วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560

AEC Blueprint 2025 (2015)

          ในการประชุมสุดยอดผุ้นำอเซียน ครั้งที่ 27 (ASEAN Summit 27th) ณ กรุงกัะวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียระหว่างวันที่ 19-22rพฤศจิกายน 2558 นัดส่งท้ายก่อนที่ประเทศมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ จะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อย่างสมบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นความหวังที่ทำให้ "ตลาดอาเซียน" ซึ่งเป็นตลาดส่งออกเบอร์ 1 ของไทยกลับมาคึกคักอีกครั้ง
         ในการประชุมครั้งนี้ฝ่ายไทย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นำคณะเข้าร่วมให้การรับรองแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีก 10 ปีข้างหน้า ( 2559-2568) หรือ AEC Blueprint 2025 ร่วมกับสมาชิกอีก 9 ประเทศ ถือเป็นการดำเนินงสนต่อยอดจากมาตรการเดิม เพิ่มประสิทธิภาพ และขยายความร่วมมือทางเศราฐกิจทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึกยิ่งขึ้น ส่งเสริมความร่วมมือรายสาขา ให้ความสำคัญกับวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง นวัตกรรม การวิจัยและพัฒนา เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนดึงดูดการค้าและากรลงทุนจากต่างประเศ พร้อมกนนี้ยังมการจัดประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษบกิจอาเซียนครั้งที่ 14 ซึ่งเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีที่ดูแลภาพรวมเรื่อง AEC โดยจะมีการหารือถึงการดำเนินการตามแผนงาน โดยเฉพาะมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 เป้าหมาย AEC Blueprint 2025 จะทำให้อเซียนก้าวสู่มิติใหม่ 5 ด้านคื
           - เศรษฐกิจที่มีการรวมตัว และเชื่อมโยงในระดับสูง
           - มีความสามารถในการ แข่งขัน มีนวัตกรรม และมีพลวัต
           - ส่งเสริมการเชื่อมโยงด้านเศรษฐฏิจ และการรวมตัวรายสาขา
           - ความสามารถในการปรับตัวครอบคลุมทุกภาคส่วน และมีประชาชนเป็นศุนย์กลาง และ
           - การเป็นส่วนสำคัญของประชาคมโลก
            การเตรียมพร้อมเพื่อให้เป้นไปตามแผนงานอี 10 ปีนั้น ไทยต้องดำเนินการ
            - ให้ความสำคัญกับภาคบริการเพ่ิมขึ้นเช่น แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปิดเสรีภาคบริการการพัฒนาบุคลากร การอำนวยความสะดวกในกาเข้ามาทำงานของต่างชาติในสาขาที่ไทยต้องการพัฒนา เช่น โลจิสติกส์ การศึกษา การเงิน โทรคมนาคม ก่อสร้าง และคอมพิวเตอร์
            - ความเชื่อมโยงภายในประเทศและภูมิภาค เนื่องจากไทยมียุทธศาสตร์เป็นศูนย์กลางของอาเซียนกลางของอาเซียน และมีศักยภาพด้านการขชนส่ง ดังนั้น ไทยควรเร่งพัฒนาระดบบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ด่านชายแดน การพัฒนาเขตเศรษฐกิจแปละเร่งจัดทำระบบ Single Window ให้มีผลบังคับใช้ในทางปฏิบัติโดยเร็ว เพื่อสร้างความเชื่อมโยง
            - พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษบกิจ ตามภาวะโลกในปัจจุบันที่หันเหไปสู่การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งไทยควรขยายโครงข่ายบรอดแบนด์ให้ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ ส่งเสริมการลงทุนด้าน Data Center และช่วยลดต้นทุนผุ้ประกอบการ
           - ปรับปรุงกฎระเบียบในประเทศ เพื่อำนวยความสะดวกและลดปัญหาอุปสรรคในการต้าและการลงทุน และ
           - ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างเศรษกบิจสร้างสรรค์ พัฒนาสินค้าและบริการให้แข่งขันได้ในตลาดโลก
            นางอภิรดีกล่าว่า ขณะนี้อาเซียนลดภาษีสวนใหญ่เป็น 0% แล้ว ยกเว้นรายการสินค้าอ่อนไหว แต่จะต้องเร่งแก้ไขมาตรการกีดกันทางการต้า ให้หมดไป เพื่อทำให้การค้าสินค้ามีความคล่องตัว นอกจากนี้ เห็นว่าควรมีการผลักดันการสร้างความร่วมมือด้านมาตรฐานสินค้า ร่วมกันภายในอาเซียน ที่สำคัญอาเวียนมีเป้าหมายจะเร่งเปิดเสรีภาคบริการให้มากกว่าปัจจะบันที่เปิดเสีรภาคบริการชุดที่ 10 และเตรียมหารือประเด็นสำคัญในการเปิดเสรีภาคบริการเร่งด่วนด้านโทรคมนาคมโดยเแพาะในเรื่องการคิดอัตราค่าดทรศัพท์ทางไกลข้ามประเทศในกลุ่มอาเซียน(โรมมิ่ง) ซึ่งในปัจจุบันแต่ละประเทศมีอัตราแตกต่างกัน บางประเทศมีค่าโรมมิ่งสุง
           ดังนั้น สมาชิกจึงเห็นพ้องกันว่าควรปรับลดลงให้เป็นอัตราเดียวกันทั้งอาเซียน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวทางการค้า โดยจะเริ่มหารือกันตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป...(www.aseanthai.net/..ประชุม ASEAN Summit' 27 ผู้นำ 10 ประเทศผ่านร่างพิมพ์เขียน 2025)
            โดยภาพรวมแล้ว แผนงานของอาเซียนใน 10 ข้างหน้า เน้นการสานต่อทำให้ประชาคมอาเซียนมีความสมบูรณ์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม บลุพริ้นต์ 2025 ค่อนข้างน่าผิดหวัง เมื่อเทียบกับ บรูพริ้นต์ 2015 เนื่องจากขาดความริเริ่มและมาตรการใหม่ๆ...
            เรื่องใหม่ๆ ที่ปรากฎอยู่ใน Blueprint 2025 มีดังนี้
            - การส่งสเริมประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึงเป็นเรื่องใหม่ที่แทบไม่ได้กล่าวถึง ในบลูพริ้นต์ 2015 โดยจะเนิ้นการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้ประชาชน โดยการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ อาทิ การจัดสมัมนา การจัดพิมพ์ สิ่งพิมพ์เผยแพร่ การจัดให้มีหลักสูตรอาเซียนศึกษาในสถาบันการศึกษา
นอกจากนี้ จะมีการจัดทำ ASEAN Lane ของประเทศสมาชิกอาเซียน การจัดทำ ASEAN business travel card และ ASEAN common visa
           รวมทั้งการส่งเสริมการผลิตผุ้เชี่ยวชาญด้านอาเซียน ผ่านการจัดตั้งศุนย์อาเซียนศ฿กษา หรือASEAN Studie Center และส่งเสริมให้สถาบันการศึกษา และคลังสมองอาเวียน ทำการศึกษาและวิจัย และตีพิมพ์ ประเด็นปัญหาของภุมิภาคและของโลก
             - อาเซียนกับการเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมในภูมิภาค อีกเรื่องที่ดุโดเด่นใน บลูพริ้นต์ 2025 คือ การให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้อาเวีนเป็นแกนกลางของระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาค โดยเน้นส่งเสริมความเป็นเอกภาพ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาเซียน ซึ่งมาตรการสำคัญมีดังนี้
              - เจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน ASEAN SOM ต้องมีการหารือและกำหนดยุทธศาสตร์ของอาเซียนต่อประเด็นปัญหาต่างๆ
              - จะต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันสำหรับสถาปัตยกรรมในภูมิภาค
              - จะต้องทำให้กลไกความร่วมมือด้านต่างๆ ของอาเซียน ทราบถึงยุทธศาสตร์ร่วมกันของอาเซียน เพื่อจะได้มีท่าทีและทิศทางเดียวกนกับประเทศนอกภูมิภาคในทุกเรื่อง
               - ต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนต่อประเทศคู่เจรจา
               - สงเสริมการมีท่าทีร่วมกันและพูดเป็นเสียงเดียวกัน ในลัษณะ ASEAN voice ในเวทีพหุพาคีต่างๆ
               - มีการออกแถลงการณ์ร่วมกันของอาเซียน ต่อประเด็นปัญหาต่างๆ อย่างทันท่วงที
               - ประสานความร่วมมือเพื่อเสนอชื่อตัวแทนอาเวียนในตำแหน่งสำคัญๆ ในเวทีพหุภาคี
               - การพัฒนาสถาบันและกลไกของอาเซียน
                การปรับปรุงกลไกและสถาบันต่างๆ ของอาเซียน ดังนี้
               - ส่งเสิรมให้มีการจัดตั้งหน่วย หรือกองอาเซียนขึ้น ในกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ของประเทศสมาชิกอาเซียน
               - ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์หรือสถาบันอาเซียนเฉพาะด้านในประเทศสมาชิกอาเวียน
               - ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา และหลักสูตรอาเซียนศึกษาในประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งการสนับสนุนการสร้างเครือข่ายระหว่างศุนย์เหล่านี้
              ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC 2025
              สำหรับแผนงานของ AEC ในอีก 10 ปีข้างหน้า ส่วนใหญ่เป็นการสานต่อจากปี 2015 ซึ่งเน้นการทำอาเซียนให้เป็นตลาดดียวและฐานการผลิตเดียว โดยการเปิเสรี 5 ด้านด้วยกันคือ การค้าสินค้า การต้าภาคบริการ การลงทุน การเคลื่อนย้ายเงินทุน การเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือ
              การต้าสินค้า เน้นการดำเนินมาตรการต่างๆ ที่จะทำให้ AEC มีการเปิดเสรีการต้าสินค้าที่สมบูรณ์มากขึ้นโดยเฉพาะการเน้นจัดการกับปัญหามาตรการทางการต้าที่มิใช่ภาษี
              การต้าภาคบริการ เน้นการเจรจาในการ implement ข้อตกลง ASEAN Trade in Services Agreement ให้เป็นเครื่องมือทางกฎหมาย เพื่อก่อให้เกิดบูรณาการของภาคบริการในภูมิภาคให้มากขึ้น
              การลงทุน เน้นการเปิดเสรีด้านการลงทุน การจัทำระบบการลงทุนในภุมิภาค ที่เปิดกว้าง โปร่งใส และเน้นการปรับปรุงสภาวะแวดล้อมด้านการลงทุนของอาซียน
              การเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือ โดยตั้งเป้าหมายว่า จะส่งเสริมการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือในอาเซียน
              โครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมโยงอาเซียน ในอาเซียน บลูพริ้นต์ 2025 กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้น้อยมาก
               ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเวียน ASCC 2025 มาตรการส่วนใหญ่เป็นการสารต่อจากแผนงานที่แล้ว เน้นความร่วมมือ 5 ด้านด้วยกันคือ ความร่วมมือในการพัฒนามนุษย์ โดยเฉพาะความร่วมมือด้านการศึกษา สวัสดิการสังคม เรื่องสิทธิผู้ด้อยโอกาส ความร่วมมือการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม และการสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
             โดยมาตรการที่โดดเด่นคือการเน้นการเข้าถึงบริการต่างๆ ของภาครัฐ โดยทุกภาคส่วนซึ่งเป็นไปตามหลักการสากล ที่ปรากฎเน้นการส่งเสริมการเข้าถึงทั้งโอกาส ทรัพยากร และการบริการของรัฐสำหรับประชาชนทุกคน ..(www.drprapat.com/อาเซียน-2025)


         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...