วันพฤหัสบดีที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2560

Initiative for ASEAN Integration : IAI (2002)


              ความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน Initiative for ASEAN Integration : IAI
               ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนอยา่งไม่เป็นทางการตั้งที่ 4 ที่สิงคโปร์ เห็นพ้องเรื่อง "ความริเร่ิมเพื่อการรวมตัวของอาเซียน" เพื่อเร่งวรัดการรวมตัวของประเทศสมาชิกอาเวียน ดดยการลดช่องว่างด้านการพัฒนา ระหว่างประเทศสมาชิกเดิม 6 ประเทศ กับสมาชิกใหม่
               IAI มีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศ CLMVเพื่อลดปัญหาความยากจนยกระดับความเป็นอยุ่ของประชากร พัฒนาระบบข้าราชการ และเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ดดยมีแผนงาน 6 ปี ระหว่างปี 2001-2008 รอบรับ โดยมีกลไกในการจับคู่ระหว่าง ASEAN 6 กับประเทศ CLMV ในแต่ละสาขาความร่วมือ อาทิ โครงสร้างพื้นฐาน(ขนส่งและพลังงาน) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ความยากจนและคุณภาพชีวิต การท่องเที่ยว การรวมตัวทางเศณาฐฏิจและสาขาย่อยด้านบรรยากาศการลงทุน และสาขาทั่วไป ทั้งนี้ ผุ้เสนอโครงการจะให้เงินสนับสนุน โดยอาจเป็นเต็มจำนวน หรือร่วมกันระหว่าง ASEAN 6 กับประเทศคู่เจรจา องค์กรเพื่อการพัฒนาต่างๆ และประเทศนอกภูมิภาค
              ภายหลังจากการดำเนินการตาม เวอร์แพลน ได้ 3 ปี สำนักเลขาธิการอาเซียนจัดทำ มิดเทอมรีวิว ของ IAI เวอร์แพลน เมื่อพฤศจิกายน 1995 โดยได้มีการเพิ่มสาขาความร่วมมือ และทบทวนกลไก co-shepherd ดังนี้
              สาขาโครงสร้างพื้นฐาน กัมพูชาเป็นประเทศผุ้ประสานงาน โดยมี อินโดนีเซียเป็นประธานกลุ่มด้านพลังงานและไทยเป็นประธานกลุ่มด้านการขนส่ง
               สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีลาวเป็นประเทศผู้ประสานงาน โดยมีประเทศบรูไนและสิงคโปร์เป็นประธานกลุ่ม
               สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีประเทศพม่าเป็นผุ้ประสานงาน โดยมาเลเซียเป็นประธานในกลุ่มนี้
               สาขาการรวมตัวทางเศรษฐกิจ มีเวียดนามเป็นประเทศผุ้ประสานงาน โดยฟิลิปปินส์เป็นประธานกลุ่มและสาขาย่อย บรรบากาศการลงทุน มีกัมพูชาเป็นประเทศประสานงาน ดดยมีประเทศไทยและสิงคโปร์เป็นประธานกลุ่ม
               สาขาท่องเที่ยว มี พม่าเป็นประเทศผุ้ประสานงาน โดยมี อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์เป็นประธานกลุ่ม
               สาขาความยากจนและคุณภาพชีวิต มีลาวเป็นประเทศผู้ประสานงาน โดยมีอินโดนีเซียและมาเลเซียเป็นประธานกลุ่ม
              สาขาเรื่องทั่วไป มีเวียดนามเป็นประเทศผู้ประสานงาน โดยมีฟิลิปปินส์เป็นประธานกลุ่ม
              IAI Work Plan 1 (2001-2008)
              ภายใต้ แผนงาน IAI I มีการเสนอโครงการทั้งสิ้น 258 โครงการ โดยเป็นโครงการที่มีงบประมาณสนับสนุน 218 โครงการ( ณ วันที่ 17 ตุลาคม 2009) สิงคโปร์ให้เงินสนนนับสนุนโครงการ IAI มากที่สุดในประเทศอาเซียน 6 ประมาณ 22.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือคิดเป็น 73.64% ของเงินที่ประเทศอาเซียน 6 สนับสนุนโครงการ IAI ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการสาขาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้ศูนย์ IAI Centre ที่สิงคโปร์จัดตั้งขึ้นในแต่ละประเทศ CLMV เป็นศูนย์ฝึกอบรม
             ประเทศไทยให้ความช่วยเหลือวิภาคีแก่ CLMV มากที่สุดในบรรดาประเทศอาเซียน 6 โดยมูลค่าเงินมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ตั้งแต่ปี 2006-ปัจจุบัน)
              ภายใต้ แผนงาน IAI 1 มีโครงการที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากประเทศคู่เจรจาและองค์กรเพื่อการพัฒนามีมูลค่าร่วม 20.18 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยประเทศคู่เจรจาที่ให้ความช่วยเหลือมากที่สุด 5 อนดับแรกได้แก ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย นอร์เวย์ และสหภาพยุโรป รวม 17.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 87.1% ของเงินทุนสนับสนุนทั้งหมดที่ได้รับจากประเทศคู่เจรจา
              เคยมีความพยายามจะจัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อลดช่องว่างการพัฒนา ASEAN Special Fund แต่อาเซียนยังคงเห้ฯว่า อาจไม่มีความจำเป็นที่จะจัดตั้งกองทุนพิเศษสำหรับเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ แต่ควรจะมุ่งระดมทุนสำหรับกองทุนที่มีอยุ่แล้วมากกว่า เช่น ASEAN Development Fund โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เห็นว่า ควรเชิญชวนให้ ประเทศคู่เจรจาร่วมสมทบทุนกองทุนดังกล่าวมากขึ้น นอกจากนัน ที่ประชุม IAI Task Force เห็นว่าควรเร่งดำเนินการระดมทุนในหลายช่องทางไปพร้อมๆ กัน รวมทั้งการระดมทุนจากผุ้มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในภูมิภาค เช่น ภาคเอกชน
            IAI Work Plan 2 (2009-2015)
            ที่ประชุมผุ้นำอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ประเทศไทยเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2009 ได้ให้ความเห็นชอบ ต่อแผนงานความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียนฉบับที่ 2 และเห็นควรให้ใช้เป็นกรอบการดำเนินงาน IAI ระหว่างปี 2009-2015 ต่อไปโดยในส่วนของประเทศไทย รัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบต่อร่างแผนงานเมื่อเดือนมกราคม 2009
            ปัจจุบัน อาเซียนอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามแผนงาน IAI ระยะที่ 2 ซึ่งมีสาระในการดำเนินงานต่างๆปจากแผนงานระยะที่ 1 คือ แผนงานระยะที่ 2 จะขยายแผนการเสริมสร้างขีดความสามารถของกลุ่ม CLMV ให้สอดคล้องกับแผนการจัดตั้งประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสาหลัก ได้แก่ประชาคมเศราฐกิจ ประชาคมการเมือง และความมั่นคง และประชาคมสังคมแลวัฒนธรรมเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการเป็นประชาคมอาเวียนในปี 2015 ซึ่งรวมถึงการช่วยเหลือประเทศ CLMV ให้สามารถดำเนินการตามพันธกิจและลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการรวมตัวของอาเซียน และยังคงเน้นการเสริมสร้างขีดความสามารถ ทั้งนี้ ดดยอาเซียนได้มอบหมายให้คณะทำงาน IAI ซึ่งประกอบด้วยเอกอัครราชทูตผุ้แทนถาวรของอาเซียนของ 10 ประเทศ เป้นผู้กำดับนโยบายและขับเคลื่อนการดำเนินการภายใต้แผนงานฯ ให้ทูตถารชของ CLMV ประจำอาเซียนหมุนเวียนกันเป็นประธานตามลำดับตัวอักษรเป็นเวลาคนละ 1 ปี ปฏิทิน โดยให้มีการประชุมปีละไม่ต่ำกว่า 4 ครั้ง และอาจมการประชุมนอกเหนือจากนั้นได้ในกรณีที่มีความจำเป้ฯ ท้งี้ สำหรับการดำเนินงานของ IAI ให้รายงานต่อ ACC
            ปัจจุบัน ออท.คผถ.เมียนมาร์ทำหน้าที่เป็นประธาน IAI Task Forc จนถึงสิ้นปี 2012
             ภายใต้ IAI Work Plan II มีโครงการที่ได้รับเงินทุนสนับสนุจากประเทศอาเซียน 6 มีมูลค่า 12.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยประเทศที่ให้ความช่วยเหลือมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สิงคโปร์ บรูไนฯ และอินโดนีเซียและจากประเทศคู่เจรจาและองค์กรเพื่อการพัฒนามีมูลค่าร่วม 1.59 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยประเทศคู่เจรจาที่ให้ความช่วยเหลือมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธาณรรัฐเกาหลี และ JICA
            การดำเนินการในส่วนของไทย
            ในกรอบ IAI ตั้งแต่ปี  2000 ถึง 2001 ไทยใรโครงการทั้งสิ้น 18 โครงการมูลค่ารวม 1,333,662 ดอลลาร์สหรัฐ(เป็นมูลค่าที่รวมเงินสมบทจากองค์กร ประเทศผุ้ให้ความช่วยเหลืออ้วย -สถานะ ณ เดือน กรกฎาคม 2001) ไทยเป็น co-sheperd กับกัมพูชาในสาขาย่อยด้ารการคมนาคม ภายใต้คตวามร่วมือสาขาโครงสร้างพื้นฐานและสาขาย่อยด้านบรรยากาศการลงทุน ภายใต้ความร่วมมือเพื่อากรรวมตัวทางเศรษฐกิจ
          ในระหว่างปี 2007-2011ไทยดำเนินโครงการดังนี้
           - โครงการ An Educational Program to Assist CLMV Countries in Implementing Multimodal Transport Operation ปี 2008 โดยกรมขนส่งทางน้ำร่วมกันกรมอาเซียน
            - โครงการ Successfur Operationlization of ASEAN Framwork Agreement on Multimodal Transport" ระยะที่ 2 ปี 2009 - ปัจจุบัน โดยกรมขนส่งทางน้ำร่วมกับกรมอาเซียน ซึ่งขณะนี้ได้ ดำเนิการเสร็จสิ้นแล้วครบทั้ง 4 ประเทศ
            - การประชุมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ Enhancing Investment Climate in CLMV Countries โดยการทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับ BOI และJIVA เมื่อวันที่ 6-7 มีนาคม 2008 ที่กรุงเทพฯ
            - การให้ทุนการศึกษาระับปรญญาโทประจำปีการศึกษา 2009 แก่ประเทศมชิกอาเซียนจำนวน 10 ทุน โดยกรมอาเซียนร่วมกับำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างปรเทศได้พิจารณาคัดเลือกสาขาการศึกษาที่จะเป็นประโยชน์และสนับสนุนการดำเนินการของ IAI ในการลดช่องว่างเพื่อการพัฒนาในอาเวียน 7 สาขา
         
คณะทำงานลดช่องว่างการพัฒนาของอาเซียน คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศมีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการตาม AEC Bluprint และคณะอนุกรรมการดังกล่าวได้แต่งตั้งคณะทำงาน 11 คณะ รวมทั้งคณะทำงานลดช่องว่างการพัฒนาในประเทศอาเซียน ซึ่งมีอธิบดีกรมอาเซียนเป็นประธานคณะทำงานมีหน้าที่ปฏิบัติตาม AEC Blueprint ใน 2 ด้าน คือ การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการลดช่องว่างการพัฒนา หรือ ความริเร่ิมเพื่อการรวมตัวของอาเวียน
             การดำเนินงานระยะต่อไป
             IAI Task Force กำลังพิจารณาเร่งรัดการดำเนินโครงการภายใต้ IAI Work Plan 2 โดยกำหนดให้ประเทศอาเวียนเดิม 6 ประเทศ จัดทำรายงานการดำเนินโครงการลดช่องว่างแก่ CLMV ภายใต้ IAI Work Plan 2 ทุก 6 เดือน
            โดยที่ในระยะที่ผ่านมา ไทยเน้นการให้ความช่วยเหลือทวิภาคีรวมทั้งการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศ CLMV ผ่านกรอบความร่วมมืออื่นๆ ที่ไทยมีบทบาทนำ เช่น GMS, ACMECS มากกว่าการให้ความช่วยเลืหอในกรอบ IAI จึงทำให้บบาทของไทยในกรอบ IAI ไม่เด่นชัดนักเมือเปรียบเทียบกับประเทศอาเซียน6 บางประเทศ โดยเฉพาะ สิงคโปร์ ดังนั้น จึงมีข้อเสนอจากออท. ผุ้แทนภาวรประจำกรุงจาการ์ตาว่า ควรเพิ่มพูนบทบาทของไทยในกรอบ IAI ด้วยการใช้เครื่องมือและความช่วยเลหือระดับทวิภาคีที่ให้แก่ CLMV ผ่าน พร. ให้มารวมอยุ่ในกรอบ IAI
            ต่อมา กรมอาเซียนและ สพร. โดยควาเห็นชอบจากกระทรวง ฯ จึงเห็นควรให้นับรวมมุลค่าคามช่วยเลหือระดับทวิภาคี ไตรภาคี และอนุภูมิภาคอื่นๆ ที่ไทยให้แก่ CLMV ผ่าน สพร. เพื่อประกาศเป็นสวนหนึ่งของความช่วยเหลือที่ไทยให้ในกรอบ IAI ด้วย ซึ่งที่ผ่านมาในระหว่างปี 2008-2011 สพร.ได้ให้ความช่วยเหลือในรูปแบบทุนการศึกษาและฝึกอบรมระดับต่างๆ แก่ CLMV เป็นเงนิ 694.944 ล้านบาท (22.5ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
           ในการประชุม IAI Task Force ครั้งที่ 40 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2012 สำนักเลขาธิการอาเวียนรายงานว่ากำลังจะเสนอโครงการจัดทำ Mid term review สำหรับ  IAI Work Plan 2 โดยอาจพิจารณารวมการดำเนินการในส่วนอื่นๆ เช่น แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อโยงระหว่างกันในอาเซียน หรือกรอบการทำงานด้านการพัฒนาอื่นๆ เข้ารมาอยุ่ในการประมวลด้วย
          โดยที่การส่งเสริมควาเชื่อมโยงเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของอาเวียนและไทย ในช่วงปี 2012-2015 ไทยจะให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างศักยภาพด้านการเชื่อโยง แก่ CLMV โดยมีโครงการในระยะต้นคือ การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ และโครงการฝึกอบรมด้านการบริหารจัดการข้ามพรมแดนในสาชาที่ CLMV สนใจ...(www.mfa.go.th/..asean-media-center-...pdf)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...