซียนเพื่อการพัฒนาการประชุมสุดยอดอาเซียนเพื่อการพัฒนาการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ประเทศลาวได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม หลังจากที่เป็นสมาชิกใหม่อาเวียนครบ 7 ปี จึงได้ลงทุนสร้างบ้านพักใหม่ทั้งหมดให้กับผุ้นำอาเซียนทุกคน ได้พักอยุ่ในช่วงระหว่างการประชุม เพื่อให้ได้บรรยาการเหมืออยู่บ้าน
  ครั้งที่ 11 วันที่ 12-14 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ที่กรงุกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ที่ประชุมได้ลงนาม "ปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการจัดทำกฎบัติอาเซียน" และยกร่างกฎบัตรอาเซียน
            ครั้งที่ 12 วันที่ 9-15 มกราคม พ.ศ. 2550 ที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ประชุมได้ลงนาม "ปฏิญญาเซบูเพื่อมุ่งไปสู่ประชาคมที่มีความเื้ออาทรและแบ่งปันที่เป็นหนึ่งเกี่ยว", "ปฏิญญาเซบูว่าด้วยการเร่งรัดจัดตั้งประชาคมภายในปี พ.ศ.2558" และ "ปฏิญญาเซบูว่าด้วย แผนงานเรื่องกฎบัตรอาเซียน"
            ครั้งที่ 13 วันที่ 18-22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ที่ประเทศสิงคโปร์ มีการออก "ปฏิญญาสิงคโปร์ว่าด้วยกฎบัตรอาเซียน" พร้อมทั้งรับรอง "ปฏิญญาแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" และ "กฎบัตรอาเซียน" ในวาระครอบรอบ 40 ปีอาเซียน
            ครั้งที่ 14 วันที่ 26 กุมภาพันธ์- 1 มีนาคม พ.ศ.2552 ที่ชะอำ หัวหิน พัทยา ประเทศไทย ที่ประชุมได้ลงนาม "ปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียนปี พ.ศ. 2552-2558" และรับรอง "แผนงานข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียนฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552-2558 ", "แผนงานการจัด ตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน" แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมแลวัฒนธรรมอาเซียน"
            ครั้งที่ 15 วันที่ 23-25 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ที่ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ฺประเทศไทย มีการหารือเรื่อง "เชื่อมโยงประชาคม สร้างเสริมประชาชน" และรับรอง "อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลียนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 15", "ปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคม อาเซียนที่เื้ออาทรและแบ่งปัน", "แถลงการณ์ผุ้นำอาเซียนว่าด้วยการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมในอาเซียน", "แถลงการณ์ชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยความร่วมมือเกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหารและการพัฒนพลังงานชีวภาพในกรอบอาเซียนกับประเทศ +3", "แถลงการณ์ชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก"
           
ครั้งที่ 16 วันที่ 8-9 เมษายน พ.ศ. 2553 ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม มีการหารือกันเรื่อง "มุ่งสู่ประชาคมอาเซียน : จากวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ", "การจัดทำแผนแม่บทว่าด้วยการเสริมสร้างเครือข่าย เชื่อมโยงในภุมิภาค" และลงนามในพิธีการว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทของกฎบัตรอาเซียน
            ครั้งที่ 17 วันที่ 28-30 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ที่กรงุฮานอย ประเทศเวียนดนาม มีการหารือกนเรื่อง "ก้าวสู่ความเป็นหนึ่งเกียวกันของอาเซียน : จากความปรารถนาสู่ปฏิบัติการ" พร้อมทั้งประกาศปฏิญญา ฮานอยซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิสตรีและเด็กในภูมิภาคอาเซียน ตกลงจะจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างกันในอาเซียนเพื่อประสาน และกำกับดุแลการปฏิบัติงาน ลงความเห้ฯที่จะรับสหรัฐฯ กับรัฐเซียเข้าเป็นสมาชิก ของการประชุมสุดยอดเอเซียตะวันออกอย่างเป้ฯทางการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป

            ครั้งที่ 18 วันที่ 7-8 พฤษภาพคม พ.ศ. 2554 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย มีการหารือกันเรื่อง "ความจำเป็นในกาบรรลุถึงความเป็นประชาคมอาเซียน" โดยมีจุดมุ่งหมายให้ประชานเป็นศูนย์กลาง และมีบทบาทสำคัญอยู่ในประชาคมโลกภายในปี พ.ศ.2565 มีการเสนอให้เตรียมร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยประชาคมอาเซียนในประชาคมแห่งประชาชาติโลกเพื่อลงนามในที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 19 
            ครั้งที่ 19 วันที่ 17-19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ที่ประชุมได้ลงนามใน "ปฏิญญาบาหลีว่าด้วยประชาคมอาเซียนในประชาคมโลก", "ปฎิญญาว่าด้วยความเป็นอันหนึ่ง อันเดี่ยวกันของอาเซียนในความหลากหลายสู่การสร้างความแข็งแกร่งให้ประชาคมอาเวียน" และมีมติให้จัดตั้งศูนย์ ประสานงานอาเซียนเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและจัดการกับผลกระทบจากภัยพิบัติ
         
ครั้งที่ 20 วันที่ 3-4 เมษายน พงศ. 2555 ที่กรุงพนมเปญประเทศกัมพุชา ที่ประชุมได้ลงนามใน "ปฏิบัติการพนมเปญ ว่าด้วยกานสร้างประชาคมอาเซียน", "แถลงการณ์พนมเปญประชาคมเดียว พรหมลิขิตเดียว" และ "แถลงการณ์ว่าด้วยการสร้างอาเซียนเป็นเขตปลอดยาเสพติดในปี พ.ศ. 2558
             ครั้งที่ 21 วันที่ 17-21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ที่ประชุมได้ลงนามใน "คำแถลงพนมเปญรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน" , "ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน", คำแถลงผุ้นำอาเซียนเรื่องการจัดตั้งศุนย์ปฏิบัติการกับระเบิดแห่งภูมิภาค", "เอกสารแนวคิดพื้นฐานเรื่องการจัดตั้งศุนย์ปฏิบัติการกับระเบิดแห่งภูมิภาค" และ "แผนการทำงานตามความตกลงบาหลีที่ III (2013-2017)

             ครั้งที่ 22-25 เมษายน 2556 ณ บันดาร์เสรีเบกาวันประเทศบรูไน การปรุชมสุดยอดอาเวียนที่จะมีขึ้นเป็นการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งแรกภายใต้การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของบรูไน ฯ โดยบรูไนฯ กำหนดหัวข้อหลักของปีนี้ว่า "Our People,Our Future Together " เพื่อสะท้อนถึงความสำคัญของบทบาทประชาชนในการขับเคลื่อนอาเซียนและกำหนดอนาคตของภุมิภาค โดยบูไนฯ จะให้ความสำคัญกับการผลักดันประเด็นรวมถึงแผนงานต่างๆ ตามที่มีการตกลงไว้แล้วให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 22 นอกจากผุ้นำอาเซียนจะได้ทบทวนพัฒนาการความคืบหน้าการทำงานที่ผ่านมาแล้ว จะเป็นการให้ทิศทางและแสวงหาแนวทาง เพื่อผลักดันประเด็นความร่วมมือที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกันต่อไปในกรอบอาเซียน ตลอดจนเป็นโอกาศให้แลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องประเด็นในภุมิภาคและประเด็นระหว่างประเทศที่สำคัญ

ประเด็นที่ทางไทยให้ความสำคัญ ได้แก่ การเร่งรัดการสร้างประชาคมอาเซียน และการเชื่อมโยงในอาเซียนตามเป้าหมายที่ 2558 การรวมตัวทางเศรษฐกิจที่ลึกซึ้งและกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการจัดทำหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวางในภูมิภาคของอาเว๊ยน ความร่วมมือเพื่อก้ไขปัญหาข้ามพรมแดนต่างๆ อาทิ การค้ามนุษย์ ยาเสพติด ภัยพิบัติและหมอกควัน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม และการสร้างความตระหนักรู้เรื่องอาเซียนในหมู่เยาวชน รวมทั้งการส่งเสริมบทบาทของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศ และประเด็นภูมิภาคที่มีความสำคัญต่อาเซียน
           ครั้งที่ 23 วันที่ 9-10 ตุลาคม 2556 ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน บรูไนดารุสซาลาม การประชุมสุดยอดอาเวียนที่จะมีขึ้นในครั้งนี้เป้นการประชุมครั้งสุดท้ายภายใต้การเป็นประธานอาเวียนของบรูไนฯ ก่อนที่เมียนมาร์จะรับตำแหน่งต่อไปในปี 2557 โดยวัตถุประสงค์การประชุมครั้งี้คือเพือทบทวนพัฒนากรความคือบหน้าการทำงานที่ผ่านมาและ ร่วมกันแสวงแนวทางเพื่อผลักดันประเด็นความร่วมมือที่จะเป้นประดยชน์ร่วมกันต่อไปทั้งในกรอบอาเวียนและกับคู่เจรจา ตลอดจนเป็นโอกาสสำหรับแลกเปลี่ยนความเห้ฯเรื่องประเด็นในภุมิภาคและประเด็ระหว่งประเทศที่สำคัญ หัวข้อในการประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วย
           - การเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาคมอาเซียนซึงรวมถึงการดำนินกาตามแผนงานสามประชาคมย่อยและ แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงในอาเวียน

            - การจัดทำวิสัยทัศน์อาเวียนภายหลังการเข้าสู่การเป็นปรชุมอาเซียนในปี 2558 โดยย้ำเจตนารมยืของผุ้นำอาเวียนนกาพัฒนาประชาคมอาเวียนภายหลังปี 2558 ซคึ่งจะเน้นผลประโยชน์ อขงประชาชนเป้นหลัก อาทิ ความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและการให้บริการสาธารณสุข โดยสอดคล้งกับเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติภายในปี 2558 
           - ความร่วมมือในการจัดการปัญหาข้ามพรมแดนต่างๆ อาทิ ภัยพิบัติ และหมกควัน รวมทั้งการจัดการบริหารทรัพยากรน้ำซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร
           - การแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นภูมิภาคและระหว่งประเทศ อาทิ ความร่วมมือด้านต่างๆ ในทะเลจีนใต้รวมทั้งกลไกการแก้ไขปัญหาด้านความมันคงเพื่อส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
           ในการประชุมครั้งนี้ เหล่าผุ้นำอาเวียนได้มีการลงนามรับรองเอกสารสำคัญหลายๆ อัน ได้แก่                           1.ปฎิญญาบันดาร์เสรเบกาวัีน่าด้วยวิสัยทศน์ภายหลังปี 2558 
                  2. ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรีและเด็กในอาเวียน
                  3. ปฏิญญาอาเซียนเสริมสร้างความเข้มแข็งมาตรการการคุ้มครองทางสังคม
                  4. ปฏิญญาบันดาร์เสรีเบกาวัน ว่าด้วยการประกอบการและจ้างงานของเยาวชน
                  5. ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้าน การจัดการภัยพิบัติ
                  6. ปฏิญญาบันดาร์เสรีเบกาวันว่าด้วยดรคไม่ติดต่อ
                  7. แถลงการณืร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 16 ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อาเซียน- จีน
                  8. ปฏิญญาของกาประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 8 ว่าด้วยความม่นคงด้านอาหาร
               ครั้งที่ 24 วันที่ 10-11 พฤษภาคม 2557 ณ เนปิดอว์ เป้ฯการประชุมสุดยอดอาเวียนครั้งแรภายใต้การเป็นประธานอาเซียนของเมียนมาร์ โดยเมียนมาร์ได้กำหนดหัวข้อหลักของการประชุมว่า "Moving Forward in Unity to peaceful and properous community" ในกาประชุมผุ้นำอเซียนได้ทบทวยพัฒนการและความคืบหน้าของการดำเนินงานที่ผ่านมาและพิจารณาประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อบรรลุการจัดตังประชาคมอาเซียน ปี 2558 รวมทั้งกำหนดทิศทางความี่วมมือในอนาคตของอาเวียนในบริบทของการจัดทำวิสัยทศน์ประชาคมอาเวียนภายหลังปี 2558 ...
              (www.asean-info.com/asean_community/asean_summit."การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ASEAN Summit")

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...