ASEAN Investment Area : AIA & Ha Noi Plan of Action (1998)

            การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 6 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-16 ธันวาคม 1998 ณ กรุงฮานอย ประเทสเวียดนาม ที่ประชุมได้ตกลง "ปฏิญญาฮานอย" เพื่อประกาศเรื่องการรับกัมพูชาเขเ้าเป็นสมาชิกลำดัที่สิบของอาเซียนและยืนยันเจตนารมณ์ที่จะร่วมมือกันอย่งเร่งด่วนและใกล้ชิดในการปฏิรูปทางเศราฐกิจและการเงิน เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศราฐกิจและสังคมที่เกิดจากวิกฤตกาณณ์ทางเศราฐกิจของภูมิภาค ที่ประชุมได้ประกาศการจัดตั้งเขตการลงทุนเาอซียน ASEAN Investment Area : AIA เพื่อส่งเสริมการลงทุนในภูมิภาค รวมทั้งเห็นพ้องให้ลดปัญหาความยากจนให้มีการพัฒนาชนบทซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดสำหรับนโยบายในการฟื้นฟูและพัฒนาของประเทศสมาชิก อาเซียนได้ให้การรับรอง "แผนปฏิบัติการฮานอย" Ha Noi Plan of Action ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการ 6 ปี ครอบคลุมปี 2542-2547 เพื่อเป็นแนวทางในการทำให้อาเวียนบรรลุวิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ. 2020 (ASEAN Vision 2020) ที่ได้ประกาศไว้ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป้ฯทางการ เนื่อในโอกาศครอบรอบวันก่อตั้งอาเซียนครบ 30 ปี เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 1997 ที่กรงุกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งในการประชุมครั้งนี้นอกจากจะมีการประกาศวิสัยทัศน์อาเซียนแล้ว ยังมีความเห้ฯพ้องต่อข้อตกลงความเข้าใจเรื่อง การจัดตั้งมูลนิธิอาเซียน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านการศึกษา การฝึกอบรม สุขภาพและด้านวัฒนธรรม โดยมีการจัดให้เยาชนและนักเรียนอาเซียนได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน..
(www.tm.mahidol.ac.th..(doc) ตอนที่ 3 การประชุมสุดยอดอาเซียน(ASEAN SUMMIT) การประชุมสุยอดอาเซียน)
ASEAN Investment Area AIA คือ เขตการลงทุนอาเซียน ซึ่งผุ้นำอาเซียได้ริเริ่มขึ้นในปี 1998 เพื่อให้อาเซียนเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนทั้งจาำภายในและภายนอกอาเซียน โดยจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียนให้เสร็จภายในปี พ.ศ. 2553 ซึ่งการลงทุนภายในเขตการลงทุนอเซียนจะต้องได้รับการปฏิบัติเยี่ยงคนในชาติหรือสิทธิพิเศษเท่าที่แต่ละประเทศจะให้ได้..(www.aseanthai.net/..AIA ย่อมาจาก..)
                 Ha Noi Plan of Action แผนปฏิบัติการฮานอย หลังจากผุ้นำอาเซียนได้รับรองเอกสารวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 ASEAN Vision 2020 ขึ้นในโอกาสครบรอบ 30 ปี การก่อตั้งอาเซียน เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1997 ชาติสมาชิกอาเวียนได้ตกลงกันในวิสัยทัศน์อาเวียน ได้แก่ การเป็นวงสมานฉันท์แห่งประชาชาติเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ การเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างีพลวัติและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีเสถียรภาพและความมั่งคั่ง มุ่งปฏิสัมพันธ์กับประเทศภายนอก ภูมิภาคเอเซียน และเป็นชุมชนที่สังคมเอื้ออาทรต่อกัน ต่อมาในการประชุมสุดยอดอาเวียนครั้งที่ 6 เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1998 ผุ้นำประเทศอาเซียนได้ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการฮนอยขึ้นเพื่อที่จะเป็นแนวทางในการทำให้วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 เกิดผลในทางปฏิบัติ
               แผนปฏิบัติการนี้เป็นแผนปฏิบัติการฉบัยบแรกที่ได้กำหนดกิจกรรมและดครงการต่างๆ ให้ประเทศสมาชิกยึดถือ กล่าวคือเป็นแผนปฏิบัติการแรกที่นำไปสู่ ประกาศความคิดริเริ่มเพื่อการรวมกลุ่มของอาเซียน (Inititive For ASEAN Interation : IAI) แผนปฏิบัติการเวียงจันทร์ (Vientiane Action Programme : VAP) และแผนงานการรวมกลุ่มของอาเซียน (Roadmap for Integration of ASEAN : RIA) เป็นต้น แผนปฏิบัติการฮานอยได้เน้นความสำคัญอย่างยิ่งในแผนงานด้านเศรษฐกิจเนื่องจากในขณะนั้นประเทศต่างๆ ในเอเซียตะวันออกเฉียใต้ต้องเผชิญกับวิกฤติเศราฐกิจและการเงินโลก ค.ศ. 1997 (วิกฤตต้มยำกุ้ง) เศราฐกิจฟองสบู่ที่แตกในประเทศไทยนั้นได้ลุกลามสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ อย่างรุนแรง ดังนั้นแผนปฏิบัติการฮานอยจึงมุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและเยียวยาผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการผันผวนทางการเงินและเศษกบิจโลก
             แผนปฏิบัติการฮานอยประกอบด้วยแผนปฏิบัติการย่อยจำนวน 10 ส่วนได้แก่
             1. เสริมสร้างความขเ้มแข็งให้กับเศรษฐกิจจุลภาคและความร่วมมือด้านการคลัง เพื่อที่จะสร้างความมั่นใและฟื้นฟูการเติบโตทางเศราฐกิจและเสริมสร้างความมั่นคงให้กับการเงินและตลาดทุนในะดับภูมิภาคอันจะส่งผลเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นอีกในอนาคต
             2.ส่งเสริมการร่วมกลุ่มทางเศรษบกิจให้มากขึน เพื่อที่จะสร้างความมั่งคั่งแลเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพในการแข่งขันสุงที่สินคึ้า การบริการและการลงทุนสามารถเคลื่อย้อยได้เสรี การเคลื่อนย้ายทุุ่นสมารถทำได้ง่ายขึ้น อีกทั้งสมารถชจัดความยากจนและลดความเลือมล้ำทางเด้านสังคมและเศรษฐกิจได้ โดยในส่วนที่สถงี้จะเป้ฯส่วนที่มีรายละเอียดปลีกย่อยมากที่สุดยกตัวอย่างเช่น การเร่งรัดให้เกิดเขตการต้าเสรีอาเซียน AFTA  ซึ่งจะเป็นการเปิดเสรีทางการต้าสินค้าผ่านอัตราภาษีศุลการกรพิเศษที่เท่ากัน การผสานพิธีศุลกากร สร้างมาตรฐานร่วมที่สามารถอ้างอิงได้ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน นอกจากนั้นยังระบุถึงเป้าหมายในการปฏิบัติตามกรอบความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน และกรอบความตกลงด้านบริการอาเซียน การสร้างความมัี่นคงของมนุษย์ เช่น อาหาร ป่าไม้และสิ่งจำเป็นพ้ฯฐานอื่นๆ ของมนุษย์ การสร้างความเข้มแข็งใหกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การส่งเสริมและคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การท่องเที่ยว ธุรกิจออนไลน์และการพัฒนาโครงกสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาคอย่างการคมนาคม การส่อสาร พลังงานและการชลประทาน
             3. ส่งเสริมวิทยาศาสรตร์และการพัฒนาเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศอาเซียน(AII)
              4. ส่งเสริมการพัฒนาสังคมและการตระหนักรู้ถึงผลกระทบทางสังคมจากวิกฤติศรษฐกิจและการิงน
             5. ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผ่านการให้การศึกษาและการสร้างเครือข่าย อาทิ เครื่อข่ายมหาวทิยาลัยอาเซียน เครือข่ายพัฒนาทักษะสำหรับผุ้หญิง และเครือข่าวเข้าหน้าที่ของรัฐ
             6. อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแลส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยือนร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการมลพิษข้ามชาติอย่างปัญหาหมกควัน การสร้างศูนย์พยากรณ์เฉพาะสำหรับตรวจหาไฟป่าการก่อตั้งศูนย์อาเซียนเพื่อนุรักษ์ความหลากหลายทางลีวภาพ เป็นต้น นอกจากนั้นส่วนนี้ยังมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมแผนการรักษาสิ่งแวดล้อมในระดับโลก เช่น Agenda 21 และข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมนานาชาติอื่นๆ อีกด้วย
            7. เสริมสร้างสันติภาพและความมัี่นคงในภุมิภาค
            8. เพิ่มพบทบาทอาเซียนในฐานะกำลังสำคัญในการักษาสันติภาพ ความยุติธรรมและความสมส่วนทั้งระดับภูมิภาคเอเซียนแปซิฟิกและระดับโลก
            9. ส่งเสริมการตระหนักรู้ถึงอาเซียนและจุดยืนอาเซียนในฐานะสมาชิกของประชาคมโลก
            10. พัฒนาการโครงสร้างองค์กรอาเซียนและกำไกต่างๆ โดยกำหนดให้มีการทบทวนโครงสร้างอาเซียนใหม่ให้สอดคล้องกับกิจกรรมใหม่ๆ การขยายองค์กรรับประเทศสมาชิกใหม่และภานการณ์ทีเปลี่ยนปไในภุมิภาค อีกทั้งกำหนดให้มีการทบทวยบทบาทของสำนักเลขาธิการอาเซียนให้สามารถสนับสนุนการปฏิัติตามแผนปฏิบัติการฮานอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ..(wiwi.kpi.ac.th/..แผนปฏิบัติการฮานอย)
         

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)