เมื่อญี่ปุ่นจากไปหลังสงครามโลกครั้งที่สองพร้อมทั้งทิ้งความเสียหายทางเศรษฐกิจตลอดจนการปลูกฝั่งความเป็นชาตินิยมเอาไว้ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้แล้วปรากฎว่าบรรดาประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้มีความตื่นตัวในความเป็นชาตินิยม และพยายามดำเนินการแสวงหาเอกราชจามหาอำนาจตะวันตกที่ครอบครองประเทศอยู่แม้บางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย พม่า และเวียดนาม จะต้องต่อสุ้อย่างยากลำบากในการได้มาซึ่งเอกราช แต่ในที่สุดต่่างก็ได้รับอิสระภาพ แต่เมื่อได้รับอริสระภาพมาแล้วปัญหาต่างๆ ทั้งภายในประทเศและภายนอกประเทศมิได้หมดไป ความไม่พร้อมของรัฐบาลบางประเทศที่จะยืนหยัดด้วยตนเองปรากฎอยู่ นอกจานั้นความคิดที่วาลัทธิอาณานิคมที่เคยรุ่งเรืองอยู่ในภูมิภาคนี้ได้ถูกทำลายไปสิ้นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องแท้จริงเป็นเพรียงการเสื่อมสลายของลัทธิอาณานิคมแบบเก่าแต่รากเหว้าของลัทธินี้ยังคงอยุ่เพียงแต่เปลี่ยนแมาเป็นรูปแบบที่เรียกว่าลัทธิอาณานิคมแบบใหม่ Neo3-Colonialism ซึ่งยังคงลักษณะแห่งการเอารัดเอาเปรียบของประเทศนายทุนอุสาหกรรม ทั้งฝ่ายตะวันตกและญี่ปุ่นไว้อย่างครบครัน การเข้ามาควบคุมเศรษบกิจในรูปผูกขาดในยุคหลังสงครามดลกนี้ บรรดาประเทศมหาอำนาจทั้งหลายได้อาศัยสถาบันระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งตนมีอิทธิพลอยุ่เบื่องหลังเข้ามาช่วยเหลือให้การผูกขาดดำเนินโดยสะดวกยิ่งขึ้น
ลักษณะพื้นฐานของลัทธิอาณานิคมแบบใหม่ นั้นคือ การผูกขาดทุน และระบบรัฐทุนนิยมผูกขาด ตัวอย่างของการดำเนินงานของลัทธิอาณานิคมแบบใหม่ เช่น บรรษัทข้ามชาติ ซึ่งเข้ามามีบทบาททางเศรษกิจในหลายๆ ประเทศของเอเซีย อัฟริกา และลาตินอเมริกา วิธีการนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น การให้เงินกู้แก่ประเทศกำลังพัฒนา การใช้องค์การระหว่างประเทศที่ตนมีอิทธิพลเข้าแทรกแซงนโยบายทางเศราฏิจของรัฐบาลประเทศกำลังพัฒนาโดยให้ความช่วยเหลือเป้นเครื่องแลกเปลี่ยน ลัทธิดังกล่าวนี้ขยายตัวอยุ่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เรื่อยมานับจากการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้ประเทศในภูมิภาคนี้มัวเมาอยู่กับความสะดวกสะบายจากความช่วยเหลือด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเงินที่ได้รับ จนในที่สุดไม่อาจถอนตัวจากการพึ่งพาและภาระหนี้สินที่ท่วมท้นได้ ความเป้ฯอยู่ของประชาชนส่วนใกญ่ในประเทศเหล่านี้ไม่พัฒนาไปมากนักผลประโยชน์ต่างๆ จากความช่วยเหลือแม้จะตกกับประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้บ้าง แต่มิได้เป็นไปอย่างทั่วถึงและมักจะตกกับคนกลุ่มน้อยกรืผุ้ที่อยู่ในเขตเมือง นอกจากนั้นผลประโยชน์ส่วนใหญ่จะถูกดึงกลับไปยังประเทศผุ้เป็ฯเจ้าของทุนตามเงื่อนไขต่างๆ ที่ตั้งไว้
แม้ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จะเป้นเอกราชแล้วก็ตามที แม่เมื่อพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วจะเห็นได้ว่า ประเทศเหล่านี้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของประเทศมหาอำนาจฝ่ายโลกเสรีหรือฝ่ายคอมมิวนิสต์ นับจากหลังสงครามโลกครั้งที่สอเป็นต้นมา ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จึงกลายเป้นกำแพงสงครามลัทธิระหว่างมหาอำนาจทั้งสองฝ่าย และผุ้ที่รับเคราะห์กรรมจากากรแผ่ลัทธิก็คือประชาชนในแถบนี้นั่นเอง ดังตัวอย่างของชาวเวียดนาม ลาว และกัมพูชา
สภาพภายหลังสงคราโลกซึ่งแท้จริงมีรากฐานมาจากอดีตก็คือ ประเทศเหล่านี้ขาดความผสมกมลกลือนกันทั้งทางเศรษบกิจ การเมือง วัฒนธรรมและภาษาฯลฯ ตลอดจนมีความเชื่อที่ต่างกัน เช่น พม่าเชื่อนโยบายการปิดประเทศ แม้กับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากความแบ่งแยกระหว่างประเทศแล้วยังปรากฎว่า ปัญหาการแตกแยกภายในของหลายๆ ประเทศยังดำรงอยู่หลังสงครามโลก เช่น การแบ่งแยกประเทศเวียดนามเป้ฯสองฝ่าย กล่าวได้ว่า ความไม่สงบและการแบ่งแยกของประเทศในภูมิภาคนี้ทำให้มีอำนาจต่อรองกับประเทศมหาอำนาจต่ำ แต่ในที่สุประเทศเหล่านี้บางประเทศได้ตระหนักถึงปัญหาและความเสียเปรียบต่างๆ ที่เกิดขึ้นจึงพยายามสร้างความร่วมมือระหว่างกนในรูปต่างๆ จนกระทั่งถึงสมาคมอาเซียนซึ่งมีบทบาทสำคัญในเวลาต่อมา
ปัญหาของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้หลังสงครามดลกครั้งที่สอง
- ปัญหาการเลือกทางเดินของประเทศ หลังสงครามโลกนั้นปรากฎว่าประเทศในภูมิภาคนี้ต้องเผชิญกับปัญหาว่าจะเลือกพัฒนาเศรษบกิจของประเทศไปในรูปแบบใด เสรีนิยมหรือสังคมนิยม และทางด้านการปกครองจะเลือกเสรีประชาธิปไตยหรือจะเป้นเผด็จการคอมมิวนิสต์ ภายหลักงสงครามนั้นมหาอไนาจทั้งฝ่ายโลกเสรีและคอมมิวนิสต์ต่างก็คุมเชิงกันอยู่ในการช่วงชขิงอำนาจทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองในภูมิภาคนี้
ในบรรดาประเทศเอกราชหลังสงครามโลกครั้งที่สองนั้นมีเพียงพม่าที่ประกาศตัวเป้ฯกลางในสงครามเย็นระหว่างค่ายทั้งสอง แม้จะได้รับความช่วยเหลือจากประเทศทั้งสองฝ่าย ด้านระบบเศรษฐกิจนั้นมีทางเลือกต่่างๆ กัน เช่น พม่าหรืออินโดนีเซีย เลือกระบบเศรษฐกิจแบบมาร์ก(ในสมัยซูการ์โน) ซึ่งอาจเป็นเพราะเห็นว่าประเทศของตนยังไม่มีความมั่นคงพอ ดังนั้น การรวศูนย์อำนาจจะเป็นวิธีเดี่ยวที่จะแก้ปัญหาต่างๆ ของประเทศได้เร็วที่สุด เช่น ปัญหาทรัพย์สินซึ่งรวมทัี้งปัญหาที่ดิน การอุตสาหกรรม ชนกลุ่มนอยชาวต่างประเทศที่เข้ามาคุมเศรษฐกิจของชาติผุ้นำของพม่าและอินโดนีเซียได้แก่ปัญหาชาวต่า่งขาติเข้าครอบงำเศรษฐกิจของประเทศโดยการเข้ายึดโอนกิจการของชาวต่างชาติเข้าเป็นรัฐเสีย ในประเทศทั้งสองนี้ปัญญาชนซึ่งเป็ฯกำลังสำคัญในการต่อสุ้เพ่เอกราชนั้น มีความรู้สึกว่าการจะได้เอกราชโดยสมบูรณ์นั้นต้องขจัดนายจ้างต่างชาติ และระบบเศรษฐกิจแบบนายทุนเสียด้วย จึงเห็นว่ารัฐแบบสังคมนิยมเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด แต่ในลบางประเทศซึ่งกาต่อสู้เพื่อเอกราชมิได้มีความยุ่งยาก เช่น ฟิลิปปินส์หรือมิมิได้ตกเป็นเมืองขึ้นของใคร เช่น ไทย มักจะเลอกทิศทางที่ค่อนข้างเป็นเสรีหรือเป็นประชาธิปไตย แต่ขณะเดียวกันยังมีข้อจำกัดสิทธิของคนกลุ่สมน้อยไว้ เช่น ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น อย่างไรก็ดีการรู้จักประนีประนอมเป็นสิ่งสำคัญในอันที่จะประคองประเทศให้ดำรงยอยู่ได้อย่างมั่นคง
- ปัญหาความยากจนของประชากรและความเหลื่อล้ำระหว่งเมืองกับชนบท เป้ฯรากฐานตั้งแต่อดีตต่อมาจนหลังสงครามโลกครั้งที่สองกระทั่งในปัจจุบัน
- ปัญหารความขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจาการมีเศรษฐกิจขึนกับสินค้าออกเกษตรกรรมเพียงไม่กี่ประเภท ในขณะที่มีการสั่งสินค้าเข้าอุตสาหกรรมมาก จึงมักประสบปัญหาการขาดดุลชำระเงิน
- ปัญหาการว่างงานและการเพิ่มขึ้นของประชากร การว่างงานเป็นปัฐหาที่มีความสำคัญต่อประเทศในเอเซียตะวันออกเฉยงวใต้อย่างมาก หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ปัญหาทวีความรุนแรมากขึ้น เมื่อมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ถึงกับกล่าวได้ว่าปัญหาการว่างงานและการเพิ่มขึ้นของประชากรคือ ระเบิดเวลาของเอเซียตะวนออกเฉียงใต้ หากมาตรการต่างๆ ที่ดำเนินไปเืพ่ควบคุมอัตราประชากรให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจไม่ประสบความสำเร็จซึ่งจะถึงเวลาวิกฤตในไม่ข้า
-ปัญหาการบริหารที่ไม่มีประสิทธิภาพและการทุจริตในหน่วยงาน เป้นปัญหาหนักที่แก้ไม่ตกในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อาจด้วยความยากจนหรือการบริากรงานที่เละหลวม ทำให้การทุจริตมีมากในประเทศแถบนี้ มีผุ้ประมาณว่าการทุจริตในอินโดนีเซียมีประมาณ 30 % ของรายได้ประชาชาติ มีผุ้กล่าวว่ารัฐบาลแถบเอเซียใต้และเอเซียตะวนออกเฉียงใต้เป้นรัฐที่อ่อนเหลว แลอาจเป็นเพราะผุ้นำไม่เต็มใจที่จะแก้ปัญหาทุจริตในราชการหรือเป็นเพราะผุ้นำไร้ความสามารถก็ได้ การทุจริตอย่างมากมายนั้นย่อมมีส่วนทำลายการพัฒนาประเทศ เพราะเมื่อควาททุจริตแพร่ไปในงางานต่างๆ เช่น ขบวนการยุติธรรมย่อมทำให้เกิดความไม่เที่ยวะรรมได้ และหากผลของการทุจริตไปกระทบกับคนส่วนใหญ่อาจก่อให้เกิดปัญหารุนแรงถึงขึ้นจราจลได้ ซึ่งไม่เป้นผลดีต่อเสถียรภาพของประเทศ
- ขาดการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ ถ้าหากใช้แนวคิดการพัฒนาของนัก เศรษฐศาสตร์ ตลอดจนประสบการณ์ในการพัฒนาที่ผท่านมาของประเทศด้อยพัฒนาเป็แนวทางแล้วปัญหาของความยากจน การว่างงาน การทำงานต่ำระดับ ซึ่งเป็นปัญหาวิกฤตของเอเซียออกเฉียงใต้นั้นจะแก้ได้ด้วยวิธีการเพิ่มการลงทุนให้พอเียง ดันจะช่วยให้ประเทศเหล่่านี้มีสมรรถภาพเพ่ิมขึ้น โดนมีนโยบายลงทุนที่จะลืเกใช้ได้สามประการซึ่งมีความเกี่ยวพนอยู่คือ โดยกาเพิ่มการลงทุนในประเทศ โดยเพ่ิมการลงทุน จากต่างประเทศ และโดยการช่วยเหลือจากต่างประเทศ
- ความไม่คล่องตัวในการโยกย้ายทรัพยากรภายในประเทศ นอกจากการขาดแคลนทุนและผุ้ประกอบการแล้วการไม่คล่อตัวในการโยกย้ายทรัพยากรหรือการจัดสรรทรัพยากรโดยไม่มีประสิทธิภาพล้วนเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาประเทศทั้งสิ้น ประเทศในภูมิภาคแถบนี้มักจะจัดสรรวงประมาณส่วนใหญ่เพื่อความมั่นคงของประเทศ ซึ่งอาจเป้นเพราะประสบการณ์ของแารตกอยุ่ใต้อิทธิพลของตะวันตกมานานตลอดจนมีปัญหาความแตกแยกทางการเมืองภายในด้ย ดดยเฉพาะในปะรเทศที่มีประชานหลายเชื้อชาติ หรือมีความแตกต่างกันมากๆ ทางด้านศาสนาและภาษาูดมีรัฐบาลหลายประเทศในภูมิภาคแถบเอเซียตะวันออกเแียงใต้ที่มองปัญหาของปการพัฒนาอย่งผิวเผิน โดยเชื่อว่าการวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางหรืออาศัยการควบคุมของรัฐ หรือใช้รัฐวิสาหกิจ จะเป็นสิ่งที่ทำให้การพัฒนดำะเนินไปได้โดยราบรื่น
- ปัญหาชนกลุ่มน้อย เป็นปัญหาที่ไม่อาจละเลยได้ทั้งชนกลุ่มน้อยที่เป้ฯชาวต่างชาติ และชนกลุ่มน้อยที่เป้นชาวพื้เมือง ทั้งนี้เพราะมีคามเกี่ยวพันกับความมัี่นคงทงเศรษบกิจและการเมืองของประเทศ ชนกลุ่มน้อยชาวต่างชาติมักจะมัีอิทธิพลต่อเศรษบกิจของประเทศแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มาก เช่น คนจีนในมลายู ชาวอินเดียในประเทศพม่า เป็นต้น ทีั้งนี้ชาวต่างชาติเหล่านี้ไม่เพียงแต่ครอบงำเศรษบกิจของประเทศเอาไว้เท่านั้น แต่มักจะแผ่อิทธิพลข้าครอบงำทางการเมืองด้วยในมลายูแลในประเทศไทยนั้น ชาวจีนมักเป้ฯเจ้าของกิจการธนาคาร โรงเลื่อย โรงสีข้าว ตลอดจนกิจการต้าสส่งค้าปลีก และการเป้นแรงงานรับจ้าง ปัญหาจีนในมลายูระยะแรกๆ หลังสงครามดลกนั้นค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากท้ังสองฝ่ายคือจีนและมลายูต่างไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน จึงลงเอยด้วยการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองระหว่างเชื้อชาติ...
ความร่วมมือระหว่งประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ก่อนหน้าที่สมาคมอาเซียนจะก่อกำเนินขึ้นมานั้น ความร่วมมือในรูปแบบองค์การต่างๆ ที่ภูมิาคนี้เข้าไปม่ส่วนร่วมมีหลายองค์การ เช่น คณะกรรมาธิการเศรษบกิจสำหรับภาคพื้นเอเซียและตะวันออกไกล, สนธิสัญญาร่วมป้องกันแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทั่งสององค์กรเป็นองค์การความร่วมมือทางเศรฐกิจและทางการทหารจึงส่งผลให้ดินแดนแถบนี้แบ่งเป็นสองค่ย คือฝ่ายที่สนับสนุนโดยคอมมิวนิสต์กับฝ่ายของโลกเสรี ซึ่งองค์กรนี้เป็นองค์ที่มีจุดประสงค์ต่อต้านการรุกรานของคอมมิวนิสต์โดยตรง
- ประวัติการพัฒนาเศรษฐกิจของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้, รศ. ญาดา ประภาพันธ์,2531.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น