วันศุกร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2560

History Economic of Sounth East Asia : Indo-China

                เศรษฐกิจหลักของประเทศอินโดจีนคือ การเกษตรกรรม ในประเทศลาวนั้นประชาชนทำนาเป็นอาชพหลัก ในราวทศวรรษ 1960 นั้นปรากฎว่ามีพืชอ่นๆ ด้วย คือ ข้าวโพด น้ำตาลมะพร้าวอ้อย ส่วนในกัมพูชา มีการผลิต ยาสูบ น้ำมันปาล์ม ยางพารา ฝ้าย และพริไทย แต่ทว่าพื้นที่ทำการเพาปลุกของประเทศเหล่านี้น้อยมาก สวนใหยถูกปล่อยให้เป็นป่า ทางด้านอุตสาหกรรมมีอยุ่บ้าง เช่น การทำโรงสีข้าว ทอผ้าไหม การปั้นถ้วชาม ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมขั้นต้น ส่วนอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่มีอยุ่ในช่วงทศวรรษ 1960 คือ การกลั่นน้ำมัน ดรงงานทำแก้ว ฯ แต่อุตสาหกรรมสมัยใหม่นี้ไม่ช่วยการจ้างงานเท่าที่ควร มีแรงงานชาวพื้นเมืองเพียงประมาณ 2% ที่เข้าไปทำงานในภาคอุตสาหกรรม ส่วนกาต้าตกอยุ่ในมือชาวต่างชาติ ในกัมพูชานั้นการต้าตกแยุ่ในมือของชาวจีนและชาวเวยดนาม ปลายทศวรรษ 1960 เศรษบกิจของลวและกัมพุชายังอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม ต้องแสวงหาความช่วงเหลือจากสถาันระหว่างประเทศอยางมาก ส่วนประเทศเวียดนามนั้นในช่วงทศวรรษ 1960 มีข้อมูลค่อนข้างจำกัแต่ก็เช่นเดี่ยวกับประเทศลาวและเขมตือ การปลูกข้าวเป้ฯการผลิตที่สำคัญ สถิติของทศวรรษ 1960 พบว่าการผลิตข้าวได้รับความกระทบกระเทือจากภาวะธรรมชาติและสาเหตุจากสงคราม เพราะแรงงานไม่มีโอกาสทำการผลิต เนื่องจากถูกเกณฑ์ไปทำสงครามบ้างหรือหลบภัยจากงครามบ้าง ในเวียดนามเหนือจอกจาการผลิตข้าแล้ว มีการเลั้ยงสุกร ผลิตน้ำตาล กาแฟ ชา เป็นต้น สินค้าเหล่านี้มีการส่งออกต่างประเทศด้วย การต้าของเวยดนามเหนือในทศวรรษท 1960 นั้น ส่วนใหญ่เป้ฯการต้ากับจีนแแผ่นดินใหญ่ และรัสเซีย ในเวียดนามได้นั้น มีการปลูกถั่ว อ้อย และยาวพารานอกจาการปลูกข้าวเป้ฯพืชหลัก
             กล่าวได้ว่ ฝรั่งเศสมิได้ดำเนินการใดๆ ที่แสดงให้เห็น่าต้องการพัฒนาอินโดจีน ประกอบกับการมีสงครามภายในอินโดจีนเองตลอดเวลา ดังนั้น เมื่อประทเศเหล่านี้ได้ปกครองตนเอง จึงปากฎว่าสภาพ เศรษฐกิจอยู่ในภาวะที่ทรุดโทรมภายหลังสงครามอินโดจีน ครั้งที่สองเสร็จสิ้นลงในต้นทศวรรษ 1970 ในประเทศเวียดนามนันประชาชนอดอยาก ไร้ที่อยุ่อาศัย เกิดสภาพตลาดมือ ตลอดจนปัญหาหาชญากรรมการดำเนินงานของรับบาลเวยดนามในขณะนันคือ มีการโอนกิจการชาดใหญ่มาเป็นของรัฐเข้าควบคุมกรธนาคารและการต้าระหว่างประเทศระบบทุนนิยมยังมิได้เลิกล้มโดยเด็ดขาด เอกชนยังสามารถประกอบกิจการย่อยๆ ต่อไปได้ การถือครองที่ดินโดยเอกชนยังควมีอยุ่ ในขณะเดียวกันมีการเพิ่มสวัสดิการให้แก่กรรมการในโรงงานด้วย อย่างไรก็ดี ทรัพยากรของเวียดนามถูกทำลายลงอย่างมากมาย เช่นป่าไม้ถูกทำลายถึง 5 ล้านเอเคอร์ เวียดนามได้พยายามแสงหาควาช่วยเหลือจาากต่างประเทศทั้งฝ่ายโลกคอมมิวนิสตืและโลกเสรี นอกจากนั้นองค์การเงินทุนระหว่างประเทศต่างให้ความช่วยเหลือเวียดนาม
          ส่วนเศรษฐกิจในประเทศลาวหลังจากได้รับเอกราชแล้วต้องพึ่งพาสหรัฐอย่างมาก แต่กระนั้นการพัฒนาในลาวยังอยุ่ระดับต่ำมากขาดการสาธารณูปโภคต่างๆ มาตรฐานชีวิตของประชาชนเสื่อโทรมมีการขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรงรัฐบาลต้องเกณฑ์ประชาชนทำการผลิตอาหาร ปลูกพืชผัก รัฐบาลกำหนดให้ข้าราชการทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน ถ้าว่างให้ทำสวนครัว รัฐบาลพยายามแก้ปัญหาราคาเงินเฟ้อด้วยวิธีการหลายอย่างรวมทั้งการเปลี่ยนแมาตรเงิน มีการเข้ายึดกิจการขนาดใหญ่เป็นของรัฐ ส่วนกิจการขนาดย่อมนั้นให้เอกชนดำเนินงานต่อไปได้ ลาวก็เช่นเดียวกัน เวียนดนามที่ต้องอาศัยความทช่วยเหลือจากต่างประเทศ
            ในักัมพูชานั้นหลังจากได้รับเอกราชแล้วเจ้าสีหนุพยายามใช้นโยบายความเป้นกลาง โดยอิงทั้งฝ่ายดลกเสรีและโลกคอมมิวนิสต์ แต่ก้ไมด่เป้นผลดีแก่ประเทศกัมพูชา เพราะกลับหลายเป็นการชักศึกเข้าบ้านและทำลายตนเองในที่สุด ความจริงเศรษบกิจกัมพูชาแม้ช่วงต้นทศวรรษที่ 1950 นั้นกล่าวได้ว่า ทางด้านเกษตณกรรมยังเป็นการผลิตเพื่อเลี้ยงตนเอง คือผลผลิตเกือบทั้งหมดจะใช้นกาบริโภคมากกว่าการนำปชายหรือแลกเปลียนแกับสินค้าอื่นใช้เงินลทุนในการผลิตน้อย ระดับเทคโนโลยียังต่ำมาก  ใข้แรงงานของสัตว์และคนในการผลิต แต่อย่างไรก็ตาม มีกิจการที่เป็นการลงทุนแบบทันสมัยในด้านเกษตรกรรมอยุ่บ้าง คือการปลูกยางพาราแต่เจ้าของสวนยางเป็นชาวต่างประเทศทั้งหมดและผลผลิตของยางนั้นเพื่อการส่งออก ซึ่งคล้ายกับกรณีของไทยคือ การผลิตยางพารานั้นมิได้บริโภคในประเทศ
           ส่วนอุตาหกรรมของกัมพูชานั้นอยู่ในสภาพเสื่อโทรมย่ิงกว่าการเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรมมีขนาดเล็ก และในภาคอุตสาหกรรมนี้กิจการสำคัญๆ ตกอยู่ในมือของชาวต่างชาติเป็นส่วนใหญ่ เช่น โรงสีข้าว ซึ่งเป็นลักษณะเดี่ยวกับสภาพของประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้โดยทั่วไป
            การที่เศรษฐฏิจของกัมพูชาไม่พัฒนานั้น อาจเป็นเพราะสาเหตุของการถูกครอบงำโดยฝรั่งเศส เขียว สัมพันธ์ อ้างว่าก่อนที่ฝรั่งเศสจะเข้ามาครอบงำน้น เศรษฐกิจของกัมพูชาก้าวหน้ากว่าระบบศักดินาในยุโรป ระบบการต้าขายแลกเปลี่ยนในตลาดเกิดขึ้นแล้ว และอุตสหรรมหัตถกรรมกำลังเจริย แต่หลังจากที่ฝรั่่งเศสเข้ามาปกครองได้ทำลายความเตริญดังกล่ว การที่สินค้าจากต่างประเทศข้ามาแข่งขันได้เสรีมีผลให้สินค้าอุตาสหกรรมพ้ินเมืองต้องหยุดชะวัก ดังนั้น ผุ้ผลิตชาวพื้นเมืองจึงต้องถอยกลับไปทำงาน้ดานกสิกรรม หรือยังคงผลิตอุตสาหกรรมขนาดเล็กต่อไปพร้อมกับเพาะปลูกเลี้ยงตัว หรือทำการต้าสินค้ายุโรปแทน ในที่สุดกัมพูชากลายเป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาสินค้าทุนแลสินค้าบริโภคจากต่างประเทศ ขณะเดียวกันปัญหาเกี่ยวกับที่ดินมีมากขึน นายทุนที่ดินและข้าราชการใช้วิธีการต่างอๆ ทำใ้ชาวนาสูญเสียที่ดินมากขึ้นทุกทีโดยที่รัฐบาลมิได้ช่วยเหลือในการปรับปรุงวิธีการผลิตให้แก่เกษตรกรมากนัก ปรากฎว่าชาวนาตกเป็นผุ้กู้ยืมมากขึ้นทุกที และรายได้ที่บรรดานายทุนที่ดินได้ก็นำไปซื้อสินค้านำเข้าฟุ่มเฟือย สรุปสภาพของชาวนาได้ว่าชาวนายังมีชีวิตดที่ต้องพึงพาเจ้าที่ดิน นายทุนเงินกู้แลสภาพอากาศแบบมรสุมที่เปบี่นแปลงอยู่ตลอดเวลา
           การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมของเขมรในช่วงที่ทุนนิยมต่างประเทศมีอิทธิพลนั้นก็าิได้มีส่วนช่วยจ้างแรงงานพื้นเมืองเท่ารที่ควร เพราะในการผลิตอาศีัยทุน เครื่องมือ แรงงานฝีมือ ตลอจนวัตถุดิบจากต่างประเทศเป็๋นส่วนใหย การผลิตสินค้าส่วนใหย่เป้ฯไปเพื่อสนองตลาดในเมืองและตลาดต่างประเทศ เขียนว สัมพันธ์เห็นว่าการที่ระบบเศรษฐกิจของเขมรต้องพึงพิงอยู่กับระบบเศรบกิจต่างประเทศมิใช่ทางแก้ปัญหาการอ้ยพัฒนาของชาติ เรพาะกลับจาะทำให้เกิผลร้ายแก่เศรษกบิจของเขมรเองอาทิ เช่น การเติบโตของอุตสาหรรมชาติอาจถูกจำกัดโยอิทะิพลของบริษัทต่างชาติซึ่งจะมีผลเสียต่อการจ้างงานแลมารตรฐานการครองชีพของประชากร อาจจะก่อให้เกิดการชะงักของการต้า การผลิตทางเกษตณ ภายในประเทศ และยิ่งไปกว่านั้นโดยลหัการแล้วผลของการพึ่งพิงอาจน้ำไปสู่ปัญหาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศก็ได้ เช่น การยอมรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศมักจะเป้ฯไปโดยมีเงื่อนไขที่จะให้ประโยชน์แก่ผุ้เป็นเจ้าของเงินทุนอย่งมาก เพราะไม่มีผุ้ใดหว่าพืชโดยไม่หวังผลการพึงพาต่างชาติอาจนำไปสู่การตกเป็นหนี้ต่างประเทศอยางหนกจนในที่สุดบรรดาผุ้ให้ความช่วยเลหืออาจเข้ามาีอิทธพลในประเทศทางการะมเืงและเศรษฐกิจได้
          อย่งไรก็ตามเป้ฯสิงที่ต้องยอมรับว่าในบรรดาปรเทศอินโดจีนนั้นมีเพียงเวียดนามเท่านั้น มีทรัยพกรค่อนข้างสมบุรณื ในขณะที่เขมรและลาวมีทรัพากรธรรมชาติจำกัด ประชกรน้อย ว฿่งเป้นอุปสรรคอย่างหนึ่งของการพัฒนา ส่วนอุสรรคอีกประการหนึ่งก็คือ ความสงลสุขในดินแดนนี้ยังหาได้บังเกิดไม่ ตราบใดที่ภาวะสงครามยังไม่หนมสิ้น การพัฒนาจะเกิดขึ้นไดอย่างไร การสงครามรังแต่จะนำมาซึ่งควมพิสาศย่อยยับของชีวิตผุ้คน ทรัพย์สิน และในที่สุก็คือ การทำลายประเทศของตนเอง ดังที่ได้เห็นจากเหตุการณืทุกวันนี้ก็คือ การอพยพหลบหนีของพลเมืองออกจากประเทศทั้งสาม มาพำนักในประเทศต่างๆ ในลักษณะของผุ้อาศัยเป็ฯที่น่าสมเพช หากยอมรับว่าแรงงานคืปัจจัยการผลิตที่สำคัญที่สุ โดยเฉพาะอย่างยิงแรงงานฝีมือแล้ว การอพยพของประชรออกจากประเทศอินดจีนก็คือความสูญเสียปัจจัยการผลิตที่สำคัญไปนั่นเอง เพราะผุ้ลี้ภยที่จะได้รับเลือกข้าไปยู่อาศัยในประเทศต่างๆ มักจะเป้นแรงงานที่มีความรู้แลมีฝีมือ นอกนั้นก็ถูกผลักดันให้กลับไปอยู่ในประเทศดั้งเดิมในที่สุ และการพัฒนาประเทศย่อมเป็นไปไม่ได้ถ้าาดแคลนแรงงาน ความไม่สงบและความสูญเสียที่เกิดขึ้นแก่ประเทศอินโดจีนน่าจะเป้ฯเตื่องเตือนสติให้กับประเทศอื่นๆ ในก๓ุมทิภาคเอเชียตะวนออกเแียงใต้ได้ว่าคราบใดที่ยังมีความแตกแยกภายในประทเศ การบริหารงานไร้ประสทิะิภาพมความทุจริในการหน่ยงาน ตลอดจนมีความมุ่งร้ายประเทศเพื่อบ้านปล้ว วาระสุดท้ายของประเทศก็จะมาถึงในเวลาอันไม่ช้า....(ประวัติการพัฒนาเศรษฐกิจของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้, รศ.ญาดา ประภาพันธ์, 2538.)
         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...